เมนู

ได้สิ่งที่เราอยากได้ สิ่งที่เราหวัง สิ่งที่เราประสงค์ สิ่งที่เราปรารถนาอย่างยิ่ง
แล้ว.
[223] ในครั้งนั้น มีมหาราชผู้ทรงภาระ 7
พระองค์คือ พระเจ้าสัตตภู 1 พระเจ้าพรหม
ทัต 1 พระเจ้าเวสสภู 1 พระเจ้าภรตะ
พระเจ้าเรณุ 1 พระเจ้าธตรัฐอีก 2 พระองค์
ดังนี้แล.

จบ ปฐมภาณวาร.

เกียรติศัพท์อันงามของมหาโควินท์



[224] ครั้งนั้นแล กษัตริย์ทั้ง 6 พระองค์นั้น เสด็จไปหามหา
โควินทพราหมณ์แล้ว ได้ตรัสคำนี้กะมหาโควินทพราหมณ์ว่า ท่านโควินท์
ผู้เจริญ เป็นพระสหายที่โปรดปรานที่ชอบพระทัยไม่เป็นที่สะอิดสะเอียนของ
พระเจ้าเรณุฉันใดแล ท่านโควินทผู้เจริญ ก็เป็นสหาย เป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจ
ไม่เป็นที่รังเกียจแม้ของพวกเรา ฉันนั้นเหมือนกัน ขอให้ท่านพราหมณ์โควินท์
ผู้เจริญได้โปรดพร่ำสอนพวกเราเถิด ขอท่านพราหมณ์โควินท์อย่าให้พวกเรา
เสื่อมเสียจากคำพร่ำสอน. ท่านพราหมณ์ มหาโควินท์ ทูลสนองพระดำรัสของ
กษัตริย์ทั้ง 6 พระองค์ ผู้ทรงได้รับมุรธาภิเษก เสร็จแล้วเหล่านั้นว่า อย่าง
นั้น พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้แล. ครั้งนั้นแล ท่านพราหมณ์ มหาโควินท์
พร่ำสอนพระราชา 7 พระองค์ ผู้เป็นกษัตริย์ได้รับมุรธาภิเษกด้วยราชสมบัติ
แล้วด้วยอนุสาสนี สอนพราหมณ์มหาศาล 7 คน และสอนมนต์แก่ข้าบริวาร
700 คน. ครั้งนั้นแล โดยสมัยอื่นอีก เกียรติศัพท์อันงามอย่างนี้ ของพราหมณ์
มหาโควินท์ กระฉ่อนไปว่า พราหมณ์มหาโควินท์อาจเห็นพรหม พราหมณ์
มหาโควินท์อาจสากัจฉา สนทนา ปรึกษากันกับพรหม. ครั้งนั้นแล ความ

ตรึกนี้ได้มีแล้วแก่พราหมณ์มหาโควินท์ว่า เกียรติศัพท์อันงามอย่างนี้ของเรา
แล กระฉ่อนไปแล้วว่า พราหมณ์มหาโควินท์อาจเห็นพรหม พราหมณ์มหา
โควินท์ อาจสากัจฉา สนทนา ปรึกษา กับพรหม จึงคิดว่า ก็เราเองย่อมไม่
เห็นพรหม ยังไม่สากัจฉากับพรหม ยังไม่สนทนากับ พรหม ยังไม่ปรึกษา
กับพรหมเลย แต่เราก็ได้ฟังคำนี้ของพวกพราหมณ์ผู้เฒ่าเป็นผู้หลักผู้ใหญ่
เป็นอาจารย์ของอาจารย์ กล่าวอยู่ว่า ผู้ใดหลีกเร้น 4 เดือนในฤดูฝน เพ่ง
กรุณาอยู่ ผู้นั้นย่อมเห็นพรหมได้ ย่อมสากัจฉา สนทนาปรึกษากับพรหมก็ได้
เพราะเหตุนั้น ถ้าไฉนเราพึงหลีกเร้น 4 เดือน ในฤดูฝน พึงเพ่งกรุณาฌาน.
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าเรณุ แล้วกราบทูลคำนี้
กับพระเจ้าเรณุว่า ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เกียรติศัพท์อันงามอย่างนี้
ของข้าพระพุทธเจ้าแล ฟุ้งไปว่า มหาโควินทพราหมณ์อาจเห็นพรหมก็ได้
มหาโควินทพราหมณ์อาจจะสากัจฉา สนทนา ปรึกษากับพรหมได้ ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้าเองเห็นพรหมไม่ได้เลย จะสากัจฉากับพรหมก็ไม่ได้ จะสนทนา
กับพรหมก็ไม่ได้ จะปรึกษากับพรหมก็ไม่ได้ แต่ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้
ของพวกพราหมณ์ผู้เฒ่า เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์ของอาจารย์กล่าวอยู่
ว่า ผู้ใดหลีกเร้น 4 เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาอยู่ ผู้นั้นจะเห็นพรหมได้
จะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระ-
พุทธเจ้าจึงอยากจะหลีกเร้นไป 4 เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌาน เป็นผู้อัน
ใคร ๆ ไม่พึงเข้าไปหาเลย ยกเว้นแต่ผู้นำอาหารคนเดียว. พระเจ้าเรณุตรัสว่า
บัดนี้ท่านโควินท์ผู้เจริญ ย่อมสำคัญเวลาอันสมควร.

