เมนู

รักษา จักคุ้มครอง จักรัก จักแวดล้อมเรา นี้ความพอใจในการสละ. ความ
พอใจแม้ทั้ง 5 อย่างนี้ ในที่นี้เป็นเพียงตัณหาเท่านั้นเอง. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายเอาความพอใจนั้น จึงได้ตรัสคำนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า มีความตรึกเป็นเค้ามูล นี้. ความตรึก
ที่เกิดจากความรู้สึกตระหนักแน่ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า อาศัยลาภเกิด ความรู้สึก
ตระหนักแน่1 ชื่อว่า ความตรึก. คำว่า ความรู้สึกตระหนักแน่ คือ ความ
รู้สึกตระหนักแน่ มีสองอย่างคือ ความรู้สึกตระหนักแน่คือตัณหา และความ
รู้สึกตระหนักแน่คือทิฎฐิ. ตัณหาวิปริต 108 ชนิด ชื่อว่า ความรู้สึกตระหนัก
แน่คือตัณหา ความเห็น 62 อย่าง ชื่อว่า ความตระหนักแน่คือทิฏฐิ ก็ด้วย
ประการฉะนี้ จึงไม่มีการชี้ขาดลงไปว่าน่าใคร่ไม่น่าใคร่ และน่ารักไม่น่ารักด้วย
อำนาจความตระหนักแน่คือตัณหา ที่กล่าวมาแล้วอย่างนั้น เพราะสิ่งนั้นเอง
เป็นของน่าใคร่สำหรับบางคน ไม่น่าใคร่สำหรับบางคน เหมือนการชี้ขาดในไส้
เดือนมฤคและเนื้อเป็นต้นของพระราชาในส่วนภูมิภาค และพระราชาในประเทศ
ส่วนกลาง ก็เมื่อวัตถุที่ได้รับมานั้นถูกชี้ขาดด้วยความตระหนักแน่คือตัณหาแล้ว
จึงจะมีการ ชี้ชัดลงไปด้วยความรู้สึกตระหนักแน่คือความตรึกว่า เป็นของรูป
เท่านี้ เท่านี้เป็นของเสียง เป็นของกลิ่นเท่านี้ เท่านี้เป็นของรส เป็นของสิ่ง
ที่พึงถูกต้องเท่านี้ เท่านี้เป็นของเรา เป็นของเขาเท่านี้ เท่านี้จะเก็บไว้ จะให้
เท่านี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า จอมทวยเทพ ความ
พอใจนี้เอง มีความตรึกเป็นเค้ามูล ดังนี้ .
คำว่า มีส่วนความสำคัญที่ประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า
เป็นเค้ามูล
คือ ธรรมเครื่องเนิ่นช้ามี 3 อย่างคือ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือ
ตัณหา ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือมานะ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ. ใน 3อย่าง
1. ที.ม. มหานิทานสุตฺต 74