เมนู

อรรถกถาจักกวัตติสูตร



จักกวัตติสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังแล้วอย่างนี้. ในพระสูตร
นั้น มีการพรรณาบทที่ยากดังต่อไปนี้.
บทว่า มาตุลายํ ได้แก่ ในพระนครที่มีชื่ออย่างนั้น. พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงพระนครนั้นให้เป็นโคจรคาม ประทับอยู่ ณ ไพร-
สณฑ์ไม่ไกล. ในคำว่า ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ นี้มีอนุ-
ปุพพิกถาดังต่อไปนี้.
เล่ากันว่า ในสมัยที่พระสูตรนี้เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าออก
จากมหากรุณาสมาบัติ ในเวลาย่ำรุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลก ทอดพระเนตร
เห็นการตรัสรู้ธรรมของเหล่าสัตว์ 84,000 ผู้อยู่ในมาตุลนคร ด้วยการ
กล่าวพระสูตร อันแสดงถึงอนาคตวงศ์นี้ จึงพร้อมด้วยภิกษุ 20,000 รูป
เสด็จไปยังมาตุลนครแต่เช้าตรู่. เจ้ามาตุลนคร ตรัสว่า "ข่าวว่าพระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จมา" จึงต้อนรับนิมนต์พระทศพลให้เสด็จเข้าสู่พระนคร
ด้วยเครื่องสักการะเป็นอันมาก ทรงตระเตรียมสถานที่ประทับนั่ง อา-
ราธนาให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์อันล้ำค่า ได้ถวาย
มหาทานแด่ภิกษุสงฆ์ อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ทรงทำภัตรกิจเสร็จทรงดำริว่า ถ้าเราจักแสดงธรรม แก่พวก
มนุษย์นี้ ในที่นี้ไซร้ สถานนี้คับแคบ พวกมนุษย์ จักไม่มีโอกาส
จะยืนจะนั่ง แต่สมาคมใหญ่แล พึงมีได้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าไม่ทรงทำภัตตานุโมทนา แก่พวกราชตระกูลเลย ทรงถือบาตร
เสด็จออกจากพระนครไป.

พวกมนุษย์คิดว่า พระศาสดาไม่ทรงทำอนุโมทนาแก่พวกเรา
เสด็จไปเสีย อาหารเลิศรส คงไม่ถูกพระทัยเป็นแน่แท้ ขึ้นชื่อว่าพระ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ใคร ๆไม่อาจเอาพระทัยได้ถูก ธรรมดาว่าการ
ทำความคุ้นเคยกับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เป็นเช่นกับการจับคออสร-
พิษที่แผ่แม่เบี้ย มาเถิดท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเราจักขอขมาพระ
ตถาคต. พวกชาวพระนครทั้งสิ้น ต่างพากันออกไป พร้อมกับพระผู้มี
พระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะเสด็จไปอยู่นั่นเอง ทอดพระเนตรเห็น
ต้นมาตุละ (ต้นลำโพง) ต้นหนึ่งยืนต้นอยู่ ในนาของชาวมคธ สะพรั่งพร้อม
ด้วยกิ่งค่าคบแผ่ไพศาล ตั้งอยู่ในภูมิภาคประมาณกรีสหนึ่ง ดำริว่า เรา
จักนั่งที่โคนไม้นี้ เมื่อเราแสดงธรรม มหาชนจักมีโอกาสยืนและนั่งได้
จึงเสด็จกลับเลาะลัดบรรดา เสด็จแวะเข้าหาโคนไม้ ทอดพระเนตร
ดูพระอานนท์ ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก (คลังพระธรรม). พระเถระทราบ
ว่า พระศาสดาประสงค์จะประทับนั่ง ด้วยความหมายที่พระองค์ทอด
พระเนตรเท่านั้น จึงปูลาดจีวรใหญ่สำหรับพระสุคตเจ้าถวาย. พระผู้
มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่พระอานนท์ปูลาดแล้ว. ลำดับนั้น
พวกมนุษย์พากันนั่งด้านพระพักตร์พระตถาคต. หมู่ภิกษุนั่งที่ด้านข้าง
ทั้งสอง และด้านหลัง เหล่าเทวดา ต่างยืนอยู่ในอากาศ. พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ประทับในท่ามกลางบริษัทใหญ่นั้นแล ด้วยอาการอย่างนี้ จึง
ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว. สองบทว่า เต ภิกฺขู ความว่า ภิกษุ
ผู้เป็นธรรมปฏิคาหกรับธรรมเข้าไปในสมาคมนั้น. บทว่า อตฺตทีปา
ความว่า พวกเธอจงทำตนให้เป็นเกาะ เป็นที่ต้านทาน เป็นที่กำบังเป็น
คติ เป็นที่ไปเบื้องหน้า เป็นที่พึ่ง อยู่เถิด. คำว่า อตฺตสรณานี้ เป็นไว-
พจน์ของคำว่า อตฺตทีปา นั่นเอง. คำว่า อนญฺญสรณา เป็นคำปฏิ-