มหาโควินท์เข้าเฝ้า 6 กษัตริย์



ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ จึงเข้าไปเฝ้ากษัตริย์ 6 พระองค์
นั้น แล้วได้กราบทูลคำนี้กะกษัตริย์ 6 พระองค์นั้นว่า พระเจ้าข้า เกียรติศัพท์

อันงามอย่างนี้ ของข้าพระพุทธเจ้าฟุ้งไปว่า มหาโควินทพราหมณ์ อาจเห็น
พรหมก็ได้ อาจจะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ ข้าพระพุทธ-
เจ้าเอง เห็นพรหมไม่ได้เลย จะสากัจฉากับพรหมก็ไม่ได้ จะสนทนากับพรหม
ก็ไม่ได้ จะปรึกษากับพรหมก็ไม่ได้ แต่ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้ของพวก
พราหมณ์ผู้เฒ่าเป็นผู้หลัก ผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์ ของอาจารย์ พูดกันอยู่ว่า ผู้
ใดหลีกเร้นอยู่ 4 เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาอยู่ผู้นั้นจะเห็นพรหมได้ จะ
สากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
อยากจะหลีกเร้นอยู่ 4 เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌาน เป็นผู้อันใคร ๆ ไม่พึง
เข้าไปหาเลย ยกเว้นแต่คนที่นำอาหาร ไปส่งคนเดียว. กษัตริย์ทั้ง 6 พระองค์
นั้น ก็ทรงอนุญาตว่า บัดนี้ ท่านโควินท์ผู้เจริญ ย่อมสำคัญเวลาอันสมควร.
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปหาพราหมณ์มหาศาลทั้ง 7
และข้าบริวาร 700 คน แล้วได้กล่าวคำนี้กะพราหมณ์มหาศาล 7 คน และ
ข้าบริวาร 700 คนว่า เกียรติศัพท์อันงามอย่างนี้ ของข้าพเจ้าฟุ้งขจรไปว่า
มหาโควินทพราหมณ์ อาจเห็นพรหมก็ได้ มหาโควินทพราหมณ์อาจจะสากัจฉา
จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ ตัวข้าพเจ้าเองก็ไม่เห็นพรหมเลย จะ
สากัจฉากับพรหมก็ไม่ได้ จะสนทนากับพรหมก็ไม่ได้ จะปรึกษากับพรหมก็ไม่
ได้ แต่ข้าพเจ้าได้ฟังคำนี้ของพวกพราหมณ์ผู้เฒ่าเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์
ของอาจารย์พูดกันอยู่ว่า ผู้ใดหลีกเร้นอยู่ 4 เดือน ในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌาน
อยู่ ผู้นั้นจะเห็นพรหมได้ จะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้
ถ้าเช่นนั้น ขอให้พวกท่านจงทำสาธยายมนต์ทั้งหลายตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้
เรียนมาโดยพิสดาร จงสอนมนต์กันและกันเถิด ข้าพเจ้าอยากจะหลีกเร้น 4
เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌาน เป็นผู้อันใคร ๆ ไม่พึงเข้าไปหาเลย ยกเว้น
แต่คนส่งอาหารคนเดียว. คนเหล่านั้นกล่าวว่า บัดนี้ ท่านโควินท์ผู้เจริญ ย่อม

สำคัญเวลาอันสมควรเถิด. ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์เข้าไปหาภริยา
40 นาง ผู้เสมอกันแล้วก็ได้กล่าวคำนี้กะภรรยาทั้ง 40 นางผู้เสมอกัน ว่า แนะ
นางผู้เจริญ เกียรติศัพท์อันงามอย่างนี้ ของฉันแล ฟุ้งขจรไปแล้วว่า มหา-
โควินทพราหมณ์ อาจเห็นพรหมก็ได้ อาจจะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษา
กับพรหมก็ได้ ฉันเองเห็นพรหมไม่ได้เลย จะสากัจฉากับพรหมก็ไม่ได้ จะ
สนทนากับพรหมก็ไม่ได้ จะปรึกษากับพรหมก็ไม่ได้ แต่ฉันได้ฟังคำนี้ของ
พวกพราหมณ์ผู้เฒ่า เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์ของอาจารย์ พูดกันอยู่ว่า
ผู้ใดหลีกเร้นอยู่ 4 เดือน ในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌานอยู่ ผู้นั้นจะเห็นพรหมก็
ได้ จะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ เพราะเหตุนั้น ฉัน
อยากหลีกเร้น 4 เดือนในฤดูฝน จะเพ่งกรุณาฌาน ใคร ๆ ไม่พึงเข้าไปหา
ยกเว้นแต่คนส่งอาหารคนเดียว. พวกนางตอบว่า บัดนี้ ท่านโควินท์ผู้เจริญ
ย่อมสำคัญเวลาอันสมควร.
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ ให้สร้างสัณฐาคารใหม่ทางทิศ
ตะวันออก แห่งพระนครนั่นเองแล้วก็หลีกเร้น ในฤดูฝนจนครบ 4 เดือน เพ่ง
กรุณาฌานแล้ว ไม่มีใครเข้าไปหาท่านนอกจากคนส่งอาหารคนเดียว. ครั้ง
นั้นแล โดยล่วงไป 4 เดือน ความกระสันได้มีแล้วทีเดียว ความหวาดสะดุ้ง
ก็ได้มีแล้วแก่มหาโควินทพราหมณ์ว่า ก็แหละเราได้ฟังคำนี้ของพราหมณ์ผู้เฒ่า
เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์ของอาจารย์ พูดกันอยู่ว่า ผู้ใดหลีกเร้นอยู่ตลอด
4 เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌานอยู่ ผู้นั้นจะเห็นพรหมได้ จะสากัจฉา จะ
สนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ แต่ส่วนเราเห็นพรหมไม่ได้เลย สากัจฉา
กับพรหมก็ไม่ได้ สนทนากับพรหมก็ไม่ได้ ปรึกษากับพรหมก็ไม่ได้

ว่าด้วยการปรากฏของสนังกุมารพรหม



ครั้งนั้นแล สนังกุมารพรหมทราบความดำริทางใจของมหาโควินท-
พราหมณ์ด้วยใจแล้ว ก็หายไปในพรหมโลก ได้ปรากฏต่อหน้ามหาโควินท-
พราหมณ์เหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์มีความกลัวตัวสั่น ขนพอง เพราะเห็นรูป
อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน.

