เมนู

ที่เกิดจากธุลีในน้ำ (กรัชกาย) ของพวกเทวดา เป็นของละเอียด รูปที่เกิดจาก
กรรมเป็นของมีกำลัง เพราะความที่กายอันเกิดแต่ธุลีในน้ำเป็นของละเอียด
(และ) เพราะรูปที่เกิดจากกรรมเป็นของมีกำลัง ถ้าก้าวล่วงอาหารแม้มื้อเดียว
พวกเทวดาก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมแหลกไปเหมือนก้อนเนยใสบนแผ่นหินที่ร้อน.
พึงทราบถ้อยคำทั้งหมดตามนัยที่กล่าวแล้วในพรหมชาลสูตรนั้นแล. เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มเวทนาทั้ง 3 อย่างแก่ท้าวสักกะ.
ก็แหละกัมมัฏฐานมี 2 อย่างคือ รูปกัมมัฏฐานและอรูปกัมมัฏฐาน.
จะเรียกกัมมัฏฐานนั้นเองว่า การกำหนดรูป และการกำหนดอรูปก็ได้. ใน
กัมมัฏฐาน 2 อย่างนั้น รูปปรากฏแก่ผู้ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงทำ
การกำหนดธาตุ 4 ให้พิสดารแก่ผู้นั้นด้วยอำนาจเอาใจใส่โดยย่อ หรือด้วยอำนาจ
เอาใจใส่โดยพิสดาร ก็ตรัสรูปกัมมัฎฐาน อรูปปรากฏแก่ผู้ใด ก็ตรัสอรูป
กัมมัฏฐานแก่ผู้นั้น และเมื่อจะตรัสอรูป ก็ทรงแสดงรูปกัมมัฏฐานอันเป็นที่ตั้ง
ของอรูปนั้นจึงตรัส. แต่สำหรับพวกเทวดา ทรงทราบว่าอรูปปรากฏ จึงทรง
เริ่มเวทนาด้วยอำนาจอรูปกัมมัฏฐาน.
ก็ความตั้งมั่นในอรูปกัมมัฏฐานมี 3 อย่างคือ ด้วยอำนาจผัสสะ ด้วย
อำนาจเวทนา ด้วยอำนาจจิต. อย่างไร คือ สำหรับบางคนเมื่อรับเอา
รูปกัมมัฏฐานไปจะโดยสังเขป หรือโดยพิสดารก็ตาม ย่อมมีความตกไปเป็นอย่าง
ยิ่งในชั้นแรกของจิตและเจตสิกทั้งหลายในอารมณ์นั้น ผัสสะเกิดถูกต้องอารมณ์
นั้นอยู่ย่อมเป็นของปรากฏ. สำหรับบางคน เวทนาเกิดตามเสวยอารมณ์นั้นอยู่
ย่อมเป็นของปรากฏ. สำหรับบางคนวิญญาณที่เกิดขึ้นรู้แจ้งอารมณ์นั้นอยู่ย่อม
เป็นของปรากฏ.
ในความตั้งมั่นทั้ง 3 อย่างนั้น ผู้ใดมีผัสสะแจ่มแจ้ง แม้ผู้นั้น ไม่ใช่
จะเกิดขึ้นแต่ผัสสะอย่างเดียวเท่านั้น พร้อมกับผัสสะนั้น แม้เวทนาที่ตามเสวย

อารมณ์นั้นเองอยู่ก็ย่อมเกิดขึ้นด้วย ถึงสัญญาที่จำอารมณ์นั้นอยู่ ถึงเจตนาที่
คิดอารมณ์นั้นอยู่ ถึงวิญญาณที่รู้แจ้งอารมณ์นั้นอยู่ ก็ย่อมเกิดขึ้นด้วย จึงชื่อ
ว่าย่อมรวบถือเอาหมวดเจตสิกธรรมที่มีผัสสะเป็นที่ห้าเหมือนกัน ด้วยประการ
ฉะนี้. ผู้ใดมีเวทนาแจ่มแจ้ง แม้ผู้นั้นก็ย่อมชื่อว่ารวบถือเอาหมวดเจตสิกธรรม
ที่มีผัสสะเป็นที่ห้าอีกเหมือนกัน เพราะมิใช่แต่เวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ย่อม
เกิดขึ้นพร้อมกับเวทนานั้น ยังมีผัสสะเกิดขึ้นกระทบอารมณ์นั้นเองอยู่ ยังมี
สัญญาที่จำอารมณ์ ยังมีเจตนาที่คิดอารมณ์ ยังมีวิญญาณที่รู้แจ้งอารมณ์นั้นอยู่
เกิดขึ้นด้วย. สำหรับผู้ที่มีวิญญาณแจ่มแจ้งแม้นั้น ก็ย่อมชื่อว่ารวบถือเอา
หมวดเจตสิกธรรมที่มีผัสสะเป็นที่ห้าอีกเหมือนกันนั่นแหละ เพราะมิใช่เกิดขึ้น
แต่วิญญาณอย่างเดียวเท่านั้น พร้อมกับวิญญาณนั้น ก็ยังมีผัสสะที่เกิดขึ้น
กระทบอารมณ์นั้นเองอยู่ ยังมีเวทนาที่ตามเสวยอารมณ์ ยังมีสัญญาที่จำอารมณ์
ยังมีเจตนาที่คิดอารมณ์เกิดขึ้นด้วย.
เมื่อเขาใคร่ครวญอยู่ว่า ธรรมหมวดที่มีผัสสะเป็นที่ห้าเหล่านี้ อาศัย
อะไร ก็ย่อมรู้ชัดว่าอาศัยที่ตั้ง. ชื่อว่า ที่ตั้ง ก็คือร่างกาย (ที่เกิดจากละออง
ในน้ำ) ที่ท่านหมายเอากล่าวว่า ก็แลวิญญาณของเรานี้อาศัยอยู่ในร่างกายนี้
เกี่ยวข้องในร่างกายนี้. โดยใจความก็คือเขาย่อมรู้ชัดทั้งภูตรูปและอุปาทารูป.
เมื่อรู้ชัดว่า ที่ตั้งในร่างกายนี้เป็นรูป หมวดที่มีผัสสะเป็นที่ห้า เป็นนามอย่างนี้
ก็ชื่อว่าย่อมเห็นสักว่าเป็นนามรูปเท่านั้น. และนามรูปก็เป็นเพียงขันธ์ห้า
คือ รูปในที่นี้เป็นรูปขันธ์ และนามก็เป็นขันธ์ที่ไม่มีรูปทั้ง 4. ก็ขันธ์ห้าที่
พ้นไปจากนามรูป หรือนามรูปที่พ้นไปจากขันธ์ห้าหามีอยู่ไม่. เมื่อเขาไตร่ตรอง
ว่า ขันธ์ห้าเหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ ก็ย่อมเห็นว่า มีอวิชชาเป็นต้นเป็นเหตุ
แต่นั้นเมื่อไตร่ตรองถึงปัจจัย และสิ่งที่เกิดเพราะปัจจัยจนรู้ว่า นอกเหนือไป
จากปัจจัยและสิ่งที่เกิดจากปัจจัยนั้นแล้ว ไม่มีสัตว์ หรือบุคคลอื่น มีแต่กลุ่ม