เสธที่พึ่งอย่างอื่น. ความจริง คนอื่นจะเป็นที่พึ่งแก่คนอื่นหาได้ไม่ เพราะ
คนอื่นบริสุทธิ์ด้วยความพยายามของคนอื่นไม่ได้.
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตนแลเป็นที่พึ่งของตน
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า อนญฺญสรณา. ถามว่า ก็ในคำว่า อตฺตทีปา นี้ อะไรเล่า
ชื่อว่าตน. แก้ว่า โลกิยธรรมและโลกุตรธรรม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา อนญฺญสรณา มีธรรม
เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ดังนี้.
คำว่า กาเย กายานุปสฺสี เป็นต้น ได้กล่าวพิสดารไว้แล้วใน
มหาสติปัฏฐานสูตร. บทว่า โคจเร ได้แก่ ในสถานที่ควรเที่ยวไป. บทว่า
สเก คือที่อันเป็นของมีอยู่แห่งตน. บทว่า เปตฺติเก วิสเย คือในถิ่นที่มา
จากพ่อแม่. บทว่า จรตํ คือเที่ยวไปอยู่ บาลีว่า จรนฺตํ ดังนี้ก็มี. เนื้อความก็
เช่นนี้แหละ. บทว่า น ลจฺฉติ ความว่า จักไม่ได้ คือ จักไม่เห็น.
บทว่า มาโร ได้แก่เทวบุตรมารบ้าง กิเลสมารบ้าง. บทว่า โอตารํ
ได้แก่ ร่องรอย คือช่องทางเปิด. ก็ความนี้บัณฑิตพึงแสดงด้วยเรื่องเหยี่ยว
นกเขา ซึ่งโฉบเฉี่ยวเอานกมูลไถตัวบินออกจากที่ (หลีบ) ก้อนดิน โผ
จับอย่าบนเสาระเนียด (เสาค่าย) กำลังผึ่งแดดอ่อนไป. สมจริงดังคำที่
พระผู้พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว เหยี่ยวนก
เขา เข้าโฉบเฉี่ยวเอานกมูลไถโดยฉับพลันเอาไป ภิกษุทั้งหลาย ครั้ง
นั้นแล นกมูลไถถูกเหยี่ยวนกเขานำไปอยู่คร่ำครวญอย่างนี้ว่า พวกเรา
นั่นแล เที่ยวไปในที่อโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์ นับว่าไม่มีบุญ
มีบุญน้อย. ถ้าหากวันนี้เราพึงเที่ยวไปในที่โคจรอันเป็นถิ่นของพ่อแม่
ของคนไซร้ เหยี่ยวนกเขาจักไม่อาจ (จับ) เราด้วยการต่อสู้เช่นนี้.
เหยี่ยวนกเขาถามว่า ดูก่อนนกมูลไถ ก็สำหรับท่าน อะไรเล่า เป็นถิ่น

