เมนู

พระศาสดาพร้อมกันไม่เหมาะ. ก็ปัญจสิขะนี้เป็นอุปัฏฐากผู้รับใช้ที่พระทศพล
โปรดปราน ไปทูลถามปัญหาแล้วฟังธรรมได้ทุกขณะที่ต้องการ พวกเราส่ง
ปัญจสิขะนี้ล่วงหน้าไปก่อนให้ขอประทานพระโอกาส แล้วจึงเข้าเฝ้าทูลถาม
ปัญหาในเวลาที่ปัญจสิขะนี้ขอประทานพระโอกาสเสร็จแล้ว จึงตรัสเรียกเพื่อ
ให้ขอประทานพระโอกาส.
คำว่า ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์อย่างนั้น ความว่า แม้
ปัญจสิขะนั้นก็สนับสนุนอย่างแข็งขันว่า ขอจงเป็นอย่างนั้นเถิด มหาราช ขอ
ความเจริญจงมีแด่พระองค์ ผู้ไม่ตรัสกะข้าพระองค์ว่า ผู้นิรทุกข์มาเถิด พวก
เราจะไปเที่ยวชมกีฬาที่อุทยานเป็นต้น หรือไปชมมหรสพของนักฟ้อนเป็นต้น
(แต่) ตรัสว่า พวกเราจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จะฟังธรรม แล้วก็รับสนองพระ
ดำรัสของจอมทวยเทพ แล้วก็เข้าร่วมขบวนเสด็จตามติดไปด้วยกัน. ในคำ
เหล่านั้น คำว่า พิณสีเหลืองดุจผลมะตูม คือพิณสีเหลืองเหมือนลูกมะตูม
สุก. เล่ากันว่า ช่องพิณนั้นทำด้วยทอง คันทำด้วยแก้วอินทนิล สายทำด้วย
เงิน กระโหลกทำด้วยแก้วประพาฬ ใบพิณหนึ่งคาวุต ชะเนาะหนึ่งคาวุต
คันท่อนบนหนึ่งคาวุต ดังนี้ พิณจึงมีขนาดสามคาวุต. ปัญจสิขะนั้นถือพิณนั้นดัง
ที่ว่ามานี้แล้ว ก็ปล่อยการประโคมอย่างสุดผีมือเท่าที่มีความรู้ ใช้ปลายเล็บดีด
คลอเสียงขับที่ไพเราะ แจ้งให้พวกเทพที่เหลือทราบเวลาเสด็จไปของท้าวสักกะ
แล้วยืนอยู่ในที่ควรส่วนหนึ่ง. เมื่อคณะเทพประชุมกันตามสัญญาณแห่งเสียงขับ
บรรเลงของปัญจสิขะนั้นดังนี้แล้ว ทีนั้นแล ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ฯลฯ ก็
เสด็จไปปรากฏที่เขาเวทิยกะ.
คำว่า เกิดแสงสว่างไสวเหลือเกิน คือ ในวันอื่น ๆ ก็เกิดแสง
สว่างด้วยแสงของเทพมารหรือพรหม เพียงผู้เดียวเท่านั้น แต่วันนั้น เกิดมี

แสงสว่างไสวเหมือนกัน โชติช่วงไปเป็นอันเดียวกันเหมือนเวลาพระจันทร์และ
พระอาทิตย์ขึ้นไปเป็นพันดวง เพราะแสงของทวยเทพในเทวโลกทั้งสองชั้น.
คำว่า พวกคนในหมู่บ้านโดยรอบ คือพวกคนในหมู่บ้านใกล้เคียง.
เล่ากันมาว่า ในเวลาอาหารมื้อเย็นเป็นปกตินั้นเอง เมื่อพวกเด็กกำลังเล่นกัน
ในท่ามกลางหมู่บ้าน ท้าวสักกะก็ได้เสด็จไปที่เขาเวทิยกะนั้น เพราะฉะนั้น
พวกคนเมื่อได้เห็นจึงกล่าวกันอย่างนั้น. เออก็พวกเทวดาเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตอนยามกลางวันมิใช่หรือ ทำไมท้าวสักกะนี้จึงได้เสด็จมาในภาคแรก
แห่งยามต้นเล่า. เพราะทรงถูกมรณภัยนั่นแหละคุกคามเอา. คำว่า อะไรกัน
ความว่า พวกคนพูดกันว่า อะไรนั่นท่าน วันนี้เทวดาหรือพรหมผู้ศักดิ์ใหญ่
องค์ไรกันหนอ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทูลถามปัญหาเพื่อจะฟังธรรม
แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแก้ปัญหา จะทรงแสดงธรรมอย่างไร ลาภของ
พวกเราที่มีพระศาสดาผู้ทรงบรรเทาความสงสัยของพวกเทวดาเสด็จ
ประทับอยู่ในวัดใกล้ ๆ ซึ่งพวกเราได้ถวายภิกษาถาดหนึ่งบ้าง ภิกษาทัพพี
หนึ่งบ้าง แล้วก็ตกใจ โลมชาติชูชัน ขนลุกซู่ซ่า ยกกระพุ่มมือที่รุ่งเรืองที่
รวมเอาสิบเล็บวางไว้เหนือเศียร ยืนนมัสการอยู่.
คำว่า เข้าเฝ้ายาก คือพึงเข้าไปนั่งใกล้ยาก. เรายังมีราคะ โทสะ
โมหะ (แต่) พระศาสดา ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เพราะฉะนั้น พระตถาคตเจ้า
ทั้งหลายอันผู้เช่นเราพึงเข้าไปนั่งใกล้ยาก. บทว่า ทรงมีฌาน คือการทรงมี
ฌานด้วยลักขณูปนิชฌาน และอารัมมณูปนิชฌาน. ชื่อว่า ทรงยินดีในฌาน
เพราะทรงยินดีในฌานนั้นนั่นเอง. คำว่า ถัดจากที่ทรงเร้น คือในลำดับที่
ทรงเร้นนั้น หรือทันทีที่ทรงเร้น เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่เข้าเฝ้ายากเพราะทรง
มีฌาน ทรงยินดีในฌาน เท่านั้น แต่เข้าเฝ้ายากแม้เพราะเพิ่งเสด็จทรงเร้นเมื่อ
กี้นี้เองด้วย. คำว่า พึงให้โปรด คือ พึงให้ทรงพอพระทัย. ท้าวสักกะตรัสว่า