เมนู

ไม่มีความตรอง ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจฌานที่สอง และที่สามเป็นต้นใด. คำว่า
เหล่าใดไม่มีความตรึกไม่มีความตรอง ความว่า ในอุเบกขาทั้งสอง เหล่านี้
อุเบกขาที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองนั้นประณีตกว่า. ด้วยคำนี้ เป็นอัน
ท่านกล่าวถึงอะไร กล่าวถึงอรหัตผลของสองท่าน. จริงอยู่ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อ
เริ่มตั้งวิปัสสนาในอุเบกขาที่ยังมีความตรึก และยังมีความตรองแล้วก็มาใคร่
ครวญว่า อุเบกขานี้อาศัยอะไร ก็ทราบชัดว่าอาศัยที่วัตถุ แล้วก็ตั้งอยู่ในอรหัต
ผลโดยลำดับ ตามนัยที่กล่าวแล้วในหมวดอันมีผัสสะเป็นที่ห้านั่นแหละ. รูป
หนึ่งเริ่มตั้งวิปัสสนาในอุเบกขาที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองแล้วก็ตั้งอยู่
ในอรหัตผลตามนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน.
แม้ในอุเบกขาที่ตั้งมั่นเหล่านั้น อุเบกขาที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความ
ตรองประณีตกว่าที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง อุเบกขาวิปัสสนาที่ไม่มี
ความตรึกและไม่มีความตรองประณีตกว่า แม้อุเบกขาวิปัสสนาที่มีความตรึก
และมีความตรอง อุเบกขาผลสมาบัติที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองเท่านั้น
ที่ประณีตกว่าอุเบกขาผลสมาบัติที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เหล่าใดไม่มีความตรึกไม่มีความตรอง
ประณีตกว่า ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จอมทวยเทพ ! ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล
ชื่อว่า ย่อมปฏิบัติข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความสมควรเพื่อความดับโดยไม่เหลือแห่ง
ส่วนที่มีความจำได้หมายรู้อันประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า แล้วก็ทรงจบ
เทศนาลงด้วยยอดคือ พระอรหัตผล. ส่วนท้าวสักกะทรงบรรลุโสดาปัตติผล
แล้ว.
ธรรมดาพระอัธยาศัยของพระพุทธเจ้าไม่มีเลว มีแต่ชั้นยอดทั้งนั้น.
เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่คนเดียวก็ดี แก่หลายคนก็ดี ล้วนแต่ทรงถือยอดด้วย