เมนู

ร้ายมีความร้ายกาจเป็นลักษณะ ความเมา มีความมัวเมาเป็นลักษณะ และ
ความหลง มีความลุ่มหลงเป็นลักษณะ. บทว่า ผู้ประกอบในเหล่านี้ ไม่
ใช่เป็นผู้ไม่มีกลิ่นสกปรก
ความว่า หมู่สัตว์ที่ประกอบในกิเลสทั้ง 14 ข้อ
เหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ไม่มีกลิ่นสกปรก. มหาพรหมกล่าวว่า เป็นผู้มีกลิ่นสกปรก
มีกลิ่นศพ มีกลิ่นเน่าเหม็นแท้ ๆ. บทว่า สัตว์อบายปิดพรหมโลกแล้ว
มหาพรหมย่อมแสดงว่า ก็แหละ หมู่สัตว์นี้เป็นสัตว์อบายและเป็นผู้ปิดทาง
พรหมโลก. ก็แลผู้กล่าวสูตรนี้อยู่พึงกล่าวให้แจ่มแจ้งได้ด้วยอามคันธสูตร แม้
อามคันธสูตรก็พึงกล่าวให้แจ่มแจ้งได้ด้วยสูตรนี้
บทว่า (กลิ่นน่าสะอิดสะเอียน) เหล่านั้น ไม่ใช่พึงย่ำยีได้ง่าย
ความว่า กลิ่นเหม็น ๆ เหล่านั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะพึงย่ำยีเสียได้โดยง่าย คือ
ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะพึงย่ำยีเสียได้อย่างสะดวก คือไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะพึงละได้อย่าง
ง่าย ๆ. หมายความว่า ละยาก คือลำบากที่จะละ. บทว่า โควินท์ผู้เจริญ
ย่อมสำคัญกาลเพื่อสิ่งใดในบัดนี้
ความว่า โควินท์ผู้เจริญย่อมสำคัญเวลา
เพื่อการบวชใด การบวชนี้แหละจงเป็น. เมื่อเป็นอย่างนั้น การมาในสำนัก
ของท่านแม้ของเราก็จักเป็นการมาดี. ถ้อยคำในทางธรรมที่กล่าวแล้ว ก็จัก
เป็นอันกล่าวดีแล้ว พ่อ! ท่านเป็นคนชั้นเลิศในชมพูทวีปทั้งสิ้น เป็นคนหนุ่ม
ยังอยู่ในวัยต้น ชื่อว่าการละความเป็นสิริแห่งสมบัติที่ใหญ่อย่างนี้แล้วบวชของ
ท่านนี้ เป็นการยิ่งใหญ่เหมือนกับการที่ช้างกลิ่นหอม (ช้างได้กลิ่นช้างฟัง)
แล้วตัดเครื่องล่ามคือ (โซ่) เหล็กไปได้ฉะนั้น. ครั้นกระทำงานคือความมั่น
คงแก่มหาบุรุษว่า การบวชนี้ชื่อว่า ความเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้แล้วพรหม
สนังกุมารก็ไปสู่พรหมโลกตามเดิม. แม้มหาบุรุษมาคิดว่า การที่เราออกจากที่
นี้แลบวชไม่สมควร เราย่อมพร่ำสอนอรรถแก่ราชตระกูล เพราะฉะนั้น เรา
จักกราบทูลแด่พระราชา ถ้าพระองค์จักทรงผนวชด้วยก็เป็นการดีแท้ ถ้าจักไม่

