เมนู

จึงบังเกิดขึ้นเป็นคำที่สอง ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดา
สัตว์เหล่านั้น บางพวกเมื่อไม่ได้สำเร็จฌานในกระท่อมที่มุงด้วยใบไม้
ในราวป่า จึงเที่ยวไปรอบหมู่บ้านรอบนิคม ทำคัมภีร์ มาอยู่. มนุษย์
ทั้งหลายเห็นเขาเข้า จึงกล่าวอย่างนี้ ผู้เจริญ สัตว์เหล่านี้แลไม่ได้
บรรลุฌานในกุฏิที่มุงด้วยใบไม้ในราวป่า จึงเที่ยวไปรอบบ้านรอบ
นิคม ทำคัมภีร์มาอยู่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ บัดนี้ชนเหล่านี้
ไม่เพ่งอยู่ ชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่ในบัดนี้ฉะนั้น อักขระว่า อชฺฌายิกา
อชฺฌายิกา ดังนี้จึงบังเกิดขึ้นเป็นคำที่ 3. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ก็คำนั้น โดยสมัยนั้นสมมติกันว่าเป็นคำเลว แต่ในสมัยนี้ คำนั้น
สมมติกันว่าประเสริฐ. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะการ
พรรณนาดังว่ามานี้ การบังเกิดขึ้นของหมู่พราหมณ์นั้นโดยอักขระที่
เข้าใจกันว่าเลิศเป็นของเก่าจึงได้มี เรื่องของสัตว์ทั้งหลายจะเหมือน
หรือไม่เหมือนกันโดยธรรมเท่านั้นหาใช่โดยอธรรมไม่. ดูก่อนวาเสฏฐ
และภารทวาชะ ก็ ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในทิฏฐ-
ธรรมและอภิสัมปรายภพ

ว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งแพศย์



[65] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาสัตว์นั้นบาง
พวก ยึดมั่นเมถุนธรรมแยกประกอบการงาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและ
ภารทวาชะ สัตว์เหล่านั้นยึดมั่นเมถุนธรรมแล้ว แยกประกอบการ
งาน ฉะนั้น อักขระว่า เวสฺสา เวสฺสา ดังนี้จึงบังเกิดขึ้น. ดูก่อน
วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ การบังเกิดของพวก
แพศย์จึงมีได้อย่างนี้. ท่านย่อคำไว้แล้ว. ดูก่อนวาเสฏฐะและภาร-
ทวาชะ เพราะเหตุดังกล่าวนี้แล การบังเกิดขึ้นของหมู่ศูทรนั้น จึงมี

ได้ด้วยอักขระที่เข้าใจกันว่าเลิศเป็นของเก่า เรื่องของสัตว์เหล่านั้นจะ
เหมือนกันหรือไม่เหมือนกับสัตว์อื่น ก็โดยธรรมเท่านั้น หาใช่โดย
อธรรมไม่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารัทวาชะ ธรรมเท่านั้นประเสริฐ
ที่สุดในหมู่ชนทั้งในทิฏฐธรรมและอภิสัมปรายภพ.
[66] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยที่กษัตริย์ติเตียน
ธรรมของตน จึงออกจากเรือนบวชด้วยคิดว่า เราจะเป็นสมณะ.
ดูก่อนวาเสฏฐะและภาทรวาชะ มีสมัยที่พราหมณ์ ฯลฯ แพศย์ ฯลฯ
ศูทร ติเตียนธรรมของตนจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิด
ว่า เราจักเป็นสมณะดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะสละภารทวาชะ การบังเกิด
ขึ้นแห่งหมู่สมณะจึงได้มีขึ้นด้วยหมู่ทั้ง 4 เหล่านี้ เรื่องของสัตว์เหล่า
นั้นจะเหมือนหรือไม่เหมือนกับสัตว์เหล่าอื่นก็โดยธรรมเท่านั้น หาใช่
โดยอธรรมไม่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ธรรมเท่านั้นประเสริฐ
ที่สุดในหมู่ชนทั้งในทิฏฐธรรมและอภิสัมปรายภพ.
[67] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์
ก็ดี แพศย์ก็ดี ศูทรก็ดี ประพฤติกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือกรรมด้วยมิจฉาทิฏฐิ เพราะการยึดถือกรรม
ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิเป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก
ย่อมเช้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก.
[68] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์
ก็ดี แพศย์ก็ดี ศูทรก็ดี ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
เป็นสัมมาทิฏฐิ สมาทานกรรมด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เพราะการยึดถือ
กรรมด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิเป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก
ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์.

