เมนู

ราชาและแก่ราชมหาอำมาตย์ทั้งหลายชั้นกลาง ๆ ในภูมิประเทศนั้น ในภูมิ
ประเทศใด เทวดาทั้งหลายชั้นต่ำ พากันหวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้
สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่ราชาและแก่ราชมหาอำมาตย์ทั้งหลาย ในภูมิประเทศ
นั้น ดูก่อนอานนท์ เมืองนี้ยังเป็นที่ชุมนุมชนอารยะอยู่ตราบใด ยังเป็นทาง
ผ่านของพ่อค้าอยู่ตราบใด จักเป็นนครชั้นเลิศ ชื่อปาฏลิบุตร(1) เป็นที่แก้ห่อ
สินค้า ดูก่อนอานนท์ นครปาฏลิบุตร จักมีอันตราย 3 ประการ คือ จากไฟ 1
จากน้ำ 1 หรือด้วยแตกสามัคคี 1

พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะถวายภัตตาหาร



[83] ครั้งนั้นแล พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของ
แคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นชื่นชมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
กล่าวถ้อยคำน่าชื่นชมควรรำลึกถึงกันแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง พราหมณ์
สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ ผู้นั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่งแล ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ พร้อมด้วยภิกษุ-
สงฆ์ โปรดรับภัตตาหาร สำหรับวันนี้เถิด พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรับด้วยดุษณีภาพ พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะมหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ
ครั้นทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว จึงเข้าไปยังเรือนรับรองของตน
แล้วสั่งให้ตกแต่งของควรเคี้ยวของควรบริโภคอย่างประณีตไว้ในเรือนรับรอง
ของตน แล้วให้กราบทูลกาลเวลาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งสบง ทรงถือ
บาตรและจีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จดำเนินเข้าไปเรือนรับรองของ
1. นครปาฏลิบุตรนี้ ต่อมาเป็นราชธานีของอาณาจักรมคธ ในรัชสมัยของพระเจ้ากาลาโสก
หรือในรัชสมัยของพระเจ้าอุเทน พระราชโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรูและเป็นนครหลวงที่
เจริญรุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าอโศก ธรรมาธิราช และสมัยราชวงศ์คุปตะ.

พราหมณ์สุนีธะแสะวัสสการะ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธแล้วประทับนั่งบน
อาสนะที่เขาปูไว้ ครั้งนั้นแล พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของ
แคว้นมคธอังคาส เลี้ยงดูภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยของควรเคี้ยว
ควรบริโภคอย่างประณีตด้วยมือของตน ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จ
ทรงวางพระหัตถ์ลงจากบาตร พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะมหาอำมาตย์ของ
แคว้นมคธ ถือเอาอาสนะต่ำที่ใดที่หนึ่งแล้วนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุโมทนากะพราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของ
แคว้นมคธผู้นั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ด้วยพระคาถาเหล่านี้ ว่า
[84] บุรุษผู้มีเชื้อชาติบัณฑิต เข้าไปอยู่ใน
ประเทศใด พึงเชิญท่านพรหมจารี
ทั้งหลายผู้มีศีล ผู้สำรวมให้บริโภคใน
ประเทศนั้น แล้วอุทิศทักษิณาให้แก่
เทวดาทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ในประเทศนั้น
เทวดาทั้งหลายเหล่านั้น อันบุรุษนั้นบูชา
แล้ว ย่อมบูชาตอบ นับถือแล้ว ย่อม
นับถือตอบ ซึ่งบุรุษนั้น เพราะเหตุนั้น
เทวดาทั้งหลายจะอนุเคราะห์บุรุษเชื้อชาติ
บัณฑิตนั้น เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตร
ของตน บุรุษผู้ซึ่งเทวดาอนุเคราะห์แล้ว
จะประสบแต่สิ่งเจริญทั้งหลายในกาล
ทุกเมื่อ.

โคตมทวาร



[85] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงอนุโมทนาพราหมณ์
สุนีธะและวัสสการมหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ ด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จ
กลับ ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ
ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามเสด็จไปโดยเบื้องพระปฤษฏางค์ ด้วย
คิดว่า วันนี้ พระสมณโคดมจักเสด็จออกทางประตูใด ประตูนั้นจักมีชื่อว่า
โคตมทวาร จักเสด็จข้ามแม่น้ำคงคา โดยท่าใด ท่านั้นจักมีชื่อว่า โคตมติตถะ(1)
ครั้งนั้นแล ประตูที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก ได้มีนามว่า โคตมทวาร
ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปยังแม่น้ำคงคา ก็สมัยนั้นแล แม่น้ำ
คงคา น้ำเต็มฝั่งเสมอขอบฝั่ง กาดื่มกินได้ มนุษย์ทั้งหลายผู้ปรารถนาข้ามจาก
ฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง บางพวกก็ใช้เรือ บางพวกก็ใช้แพ บางพวกก็ผูกทุ่น
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหายพระองค์บนฝั่งข้างนี้ของ
แม่น้ำคงคาแล้วประทับยืนเฉพาะอยู่บนฝั่งข้างโน้น เหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึง
เหยียดแขนที่คู้ไว้ออกไป หรือคู้แขนที่เหยียดไว้เข้ามา ผู้ปรารถนาข้ามจากฝั่ง
หนึ่งไปยังฝั่งหนึ่ง บางพวกก็ใช้เรือ บางพวกก็ใช้แพ บางพวกก็ผูกทุ่น
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความหมายนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ ใน
เวลานั้นว่า
ชนทั้งหลายเหล่าใด จะข้ามสระ คือ
ห้วงน้ำ (แม่น้ำ) ชนเหล่านั้น ต้องทำ
สะพานผ่านเปือกตมข้ามไป ประชาชน

1. โคตมติตถะ ไม่มี เพราะมิได้เสด็จลงท่า.