เมนู

แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว
อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า ในรูปขันธ์ล้วน ๆ
ก็ยังมิได้มีความเสวยอารมณ์อยู่ทั้งหมด ในรูปขันธ์นั้น ยังจะเกิดอหังการว่า
เป็นเราได้หรือ.
ไม่ได้ พระเจ้าข้า.
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า ถ้า
เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา แม้ด้วยคำ
ดังกล่าวแล้วนี้ ส่วนผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย อัตตา
ของเราไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่า
อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า อาวุโส ก็เพราะ
เวทนาจะต้องดับไปทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เหลือเศษ เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการ
ทั้งปวง เพราะเวทนาดับไปยังจะเกิดอหังการว่า เป็นเราได้หรือ ในเมื่อขันธ์
นั้น ๆ ดับไปแล้ว.
ไม่ได้ พระเจ้าข้า.
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า เวทนา
ไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาเลยก็ไม่ใช่ อัตตา
ของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่าอัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา แม้
ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้.

วิมุตตจิตตตา



[64] ดูกรอานนท์ คราวใดเล่า ภิกษุไม่เล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่าไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ ไม่เล็งเห็นว่าอัตตายังต้องเสวย
เวทนาอยู่ เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา ภิกษุนั้น เมื่อเล็ง

เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก และเมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะทก
สะท้าน เมื่อไม่สะทกสะท้านย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตน ทั้งรู้ชัดว่า ชาติสิ้น
แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี อานนท์ ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ทิฐิว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์ยังมี
อยู่ ว่าเบื้องหน้าแต่ตายสัตว์ไม่มีอยู่ ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์มีอยู่ด้วย ไม่มี
อยู่ด้วย ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์มีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้ กะ
ภิกษุผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ การกล่าวของบุคคลนั้นไม่สมควร.
ข้อนั้น เพราะเหตุไร.
ดูกรอานนท์ ชื่อ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุตติ บัญญัติ ทางแห่ง
บัญญัติการแต่งตั้ง ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญา วัฏฏะยังเป็นไปอยู่ตราบใด
วัฏฏสงสารยังคงหมุนเวียนอยู่ตราบนั้น เพราะรู้ยิ่ง วัฏฏสงสารนั้น ภิกษุจึง
หลุดพ้น ข้อที่มีทิฐิว่า ใคร ๆ ย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นภิกษุผู้หลุดพ้น เพราะ
รู้ยิ่งวัฏฏสงสารนั้น ข้อนั้นไม่สมควร.

สัตตวัญญาณัฎฐิกถา ทวายตนกถา



[65] ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ 7 อายตนะ 2 เหล่านี้ วิญญาณฐิติ
7 เป็นไฉน คือ-
1. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์ และพวก
เทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ 1
2. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่อง
ในชั้นพรหมผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย 4 นี้เป็นวิญญาณ-
ฐิติที่ 2
3. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้น
อาภัสสร นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ 3