ว่าด้วยปฏิปทาให้ถึงพรหมโลก



ครั้งนั้นแล พราหมณ์มหาโควินท์ กลัวแล้วสลดแล้ว เกิดขนชูชัน
แล้วได้กล่าวกะพรหมสนังกุมารด้วยคาถาว่า
[225] ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใคร มีรัศมี
มียศ มีสิริ พวกเราไม่รู้จักท่าน จึงขอ
ถามท่าน ทำอย่างไร พวกเราจึงจะรู้จัก
ท่านเล่า.
พวกเทพทั้งปวงในพรหมโลกย่อมรู้จัก
เราว่าเป็นกุมารมานมนานแล้ว ทวยเทพ
ทั้งหมดก็รู้จักเรา โควินท์ ท่านจงรู้อย่างนี้.
ที่นั่ง น้ำ น้ำมันทาเท้า และขนมสุก
คลุกน้ำผึ้ง สำหรับพรหม ขอเชิญท่านด้วย
ของควรค่า ขอท่านจงรับของควรค่าของ
ข้าพเจ้าเถิด.

โควินท์ ท่านพูดถึงของควรค่าใด เรา
จะรับเอาของควรค่า (นั้น) ของท่าน เรา
เปิดโอกาสแล้ว ท่านจงถามอะไร ๆ ที่ท่าน
ปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์
เกื้อกูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุขใน
เบื้องหน้า.

[226] ครั้งนั้นแล ความคิดนี้ได้มีแก่มหาโควินทพราหมณ์ว่า เรา
เป็นผู้ที่สนังกุมารพรหมเปิดโอกาสให้แล้ว เราพึงถามอะไรหนอแล กับสนัง-
กุมารพรหม ประโยชน์ปัจจุบันหรือประโยชน์เบื้องหน้า ครั้งนั้นแล ความคิด
นี้ได้มีแล้วแก่มหาโควินทพราหมณ์ว่า สำหรับประโยชน์ปัจจุบัน เราเป็น
ผู้ฉลาดแล แม้คนเหล่าอื่นก็ย่อมถามประโยชน์ปัจจุบันกะเรา อย่ากระนั้นเลย
เราพึงถามประโยชน์ที่เป็นไปในภพเบื้องหน้าเท่านั้นกะสนังกุมารพรหม ครั้ง
นั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ จึงได้กล่าวคาถากับสนังกุมารพรหมว่า
[227] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสงสัย ขอถาม
ท่านสนังกุมารพรหมผู้ไม่มีความสงสัยใน
ปัญหาที่พึงรู้อื่น สัตว์ตั้งอยู่ในอะไร และ
ศึกษาอยู่ในอะไรจึงจะถึงพรหมโลกที่ไม่
ตายได้.
ดูก่อนพราหมณ์ สัตว์ละความยึดถือ
อัตตาว่าเป็นของเรา ในสัตว์ทั้งหลาย ที่
เกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้เดียวโดดเด่น น้อม
ไปในกรุณาปราศจากกลิ่นเหม็น เว้นจาก

เมถุน ตั้งอยู่ในธรรมนี้ และศึกษาอยู่
ในธรรมนี้จึงจะถึงพรหมโลกที่ไม่ตายได้


ข้อปฏิบัติให้ถึงพรหมโลก



[228] ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า ละความยึดถืออัตตาเป็นของ
เราได้แล้ว. คนบางคนโนโลกนี้ สละกองโภคะน้อย หรือสละกองโภคะมาก
สละเครือญาติน้อย หรือสละเครือญาติมาก ปลงผม และหนวด นุ่งห่มผ้า
ย้อมฝาด บวชเป็นบรรพชิต ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า ละความยึดถือ
อัตตาเป็นเราได้แล้ว ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า เป็นผู้เดียวโดดเด่น
คนบางคนในโลนนี้ ใช้ที่นอนที่นั่งเงียบอยู่ หลีกเร้นอยู่ที่ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำเขา ป่าช้า ราวป่า กลางแจ้ง ลอมฟาง ดังว่ามานี้ ข้าพเจ้า
นั้นย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า เป็นผู้เดียวโดดเด่น. ข้อว่า น้อมไปในกรุณา
ข้าพเจ้านั้นย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า คนบางคนในโลกนี้ แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง
มีโจสหรคตด้วยกรุณาอยู่ ทิศที่สองก็อย่างนั้น ทิศที่สามก็อย่างนั้น ทิศที่สี่ก็
อย่างนั้น แผ่ไปด้วยใจที่สหรคตด้วยกรุณา ไม่มีเวร ไม่มีความพยาบาท
กว้างขวาง ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีจำกัด ตลอดทิศทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง ทุกแห่ง ตลอดโลกทั้งหมดอย่างทั่วถึงอยู่ ดังที่ว่ามานี้ ข้าพเจ้า
นั้นย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า น้อมไปในกรุณา. ก็แลข้าพเจ้าย่อมไม่รู้ทั่วถึงจาก
ท่านผู้กล่าวถึงกลิ่นที่เหม็น
[229] ข้าแต่พรหม ในหมู่มนุษย์มีกลิ่นเหม็น
อะไร หมู่มนุษย์ในโลกนี้ ไม่รู้จักกลิ่น
เหม็นเหล่านี้ ธีระ ท่านโปรดกล่าว หมู่

สัตว์อันอะไรร้อยรัดจึงมีกลิ่นเน่าฟุ้งไป
กลายเป็นสัตว์อบาย มีพรหมโลกอันปิด
แล้ว.
ความโกรธ ความเท็จ ความหลอก-
ลวง ความประทุษร้ายมิตร ความตระหนี่
ความถือตัวจัด ความริษยา ความอยาก
ความสงสัย ความเบียดเบียนผู้อื่น ความ
โลภ ความประทุษร้าย ความมัวเมา และ
ความหลง ผู้ประกอบในกิเลสเหล่านี้
เป็นผู้ไม่ปราศจากกลิ่นเหม็นเน่า กลาย
เป็นสัตว์อบาย มีพรหมโลกอันปิดแล้ว.

