เมนู

ระหว่างแล้วหนีไปได้เห็นรอยเท้าที่ส่วนนี้บ้าง ส่วนอื่นบ้างของหลังแผ่นหิน
แม้ตรงกลางไม่เห็นก็ย่อมรู้ได้โดยนัยว่า มันคงจะขึ้นทางนี้แล้วลงทางนี้ไปโดย
ประเทศนี้ ตรงกลางบนหลังแผ่นหินฉันใด ก็การเกิดสุขเวทนาขึ้นย่อมเป็นสิ่ง
แจ่มแจ้งเหมือนรอยเท้าตรงที่เนื้อมันขึ้น การเกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนาก็เป็นสิ่ง
แจ่มแจ้ง เหมือนรอยเท้าตรงที่เนื้อมันลง เมื่อถือเอาโดยนัยว่า เพราะหลีกสุข
และทุกข์ไป อทุกขมสุขเวทนานั้น จึงมีอาการเป็นกลางด้วยอำนาจเป็นปฏิปักษ์
ต่อทั้งสุขและทุกข์ ก็ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง เหมือนการถือเอาโดยนัยว่า มันขึ้น
ตรงนี้ ลงตรงนี้ แล้วไปอย่างนี้ ฉันนั้น.
ครั้นตรัสรูปกัมมัฏฐานไว้ก่อนอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรง
พลิกแพลงแสดงอรูปกัมมัฏฐานด้วยอำนาจเวทนาในภายหลัง. และก็ไม่ใช่ทรง
แสดงอย่างนี้อย่างเดียวในที่นี้เท่านั้น หากแต่ทรงแสดงรูปกัมมัฏฐานก่อนใน
พระสูตรไม่ใช่น้อยอย่างนี้คือ ในมหาสติปัฏฐานสูตร จูฬตัณหาสังขยสูตร
มหาตัณหาสังขยสูตร จุลลเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร รัฏฐปาลสูตร มาคันทิย-
สูตร ธาตุวิภังคสูตร อเนญชสัปปายสูตร (และ) ในเวทนาสังยุตทั้งหมด
แล้วจึงทรงพลิกแพลงแสดงอรูปกัมมัฏฐานด้วยอำนาจเวทนาในภายหลัง. และ
ก็ในพระสูตรเหล่านั้น ฉันใด แม้ในสักกปัญหสูตรนี้ ก็ฉันนั้น ครั้งแรกทรง
แสดงรูปกัมมัฏฐาน แล้วภายหลังจึงทรงพลิกแพลงแสดงอรูปกัมมัฏฐานด้วย
อำนาจเวทนา. สำหรับในสักกปัญหสูตรนี้ รูปกัมมัฏฐานพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงย่อเพียงเป็นอารมณ์ของเวทนาเท่านั้น ฉะนั้น ในบาลีจึงไม่มียกขึ้นมา.
เพื่อจะทรงแสดงข้อที่เป็นหลักสำหรับตั้งมั่นด้วยอำนาจของเวทนา ที่แจ่มแจ้ง
แก่ท้าวสักกะนั้นนั่นเอง ในอรูปกัมมัฏฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้น
ว่า จอมทวยเทพ อาตมภาพกล่าวโสมนัส ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สองอย่าง คือสองชนิด หมายความว่า โดย
ส่วนสอง. คำว่า ไม่พึงเสพโสมนัสเห็นปานนี้ คือไม่พึงเสพโสมนัสที่