เมนู

ตายเป็นเบื้องหน้า. ภาชนะดิน ที่ช่าง
หม้อทำ ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ทั้งสุกทั้งดิบ
ทุกชนิดมีความแตกเป็นที่สุดฉันใด ชีวิต
ของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น.

พระศาสดาได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
วัยของเราแก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเรา
เป็นของน้อย เราจักละพวกเธอไป เรา
ทำที่พึ่งแก่ตนแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไม่
ประมาทมีสติ มีศีลด้วยดีเถิด จงเป็นผู้มี
ความดำริตั้งมั่นด้วยดี จงตามรักษาจิต
ของตนเถิด.
ผู้ใดจักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในธรรม
วินัยนี้ ผู้นั้นจักละชาติสงสาร แล้วการทำ
ที่สุดทุกข์ได้.

จบตติยภาณวาร

จตุราริยธรรมกถา



[109] ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือ
บาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เสด็จเที่ยวบิณฑบาต
ในกรุงเวสาลี ภายหลังภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทอดพระเนตรกรุงเวสาลี
เป็นนาคาวโลกแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ การเห็นกรุงเวสาลี
ของตถาคตครั้งนี้ จักเป็นครั้งสุดท้าย มากันเถิด อานนท์ เราจักไปยังบ้านภัณฑ-

คาม. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงบ้านภัณฑคามแล้ว.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ บ้านภัณฑคามนั้น. ณ ที่นั่นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้ง
แทงตลอดธรรม 4 ประการ เราและพวกเธอเร่ร่อนเที่ยวไปสิ้นกาลนานอย่างนี้.
4 ประการเป็นไฉน. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดศีลอันเป็นอริยะ เราและพวก
เธอเร่ร่อนเที่ยวไปสิ้นกาลนาน เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดสมาธิอันเป็นอริยะ. . .
ปัญญาอันเป็นอริยะ . . . วิมุตติอันเป็นอริยะ เราและพวกเธอ จึงเร่ร่อนเที่ยว
ไปสิ้นกาลนานอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอด ศีลอัน
เป็นอริยะ สมาธิ ปัญญา วิมุตติ อันเป็นอริยะแล้ว ภวตัณหาเราถอนเลียแล้ว
ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต
ศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[110] ธรรมเหล่านี้คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติอันยอดเยี่ยม อันพระโคดมผู้มียศ
ตรัสรู้แล้ว ดังนั้นพระพุทธเจ้าทรงบอก
ธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อความรู้ยิ่ง
พระศาสดาผู้กระทำ ซึ่งที่สุดแห่งทุกข์
มีพระจักษุปรินิพพานแล้ว.

[111] ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับ ณ บ้านภัณฑคามนั้น
ทรงกระทำธรรมีกถานี้แหละเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายว่า อย่างนี้ศีล อย่าง
นี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา สมาธิอันศีลอบรมแล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้ว
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะ โดยชอบคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.

[112] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ตามความพอพระทัย
ในบ้านภัณฑคามแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิด อานนท์ เราจักไปยัง
บ้านหัตถีคาม อัมพคาม ชัมพุคาม และโภคนคร. ท่านพระอานนท์ทูลรับ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

เรื่องมหาปเทส 4 อย่าง



ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จ
ถึงโภคนครแล้ว. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ อานันทเจดีย์ใน
โภคนครนั้น. ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปเทส 4 เหล่านี้ พวกเธอจงฟัง จงตั้งใจ
ฟังให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังต่อไปนี้.
[113] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้
ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา
พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น. ครั้นไม่ชื่นชม ไม่
คัดค้านแล้ว พึงเรียนบทพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว สอบสวนในพระสูตร
เทียบเคียงในพระวินัย. ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลง
ในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้. พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า
นี้ไม่ใช่คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว
แน่นอน ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย. ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร