เมนู

กระไร ขอพระสมณโคดมพึงตรัสถามปัญหากะเราในเรื่องไตรวิชาอันเป็น
ของอาจารย์ของเรา เราจะพึงแก้ให้ถูกพระทัยของพระองค์ได้เป็นแน่.
[185] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบความคิดในใจ
ของพราหมณ์โสณทัณฑะด้วยพระหฤทัย แล้วทรงดำริว่า พราหมณ์โสณ-
ทัณฑะนี้ลำบากใจตัวเองอยู่ ถ้ากระไร เราพึงถามปัญหาเขาในเรื่องไตร-
วิชาอันเป็นของอาจารย์ของเขา. ต่อแต่นั้น จึงได้ตรัสถามพราหมณ์โสณ-
ทัณฑะว่า ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไร พวกพราหมณ์
จงบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะกล่าวว่า เราเป็นพราหมณ์ ก็พึง
กล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย. พราหมณ์โสณทัณฑะดำริ
ว่า เราได้ประสงค์จำนงหมายปรารถนาว่าไว้แล้วว่า ถ้ากระไร ขอพระสมณ-
โคดมพึงตรัสถามปัญหากะเรา ในเรื่องไตรวิชาอันเป็นของอาจารย์ของเรา
เราพึงแก้ให้ถูกพระทัยของพระองค์ได้เป็นแน่นั้น เผอิญพระองค์ก็ตรัสถาม
ปัญหากะเราในเรื่องไตรวิชาอันเป็นของอาจารย์ของเรา เราจักแก้ปัญหาให้
ถูกพระทัยได้เป็นแน่ทีเดียว

พราหมณ์บัญญัติ


[186] ลำดับนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะจึงเผยอกายขึ้นเหลียวดูชุม-
นุมชนแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคล
ประกอบด้วยองค์ 5 ประการ พวกพราหมณ์ย่อมบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์
และเมื่อเขาจะกล่าวว่า เราเป็นพราหมณ์ ก็พึงกล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่
ต้องถึงมุสาวาทด้วย องค์ 5 ประการเป็นไฉน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
บุคคลผู้เป็นพราหมณ์ในโลกนี้
1. เป็นอุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิ

หมดจดดีตลอด 7 ชั่วคน ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้ ด้วยการกล่าวอ้าง
ถึงชาติ
2. เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนต์รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์
นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษรมีคัมภีร์อักษรมีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ 5
เป็นผู้เข้าใจตัวบท เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและ
มหาปุริสลักษณะ
3. เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณผุดผ่อง
ยิ่งนัก มีพรรณคล้ายพรหม มีรูปร่างคล้ายพรหม น่าดู น่าชม ไม่น้อย
4. เป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน
5. เป็นบัณฑิต มีปัญญาเป็นที่ 1 หรือที่ 2 ของพวกปฏิคาหก ผู้
รับบูชาด้วยกัน
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลประกอบด้วยองค์ 5 เหล่านี้แล พวก
พราหมณ์ย่อมบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะกล่าวว่า เราเป็น
พราหมณ์ ก็พึงกล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย.
[187] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาองค์ทั้ง
5 เหล่านี้ ยกเสียองค์หนึ่งแล้ว บุคคลประกอบด้วยองค์ เพียง 4 อาจจะ
บัญญัติว่า เป็นพราหมณ์ได้หรือไม่ และเมื่อเขาจะกล่าวว่า เราเป็น
พราหมณ์พึงกล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย. พราหมณ์
โสณทัณฑะทูลว่า ได้ พระโคดมผู้เจริญ บรรดาองค์ทั้ง 5 เหล่านี้ ยก
วรรณะเสียก็ได้ เพราะวรรณะจักกระทำอะไรได้ ด้วยเหตุว่าบุคคลผู้เป็น
พราหมณ์
1. เป็นอุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือ

ปฏิสนธิหมดจดดีตลอด 7 ชั่วคน ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้ด้วยการกล่าว
อ้างถึงชาติ
2. เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์
นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ 5
เป็นผู้เข้าใจตัวบท เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและ
มหาปุริสลักษณะ
3. เป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน
4. เป็นบัณฑิต มีปัญญา เป็นที่ 1 หรือที่ 2 ของพวกปฏิคาหก ผู้
รับบูชาด้วยกัน
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลประกอบด้วยองค์ 4 เหล่านี้แล พวก
พราหมณ์ย่อมบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะกล่าวว่า เป็นพราหมณ์
พึงกล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย.
[188] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาองค์ 4
เหล่านี้ ยกเสียองค์หนึ่งแล้ว บุคคลประกอบด้วยองค์เพียง 3 อาจบัญญัติ
ว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะกล่าวว่าเราเป็นพราหมณ์ พึงกล่าวได้
โดยชอบ ทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย. พราหมณ์โสณทัณฑะทูลว่า ได้ พระ-
โคดมผู้เจริญ บรรดาองค์ 4 เหล่านี้จะยกมนต์เสียก็ได้ เพราะมนต์จักทำ
อะไรได้ ด้วยเหตุว่าบุคคลผู้เป็นพราหมณ์
1. เป็นอุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือ
ปฏิสนธิหมดจดดี 7 ตลอดชั่วคน ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้ด้วยการกล่าว
อ้างถึงชาติ
2. เป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน

3. เป็นบัณฑิต มีปัญญาเป็นที่ 1 หรือที่ 2 ของพวกปฏิคาหกผู้
รับบูชาด้วยกัน
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์ 3 เหล่านี้แล
พวกพราหมณ์ย่อมบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะกล่าวว่าเราเป็น
พราหมณ์ ก็พึงกล่าวไว้ได้โดยชอบทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย.
[189] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาองค์ 3
เหล่านี้ ยกเสียองค์หนึ่งแล้ว บุคคลประกอบด้วยองค์ เพียง 2 อาจจะ
บัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ได้หรือไม่ และเมื่อเขาจะกล่าวว่า เราเป็นพราหมณ์
ก็พึงกล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย. พราหมณ์โสณทัณฑะ
ทูลว่า ได้ พระโคดมผู้เจริญ บรรดาองค์ 3 เหล่านี้ ยกชาติเสียก็ได้ เพราะ
ชาติจักทำอะไรได้ ด้วยเหตุว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์
1. เป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน
2. เป็นบัณฑิต มีปัญญาเป็นที่ 1 หรือที่ 2 ของพวกปฏิคาหกผู้
รับบูชาด้วยกัน
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลประกอบด้วยองค์ 2 เหล่านี้แล พวก
พราหมณ์ย่อมบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะกล่าวว่า เราเป็น
พราหมณ์ก็พึงกล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย.
[190] เมื่อพราหมณ์โสณทัณฑะทูลอย่างนี้แล้ว พราหมณ์เหล่านั้น
ได้กล่าวว่า ท่านโสณทัณฑะ อย่าได้กล่าวอย่างนั้นเลย ท่านโสณทัณฑะ
อย่าได้กล่าวอย่างนั้นเลย ท่านโสณทัณฑะกล่าวลบหลู่วรรณะ กล่าวลบหลู่
มนต์ กล่าวลบหลู่ชาติ กล่าวคล้อยตามวาทะของพระสมณโคดมถ่ายเดียว
เท่านั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพราหมณ์เหล่านั้นว่า
ถ้าพวกท่านคิดอย่างนี้ว่า พราหมณ์โสณทัณฑะอ่อนการศึกษา พูดไม่ดี

มีปัญญาทราม และไม่สามารถจะโต้ตอบกับพระสมณโคดมในเรื่องนี้ได้
พราหมณ์โสณทัณฑะก็จงหยุดเสีย พวกท่านจงพูดกับเราเถิด แต่ถ้าพวก
ท่านคิดอย่างนี้ว่า พราหมณ์โสณทัณฑะเป็นพหูสูต พูดดี เป็นบัณฑิต
และสามารถจะโต้ตอบกับพระสมณโคดมในเรื่องนี้ได้ พวกท่านจงหยุดเสีย
พราหมณ์โสณทัณฑะจงโต้ตอบกับเรา.
[191] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์โสณทัณ-
ฑะได้กราบทูลว่า ขอพระโคดมผู้เจริญทรงหยุดเถิด ขอพระโคดมผู้เจริญ
ทรงนิ่งเสียเถิด ข้าพระองค์เองจักโต้ตอบเขาโดยชอบแก่เหตุ แล้วจึงกล่าว
กะพราหมณ์พวกนั้นว่า ท่านทั้งหลาย อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ๆ ว่า พราหมณ์
โสณทัณฑะกล่าวลบหลู่วรรณะ กล่าวลบหลู่มนต์ กล่าวลบหลู่ชาติ กล่าว
คล้อยตามวาทะของพระสมณโคดมถ่ายเดียวอย่างนี้เลย. ข้าพเจ้ามิได้กล่าว
ลบหลู่วรรณะ หรือมนต์ หรือชาติเลย

อ้างอังคกมาณพ


[192] สมัยนั้น อังคกมาณพหลานของพราหมณ์โสณทัณฑะ นั่ง
อยู่ในชุมนุมชนนั้นด้วย. พราหมณ์โสณทัณฑะได้กล่าวกะพราหมณ์พวกนั้น
ว่า ท่านทั้งหลาย นี้อังคกมาณพหลานของข้าพเจ้า พวกท่านเห็นหรือไม่
พราหมณ์พวกนั้นตอบว่า เห็นแล้วท่าน พราหมณ์โสณทัณฑะกล่าวต่อไป
ว่า อังคกมาณพเป็นคนมีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณ
ผุดผ่องยิ่งนัก มีพรรคคล้ายพรหม มีรูปร่างคล้ายพรหม น่าดู น่าชมไม่น้อย
ในชุมนุมชนนี้ยกพระสมณโคดมเสีย ไม่มีใครมีวรรณะเสมออังคกมาณพเลย
อังคกมาณพเป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนต์ได้ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้ง
คัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาส