เมนู

อยู่ ยังให้ไม่ได้หรอก. ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันว่า แม้ความริษยาและความ
ตระหนี่ทั้งสอง ย่อมมีสังขารอันเป็นที่รักเป็นเค้ามูล. แต่เมื่อได้สัตว์และสังขาร
ประการที่กล่าวมาแล้วนั้น แต่เป็นชนิดที่ไม่น่ารักเลย ถึงแม้ว่าสัตว์และสังขาร
เหล่านั้นไม่เป็นที่ชื่นใจเขา แม้อย่างนั้นก็ตาม เพื่อให้พวกกิเลสที่ตรงกันข้าม
เป็นไปได้ ก็กระทำความริษยาว่า เว้นข้าเสียแล้ว ใครอื่น เป็นผู้ได้สัตว์และ
สังขารเห็นปานนี้ หรือถูกขอยืมก็ไม่ให้ ย่อมกระทำความหวง. ด้วยประการ
ฉะนี้ ก็เป็นอันว่า ความริษยาและความตระหนี่แม้ทั้งสองย่อมมีสัตว์และสังขาร
อันไม่เป็นที่รักเป็นเค้ามูล.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า มีความพอใจเป็นเค้ามูล นี้. ความ
พอใจมี 5 อย่างคือ ความพอใจในการแสวงหา ความพอใจในการได้เฉพาะ
ความพอใจในการใช้สอย ความพอใจในการสะสม ความพอใจในการสละ.
ความพอใจในการแสวงหาเป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจ
ไม่อิ่ม ย่อมแสวงหารูป เสียง กลิ่น รส ย่อมแสวงหาสิ่งที่พึงถูกต้อง ย่อม
แสวงหาทรัพย์ นี้ความพอใจในการแสวงหา. ความพอใจในการได้เฉพาะ
เป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม ย่อมได้เฉพาะรูป
เสียง กลิ่น รส ย่อมได้เฉพาะสิ่งที่พึงถูกต้อง ย่อมได้เฉพาะทรัพย์ นี้ความ
พอใจในการได้เฉพาะ. ความพอใจในการใช้สอยเป็นไฉน คือ คนบางคน
ในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม ย่อมใช้สอยรูป เสียง กลิ่น รส ย่อมใช้สอย
สิ่งที่พึงถูกต้อง ย่อมใช้สอยทรัพย์ นี้ความพอใจในการใช้สอย. ความพอใจ
ในการสะสมเป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม ย่อม
ทำการสะสมทรัพย์ ด้วยคิดว่า จะมีในคราววิบัติ นี้ความพอใจในการสะสม.
ความพอใจในการสละเป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม
ย่อมจ่ายทรัพย์แก่พลช้าง พลม้า พลรถ ขมังธนู ด้วยคิดว่า คนเหล่านี้ จัก

รักษา จักคุ้มครอง จักรัก จักแวดล้อมเรา นี้ความพอใจในการสละ. ความ
พอใจแม้ทั้ง 5 อย่างนี้ ในที่นี้เป็นเพียงตัณหาเท่านั้นเอง. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายเอาความพอใจนั้น จึงได้ตรัสคำนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า มีความตรึกเป็นเค้ามูล นี้. ความตรึก
ที่เกิดจากความรู้สึกตระหนักแน่ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า อาศัยลาภเกิด ความรู้สึก
ตระหนักแน่1 ชื่อว่า ความตรึก. คำว่า ความรู้สึกตระหนักแน่ คือ ความ
รู้สึกตระหนักแน่ มีสองอย่างคือ ความรู้สึกตระหนักแน่คือตัณหา และความ
รู้สึกตระหนักแน่คือทิฎฐิ. ตัณหาวิปริต 108 ชนิด ชื่อว่า ความรู้สึกตระหนัก
แน่คือตัณหา ความเห็น 62 อย่าง ชื่อว่า ความตระหนักแน่คือทิฏฐิ ก็ด้วย
ประการฉะนี้ จึงไม่มีการชี้ขาดลงไปว่าน่าใคร่ไม่น่าใคร่ และน่ารักไม่น่ารักด้วย
อำนาจความตระหนักแน่คือตัณหา ที่กล่าวมาแล้วอย่างนั้น เพราะสิ่งนั้นเอง
เป็นของน่าใคร่สำหรับบางคน ไม่น่าใคร่สำหรับบางคน เหมือนการชี้ขาดในไส้
เดือนมฤคและเนื้อเป็นต้นของพระราชาในส่วนภูมิภาค และพระราชาในประเทศ
ส่วนกลาง ก็เมื่อวัตถุที่ได้รับมานั้นถูกชี้ขาดด้วยความตระหนักแน่คือตัณหาแล้ว
จึงจะมีการ ชี้ชัดลงไปด้วยความรู้สึกตระหนักแน่คือความตรึกว่า เป็นของรูป
เท่านี้ เท่านี้เป็นของเสียง เป็นของกลิ่นเท่านี้ เท่านี้เป็นของรส เป็นของสิ่ง
ที่พึงถูกต้องเท่านี้ เท่านี้เป็นของเรา เป็นของเขาเท่านี้ เท่านี้จะเก็บไว้ จะให้
เท่านี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า จอมทวยเทพ ความ
พอใจนี้เอง มีความตรึกเป็นเค้ามูล ดังนี้ .
คำว่า มีส่วนความสำคัญที่ประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า
เป็นเค้ามูล
คือ ธรรมเครื่องเนิ่นช้ามี 3 อย่างคือ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือ
ตัณหา ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือมานะ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ. ใน 3อย่าง
1. ที.ม. มหานิทานสุตฺต 74