เมนู

พระเจ้าเรณุรับสั่งกับบุรุษคนใดคนหนึ่งว่า บุรุษ เธอมานี่ เธอจงไปหา
มหาโควินทพราหมณ์ แล้วกล่าวกะมหาโควินทพราหมณ์อย่างนี้ว่า พระเจ้า
เรณุรับสั่งเรียกใต้เท้า. บุรุษนั้น รับสนองพระราชโองการของพระเจ้าเรณุว่า
ขอรับใส่เกล้า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้แล้ว จึงไปหามหาโควินทพราหมณ์แล้ว
ได้กล่าวคำนี้กะมหาโควินทพราหมณ์ว่า พระคุณท่าน พระเจ้าเวณุสั่งเรียก
ใต้เท้า ขอรับกระผม. มหาโควินทพราหมณ์ก็รับคำของบุรุษนั้น แล้วจึงเข้า
เฝ้าพระเจ้าเรณุ แล้วกราบทูลสนทนาสัมโมทนียกถาพอให้คิดถึงกันแล้วจึงนั่ง
ที่ส่วนข้างหนึ่ง. พระเจ้าเรณุ ได้ทรงมีพระราชดำรัสนี้กับมหาโควินทพราหมณ์
ผู้นั่งแล้วที่ส่วนข้างหนึ่งนั่นแหละว่า ท่านโควินท์จงมาแบ่งมหาปฐพีนี้ที่ยาวไป
ทางเหนือและทางใต้เป็นเหมือนทางเกวียนให้เป็น 7 ส่วนอย่างดีเท่ากัน. ท่าน
มหาโควินทพราหมณ์ รับสนองพระราชบัญชาของพระเจ้าเรณุ แล้วก็แบ่ง
ชนิดแบ่งอย่างดีซึ่งมหาปฐพีนี้ ที่ยาวไปทางเหนือและทางใต้เป็นเหมือนทาง
เกวียนเป็น 7 ส่วนเท่ากัน คือทั้งทุกส่วนให้เหมือนทางเกวียน เล่ากันมาว่า
ส่วนตรงท่ามกลางนั้นเป็นชนบทของพระเจ้าเรณุ.
[221] เมืองที่โควินท์สร้างไว้แล้วเหล่านี้คือ
ทันตปุระแห่งแคว้นกาลิงค์ 1 โปตนะแห่ง
แคว้นอัสสกะ 1 มาหิสสดี (มเหสัย) แห่ง
แคว้นอวันตี 1 โรรุกะแห่งแคว้นโสจิระ
(สะวีระ) 1 มิถิลาแห่งแคว้นวิเทหะ 1
สร้างเมืองจัมปาในแคว้นอังคะ 1 และ
พาราณสีแห่งแคว้นกาสี 1.

[222] ครั้งนั้นแล กษัตริย์ 6 พระองค์นั้นทรงเป็นผู้ชื่นใจ ทรง
มีความดำริเต็มที่แล้วด้วยลาภตามที่เป็นของตน ทรงคิดว่า โอหนอ พวกเรา

ได้สิ่งที่เราอยากได้ สิ่งที่เราหวัง สิ่งที่เราประสงค์ สิ่งที่เราปรารถนาอย่างยิ่ง
แล้ว.
[223] ในครั้งนั้น มีมหาราชผู้ทรงภาระ 7
พระองค์คือ พระเจ้าสัตตภู 1 พระเจ้าพรหม
ทัต 1 พระเจ้าเวสสภู 1 พระเจ้าภรตะ
พระเจ้าเรณุ 1 พระเจ้าธตรัฐอีก 2 พระองค์
ดังนี้แล.

จบ ปฐมภาณวาร.

เกียรติศัพท์อันงามของมหาโควินท์



[224] ครั้งนั้นแล กษัตริย์ทั้ง 6 พระองค์นั้น เสด็จไปหามหา
โควินทพราหมณ์แล้ว ได้ตรัสคำนี้กะมหาโควินทพราหมณ์ว่า ท่านโควินท์
ผู้เจริญ เป็นพระสหายที่โปรดปรานที่ชอบพระทัยไม่เป็นที่สะอิดสะเอียนของ
พระเจ้าเรณุฉันใดแล ท่านโควินทผู้เจริญ ก็เป็นสหาย เป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจ
ไม่เป็นที่รังเกียจแม้ของพวกเรา ฉันนั้นเหมือนกัน ขอให้ท่านพราหมณ์โควินท์
ผู้เจริญได้โปรดพร่ำสอนพวกเราเถิด ขอท่านพราหมณ์โควินท์อย่าให้พวกเรา
เสื่อมเสียจากคำพร่ำสอน. ท่านพราหมณ์ มหาโควินท์ ทูลสนองพระดำรัสของ
กษัตริย์ทั้ง 6 พระองค์ ผู้ทรงได้รับมุรธาภิเษก เสร็จแล้วเหล่านั้นว่า อย่าง
นั้น พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้แล. ครั้งนั้นแล ท่านพราหมณ์ มหาโควินท์
พร่ำสอนพระราชา 7 พระองค์ ผู้เป็นกษัตริย์ได้รับมุรธาภิเษกด้วยราชสมบัติ
แล้วด้วยอนุสาสนี สอนพราหมณ์มหาศาล 7 คน และสอนมนต์แก่ข้าบริวาร
700 คน. ครั้งนั้นแล โดยสมัยอื่นอีก เกียรติศัพท์อันงามอย่างนี้ ของพราหมณ์
มหาโควินท์ กระฉ่อนไปว่า พราหมณ์มหาโควินท์อาจเห็นพรหม พราหมณ์
มหาโควินท์อาจสากัจฉา สนทนา ปรึกษากันกับพรหม. ครั้งนั้นแล ความ