[69] ดูก่อนวาเสฎฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี
แพศย์ก็ดี ศูทรก็ดี มีปกติทำกรรมทั้งสองอย่าง ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
มีความเห็นเจือปนกัน ยึดถือกรรมด้วยอำนาจความเห็นอันเจือปนกัน
เพราะการยึดถือกรรมด้วยอำนาจความเห็น อันเจือปนกันเป็นเหตุ เบื้อง
หน้าแต่ตาย เพราะกายแตก ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง.
[70] ดูก่อนวาเสฎฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี ฯลฯ พราหมณ์
ก็ดี ฯลฯ แพศย์ก็ดี ฯลฯ ศูทรก็ดี สำรวมทางกาย สำรวมทางวาจา
สำรวมทางใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้ง 7 แล้ว ย่อมปรินิพพาน
ในโลกนี้แท้.
[71] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาวรรณะทั้ง 4 เหล่านี้
วรรณะใดเป็นภิกษุผู้อรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบแล้ว มีกรณียะอันกระทำ
แล้ว ปลงภาระได้แล้ว ตามบรรลุประโยชน์ของตนแล้ว มีสังโยชน์
เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นแล้ว นับแล้ว เพราะรู้โดยชอบ วรรณะนั้น
ปรากฏว่าเป็นผู้เลศกว่าวรรณะเหล่านั้นโดยธรรม หาใช่โดยอธรรมไม่.
ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งใน
ทิฏฐธรรมและอภิสัมปรายภพ. ดูก่อนวาเสฏฐะแลภารทวาชะ แม้สนัง-
กุมารพรหมก็ได้กล่าวคาถาไว้ว่า
[72] กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้มีความ
รังเกียจด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและ
มนุษย์ดังนี้.

ดูก่อนวาเสฎฐะและภารทวาชะ ก็คาถานี้สนังกุมารพรหมขับไว้
ถูกต้องไม่ผิด ภาษิตไว้ถูก ไม่ผิด ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่ไม่ประกอบ

ด้วยประโยชน์ เรารู้แล้ว. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้เราเองก็
กล่าวอย่างนี้ว่า
กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้มีความ
รังเกียจด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายดังนี้.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว. วาเสฏฐะและภารทวาชะ
ก็ยินดีชื่นชม ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
จบอัคคัญญสูตร ที่ 4.

อรรถกถาอัคคัญญสูตร



อัคคัญญสูตร มีคำขึ้นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.
ในอัคคัญญสูตรนั้น มีการพรรณนาบทที่ยังมีเนื้อความไม่ชัด
ดังต่อไปนี้. ในคำว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุปาสาเท นี้ มีอนุปุพพีกถา
ดังต่อไปนี้.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในที่สุดแสนกัลป์ อุบาสิกาคนหนึ่ง นิมนต์
พรผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ แล้วถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์แสน
หนึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานแล้ว หมอบลงแทบบาทมูลของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้วได้ตั้งความปรารถนาว่า ในอนาคตกาล ดิฉันจงได้เป็นอุปัฏฐา-
ยิกาผู้เลิศของพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับพระองค์. อุบาสิกานั้นท่องเที่ยวไปใน
เทวโลกและมนุษยโลกตลอดแสนกัลป์ แล้วได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนาง
สุมนาเทวีในเรือนของธนญชัยเศรษฐี ผู้เป็นบุตรของเมณฑกะเศรษฐีใน
ภัททิยนครในกาลของพระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลาย. ในเวลาที่นางเกิด
แล้วหมู่ญาติได้ตั้งชื่อให้นางว่าวิสาขา. นางวิสาขานั้น เมื่อใดที่พระผู้มี
พระภาคได้เสด็จไปยังเมืองภัททิยนคร เมื่อนั้นนางไปทำการต้อนรับพระ-
ผู้มีพระภาคพร้อมด้วยเด็กหญิงอีก 500 คน ในการได้เห็นพระผู้มีพระภาค
เพียงครั้งแรกเท่านั้น นางก็ได้เป็นพระโสดาบัน ในกาลต่อมา นางได้
ไปสู่เรือนของปุณณวัฒนกุมารบุตรของมิคารเศรษฐีในเมืองสาวัตถี. มิคาร-
เศรษฐีตั้งนางไว้ในตำแหน่งมารดาในเรือนนั้น. ฉะนั้นเขาจึงเรียกนางว่า
มิคารมารดา. ก็เมื่อนางไปสู่ตระกูลสามี บิดาให้นายช่างทำเครื่องประดับ
ชื่อว่ามหาลดาประสาธน์. เพชร 3 ทะนาน แก้วมุกดา 11 ทะนาน
แก้วประพาฬ 22 ทะนาน แก้วมณี 33 ทะนาน ได้ถึงการประกอบ