เมนู

พระอรหันต์ทั้งหลาย คือ เหมือนโลกุตตรธรรมเก้าอย่างของพระอรหันต์
ทั้งหลาย.
คำว่า ของคนหิว คือของผู้ที่ถูกความหิวครอบงำใคร่จะบริโภค. คำ
ว่า ดุจเอาน้ำดับไฟที่กำลังโพลง คือ ปัญจสิขะ กล่าวว่า ใคร ๆ พึงเอา
น้ำดับไฟที่กำลังลุกโพลงฉันใด น้องจงดับความกลัดกลุ้ม เพราะความกำหนัด
ของพี่ที่เกิดขึ้นแล้วเพราะน้องเป็นเหตุฉันนั้น.
คำว่า ประกอบด้วยเกสรและละออง คือประกอบด้วยเกสรและ
ละอองดอกบัว คำว่า ดุจช้างที่ถูกแดดหน้าแล้งแผดเผา คือเหมือนช้าง
ที่ถูกแดดแผดเผาในฤดูร้อน. คำว่า หยั่งลงสู่ถันและอุทรของน้อง คือ
ปัญจสิขะกล่าวว่า เมื่อไรหนอ พี่จะได้ลงสู่ถันและอุทร อันได้แก่ สู่กลางถัน
และอุทรของน้องแล้วได้รับความสุขและความชื่นใจ เหมือนช้างนั้นหยั่งลงสู่
สระบัวดื่มแล้วแช่ตัวโผล่แต่ปลายวงเท่านั้นให้ปรากฏได้รับความสุขและความ
ชื่นใจ ฉะนั้น. หนามเหล็กที่ใช้สับกกหูเรียกว่า ขอ ในคาถานี้ว่า
พี่หลงใหลในน้องผู้มีขางาม จึง
ไม่รู้จักเหตุการณ์ ประดุจช้างสาร
เหลือขอ เข้าใจว่าตนชนะขอและ
หอกฉะนั้น.

ที่เรียกว่า หอก ได้แก่หอกอาชญาใช้แทงเท้า เป็นต้น. ที่เรียกว่า ขอได้แก่.
เหล็กแหลมงอใช้สับหัว (ช้าง). ก็ช้างที่ตกมันเต็มที่ เป็นช้างที่เหลือขอดื้อขอ
ต่อให้เอาขอสับอยู่ก็เอาไว้ไม่อยู่ และมันเข้าใจว่า ข้าเอาชนะขอและหอกได้แล้ว
เพราะแม้แต่ขอก็ยังเอาข้าไว้ไม่อยู่ มันไม่ยอมรับรู้เหตุการณ์อะไร ๆ เพราะ
แรงเมามัน. ปัญจสิขะกล่าวว่า แม้ตัวพี่ ก็หลงใหล เมา เมามันเหมือนเป็นบ้า

ในน้องผู้มีขางาม เพราะมีขาถึงพร้อมด้วยลักษณะ จึงไม่รู้จักเหตุการณ์อะไรๆ
เหมือนช้างที่เหลือขอนั้น มันเข้าใจว่า ข้าเอาชนะขอและหอกได้แล้ว ก็ไม่รู้จัก
เหตุการณ์อะไรๆ ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ตัวพี่เองเหมือนช้างที่เหลือขอหลงใหล
น้องผู้มีขางาม ฉะนั้นจึงไม่รู้จักเหตุแห่งการสำรอกความกำหนัดสักน้อยหนึ่งได้.
เพราะเหตุไร ? เพราะต่อให้ใคร ๆ มากล่าว พี่ก็ไม่ถือเอาถ้อยคำ เหมือนช้าง
ที่คิดว่า ข้าเอาชนะขอและหอกได้แล้วนั้น.
คำว่า พี่มีจิตที่ติดรักน้อง ความว่า น้องรัก พี่นี้เป็นผู้มีจิตปฏิ-
พัทธ์ในน้องผู้มีขางาม. หรือคำว่า มีจิตคิดรัก ได้แก่มีจิตเพ่งจ้องปองรัก. คำ
ว่า จิตแปรปรวนแล้ว คือจิตละปกติตั้งอยู่. คำว่า ไม่สามารถกลับได้ คือ
พี่กลับไม่ได้. คำว่า ดุจปลาที่กลืนเบ็ด คือเหมือนปลาที่กลืนเบ็ดแล้วติดอยู่
ปาฐะว่า ฆสะ ก็มี. ใจความก็อย่างนี้เหมือนกัน.
คำว่า มีลำขาอันงาม คือมีลำขาที่ตั้งมั่นด้วยท่าทางที่งาม หรือ
อธิบายว่ามีลำขาเหมือนต้นกล้วย. คำว่า โอบ คือ โปรดจงกอดพี่เข้าไว้. คำ
ว่า มีนัยน์ตาอันชมดชม้อย คือ พวกผู้หญิงย่อมไม่จ้องเขม็ง แต่ย่อมชะแง้
แลมอง ฉะนั้นจึงเรียกว่า ผู้มีนัยน์ตาชมดชม้อย. คำว่า โอบกอด คือจง
สวมกอดพี่ไว้ทุกส่วน. คำว่า พี่ปรารถนาดังนี้ยิ่งนัก คือพี่ต้องการดังนี้
เสมอ.
คำว่า มี (ความรัก) ต่อพี่น้อยนัก คือมีอยู่น้อยโดยปกติทีเดียว.
คำว่า มีผมเป็นคลื่น คือชื่อว่ามีผมเป็นคลื่นเพราะผมของหญิงนั้นในเวลาที่
สยายแล้วปล่อยไว้ข้างหลังเลื้อยไปเหมือนงู. ผู้มีผมเหมือนคลื่นนั้น. คำว่า เกิด
มีขึ้นไม่ใช่น้อย
คือ เกิดขึ้นไม่ใช่อย่างเดียว. ปาฐะว่ามิใช่น้อย ก็มี. คำว่า
เหมือนทักษิณาในพระอรหันต์ คือแตกขยายออกไปโดยประการต่าง ๆ
เหมือนทานที่ถวายในพระอรหันต์ (ให้ผลมากมาย ฉะนั้น ).