เมนู

ศึกษาคือเป็นปุถุชน อุเบกขาเห็นปานนี้ใด อุเบกขานั้นก้าวล่วงรูปไปไม่ได้
เพราะฉะนั้น จึงเรียกอุเบกขานั้น ว่าอาศัยเรือน1 ดังนี้เป็นต้น. คำว่า อุเบกขา
เห็นปานนี้ อันบุคคลพึงเสพ
คือ พึงเสพอุเบกขาที่อาศัยการออกจากเรือน
เห็นปานนี้. ที่ชื่อว่า อุเบกขาที่อาศัยการออกจากเรือนได้แก่ อุเบกขาที่ประกอบ
พร้อมด้วยวิปัสสนาญาณซึ่งเกิดแก่บุคคลผู้ไม่ยินดีในอารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้าย
ในอารมณ์ที่ไม่น่ารัก ไม่ลุ่มหลงเพราะขาดการเพ่งพิจารณาในอารมณ์ มี
อารมณ์ที่น่ารักเป็นต้น ที่มาสู่คลองในทวารทั้งหกอย่างนี้คือ ในเวทนาเหล่านั้น
อุเบกขาที่อาศัยการออกจากเรือนหกอย่างเป็นไฉน คือ อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่
ผู้รู้แจ้ง ความไม่เที่ยงนั้นเอง ความแปรปรวน ความคลาย ความดับ
ของรูป แล้วเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปทั้งหลาย
ทั้งในเมื่อก่อน ทั้งในบัดนี้ รูปเหล่านั้นล้วนแต่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ มี
ความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา อุเบกขาเห็นปานนี้ใด อุเบกขา นั้นก้าวล่วง
รูปได้ เพราะฉะนั้น อุเบกขานั้นจึงเรียกว่าอาศัยการออกจากเรือน ดังนี้
เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่งแม้อุเบกขาที่เป็นกลางในอารมณ์นั้น ๆ มีส่วนเสมอกัน
กับเวทนา ก็จัดเป็นอุเบกขาในที่นี้ได้เหมือนกัน . คำว่า เพราะฉะนั้นพึงเสพ
ความว่า พึงเสพอุเบกขาที่เกิดด้วยอำนาจการออกจากเรือนด้วยอำนาจวิปัสสนา
ด้วยอำนาจการตามระลึกถึง ด้วยอำนาจฌานที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม และที่สี่นี้ไว้
ในคำเหล่านั้นคำว่า ถ้าอุเบกขาใดยังมีความตรึกยังมีความตรอง
คือแม้ในอุเบกขาที่อาศัยการออกจากเรือนนั้นก็พึงทราบว่า อุเบกขายังมีความ
ตรึก ยังมีความตรองซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจการออกจากเรือน ด้วยอำนาจวิปัสสนา
ด้วยอำนาจการตามระลึกถึงและด้วยอำนาจฌานที่หนึ่งใด. คำว่า ใด ถ้าไม่มี
ความตรึก ไม่มีความตรอง
คือ ก็พึงทราบว่าอุเบกขาที่ไม่มีความตรึก
1. ม.อุ. 371 .