เมนู

ไม่ควร พระเจ้าข้า.
ดูกรอานนท์ ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง 2 นั้นเล่า ข้อที่ 1 คือ อสัญญี-
สัตตายตนะ ผู้ที่รู้ชัดอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณ
และโทษ แห่งอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจาก
อสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินอสัญญีสัตตยตนะนั้นอีก
หรือ.
ไม่ควร พระเจ้าข้า.
ส่วนข้อที่ 2 คือ เนวสัญญานาสูญญายตนะ ผู้ที่รู้ชัดเนวสัญญานา
สัญญายตนะข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษแห่งเนวสัญญานา
สัญญายตนะข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ.
ไม่ควร พระเจ้าข้า.
ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับทั้งคุณและ
โทษและอุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ 7 และอายตนะ 2 เหล่านี้ ตาม
เป็นจริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ เพราะไม่ยึดมั่น อานนท์ ภิกษุนี้เราเรียก
ว่า ปัญญาวิมุตติ.

อัฏฐวิโมกขกถา



[66] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ 8 ประการเหล่านี้ 8 ประการเป็นไฉน คือ
1. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ 1
2. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก นี้
เป็นวิโมกข์ข้อที่ 2
3. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ 3

4. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงมานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ 4
5. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิ
ได้เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ 5
6. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะ
ล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ 6
7. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ 7
8. ผู้ที่บรรลุสัญญาวเทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ 8
ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ 8 ประการ ภิกษุเข้าวิโมกข์ 8
เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้างออก
บ้าง ตามคราวที่ต้องการตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์
จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะ
ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า
อุภโตภาควิมุตติ อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่งหรือประณีต
ไปกว่าไม่มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ยินดี
ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบมหานิทานสูตรที่ 2

อรรถกถามหานิทานสูตร



มหานิทานสูตรมีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กุรุชนบท ดังนี้.
ต่อไปนี้เป็นการพรรณนาบทที่ยากในพระสูตรนั้น บทว่า กุรูสุ วิหรติ
ความว่า พระราชกุมารชาวชนบท ชื่อว่า กุรุ ที่ประทับของพระราชกุมารนั้น
เป็นชนบทหนึ่ง ท่านกล่าวว่า กุรูสุ ด้วยศัพท์ที่เพิ่มขึ้นมา ในชนบทชื่อกุรูสุนั้น
ก็พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า ในรัชกาลพระเจ้ามันธาตุ พวกมนุษย์
ใน 3 ทวีปได้ยินมาว่า ชมพูทวีปเป็นที่เกิดของบุรุษผู้สูงสุด นับแต่พระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า พระมหาสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นทวีปอุดม
น่ารื่นรมย์ยิ่งนัก จึงพากันมากับพระเจ้าจักรพรรดิมันธาตุราช ผู้ปล่อยจักรแก้ว
แล้วมุ่งติดตามไปยังทวีปทั้ง 4 ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามปริณายกแก้วว่า
ยังมีที่รื่นรมย์กว่ามนุษยโลกหรือไหมหนอ ปริณายกแก้วกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสอย่างนั้นเล่า พระเจ้าข้า พระองค์ไม่ทรง
เห็นอานุภาพของพระจันทร์และพระอาทิตย์ หรือ ฐานะของพระจันทร์ และ
พระอาทิตย์เหล่านั้น น่ารื่นรมย์กว่านี้มิใช่หรือ พระเจ้าข้า พระราชาได้ทรง
ปล่อยจักรแก้วไป ณ ที่นั้น.
ท้าวมหาราชทั้ง 4 ได้สดับว่า พระเจ้ามันธาตุราชเสด็จมาแล้ว คิดว่า
พระราชาทรงฤทธิ์มาก เราไม่สามารถจะห้ามการรบได้ จึงมอบราชสมบัติของตน
ให้ พระเจ้ามันธาตุราชทรงรับราชสมบัตินั้นแล้วตรัสถามต่อไปว่า ยังมีที่น่า
รื่นรมย์ยิ่งกว่านี้อีกไหม ลำดับนั้น ท้าวมหาราชเหล่านั้น กราบทูลถึงภพดาวดึงส์
แก่พระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ ภพดาวดึงส์น่ารื่นรมย์กว่านี้ มหาราชทั้ง 4