[230] ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านผู้กล่าวถึงกลิ่นเหม็นอยู่โดยประ-
การที่กลิ่นเหม็นเหล่านั้นอันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ำยีอย่างง่าย ๆไม่ได้ ข้าพเจ้า
จักบวชเป็นบรรพชิต. บัดนี้ ท่านโควินท์ผู้เจริญย่อมสำคัญเวลาอันสมควร.

มหาโควินท์ทูลลาบวช



ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ก็เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณุ แล้วกราบ
ทูลคำนี้กะพระเจ้าเรณุว่า ขอพระองค์โปรดทรงแสวงหาที่ปรึกษาคนอื่นผู้ที่จัก
พร่ำสอนเกี่ยวกับราชสมบัติของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ ณ บัดนี้ ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้าอยากจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ตามที่ข้าพระพุทธเจ้า
ได้ฟังคำของพรหมกล่าวถึงกลิ่นเหม็น กลิ่นเหม็นเหล่านั้นอันผู้อยู่ครองเรือน
จะพึงย่ำยีไม่ได้ โดยง่ายเลย ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าจักออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต.

[231] ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูลเชิญพระ
เจ้าเรณุ ภูมิบดี ขอพระองค์โปรดทรง
ทราบด้วยราชสมบัติ ข้าพระพุทธเจ้าไม่
ยินดีในความเป็นที่ปรึกษา.
ถ้าท่านมีความต้องการยังพร่องอยู่ เรา
จะเพิ่มให้ท่านจนเต็มที่ ใครเบียดเบียน
ท่าน เราผู้เป็นจอมทัพแห่งแผ่นดินจะ
ป้องกัน ท่านเป็นเหมือนบิดา เราเป็น
เหมือนบุตร ท่านโควินท์ อย่าทิ้งพวกเรา
ไปเลย.
ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความต้องการ
ที่ยังพร่อง ผู้เบียดเบียนข้าพระพุทธเจ้า
ก็ไม่มีแต่เพราะฟังคำของอมนุษย์ ข้าพระ
พุทธเจ้าจึงไม่ยินดีในเรือน.
อมนุษย์พวกไหน เขาได้กล่าวข้อความ
อะไรกะท่าน ซึ่งท่านได้ฟังแล้ว จึงทิ้ง
พวกเรา ทิ้งเรือนของเรา และทิ้งเรา
ทั้งหมด.
ในกาลก่อน เมื่อข้าพระพุทธเจ้า เข้า
ไปอยู่แล้ว เป็นผู้ใคร่บูชา ไฟที่เติมใบ
หญ้าคา โชติช่วงแล้ว.

แต่นั้น พรหมองค์เก่าแก่จากพรหม
โลกมาปรากฏกายแก่ข้าพระพุทธเจ้าแล้ว
พรหมนั้นได้แก้ปัญหาของข้าพระพุทธเจ้า
ข้าพระพุทธเจ้าฟังคำนั้นแล้ว จึงไม่ยินดี
ในเรือน.
โควินท์ ท่านกล่าวคำใด เราเชื่อคำ
นั้นของท่าน ท่านฟังถ้อยคำของอมนุษย์
จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้อย่างไร พวกเรา
จักคล้อยตามท่าน โควินท์ขอท่านจงเป็น
ครูของพวกเรา.
มณี ไพฑูรย์ ไม่ขุ่นมัว ปราศจาก
มลทินงดงามฉันใด พวกเราฟังแล้วจัก
ประพฤติในคำพร่ำสอนของท่านโควินท์
ฉันนั้น.

[232] ถ้าท่านโควินท์ผู้เจริญ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แม้
พวกเราก็จักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต และคติของท่านก็จักเป็นคติ
ของพวกเรา. ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ เข้าเฝ้ากษัตริย์ 6 พระองค์
นั้นแล้วได้ทูลคำนี้กะกษัตริย์ 6 พระองค์นั้นว่า ใต้ฝ่าพระบาท บัดนี้ ขอพระ
องค์โปรดแสวงหาคนอื่นผู้ที่จักพร่ำสอนในเรื่องราชสมบัติของพวกพระองค์มา
เป็นที่ปรึกษาเถิด ข้าพระพุทธเจ้าอยากจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตตาม
คำของพรหมผู้กล่าวถึงกลิ่นเหม็นที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังนั้นแล กลิ่นเหม็น
เหล่านั้น อันผู้อยู่ครอบครองเรือนจะพึงย่ำยีง่าย ๆ ไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าจัก
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ครั้งนั้นแล กษัตริย์ทั้ง 6 พระองค์นั้น

