เมนู

แสงสว่างไสวเหมือนกัน โชติช่วงไปเป็นอันเดียวกันเหมือนเวลาพระจันทร์และ
พระอาทิตย์ขึ้นไปเป็นพันดวง เพราะแสงของทวยเทพในเทวโลกทั้งสองชั้น.
คำว่า พวกคนในหมู่บ้านโดยรอบ คือพวกคนในหมู่บ้านใกล้เคียง.
เล่ากันมาว่า ในเวลาอาหารมื้อเย็นเป็นปกตินั้นเอง เมื่อพวกเด็กกำลังเล่นกัน
ในท่ามกลางหมู่บ้าน ท้าวสักกะก็ได้เสด็จไปที่เขาเวทิยกะนั้น เพราะฉะนั้น
พวกคนเมื่อได้เห็นจึงกล่าวกันอย่างนั้น. เออก็พวกเทวดาเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตอนยามกลางวันมิใช่หรือ ทำไมท้าวสักกะนี้จึงได้เสด็จมาในภาคแรก
แห่งยามต้นเล่า. เพราะทรงถูกมรณภัยนั่นแหละคุกคามเอา. คำว่า อะไรกัน
ความว่า พวกคนพูดกันว่า อะไรนั่นท่าน วันนี้เทวดาหรือพรหมผู้ศักดิ์ใหญ่
องค์ไรกันหนอ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทูลถามปัญหาเพื่อจะฟังธรรม
แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแก้ปัญหา จะทรงแสดงธรรมอย่างไร ลาภของ
พวกเราที่มีพระศาสดาผู้ทรงบรรเทาความสงสัยของพวกเทวดาเสด็จ
ประทับอยู่ในวัดใกล้ ๆ ซึ่งพวกเราได้ถวายภิกษาถาดหนึ่งบ้าง ภิกษาทัพพี
หนึ่งบ้าง แล้วก็ตกใจ โลมชาติชูชัน ขนลุกซู่ซ่า ยกกระพุ่มมือที่รุ่งเรืองที่
รวมเอาสิบเล็บวางไว้เหนือเศียร ยืนนมัสการอยู่.
คำว่า เข้าเฝ้ายาก คือพึงเข้าไปนั่งใกล้ยาก. เรายังมีราคะ โทสะ
โมหะ (แต่) พระศาสดา ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เพราะฉะนั้น พระตถาคตเจ้า
ทั้งหลายอันผู้เช่นเราพึงเข้าไปนั่งใกล้ยาก. บทว่า ทรงมีฌาน คือการทรงมี
ฌานด้วยลักขณูปนิชฌาน และอารัมมณูปนิชฌาน. ชื่อว่า ทรงยินดีในฌาน
เพราะทรงยินดีในฌานนั้นนั่นเอง. คำว่า ถัดจากที่ทรงเร้น คือในลำดับที่
ทรงเร้นนั้น หรือทันทีที่ทรงเร้น เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่เข้าเฝ้ายากเพราะทรง
มีฌาน ทรงยินดีในฌาน เท่านั้น แต่เข้าเฝ้ายากแม้เพราะเพิ่งเสด็จทรงเร้นเมื่อ
กี้นี้เองด้วย. คำว่า พึงให้โปรด คือ พึงให้ทรงพอพระทัย. ท้าวสักกะตรัสว่า

เธอพึงทำให้ประทานพระโอกาสแก่เราแล้วให้. ถามว่า ถือพิณที่มีสีเหลืองเหมือน
ผลมะตูม แล้วก็เป็นอันว่าพิณนั้นถือไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือ ? ตอบว่าเออ ถือไว้
แล้วก็พิณนั้นห้อยไว้ที่จงอยบ่าด้วยสามารถไปตามทาง เดี๋ยวนี้ เอามันมาวางไว้ที่
มือซ้าย ทำการเตรียมบรรเลง จึงถือไว้ ฉะนั้นจึงกล่าวว่าถือไว้แล้ว. คำว่า ให้
ทรงได้ยิน
คือให้ทรงฟัง. คำว่า เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า คือปรารภพระ-
พุทธเจ้า อธิบายว่า ทำพระพุทธเจ้าเป็นหลักอิงเป็นไป. แม้ในบทที่เหลือ ก็
นัยนี้แหละ.
พึงทราบในวินิจฉัยในคำว่า น้องสุริยวัจฉสา พี่ขอไหว้ท้าวติมพรุ
ผู้เป็นบิดาของน้อง นี้ต่อไป. คำว่า สุริยวัจฉสา คือมีร่างเท่ากับพระสุริยะ.
เล่ากันว่า รัศมีตั้งขึ้นที่ปลายเท้าของเทพธิดานั้นแล้วพุ่งขึ้นไปจนจรดปลายผม
ฉะนั้นจึงปรากฏเหมือนดวงอาทิตย์อ่อนๆด้วยประการฉะนี้ เทพทั้งหลายจึงรู้จัก
นางว่า สุริยวัจฉสา. ปัญจสิขะ ประสงค์เอาความข้อนั้น จึงกล่าวว่า น้อง
สุริยวัจฉสา ดังนี้. ปัญจสิขะ กล่าวว่า พี่ขอไหว้ท้าวติมพรุ คนธรรพเทวราช
ผู้เป็นบิดาของน้อง. คำว่าเพราะเหตุที่น้องผู้เป็นกัลยาณีได้เกิดมาแล้ว
คือเพราะอาศัยติมพรุเทวราชใด น้องผู้งดงาม คือสวยหมดทุกส่วนจึงได้
เกิดมา. คำว่า ยังความยินดีให้เกิดแก่พี่ คือ ทำให้ความอิ่มเอิบและความ
ดีใจเจริญแก่พี่.
คำว่า ดุจลมเป็นที่ใคร่ของผู้มีเหงื่อ อธิบายว่า ลมเป็นที่รักใคร่
พอใจ ของเหล่าผู้ที่เกิดเหงื่อเพื่อให้เหงื่อระเหยออกฉันใด ก็ฉันนั้น. คำว่า
ดุจน้ำเป็นที่ปรารถนาของผู้กระหาย คือ (น้ำเป็นที่ปรารถนา) ของผู้ที่
ถูกความกระหายครอบงำแล้ว อยากจะดื่ม. คำว่า ผู้มีรัศมีจากกาย คือ
รัศมีจากกายของเธอมีอยู่ เหตุนั้นเธอจึงชื่อว่า ผู้มีรัศมีจากกาย. ปัญจสิขะ
กล่าวพร่ำปรารภถึงนางสุริยวัจฉสานั้นแหละ. คำว่า ดุจธรรมเป็นที่รักของ