เมนู

ว่า เป็นเช่นกับมหาพรหมในท่ามกลางแห่งพราหมณ์ปกติทั้งหลาย. บทว่า
เป็นเหมือนเทวดาแห่งพวกคฤหบดี ความว่า ก็แล ข้าพระพุทธเจ้าเป็น
เช่นกับสักกะเทวราชแห่งพวกคฤหบดีที่เหลือ.
บทว่า และพวกภริยาที่มีชาติและวรรณะเสมอกัน 40 นาง
ความว่า พวกภริยาที่มีชาติและวรรณะเช่นกัน 40 นางเท่านั้น แต่พวกหญิง
ระบำในสามวัยเหล่าอื่นของโควินท์ มีมากทีเดียว. บทว่า เที่ยวจาริก ความ
ว่า โควินท์ท่องเที่ยวไปโดยตำบลและอำเภอ ทุก ๆ สถานที่เขาไปมีความ
อลหม่านปานกับความอลหม่านของพระพุทธเจ้า. พวกคนได้ฟังว่า นัยว่า มหา
โควินท์บัณฑิตกำลังจะมา ก็ให้สร้างประรำคอยไว้ก่อน ให้ประดับประดาถนน
หนทาง แล้วลุกขึ้นต้อนรับนำมา. ลาภและสักการะ เกิดขึ้นเหมือนห้วงน้ำ
ใหญ่ไหลท่วมท้น. บทว่า แก่ที่ปรึกษาทั้งเจ็ด คือแต่ที่ปรึกษาของเหล่าพระ
ราชาเจ็ดพระองค์. ในครั้นนั้น พวกคนย่อมกล่าวว่า ขอความนอบน้อมจง
มีแต่มหาโควินทพราหมณ์ ขอความนอบน้อมจงมีแด่ที่ปรึกษาของพระราชา
ทั้งเจ็ด เหมือนในบัดนี้ เมื่อทุกข์ไรๆ เกิดในฐานะเห็นปานนี้ย่อมกล่าวว่า ขอ
นอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ฉะนั้นด้วยประการฉะนี้.
พรหมวิหารมาแล้วในบาลีโดยนัยเป็นต้นว่า ไปด้วยกันกับความรัก.
ก็แลมหาบุรุษ ทำสมาบัติแปดและอภิญญาห้าให้เกิดจนครบแล้ว. บทว่า และ
แสดงทางแห่งความเป็นเพื่อนในพรหมโลกแก่พวกสาวก
ความว่า
บอกทางแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพรหมในพรหมโลก. บทว่า
หมดทั้งหมด ความว่า สาวกเหล่าใด ทำสมาบัติแปดและอภิญญาห้าให้
เกิดขึ้นแล้ว. สาวกเหล่าใดไม่ทราบทั่วถึงศาสนา ทั้งหมด. สาวกเหล่าใด
ไม่รู้ไม่อาจเพื่อให้แม้แต่สมาบัติหนึ่งในสมาบัติแปดเกิดขึ้น. บทว่า ไม่เปล่า
คือมีผล. บทว่า ไม่เป็นหมัน คือไม่ใช่เป็นหมัน. บาลีว่า ประสบผลที่เลว

กว่าเขาหมดดังนี้บ้าง. อธิบายว่า ประสบกายคนธรรพ์. บทว่า มีผล คือ
เป็นไปกับด้วยผล เป็นไปกับด้วยประโยชน์เกื้อกูลเพื่อการเข้าถึงเทวโลกที่เหลือ.
บทว่า มีกำไร ได้แก่เป็นไปกับด้วยความเจริญเพื่อเข้าถึงพรหมโลก.
บทว่า เรายังระลึกได้ ความว่า ปัญจสิขะเรายังจำได้. เล่ากันว่า
เพราะบทนี้ พระสูตรนี้จึงกลายเป็นพุทธภาษิตไป. บทว่าไม่ใช่เพื่อความ
เบื่อหน่าย
คือไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ความเบื่อหน่ายในวัฏฏะ. บทว่า ไม่ใช่
เพื่อความคลายกำหนัด
คือไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ความคลายกำหนัดในวัฏฏะ.
บทว่า ไม่ใช่เพื่อความดับโดยไม่เหลือ คือไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ความดับ
วัฏฏะโดยไม่เหลือ. บทว่า ไม่ใช่เพื่อความสงบรำงับ คือไม่ใช่เพื่อแก่การ
เข้าไปสงบรำงับวัฏฏะ. บทว่า ไม่ใช่เพื่อความรู้ยิ่ง คือไม่ใช่เพื่อประโยชน์
แก่ความรู้วัฏฏะอย่างยิ่ง. บทว่า ไม่ใช่เพื่อความตื่นพร้อม คือไม่ใช่เพื่อ
ประโยชน์แก่ความตื่นจากวัฏฏะด้วยปราศไปจากความหลับในกิเลส บทว่า
ไม่ใช่เพื่อพระนิพพาน คือไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่อมตมหานิพพาน. บทว่า
เพื่อความเบื่อหน่ายอย่างสิ้นเชิง คือเพื่อประโยชน์แก่ความเบื่อหน่ายใน
วัฏฏะส่วนเดียวเท่านั้น. สำหรับในที่นี้บทว่า เพื่อความเบื่อหน่าย ได้แก่
วิปัสสนา. บทว่า เพื่อคลายความกำหนัด ได้แก่มรรค. บทว่า เพื่อความดับ
โดยไม่เหลือเพื่อความสงบรำงับ
ได้แก่นิพพาน. บทว่า เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้
หมายเอามรรค. บทว่า เพื่อนิพพาน ก็คือนิพพาน
นั่นเอง ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันพึงทราบถ้อยคำที่ปราศจากวัฏฏะอย่างนี้ว่า
ท่านกล่าววิปัสสนา 1 แห่ง กล่าวมรรค 3 แห่ง กล่าวนิพพาน 3 แห่ง ก็แล
คำใช้แทนมรรคก็ดี คำใช้แทนนิพพานก็ดี ทั้งหมดแม้นี้ย่อมมีโดยทำนองนี้แล.
คำที่จะพึงกล่าวในบทเป็นต้นว่า ความเห็นชอบ ก็ได้กล่าวเสร็จแล้วในสัจจ
วรรณนาในวิสุทธิมรรค.