หลีกไปในที่ส่วนหนึ่งแล้วปรึกษากันว่า ขึ้นชื่อว่าพราหมณ์พวกนี้เป็นคนละโมบ
ในทรัพย์ อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงเกลี้ยกล่อมโควินทพราหมณ์ด้วยทรัพย์.
กษัตริย์เหล่านั้นเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์แล้วตรัสอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
สมบัติในราชสมบัติทั้ง 7 นี้ มีอยู่เพียงพอจริง ๆ ท่านต้องการด้วยประมาณ
เท่าไร ๆ จากราชสมบัติทั้ง 7 นั้น จงนำมาให้มีประมาณเท่านั้น. อย่าเลย
ใต้ฝ่าพระบาท สมบัติแม้นี้ของข้าพระองค์ก็มีพอแล้ว สมบัติของพวกพระองค์
ก็อย่างนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์จักสละทุกอย่างแล้วออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ตามคำของพรหมผู้กล่าวถึงกลิ่นเหม็นที่ข้าพระองค์ได้ฟังมานั่นแล
กลิ่นเหม็นทั้งหลายเหล่านั้นอันผู้อยู่ครอบครองเรือนจะพึงย่ำยีอย่างง่าย ๆ ไม่ได้
ข้าพระพุทธเจ้าจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ครั้งนั้นแล เหล่า 6
กษัตริย์นั้นหลีกไปในส่วนข้างหนึ่งแล้วช่วยกันคิดว่า ขึ้นชื่อว่าพราหมณ์พวกนี้
เป็นคนละโมบในสตรี อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงเกลี้ยกล่อมมหาโควินท์
พราหมณ์ด้วยพวกสตรี กษัตริย์เหล่านั้นเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์แล้วตรัส
อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ พวกสตรีในราชสมบัติทั้ง 7 นี้มีอยู่อย่างเหลือเฟือ
จริง ๆ ท่านต้องการพวกสตรีจำนวนเท่าไร จากราชสมบัติทั้ง 7 นั้น จะนำ
มาให้จำนวนเท่านั้น. พอละ ใต้ฝ่าพระบาท ภริยาของข้าพระองค์มี 40 นาง
ผู้เสมอกัน ข้าพระองค์จักสละนางเหล่านั้นทั้งหมดออกจากเรือนบวชเป็นบรรพ
ชิตตามคำของพรหมผู้กล่าวถึงกลิ่นเหม็นเน่าที่ข้าพระองค์ได้ฟังมานั่นแหละ กลิ่น
ที่เหม็นเน่าเหล่านั้น อันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ำยีอย่างง่าย ๆ ไม่ได้ ข้าพระองค์
จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ถ้าท่านโควินท์ผู้เจริญจักออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต พวกเราก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเหมือนกัน และอัน
ใดเป็นคติของท่าน อันนั้นก็จักเป็นคติของพวกเรา.

[233] ถ้าพวกพระองค์ละกามทั้งหลาย ซึ่ง
เป็นแหล่งที่ปุถุชนข้องได้แล้ว จงปรารภ
ความเพียรมั่นคง เป็นผู้มีขันติเป็นกำลัง
ทั้งมีใจตั้งมั่นเถิด.
ทางนั่นเป็นทางตรง ทางนั่นเป็นทาง
ยอดเยี่ยม พระสัทธรรมอันพวกสัตบุรุษ
รักษาแล้วเพื่อการเข้าถึงพรหมโลก.


การอำลาของมหาโควินท์



[234] ถ้าอย่างนั้น ท่านโควินท์ผู้เจริญ โปรดจงรอ 7 ปี โดย
ล่วงไป 7 ปี พวกเราก็จักบวชออกจากเรือนเลิกเกี่ยวข้องกับการเรือนเหมือนกัน
และอันใดเป็นคติของท่าน อันนั้นก็จักเป็นคติของพวกเรา. ใต้ฝ่าพระบาท 7
ปี นานเกินไป ข้าพระองค์ไม่สามารถรอพวกพระองค์ได้ตั้ง 7 ปี ก็ใครเล่า
หนอจะรู้ชีวิตได้ ภพหน้าจำต้องไป ต้องตัดสินใจให้เด็ดขาดลงไปด้วยความรู้
ต้องทำกุศล ต้องประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมาแล้วไม่ตายไม่มี ก็อย่างคำ
ของพรหมผู้กล่าวถึงกลิ่นเหม็นเน่าที่ข้าพระองค์ได้ฟังมาแล้วนั่นแหละ กลิ่น
คาวเหล่านั้นอันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ำยีอย่างง่าย ๆ ไม่ได้ ข้าพระองค์จักออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ถ้าอย่างนั้น ท่านโควินท์ผู้เจริญโปรดจงรอ 6 ปี ฯลฯ โปรดจงรอ
5 ปี. โปรดจงรอ 4 ปี. โปรดจงรอ 3 ปี. โปรดจงรอ 2 ปี.. โปรดจงคอย
1 ปี โดยล่วง 1 ปีไป พวกเราก็จักบวชออกจากเรือนเลิกยุ่งเกี่ยวกับการเรือน
และอันใดเป็นคติของท่าน อันนั้นก็จักเป็นคติของพวกเรา.

ใต้ฝ่าพระบาท 1 ปี นานเกินไป ข้าพระองค์ไม่อาจคอยพวกพระองค์
1 ปี ก็ใครเล่าจะรู้ชีวิตได้ ภพหน้าจำต้องไป ต้องใช้ความรู้ตัดสินใจให้เด็ด
ขาดลงไป ต้องทำกุศลไว้ ต้องประพฤติพรหมจรรย์. ผู้เกิดมาแล้ว ไม่ตายไม่
มี ก็อย่างคำของพรหมกล่าวอยู่เกี่ยวกับกลิ่นเหม็นเน่า ที่ข้าพระองค์ได้ฟังมา
แล้วนั่นแหละ กลิ่นเหม็นเหล่านั้น อันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ำยีอย่างง่าย ๆ
ไม่ได้ ข้าพระองค์จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ถ้าอย่างนั้น ท่านโควินท์ผู้เจริญ โปรดจงรอ 7 เดือน โดยกาล
ล่วงไป 7 เดือน พวกเราก็จักบวชออกจากเรือนเลิกยุ่งกับการเรือนเหมือนกัน
และอันใดเป็นคติของท่าน อันนั้นก็จักเป็นคติของพวกเรา.
ใต้ฝ่าพระบาท 7 เดือนนานเกินไป ข้าพระองค์คอยพวกพระองค์ 7
เดือนไม่ได้ ใครเล่าจะรู้ความเป็นอยู่ได้ ภพหน้าจำต้องไป ต้องใช้ความรู้ตัด
สินใจให้เด็ดขาดลงไป ต้องสร้างกุศลไว้ ต้องประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมา
ไม่ตายไม่มี ก็อย่างคำของพรหมกล่าวอยู่เกี่ยวกับกลิ่นเหม็นเน่า ที่ข้าพระองค์
ได้ฟังมาแล้วนั่นแหละ กลิ่นเหม็นเน่าเหล่านั้น อันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ำยี
อย่างง่าย ๆ ไม่ได้ ข้าพระองค์จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต .
ถ้าอย่างนั้น ท่านโควินท์ผู้เจริญ โปรดจงคอย 6 เดือน. โปรดจง
คอย 5 เดือน. โปรดจงคอย 4 เดือนโปรดจงคอย 3 เดือน. โปรดจงคอย
2 เดือน. โปรดจงคอย 1 เดือน. โปรดจงคอยครึ่งเดือน โดยครึ่งเดือนล่วง
ไป พวกเราก็จักบวชออกจากเรือนเลิกยุ่งเกี่ยวกับการเรือน และคติของท่าน
จักเป็นคติของพวกเรา
ใต้ฝ่าพระบาท ครึ่งเดือนนานเกินไป ข้าพระองค์คอยพวกพระองค์
ถึงครึ่งเดือนไม่ได้ ก็ใครเล่าจะรู้ชีวิตได้ ภพหน้าจำต้องไป ต้องใช้ความรู้

ตัดสินใจให้เด็ดขาดลงไป ต้องสร้างกุศลไว้ ต้องพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมา
แล้วไม่ตายไม่มี ก็อย่างคำของพรหมกล่าวอยู่ เกี่ยวกับกลิ่นเหม็นทั้งหลาย ที่
ข้าพระองค์ได้ฟังมาแล้วนั่นแหละ กลิ่นเหม็นเหล่านั้น อันผู้อยู่ครองเรือนจะ
พึงย่ำยีเสียง่าย ๆ ไม่ได้ ข้าพระองค์จักบวชเป็นบรรพชิต.
ถ้าอย่างนั้น ท่านโควินท์ผู้เจริญโปรดจงรอ 7 วัน กว่าพวกเราจัก
พร่ำสอนลูกและพี่น้องของตนในเรื่องราชสมบัติ เสร็จก่อนโดยล่วงไป 7 วัน
พวกเราก็จักบวชเป็นบรรพชิตเหมือนกัน และอันใดเป็นคติของท่าน อันนั้น
จักเป็นคติของพวกเรา.
ใต้ฝ่าพระบาท 7 วัน ไม่นานดอก ข้าพระบาทจักคอยพวกพระองค์
7 วัน. ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปหาพราหมณ์มหาศาล 7 คน
และข้าบริวาร 700 คน แล้วได้กล่าวคำนี้กับพราหมณ์มหาศาล 7 คน และ
ข้าบริวาร 700 คนว่า บัดนี้ขอให้ท่านจงแสวงหาอาจารย์คนอื่น ผู้ที่จักสอน
มนต์แก่พวกท่าน ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าอยากจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ก็อย่างคำของพรหมผู้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องกลิ่นเหม็น ที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วนั่น
แหละ กลิ่นเหม็นเหล่านั้น อันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ำยีเสียง่าย ๆ ไม่ได้
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ท่านโควินท์ผู้เจริญ อย่าบวชออกจากเรือนไม่เกี่ยวข้องกับเรือนเลย
ท่านผู้เจริญ การบวชมีศักดิ์น้อย และมีลาภน้อย ความเป็นพราหมณ์มีศักดิ์
ใหญ่ มีลาภใหญ่.
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
พวกท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า การบวชมีศักดิ์น้อย และมีลาภน้อย ความ
เป็นพราหมณ์มีศักดิ์ใหญ่ และมีลาภใหญ่ คนอื่นใครเล่าที่มีศักดิ์มากกว่า หรือ
มีลาภมากกว่าข้าพเจ้า บัดนี้ข้าพเจ้าเหมือนราชาของพระราชา เหมือนพรหม