ของพ่อแม่ของตน นกมูลไถตอบว่า คือ ที่ก้อนดินรอยไถ. ภิกษุทั้งหลาย
ครั้งนั้นแล เหยี่ยวนกเขาไม่ทรนงในกำลังของตน เชื่อในกำลังขอ
ตน ปล่อยนกมูลไถไปโดยกล่าวว่า ดูก่อนนกมูลไถ เจ้าจงไปเถิด
ถึงเจ้าไปในที่นั้นก็ไม่พ้น. ครั้งนั้นแล นกมูลไถ เจ้าจงไปเถิด
รอยไถ ขึ้นยังก้อนดินก้อนใหญ่ ยืนท้าเหยี่ยวนกเขาว่า มาเดี๋ยวนี้ซิ เจ้า
เหยี่ยวนกเขา มาเดี๋ยวนี้ซิ เจ้าเหยี่ยวนกเขา.
ครั้นนั้นเหยี่ยวนกเขา ผู้ไม่ทรนงในกำลังของตน เชื่อมั่นใน
กำลังของตน ลู่ปีกทั้งสองพลันโฉบลงตรงนกมูลไถ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ครั้งใดแล นกมูลไถรู้ตัวว่า เหยี่ยวนกเขาตัวนี้สามารถพุ่งตัวลงมาแล้ว
ครั้งนั้นแล นกมูลไถก็หลบซ่อนตรงระหว่างก้อนดินนั้นนั่นเอง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เหยี่ยวนกเขา จึงได้แต่ให้อกกระแทก
ที่ก้อนดินนั้นแล. ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นก็เหมือนกับที่ภิกษุเที่ยวไปในที่
อโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
พวกเธอจงอย่าเที่ยวไปในที่อโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์. เมื่อเธอเที่ยว
ไปในแดนอโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์ มารย่อมได้ช่อง มารย่อมได้อา-
รมณ์. ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าคืออโคจร ถิ่นของปรปักษ์ สำหรับภิกษุ คือ
กามคุณ 5. กามคุณ 5 เป็นไฉน ? ได้แก่รูปที่พึงรู้ได้ด้วยจักษุอันน่าปรารถนา
น่าใคร่น่าพึงใจประกอบด้วยความใคร่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯลฯ โผฏ-
ฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย ฯลฯ อันเป็นที่ตั้งแห่ความกำหนัด. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้ คืออโคจรอันเป็นถิ่นของปรปักษ์สำหรับภิกษุ. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอจงเหี่ยวในโคจร ฯลฯ มารย่อมไม่ได้อารมณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรคือโคจรของภิกษุ ซึ่งเป็นถิ่นของบิดามารดา
ของตน คือสติปัฏฐาน 4. สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นภายในกายอยู่ ฯลฯ ธรรมที่
เป็นถิ่นบิดาของตน.

บทว่า กุสลานํ คือ ธรรมที่ไม่มีโทษเป็นลักษณะ. บทว่า สมา-
ทานเหตุ คือ เพราะเหตุสมาทานแล้วประพฤติ. บทว่า เอวมิทํ ปุญฺญํ
ปวฑฺฒติ
ความว่า ผลบุญอันเป็นโลกิยะและโลกุตระนี้ ย่อมเจริญอย่าง
นี้. อนึ่ง คำว่า ผลบุญนั้นพึงทราบว่า ได้แก่ทั้งบุญทั้งผลของบุญชั้นสูง ๆ.
ในคำว่า ปุญฺญผลํ นั้น กุศลมี 2 อย่าง คือวัฏฏคามีกุศล กุศลเป็น
ทางไปสู่วัฏฏะ 1 วิวัฏฏคามีกุศล กุศลเป็นทางไปสู่วิวัฏฏะ 1 ในกุศล
2 อย่างนั้น จิตที่อ่อนโยนของมารดาบิดาด้วยอำนาจที่มีความรักในบุตร
ธิดา และจิตที่อ่อนโยนของบุตรธิดาด้วยอำนาจที่มีความรักในมารดาบิดา
ชื่อว่า วัฏฏคามีกุศล. โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ มีประเภทเป็น
ต้นว่า สติปัฏฐาน 4 ชื่อว่าวิวัฏฏคามีกุศล. ในกุศลเหล่านั้น สำหรับ
กุศลที่เป็นวัฏฏคามี สิ้นสุดกันตรงศิริสมบัติของพรเจ้าจักรพรรดิ์ ใน
มนุษยโลก. สำหรับกุศลที่เป็นวิวัฏฏคามีสิ้นสุดกันที่มรรคผลและนิพ-
พานสมบัติ. ในกุศลสองอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจักแสดงวิบากของ
วิวัฏฏคามีกุศลไว้ ในตอนท้ายของสูตร. แต่ในที่นี้ เพื่อแสดงวิบากแหง
วัฏฏคามีกุศล พระองค์จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดบุตรธิดา
ไม่ตั้งอยู่ในโอวาทของมารดาบิดา เมื่อนั้นพวกเขา เสื่อมอายุบ้าง ผิว
พรรณบ้าง ความเป็นใหญ่บ้าง แต่ว่า เมื่อใดเขาตั้งอยู่ในโอวาท เมื่อ
นั้นจึงเจริญ ดังนี้แล้ว จึงเริ่มพระธรรมเทศนา ด้วยอำนาจความสืบต่อ
วัฏฏคามีกุศลว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว เป็นต้นไป.
ในคำเหล่านั้น คำเป็นต้นว่า จกฺกวตฺติ ได้กล่าวพิสดารแล้ว
ในมหาปทานสูตรนั้นแล. บทว่า โอสกฺกิตํ แปลว่า ย่อหย่อนไปนิดหน่อย.
บทว่า ฐานา จุตํ แปลว่า เคลื่อนไปจากฐานะโดยประการทั้งปวง. เล่ากันว่า
จักรแก้วนั้น ได้ลอยขึ้นไปตั้งอยู่ ในอากาศเหมือนนำไปด้วยล้ออยู่เหนือประ
ตู พระราชวังชั้นใน. ครั้งนั้น พระราชารับสั่งให้ฝังเสาไม้ตะเคียนสองต้น