ทรงผนวชเราจักเวรคืนตำแหน่งที่ปรึกษาเสร็จแล้วจึงบวช ดังนี้แล้วจึงเข้าเฝ้า
พระราชา. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ท่าน ครั้งนั้นแล มหาโควินท์
ฯลฯ ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดีในความเป็นที่ปรึกษา ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขอพระองค์จงทรงทราบด้วยราช
สมบัติ
ความว่า พระองค์นั่นแล จงทรงทราบเฉพาะ (รับผิดชอบ) ด้วย
ราชสมบัติของพระองค์. บทว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดีในความเป็นที่
ปรึกษา
ความว่า ข้าพระพุทธเจ้าหายินดีในความเป็นที่ปรึกษาไม่ ข้าพระ
พุทธเจ้าเบื่อหน่ายแล้ว ขอพระองค์จงทรงทราบปุโรหิตผู้พร่ำสอนอื่นเถิด ข้า
พระพุทธเจ้าไม่ยินดีในความเป็นที่ปรึกษา. ลำดับนั้น พระราชาทรงพระดำริ
ว่า โภคะในเรือนของพราหมณ์ผู้หลีกเร้นตั้งสี่เดือน คงจะน้อยเป็นแน่ จึง
ทรงเชื้อเชิญด้วยทรัพย์ตรัสว่า ถ้าท่านยังพร่องด้วยกามทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะ
เติมให้ท่านจนเต็ม แล้วทรงพระดำริอีกว่า เมื่อพราหมณ์นี้อยู่คนเดียว ต้อง
ถูกใคร ๆ เบียดเบียนหรือหนอแล จึงตรัสถามว่า
ข้าพเจ้าจะป้องกันผู้ที่จะเบียดเบียน
ท่าน ข้าพเจ้าเป็นแม่ทัพแห่งแผ่นดิน
ท่านเป็นพ่อ ข้าพเจ้าเป็นลูก โควินท์
ขอท่านอย่าทิ้งพวกข้าพเจ้าไป.

ความแห่งคาถานั้นว่า ข้าพเจ้าจะป้องกันผู้ที่จะเบียดเบียนท่าน ขอ
อย่างเดียวเพียงให้ท่านบอกว่า คนโน้น ข้าพเจ้าจักทราบสิ่งที่พึงกระทำใน
กรณีนั้น. บทว่า ข้าพเจ้าเป็นแม่ทัพแห่งแผ่นดิน ความว่าอีกอย่างหนึ่ง
ข้าพเจ้าเป็นเจ้าแผ่นดิน ข้าพเจ้านั้นจักให้ท่านเท่านั้น ครอบครองราชสมบัตินี้.
บทว่า ท่านเป็นบิดา ข้าพเจ้าเป็นบุตร ความว่า ท่านดำรงอยู่ในตำแหน่ง
พ่อ ข้าพเจ้าในตำแหน่งลูก ท่านนั้นได้นำเอาใจของข้าพเจ้าไปเพื่อตนเท่านั้น

โควินท์ ! ขอท่านอย่าทอดทิ้งข้าพเจ้า ปาฐะว่า ท่านจงให้เป็นไปตามที่ท่านต้อง
การเถิด ส่วนข้าพเจ้ายอมคล้อยตามใจของท่านทีเดียว จะกินอาหารที่ท่านให้
มีมือถือดาบและโล่รับใช้ท่านหรือขับรถให้ท่าน โควินท์ ท่านอย่าทอดทิ้ง
ข้าพเจ้าไปเลย ดังนี้ก็มี. ใจความของคำนั้นว่า ท่านจงดำรงตำแหน่งพ่อ
ข้าพเจ้าจักดำรงตำแหน่งลูก โควินท์ ! ท่านอย่าทอดทิ้ง คือสละข้าพเจ้าไปเลย.
ครั้งนั้น เมื่อมหาบุรุษจะแสดงสิ่งที่พระราชาทรงคิดไม่มีในตนจึง
กล่าวว่า
ความพร่องด้วยกามของข้าพระพุทธ
เจ้าไม่มี และการเบียดเบียนก็ไม่มีแก่ข้า
พระพุทธเจ้าด้วย เพราะข้าพระพุทธเจ้า
ฟังคำของอมนุษย์แล้วจึงไม่ยินดีในเรือน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ของข้าพระพุทธเจ้าไม่มี ความว่า ไม่มี
แก่ข้าพระพุทธเจ้า. บทว่า ในเรือน คือที่เรือน.
ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามมหาโควินท์นั้นว่า
อมนุษย์มีวรรณะอย่างไร ได้กล่าว
ความอะไรกะท่านที่ท่านได้ฟังแล้วก็ทิ้ง
เรือนของพวกเรา และพวกข้าพเจ้าทั้ง
หมดไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิ้งเรือนของพวกเราและพวกข้าพเจ้า
ทั้งหมดไป
ความว่า พระราชาเมื่อจะทรงกระทำพระราชวังของพระองค์ด้วย
อำนาจรวมถือเอาทั้งบ้านพราหมณ์ที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติจึงตรัสว่า ที่ท่านได้ฟัง
แล้ว ก็ทิ้งเรือนของพวกเราพวกข้าพเจ้า และชาวพูทวีปทั้งหมดทั้งสิ้น คือไม่
มีเหลือไป.