ของพราหมณ์ทั้งหลาย เหมือนเทวดาของพวกคฤหบดีทั้งหลาย ข้าพเจ้าจักสละ
ความเป็นทั้งหมดนั้น ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ก็อย่างคำของพรหม
กล่าวอยู่เกี่ยวกับเรื่องกลิ่นเหม็นเน่า ที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วนั่นแหล ะ กลิ่น
เน่าเหม็นเหล่านั้นอันผู้ครองเรือนอยู่ จะพึงย่ำยีเสียง่าย ๆ ไม่ได้ ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ข้าพเจ้าจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ถ้าท่านโควินท์ผู้เจริญจักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต พวกเรา
ก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเหมือนกัน และอันใดเป็นคติของท่าน
อันนั้นจักเป็นคติของพวกเรา.
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปหาพวกภริยาผู้เสมอกันแล้ว
ได้กล่าวคำนี้กับพวกภริยาผู้เสมอกันว่า แนะนางผู้เจริญ ผู้ที่อยากไปสู่ตระกูล
ญาติของตนนั้น ก็จงไปสู่ตระกูลของตนเถิด หรือจะหาสามีตนอื่นก็ได้ ฉัน
อยากออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ก็อย่างคำของพรหมกล่าวอยู่เกี่ยวกับ
เรื่องกลิ่นเหม็นเน่า ที่ฉันได้ฟังมาแล้วนั่นแหละ กลิ่นเหม็นเน่าเหล่านั้นอัน
ผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ำยีเสียอย่างง่าย ๆ ไม่ได้ ฉันจักออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต. ท่านเท่านั้น เป็นญาติของพวกดิฉัน ผู้ต้องการญาติ และท่าน
เป็นภัสดา ของพวกดิฉันผู้ต้องการภัสดา ถ้าท่านโควินท์ผู้เจริญจักออกจาก
เรือน บวชเป็นบรรพชิต พวกดิฉันก็จักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต
เหมือนกัน และอันใดเป็นคติของท่าน อันนั้นก็จักเป็นคติของพวกดิฉัน.

การบวชของมหาโควินท์



ครั้งนั้นแล โดยล่วงไป 7 วัน มหาโควินทพราหมณ์ก็โกนผมและ
หนวดนุ่งห่มผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตแล้ว. ก็แหละ
พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ซึ่งได้รับมุรธาภิเษกแล้ว 7 พระองค์ พราหมณ์มหาศาล

7 คน ข้าบริวาร 700 คน พวกภริยาซึ่งมีวรรณะมีชาติเสมอกัน 40 นาง
พวกกษัตริย์หลายพัน พวกพราหมณ์หลายพัน พวกคฤหบดีหลายพันและ
พวกนางสนมอีกมิใช่น้อย พากันโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด บวช
ตามมหาโควินทพราหมณ์เป็นบรรพชิตออกจากเรือน เลิกยุ่งเกี่ยวกับการเรือน
แล้ว เล่ากันว่า ท่านมหาโควินทพราหมณ์ อันบริษัทนั้นแวดล้อมแล้ว
ย่อมเที่ยวจาริกไปในคามนิคม และราชธานีทั้งหลาย ก็โดยสมัยนั้นท่าน
มหาโควินทพราหมณ์เข้าไปยังคามนิคมใดแล ในคามหรือนิคมนั้น เป็นเหมือน
ราชาของพวกพระราชา เป็นเหมือนพรหมของพวกพราหมณ์ เป็นเหมือน
เทวดาของพวกคฤหบดี. ก็โดยสมัยนั้น พวกมนุษย์เหล่าใดแลย่อมจาม หรือ
ลื่นล้ม พวกมนุษย์เหล่านั้น ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ขอนอบน้อมแด่ท่านมหา
โควินทพราหมณ์ ขอนอบน้อมแด่ท่านปุโรหิตของกษัตริย์ทั้ง 7 พระองค์.

การเจริญอัปปมัญญา 4



ท่านมหาโควินทพราหมณ์ มีใจสหรคตด้วยเมตตา ไม่มีเวร ไม่มี
ความพยาบาทแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ 2 ก็อย่างนั้น ทิศที่ 3 ก็อย่าง
นั้น ทิศที่ 4 ก็อย่างนั้น มีใจสหรคตด้วยเมตตา ไม่มีเวร ไม่มีความพยาบาท
กว้างขวาง ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีจำกัด แผ่ไปตลอดทิศทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง ทุกแห่งตลอดโลกอย่างทั่วถึงอยู่ มีใจสหรคตด้วยกรุณา ฯลฯ มีใจ
สหรคตด้วยมุทิตา ฯลฯ มีใจที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ และแสดงทางแห่งความ
เป็นสหายแห่งพรหมโลกแก่สาวกทั้งหลาย. ก็โดยสมัยนั้น หมู่สาวกของท่าน
มหาโควินทพราหมณ์เหล่าใดแล รู้ทั่วถึงแล้วซึ่งคำสั่งสอนทั้งหมดโดยประการ
ทั้งปวง หมู่สาวกเหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เข้าถึงสุคติพรหม
โลกแล้ว. สาวกเหล่าใด ไม่รู้ทั่วถึงคำสั่งสอนทั้งหมดอย่างทั่วถึง สาวกเหล่า

นั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายแห่งหมู่เทพ
ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี บางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายแห่งหมู่เทพชั้นนิมมานรดี
บางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายแห่งหมู่เทพชั้นดุสิต บางพวกก็เข้าถึงความเป็น
สหายแห่งหมู่เทพชั้นยามา บางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายแห่งหมู่เทพชั้นดาว-
ดึงส์ บางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายแห่งหมู่เทพชั้นจาตุมมหาราชิกาแล้ว. พวก
ท่านเหล่าใด ยังกายที่เลวกว่าเขาทั้งหมด ให้เต็มรอบแล้ว พวกท่านนั้นก็ยัง
กายแห่งคนธรรพ์ให้บริบูรณ์แล้ว. ด้วยประการฉะนั้นแล การบวชของกุลบุตร
เหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว เป็นของไม่เปล่า ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ดังนี้แล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ยังทรงระลึกถึงเรื่องนั้นได้หรือ ปัญจสิขะทูลถาม. ยัง
ระลึกได้อยู่ ปัญจสิขะผู้เจริญ