ไว้ที่ข้างทั้งสองแห่งจักรนั้น ที่บนสุดของจักรแก้ว ผูกเชือกด้ายไว้เส้นหนึ่ง
ให้อยู่ตรงกับกง. แม้ในด้านล่าง ก็ผูกเชือกด้ายเส้นหนึ่งให้อยู่ตรงกับกง.
จักรแก้วย้อยต่ำลงแม้นิดเดียว จากเส้นเชือกข้างบนเส้นหนึ่งในบรรดา
เชือกสองเส้นนั้นก็เป็นอันว่าหย่อนลง. ปลายสุดของจักรแก้วอยู่เลยที่ตั้งของ
ด้ายชั้นล่าง ชื่อว่าเคลื่อนจากฐานแล้ว. เมื่อมีโทษแรงมาก จักรแก้วนี้
นั้นจะเป็นอย่างนี้ คือ คล้อยเคลื่อนจากฐานแม้ประมาณเส้นด้ายหนึ่ง
หรือประมาณหนึ่งองคุลีสององคุลี.
ท่านหมายเอาเหตุนั้นจึงกล่าวว่า โอสกฺกิตํ ฐานา จุตํ หย่อน
เคลื่อนจากฐานดังนี้. ข้อว่า อถ เม อาโรเจยฺยาสิ ความว่า พระ
ราชารับสั่งว่า พ่อเอ๋ย นับแต่วันนี้เป็นต้นไป เจ้าจงไปสู่ที่บำรุงจักรแก้ว
วันละ 3 ครั้ง เจ้าเมื่อไปอย่างนั้น พบเห็นจักรแก้วคล้อย คือ เคลื่อน
จากที่แม้นิดเดียวเมื่อใด พึงบอกแก่เราเมื่อนั้น เพราะว่า ชีวิตของเรา
ฝากไว้ในมือของเจ้า. บทว่า อทฺทส ความว่า บุรุษนั้นไม่ประมาท
แล้ว ไปดูวันละ 3 ครั้ง ได้พบเห็นเข้าไปวันหนึ่ง.
ข้อว่า อถโข ภิกฺขเว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นพระเจ้าทัฬหเนมิ สดับว่า จักรแก้วเคลื่อน
ที่แล้ว เกิดความโทมนัสอย่างรุนแรง ดำริว่า เราจักมีชีวิตไม่ยั่งยืนนาน
อายุของเราเหลือน้อยเต็มที่ บัดนี้ เราจะไม่มีเวลาบริโภคกามอีกแล้ว
เวลาแห่งการบรรพชา ย่อมมีแก่เรา ณ บัดนี้ ดังนี้แล้ว ทรงกันแสง
คร่ำครวญ รับสั่งให้เรียกหาพระราชกุมารพระราชโอรสองค์ใหญ่มาแล้ว
ตรัสคำนี้. คำว่า สมุทฺทปริยนฺตํ คือ มีสมุทรหนึ่งที่ล้อมรอบอยู่เป็น
ขอบเขตนั่นเอง. ที่จริง ทรัพย์คือแผ่นดิน นี้เป็นของประจำราชตระกูล
ของพระราชาพระองค์นั้น . อนึ่งจักรแก้วนั้นมีจักรวาลเป็นขอบเขต เกิด
ขึ้นได้ด้วยอำนาจบุญฤทธิ์ ใคร ๆ ไม่อาจจะยกให้กันได้. ก็พระราชาเมื่อ

