เมนู

ถูกต้องโผฏฐัพพะใด ย่อมเกิดราคะเป็นต้น ไม่พึงเสพโผฎฐัพพะเห็นปานนั้น
แต่เมื่อถูกต้องสิ่งใด ย่อมมีการสิ้นกิเลสเครื่องหมักดองได้เหมือนของพระ-
สารีบุตรเถระเป็นต้น ทั้งความเพียร ก็ได้รับการประคับประคองไว้เป็นอย่างดี
และทั้งประชุมชนในภายหลัง ก็ย่อมได้รับการอนุเคราะห์ด้วยการดำเนินตาม
เยี่ยงอย่างที่ได้เห็น โผฎฐัพพะเห็นปานนั้น พึงเสพไว้เถิด.
เล่ากันมาว่า พระสารีบุตรเถระ ไม่เคยเหยียดหลังบนเตียงตลอด 30 ปี
พระมหาโมคคัลลานเถระก็เหมือนกัน. พระมหากัสสปเถระไม่เคยเหยียดหลัง
บนเตียง 120 ปี. พระอนุรุทธเถระ 55 ปี พระภัททิยเถระ 30 ปี พระโสณ
เถระ 18 ปี พระรัฏฐปาลเถระ 12 ปี พระอานนทเถระ 15 ปี พระราหุล
เถระ 12 ปี พระพากุลเถระ 80 ปี พระนาฬกเถระไม่เคยเหยียดหลังบนเตียง
จนปรินิพพาน.
เมื่อพิจารณาธรรมที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยใจเหล่าใด ย่อมเกิดราคะเป็นต้น
ขึ้นมา หรือความเพ่งเล็งอยากได้เป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า โอ้หนอ ขอให้
เครื่องอุปกรณ์คือ สมบัติที่คนอื่นปลื้มใจของคนเหล่าอื่นนั้นจงเป็นของเราเถิด
ย่อมมาสู่คลองพึงเสพไม่ได้. แต่ธรรมทั้งหลายของพระเถระ 3 รูปเหล่าใด
ด้วยอำนาจเมตตาเป็นต้นอย่างนี้ว่า ขอให้พวกสัตว์ทั้งหมด จงเป็นผู้ไม่มีเวร
กันเถิด ธรรมเห็นปานนี้เหล่านั้นพึงเสพได้.
ได้ยินว่า พระเถระ 3 รูป ในวันเข้าพรรษาได้วางกฎไว้ว่า ความตรึก
ที่เป็นอกุศลมีความตรึกถึงความใคร่เป็นต้น พวกเราไม่พึงตรึก. ครั้นในวัน
ปวารณา พระเถระในสงฆ์ถามผู้ใหม่ในสงฆ์ว่า คุณ ใน3เดือนนี้ คุณให้จิตวิ่ง
วนไปกี่แห่ง. พระเถระรูปที่ 1 เรียนว่า ท่านขอรับ กระผมไม่ได้ให้วิ่งออก
นอกเขตบริเวณ. พระเถระในสงฆ์จึงถามรูปที่ 2ว่า ของคุณกี่แห่ง คุณ. รูปที่
2 นั้นตอบว่า ท่านขอรับ กระผมไม่ได้ให้วิ่งไปนอกที่อยู่. ครั้นแล้วพระเถระ

ทั้ง 2 รูปก็พากันถามพระเถระบ้างว่า ของท่านเล่าขอรับ. พระเถระตอบว่า
ผมไม่ได้ให้วิ่งออกนอกขันธ์ 5 หมวดที่แนบแน่นในภายใน. ท่านทั้ง 2 รูป
จึงเรียนว่า ท่านขอรับ ท่านได้ทำสิ่งที่ทำได้ยากแล้ว. พึงเสพธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ได้ด้วยใจเห็นปานนี้ไว้เถิด.
คำว่า ผู้มีถ้อยคำมีที่สุดอย่างเดียว คือ ที่ชื่อว่า ผู้มีถ้อยคำมีที่สุด
อย่างเดียว เพราะที่สุดถ้อยคำของคนเหล่านี้ อย่างเดียวเท่านั้นไม่ใช่ 2 ถ้อยคำ.
ท้าวสักกะทรงถามว่า ย่อมกล่าวอย่างเดียวเท่านั้น. คำว่า มีศีล มีที่สุดอันเดียว
คือมีมารยาทอย่างเดียว. คำว่า มีความพอใจ มีที่สุดอย่างเดียว คือ มีลัทธิ
อย่างเดียว. คำว่า มีการสิ้นสุด มีที่สุดอย่างเดียว คือมีการจบถ้วน มีที่สุด
อย่างเดียว. คำว่า ท่านจอมทวยเทพ โลกมีธาตุไม่ใช่อย่างเดียว มีธาตุ
ต่างกัน
ความว่า ท่านจอมทวยเทพ ! โลกนี้มีอัธยาศัยไม่ใช่อย่างเดียว มี
อัธยาศัยแตกต่างกัน เมื่อคนหนึ่งอยากเดิน ( แต่อีก ) คนหนึ่งอยากยืน เมื่อ
อีกคนหนึ่งอยากยืน ( แต่อีก ) คนหนึ่งอยากนอน สัตว์ทั้ง 2 ชื่อว่ามี
อัธยาศัยอย่างเดียวกันหาได้ยาก.
ในโลกที่มีธาตุมากมาย และมีธาตุแตกต่างกันนั้น หมู่สัตว์ย่อมยึดมั่น
ย่อมถือเอาธาตุใด ๆ อัธยาศัยใด ๆ คือ ก็ย่อมยึดมั่น ย่อมถือเอาธาตุนั้น ๆ
แหละ ด้วยเรี่ยวแรง ด้วยการลูบคลำ เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงคือ
ระบุ ว่าย่อมยึดมากกว่า ย่อมถือเอามากล่าวอย่างดี ด้วยเรี่ยวแรงและด้วยการ
ลูบคลำ. คำว่า นี่เท่านั้นจริง อย่างอื่นโมฆะ คือ คำของพวกเราเท่านั้น
แหละจริง คำของคนเหล่าอื่นโมฆะ คือเปล่า ได้แก่ ไม่มีประโยชน์
ความฉิบหายอันเรียกว่า อันตะ (ที่สุด)ในบทว่า มีความดับเป็นที่สุด
(ยิ่งล่วงส่วน) ชื่อว่า ผู้มีความดับล่วงส่วนเพราะความดับของเขาเหล่านั้นล่วง
ที่สุดแล้ว. ความดับของพวกเขาใด ความหวังอย่างยิ่งคือ พระนิพพานใด นั้น

ท่านเรียกว่าสิ่งมีที่สุดล่วงส่วนก้าวล่วงความฉิบหายของพวกเขาทั้งหมด. คำว่า
ความโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ในทุกข์ เป็นชื่อของพระ-
นิพพานนั่นเอง. ชื่อว่า ผู้มีความโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในทุกข์
อันล่วงส่วน เพราะความโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในทุกข์ของเขา
เหล่านี้มีอยู่. ชื่อว่า ผู้มีความประพฤติอันประเสริฐเพราะเขาย่อมประพฤติทางที่
ไกลจากข้าศึกที่ชื่อว่า ประเสริฐเพราะอรรถว่าประเสร็จสุด. ผู้ประพฤติประเสริฐ
เพราะเป็นความประพฤติที่ล่วงส่วน ชื่อว่า ผู้ประพฤติประเสริฐล่วงส่วน. คำว่า
ที่จบถ้วน เป็นชื่อของพระนิพพานนั่นเอง. ชื่อว่า ผู้มีความจบถ้วนเพราะเขา
มีความจบถ้วนที่ล่วงส่วน. คำว่า ความสิ้นไปพร้อมแห่ง ความทะยาน
อยาก
ในคำว่า ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะความสิ้นไปพร้อมแห่งความทะยานอยาก
นี้เป็นมรรคก็ได้ เป็นพระนิพพานก็ได้ มรรคชื่อว่าเป็นเครื่องสิ้นไปพร้อม
แห่งความทะยานอยาก เพราะทำตัณหาให้สิ้นไปพร้อม คือ ให้หายไป
พระนิพพานชื่อว่าเป็นที่สิ้นไปพร้อมแห่งความทะยานอยาก เพราะความทะยาน
อยาก เมื่อมาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว ก็ย่อมสิ้นไปพร้อม คือ ย่อมฉิบหายไป
ชื่อว่า ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะความสิ้นไปพร้อมแห่งความทะยานอยาก เพราะ
หลุดพ้นแล้วด้วยมรรคอันเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งความทะยานอยาก หรือหลุดพ้น
คือพ้นอย่างยิ่งในเพราะพระนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปพร้อมแห่งความทะยานอยาก.
ด้วยพระดำรัสมีประมาณเพียงเท่านี้ ก็เป็นอันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พยากรณ์ปัญหาครบทั้ง 14 ข้อแล้ว.
ชื่อปัญหา 14 ข้อคือ
1. ความหึงและความหวง (อิสสามัจฉริยะ)
2. ความชอบและความชัง (ปิยาปิยะ)
3. ความพอใจ (ฉันทะ)

4. ความตรึก (วิตก)
5. ธรรมเครื่องเนิ่นช้า (ปปัญจ)
6. ความสุขใจ (โสมนัส)
7. ความทุกข์ใจ (โทมนัส)
8. ความรู้สึกเฉย ๆ (อุเบกขา)
9. มารยาททางกาย (กายสมาจาร)
10. มารยาททางวาจา (วจีสมาจาร)
11. การแสวงหา (ปริเยสนา)
12. ความสำรวมอินทรีย์ (อินทริยสังวร)
13. ธาตุจำนวนมาก (อเนกธาตุ)
14. ความดับล่วงส่วน (อัจจันตนิฏฐา)
ความทะยานอยาก ท่านเรียกว่าเอชาคือ ความหวั่นไหว เพราะอรรถ
ว่าไหวหวั่น. ความหวั่นไหวนั้น เรียกว่า โรค เพราะอรรถว่า เบียดเบียน
เรียกว่า ผี เพราะอรรถว่า ประทุษร้ายภายใน เรียกว่า ลูกศร เพราะอรรถ
ตามแทง. คำว่า เพราะฉะนั้น บุรุษนี้ คือ ความหวั่นไหวย่อมคร่าคน
เพื่อประโยชน์แก่อันเกิดยิ่งขึ้นในภพนั้น ๆ ตามสมควรแก่กรรมที่คนได้ทำไว้
เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น บุรุษนี้จึงย่อมถึงความสูงต่ำด้วยอำนาจภพนั้น ๆ.
สูงในพรหมโลก ในเทวโลกต่ำ สูงในเทวโลก ในมนุษยโลกต่ำ สูงใน
มนุษยโลก ในอบายต่ำ. คำว่า เยสาหํ ภนฺเต ตัดบทเป็น เยสํ อหํ ภนฺเต.
เพราะคำว่า เยสาหํ ในที่นี้ เป็นด้วยอำนาจการเชื่อม (สนธิ). คำว่า ตามที่
ได้ฟังมา ตามที่ได้เรียนมา
คือ ข้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังมาและได้เรียนมา
อย่างไร. คำว่า ย่อมแสดงธรรมอย่างนี้ คือ ย่อมแสดงธรรมคือวัตตบท
เจ็ดประการ. คำว่า น จาหํ เตสํ คือ ส่วนข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นสาวก

ของท่านเหล่านั้นยังเข้าถึงไม่ได้. ท้าวสักกะทรงแจ้งให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทราบความที่พระองค์ทรงเป็นพระโสดาบันด้วยพระดำรัสเป็นต้นว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ก็ ข้าพระพุทธเจ้า แล. คำว่า การได้เฉพาะซึ่งความ
ดีใจ
คือ การได้เฉพาะซึ่งความยินดี.
คำว่า สงครามระหว่างเทวดากับอสูร ได้แก่ สงครามของพวก
เทวดาและพวกอสูร. คำว่า ประชิดกัน ได้แก่เผชิญหน้ากันแบบถึงลักษณะ
ที่เอาหน้าผากเข้ากระแทกกัน. เล่ากันว่า บางที พวกเหล่านั้นถึงกับรบกัน
บนหลังทะเลหลวงก็มี. แต่ในที่นั้นไม่มีการฆ่ากันและกันด้วยการฟันการแทง
เป็นต้น. เอากันแค่ชนะและแพ้เหมือนการรบกันระหว่างไม้กับแกะเท่านั้นเอง.
บางครั้งเหล่าเทพก็ชนะ บางครั้งก็เหล่าอสูร. ในการรบกันนั้น พวกเทพชนะ
พวกอสูรด้วยการไม่กลับมาอีกในสงครามใด ท้าวสักกะทรงหมายเอาสงคราม
นั้นจึงตรัสคำเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ นั้น แล. คำว่า ทั้งสอง
นี้
ได้แก่ พวกเทวดาเท่านั้น ย่อมบริโภคโอชะทั้งสองคือสองอย่างนี้ใน
เทวโลกนี้ เพราะฉะนั้นเมื่อท้าวสักกะนั้นทรงใคร่ครวญอยู่ความปลาบปลื้มและ
ความดีพระทัยที่มีกำลังจึงเกิดขึ้น. คำว่า เที่ยวไปพร้อมกับอาชญา ได้แก่
ผู้เที่ยวเป็นประจำพร้อมกับอาชญา. ท่านแสดงว่าได้เป็นผู้เที่ยวไปพร้อมกับการ
ถือกระบอง พร้อมกับการถือศัสตรา ไม่ใช่วางอาชญาและอาวุธ. คำว่า
เพื่อความเบื่อหน่ายที่มีที่สุดอย่างเดียว ได้แก่ เพื่อความเบื่อหน่ายในการ
เวียนว่ายตายเกิดโดยที่สุดอย่างเดียวเท่านั้น. ทุกอย่างได้กล่าวไว้ในมหาโควินท-
สูตรเสร็จแล้ว. คำว่า แจ้ง ได้แก่กล่าว คือแสดง.
บทว่า ใน นี้นั่นเทียว คือ ในโอกาสนี้แหละ. บทว่า ของข้าพระ-
พุทธเจ้าผู้เป็นเทวดาเป็นอยู่
คือ ของข้าพระพุทธเจ้าผู้เทพเป็นอยู่ คำว่า