เมนู

ไม่ศึกษา บำเพ็ญไม่ยากสำหรับบริษัทผู้ที่ศึกษาแล้ว. ภิกษุใดได้ของโดยทางอื่น
ภิกษุนั้นย่อมไม่ถือเอา.
แม้เมื่อไม่ได้โดยทางอื่นก็รับแต่ควรแก่ประมาณเท่านั้น ไม่รับให้เกิน
ไป. ก็สาราณียธรรมนี้ 12 ปี จึงจะบริบูรณ์ สำหรับภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
บ่อย ๆ แล้วให้ของที่ได้มา ๆ ด้วยประการฉะนี้ ไม่ต่ำไปกว่านั้น. ก็ถ้าภิกษุ
บำเพ็ญสาราณียธรรมครบปีที่ 12 วางบาตรที่เต็มด้วยอาหารไว้ในโรงฉันแล้ว
ไปสรงน้ำ พระสังฆเถระถามว่า นั่นบาตรของใคร เมื่อภิกษุอื่นตอบว่า ของ
ภิกษุผู้บำเพ็ญสาราณียธรรม จึงกล่าวว่านำบาตรนั้นมาซิแล้วแจกจ่ายอาหารใน
บาตรทั้งหมดแล้วฉัน วางแต่บาตรเปล่าไว้ที่นั้น ภิกษุนั้นเห็นบาตรเปล่าเกิด
ความเสียใจว่า ภิกษุทั้งหลายฉันไม่เหลือไว้ให้เราเลย สาราณียธรรมก็แตก.
ต้องบำเพ็ญ 12 ปีใหม่. ก็สาราณียธรรม ก็เหมือนติตถิยปริวาส เมื่อขาด
ครั้งหนึ่ง ก็ต้องบำเพ็ญใหม่. ส่วนภิกษุใดเกิดความดีใจว่า เป็นลาภของเรา
หนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เราไม่ต้องบอกกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในบาตร เพื่อน
สพรหมจารีก็พากันฉัน เป็นอันชื่อว่า สาราณียธรรมนั้นเต็มแล้ว. ก็ภิกษุผู้
มีสาราณียธรรมเต็มอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่มีความริษยา ไม่มีความตระหนี่.
ภิกษุนั้นย่อมเป็นที่รักของคนทั้งหลาย และย่อมมีปัจจัยหาได้ง่าย. ของที่อยู่
ในบาตรที่เขาถวายแก่ภิกษุนั้น ย่อมไม่สิ้นไป. เธอย่อมได้แต่ของที่เลิศในที่ ๆ
เขาแจกของ. เมื่อประสบภัยหรือความหิว เหล่าเทวดาก็ช่วยขวนขวาย. ใน
ข้อนั้นมีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.

เรื่องสาราณียธรรมเต็ม



เขาเล่าว่า พระติสสเถระผู้อยู่ ณ เลณศิริ อาศัยมหาศิริคามอยู่.
พระมหาเถระ 50 รูป ไปยังนาคทวีป ประสงค์จะไหว้พระเจดีย์ เที่ยวบิณฑ-