ว่าด้วยอัฏฐังคิกมรรค



สมัยนั้น เราได้เป็นมหาโควินทพราหมณ์ เราแสดงทางนั้นเพื่อความ
เป็นสหายแห่งพรหมโลกแก่หมู่สาวก ก็แต่ว่า ปัญจสิขะ พรหมจรรย์นั้นแล
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายก็เปล่า เพื่อคลายกำหนัดก็เปล่า เพื่อดับโดยไม่
เหลือก็เปล่า เพื่อเข้าไปสงบก็เปล่า เพื่อรู้ยิ่งก็เปล่า เพื่อตรัสรู้ก็เปล่า เพื่อ
พระนิพพานก็เปล่า เพียงเพื่อการเกิดขึ้นในพรหมโลกเท่านั้นเอง ดูก่อนปัญจสิขะ
ก็พรหมจรรย์ของเรานี้แล จึงจะเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อ
พระนิพพาน. ก็แลพรหมจรรย์นั้นเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อ
ความคลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อพระนิพพานเป็นไฉน ทางประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้แล อัน
ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ พูดจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ

พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ก็นี้แล คือพรหมจรรย์นั้น ที่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ
เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน.
ก็หมู่สาวกของเราเหล่าใดแล ย่อมรู้ทั่วถึงคำสั่งสอนเจนจบ หมู่สาวก
เหล่านั้น เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ทำเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ให้แจ่มแจ้งแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันเทียว. หมู่
สาวกเหล่าใดไม่รู้ทั่วถึงคำสั่งสอนหมดทุกแง่ทุกมุม หมู่สาวกเหล่านั้น เพราะ
สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 อย่างสิ้นไป ย่อมเป็นโอปปาติกะ เป็นผู้ปรินิพพานในโลก
นั้น เป็นผู้ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. หมู่สาวกเหล่าใดยังไม่รู้ทั่วถึงคำ
สั่งสอนหมดทุกแง่ทุกมุม บางพวก เพราะสังโยชน์ 3 อย่างสิ้นไป เพราะ
ความที่ราคะ โทสะ และ โมหะเบาบางลง ย่อมเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้
ครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์. หมู่สาวกเหล่าใด ยังไม่รู้ทั่วถึง
คำสั่งสอนหมดทุกแง่ทุกมุม บางพวกเพราะสังโยชน์ 3 อย่างสิ้นไป ย่อมเป็น
โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา แน่นอนมีความตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้ การบวชของกุลบุตรเหล่านี้ ทั้งหมดทีเดียว จึง
เป็นการบวชที่ไม่สูญเปล่า ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว. ปัญจสิขะ บุตรคนธรรพ์
มีใจเป็นของตน ชื่นชม ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอย่างยิ่ง อนุโมทนา
แล้วถวายอภิวาทกระทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็หายไปในที่นั้น
นั่นเทียว ดังนี้แล.
จบ มหาโควินทสูตรที่ 6

อรรถกถามหาโควินทสูตร



มหาโควินทสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
ต่อไปนี้ เป็นคำพรรณนาบทที่ยังไม่ตื้นในมหาโควินทสูตรนั้น . คำว่า
ปัญจสิขะ ความว่า มี 5 จุก คือมี 5 แหยม. เล่ากันมาว่า ปัญจสิขะ
บุตรคนธรรพ์นั้น ในเวลาทำกรรมที่เป็นบุญในถิ่นมนุษย์ยังเป็นหนุ่ม ใน
เวลาเป็นเด็กไว้จุก 5 จุก เป็นหัวหน้าเลี้ยงโค พาพวกเด็กแม้เหล่าอื่นทำศาลา
ในที่อันเป็นทางสี่แยก ขุดสระบัว ผูกสะพาน ปราบทางขรุขระให้เรียบ ขนไม้
มาทำเพลาและไม้สอดเพลาของยานทั้งหลาย เที่ยวทำบุญแบบนี้ดังที่กล่าวมา
แล้ว ก็ตายลงทั้งที่ยังเป็นหนุ่ม. ร่างของเขานั้นเป็นร่างที่น่ารัก น่าใคร่
น่าชอบใจ. ครั้นเขาตายแล้ว ก็ไปเกิดในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา มี
อายุ 9 ล้านปี. ร่างของเขาคล้ายกับกองทองมีขนาดเท่าสามคาวุต. เขาประดับ
เครื่องประดับปริมาณ 60 เล่มเกวียน พรมของหอมประมาณ 9 หม้อ
ทรงผ้าทิพย์สีแดง ประดับดอกกรรณิการ์ทองแดง มีแหยม 5 แหยมห้อยอยู่
ที่เบื้องหลัง เที่ยวไปทำนองเด็ก 5 จุกนั่นแหละ. พวกเทพจึงทราบทั่วกัน ว่า
ปัญจสิขะ ดังนี้แล.
บทว่า เมื่อราตรีก้าวล่วงไปแล้ว คือราตรีก้าวล่วงไปแล้ว คือ
สิ้นไปแล้ว. หมายความว่าล่วงไปแล้วส่วนหนึ่ง. คำว่า มีรัศมีงดงามยิ่ง
คือมีรัศมี น่ารัก น่าใคร่ น่าชอบใจอย่างยิ่ง. ก็แม้โดยปกติเทพบุตรนั้นก็มีรัศมี
(ผิวพรรณ) น่าใคร่อยู่แล้ว แต่เมื่อเป็นผู้แต่งมาแล้วก็ยิ่งเป็นผู้มีผิวพรรณ
น่าใคร่ยิ่งขึ้นอีก. คำว่า อย่างทั่วถึง คือโดยรอบไม่มีเหลือ. เกวลศัพท์ใน
ที่นี้แปลว่าไม่เหลือเหมือนในคำนี้ว่า บริบูรณ์อย่างสิ้นเชิง. กัปปศัพท์แปลว่า