จะมอนจักรแก้วอันเป็นของประจำราชตระกูล จึงตรัสว่า สมุทฺทปริยนฺตํ
ดังนี้. บทว่า เกสมสฺสุํ ความว่า ที่จริงบุคคลทั้งหลาย แม้เมื่อจะบวช
เป็นดาบส ก็ปลงผมและหนวดออกก่อน แต่นั้นไป จึงได้กระหมวดมุ่น
ผมที่งอกขึ้นมา เที่ยวไป เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เกสมสฺสุํ
โอหาเรตฺวา.
บทว่า กาสายานิ ได้แก่ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด. อธิบาย
ว่า เบื้องต้นได้ทำอย่างนั้น ภายหลังจึงทรงแม้ผ้าเปลือกไม้.
บทว่า ปพฺพชิ ปลว่า ผนวชแล้ว. อธิบายว่า ก็ครั้นผนวช
แล้ว ได้ประทับอยู่ในพระราชอุทยานอันเป็นมงคลส่วนพระองค์นั่นเอง.
บทว่า ราชีสิมฺหิ คือ ราชฤาษี. แท้จริง ผู้บวชจากวรรณะพราหมณ์
ท่านเรียกว่า พราหมณฤาษี. ส่วนผู้ละเศวตฉัตร บวชจากวรรณะกษัตริย์
เรียกว่า ราชฤาษี. บทว่า อนฺตรธายิ แปลว่า อันตรธานแล้ว คือถึง
ความไม่มี ดุจเปลวประทีปที่ดับแล้ว.
บทว่า ปฏิสํเวเทสิ ความว่า (พระราชโอรส) กันแสงรำพัน
ทูลให้ทราบแล้ว. บทว่า เปตฺติกํ คือ ท่านแสดงว่า มิใช่ทรัพย์มรดก
ตกทอด ที่มาจากข้างราชบิดา อันใคร ๆ ที่มีความเกียจคร้าน มีความ
เพียรย่อหย่อน สมาทานประพฤติอกุศลกรรมบถ 10 ประการ ไม่อาจ
ละได้ แต่ว่าผู้ที่อาศัยกรรมที่ทำไว้ดีของตน บำเพ็ญวัตรของพระเจ้า
จักรพรรดิ์ 10 อย่าง หรือ 12 อย่างเท่านั้น จึงจะได้จักรแก้วนั้น. ครั้ง
นั้น ราชฤาษี เมื่อตักเตือนราชบุตรนั้นไว้ในข้อวัตรปฏิบัติ จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า อิงฺฆ ตฺวํ เชิญเถิดท่าน.
ในข้อวัตรปฏิบัตินั้นคำว่า อริเย คือหมดโทษ. คำว่า จกฺกวตฺติ-
วตฺเต
ได้แก่ ในวัตรของพระเจ้าจักรพรรดิ์.

บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ ธรรม คือ กุศลกรรมบถ 10. บทว่า
นิสฺสาย คือกระทำธรรมนั้นเท่านั้นให้เป็นที่อาศัย ด้วยพระทัยที่อธิษ-
ฐานธรรมนั้นไว้แล้ว. บทว่า ธมฺมํ สกฺกโรนฺโต ความว่า ธรรมนั้นอัน
เข้าบำเพ็ญแล้ว คือ บำเพ็ญด้วยดีอย่างไร ท่านก็บำเพ็ญธรรมนั้นอย่าง
นั้นเหมือนกัน. สองบทว่า ธมฺมํ ครุกโรนฺโต คือ กระทำธรรมนั้น
ให้เลิศลอย ด้วยการเข้าถึงความเคารพในธรรมนั้น. บทว่า ธมฺมํ มาเนนฺ-
โต
คือ กระทำธรรมนั้นเท่านั้นให้เป็นที่รัก แบะให้ควรแก่การยกย่อง
อยู่. บทว่า ธมฺมํ ปูเชนฺโต คืออ้างอิงธรรมนั้นแล้ว กระทำการบูชาต่อ
ธรรมนั้นด้วยการบูชาด้วยวัตถุมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น. บทว่า ธมฺมํ
อปจายมาโน
ความว่า กระทำการประพฤติอ่อนน้อม ต่อธรรมนั้นนั่น
เอง ด้วยสามีจิกรรมมีการประนมมือเป็นต้น.
บทว่า ธมฺมธโช ธมฺมเกตุ อธิบายว่า ชื่อว่ามีธรรมเป็นดุจ
ธงชัย และชื่อว่ามีธรรมเป็นสิ่งสุดยอด เพราะเชิดชูธรรมนั้นไว้เบื้อง
หน้าเหมือนธงชัย สละยกธรรมนั้นขึ้นทำให้เหมือนยอดประพฤติ.
บทว่า ธมฺมาธิปเตยฺโย คือมีธรรมเป็นใหญ่ ได้แก่เป็นธรรมา-
ธิปไตย เพราะภาวะแห่งธรรมที่มีมาแล้ว สละเพราะกระทำกิริยาทั้ง
หมดด้วยอำนาจธรรมเท่านั้น.
บทว่า ธมฺมิกํ รกฺขาวรณคุตฺตึ สํวิทหสฺสุ มีวิเคราะห์ดังนี้
ธรรมของการรักษามีอยู่ เหตุนั้น การรักษานั้นชื่อว่ามีธรรม การรักษา
การป้องกัน และการคุ้มครอง ชื่อว่า รกฺขาวรณคุตฺติ. บรรดาธรรม
เครื่องรักษาเหล่านั้น ธรรมทั้งหลายมีขันติเป็นต้น ชื่อว่าการรักษา เพราะ
พระบาลีว่า บุคคลเมื่อรักษาผู้อื่น ชื่อว่ารักษาตน. สมจริงดังพระดำรัส
ที่พระมีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อรักษาผู้

อื่น ชื่อว่ารักษาตนไว้ได้อย่างไรเล่า ? บุคคลเมื่อรักษาผู้อื่น ชื่อว่า
รักษาตนไว้ได้ด้วยขันติ ด้วยความไม่เบียดเบียน ด้วยความมีเมตตา
จิต และด้วยมีความเอ็นดู. การป้องกันวัตถุ มีผ้านุ่งผ้าห่มและเรือนเป็น
ต้น ชื่อว่า อาวรณะการป้องกัน. การคุ้มครองเพื่อห้ามอุปัทวันตรายมีโจร
เป็นต้น ชื่อว่า คุตฺติ การคุ้มครอง. อธิบายว่า ท่านจงจัดแจงกิจการทั้ง
หมดนั้น คือให้เป็นไป ให้ดำรงอยู่ด้วยดี. บัดนี้ เมื่อทรงแสดงสิ่งที่พึง
จัดการรักษาป้องกันคุ้มครอง ฤาษีจึงกล่าวว่า อนฺโตลนสฺมึ เป็นต้น
ความย่อในคำนั้นมีดังต่อไปนี้.-

วัตรของพระเจ้าจักรพรรดิ์



เจ้าจงยังบุตรและภรรยา กล่าวคือชนภายในของเจ้า ให้ตั้งอยู่
ในศีลสังวร จงให้วัตถุมีผ้าดอกไม้และของหอมเป็นต้น แก่พวกบุตร
และภรรยานั้น และจงป้องกันอุปัทวะทั้งหมดให้แก่เขา. แม้ในเหล่า
ทหารเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่มีข้อแตกต่างกันดังนี้. เหล่าทหารอัน
พระราชาควรสงเคราะห์ด้วยการเพิ่มบำเหน็จรางวัลให้ ไม่ให้ล่วงเลยกาล
เวลา. กษัตริย์ผู้ได้รับการอภิเษก ควรสงเคราะห์ด้วยการให้รัตนะมีม้า
อาชาไนยอันสง่างามเป็นต้น. กษัตริย์ที่เป็นประเทศราช ควรให้ยินดี
แม้ด้วยการมอบให้ยานพาหนะอันสมควรแก่ความเป็นกษัตริย์นั้น. พราหมณ์
ทั้งหลายควรให้ยินดีด้วยไทยธรรมมีข้าวน้ำและผ้าเป็นต้น.
พวกคฤหบดี ควรสงเคราะห์ ด้วยการให้พันธุ์ ข้าว ไถ ผาล
และโคงานเป็นต้น. ผู้อยู่ในนิคม ชื่อ เนคมะ (ชาวนิคม) และผู้อยู่