เมนู

วิปัสสนา ด้วยอำนาจ การตามระลึกถึง ด้วยอำนาจฌานที่หนึ่งเป็นต้นนี้ ชื่อว่า
เป็นโทมนัสที่พึงเสพ.
ในคำเหล่านั้น คำว่า หากโทมนัสใด ยังมีความตรึก ยังมีความ
ตรอง
คือ ในโสมนัสทั้งสองอย่างแม้นั้น โทมนัสที่อาศัยเรือนเท่านั้น ที่ชื่อ
ว่าโทมนัสยังมีความตรึก ยังมีความตรองอยู่. ส่วนโทมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจ
การออกจากเรือน ด้วยอำนาจวิปัสสนา ด้วยอำนาจการตามระลึกถึง ด้วย
อำนาจฌานที่หนึ่งและฌานที่สอง พึงทราบว่าเป็นโทมนัสที่ยังมีความตรึกและ
ยังมีความตรองอยู่. ส่วนโดยทำนองอย่างตรงขึ้นชื่อว่าโทมนัสที่ไม่มีความตรึก
และไม่มีความตรองไม่มี. สำหรับอินทรีย์คือโทมนัส เป็นอกุศลโดยส่วนเดียว
เท่านั้น และยังมีความตรึกและยังมีความตรองด้วย. แต่ด้วยอำนาจความเข้าใจ
ของภิกษุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อินทรีย์คือโทมนัส ยังมีความตรึกและยังมีความ
ตรอง และว่า ที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรอง ดังนี้.
ต่อไปนี้ เป็นนัยในเรื่องโทมนัสนั้น คือในกรณีนี้ภิกษุถือเอาธรรม
ที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง และธรรมที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความ
ตรองอันเป็นธรรมที่มีโทมนัสเป็นปัจจัย และธรรมคือมรรคและผลที่เกิดขึ้นมี
โทมนัสเป็นปัจจัยนั่นเอง ว่าเป็นโทมนัสเพราะอำนาจเห็นการปฏิบัติของภิกษุ
เหล่าอื่นแล้วก็มาคิดว่า เมื่อไรหนอแล เราจึงจักเริ่มตั้งวิปัสสนาในโทมนัสที่
ยังมีความตรึกและยังมีความตรองได้เสียที เมื่อไรเราจึงเริ่มตั้งวิปัสสนาใน
โทมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองได้เสียที และคิดอีกว่า เมื่อไร
หนอแล เราจึงจักให้ผลสมาบัติในโทมนัสที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง
เกิดได้เสียที เมื่อไรเราจึงจักให้ผลสมาบัติในโทมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มี
ความตรองเกิดได้เสียที แล้วก็ถือข้อปฏิบัติตลอดสามเดือน หกเดือนหรือเก้าเดือน
เมื่อถือข้อปฏิบัติตลอดสามเดือน ในเดือนแรกเดินเสียหนึ่งยาม สองยามทำ