เมนู

คำว่า เหมือนสาละที่บานยังไม่นาน ความว่า ใกล้ประตูเมือง
ของบิดาน้อง. มีต้นสาละซึ่งบานยังไม่นาน ต้นสาละนั้นน่าชื่นใจเกินเปรียบ
เหมือนสาละที่บานยังไม่นานนั้น. คำว่า แน่ะน้องผู้มีปรีชาดี บิดาของ
น้อง
ความว่า พี่ผู้เมื่อจะไหว้ก็ขอนอบน้อม คือขอทำความนอบน้อมบิดา
ของน้อง ผู้ทรงสิริอย่างหาที่เปรียบมิได้. คำว่า ผู้เป็นเช่นนี้ เป็นประชา
ของผู้ใด
ความว่า น้องผู้เป็นเช่นนี้เป็นลูกสาวของท่านผู้ใด.
ถามว่า ทำไมพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสชมเสียงขับและเสียงพิณว่า
ย่อมกลมกลืนกัน ความกำหนัดจัดในเสียงนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้ายังมีอยู่
หรือ. ตอบว่า ไม่มี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้วางเฉยด้วยความวางเฉยมี
องค์หกประการ ในฐานะเช่นนี้ ก็ยังทรงทราบอารมณ์ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ
ทุกอย่างอยู่ ก็ไม่ทรงคิดในอารมณ์นั้น. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ผู้มี
อายุ พระเนตรของพระผู้มีพระภาคเจ้ายังมีอยู่แล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็น
รูปด้วยพระเนตร ความกำหนัดเพราะความพอใจของพระผู้มีพระภาคเจ้าหามี
อยู่ไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระหฤทัยหลุดพ้นแล้วเป็นอย่างดี ผู้มีอายุ
พระกรรณของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังมีอยู่แล1 ดังนี้เป็นต้น. พระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสชมเพราะทรงทราบว่า ก็หากเราไม่กล่าวชม ปัญจสิขะก็ทราบไม่ได้ว่า
เราได้ให้โอกาสแล้ว ทีนั้น ท้าวสักกะก็จะทรงพาพวกเทวดากลับไปจากที่นั้น
เพราะทรงเข้าพระทัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ประทานพระโอกาสแก่ปัญจสิขะ
แต่นั้น ก็จะพึงฉิบหายใหญ่ เมื่อตรัสชม แต่นั้น ท้าวสักกะก็จะทรงเข้า
พระทัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานพระโอกาสแก่ปัญจสิขะแล้ว ก็จะ
ทรงเข้ามาเฝ้าพร้อมกับพวกเทวดา ทรงถามปัญหา เมื่อแก้เสร็จ พร้อมกับ
พวกเทพแปดหมื่นก็จักทรงดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ในบทเหล่านั้น บทว่า
1. สํ สฬายตน. 204 ฯ

ร้อยกรองไว้แต่เมื่อไร ความว่า (คาถาเหล่านี้เธอ) แต่งคือรวบรวมไว้แต่
ครั้งไร.
คำว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็สมัยนั้นแล ข้าพระองค์ ความว่า
โดยสมัยนั้น คือในสัปดาห์ที่แปดแต่พระองค์บรรลุสัมโพธิญาณนั้น. คำว่า
ชื่อ ภัทราสุริยวัจฉสา คือโดยชื่อ ชื่อ ภัทรา เพราะถึงพร้อมด้วย
รูปร่าง ที่สวยงาม จึงชื่อ สุริยวัจฉสา. คำว่า น้อง นี้เป็นคำสำนวนเรียก. หมาย
ความว่า เทพธิดา. คำว่า รักผู้อื่นอยู่ คือ รัก ได้แก่ หวังผู้อื่นอยู่. คำว่า
กำลังเข้าไปฟ้อนอยู่ ได้แก่ กำลังรำอยู่. เล่ากันมาว่า สมัยหนึ่ง นางไป
เพื่อต้องการชมงานฟ้อนของท้าวสักกเทวราชกับพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา. ก็
ในขณะนั้น ท้าวสักกะได้ทรงกล่าวสรรเสริญพระคุณตามที่เป็นจริงแปดประการ
ของพระตถาคตเจ้า. ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันว่าในวันนั้น นางก็ได้ไปชม
การฟ้อน.

คำว่า ย่อมเพลิดเพลินต่อกัน ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคำเป็นต้นว่า ย่อมกลมกลืนแท้ ของเธอ ก็ชื่อว่าทรงเพลิดเพลิน ปัญจสิขะ
ก็ชื่อว่าเพลิดเพลินตอบ เมื่อปัญจสิขะกำลังกล่าวคาถาอยู่ ก็ชื่อว่าเพลิดเพลิน
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ชื่อว่าทรงเพลิดเพลินตอบ. คำว่า ตรัสเรียก คือทรง
แจ้งให้ทราบ. ได้ทราบมาว่า ท้าวสักกะนั้นได้ทรงมีพระดำริอย่างนี้ว่า เราส่ง
ปัญจสิขะนี้ไปด้วยงานของเรา เขาก็ไปทำงานของตัวเองเสีย เขายืนอยู่ในสำนัก
พระศาสดาผู้เห็นปานนั้นแล้ว ไปกล่าวถ้อยคำที่ประกอบด้วยกามคุณ ซึ่งเป็นคำ
ที่หาสมควรไม่ ก็ขึ้นชื่อว่าพวกนักฟ้อนเป็นพวกไร้ยางอาย ปัญจสิขะเมื่อกำลัง
กล่าวอยู่พึงแสดงอาการที่ประหลาดก็ได้ เอาล่ะ เราจะเตือนให้เขารู้งานของเรา
เมื่อทรงคิดดังนี้แล้วก็ตรัสเรียกมา.