เมนู

บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็น
รูป ดังนี้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศพระธรรม โดยอเนกปริยาย
ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ ทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญจงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะอย่างมอบกายถวายชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ได้ปล่อยโคผู้ 700 ตัว ลูกโคผู้ 700 ตัว
ลูกโคเมีย 700 ตัว แพะ 700 ตัว แกะ 700 ตัว ได้ให้ชีวิตแก่สัตว์
เหล่านั้น ขอสัตว์เหล่านั้นจงได้กินหญ้าเขียวสด จงได้ดื่มน้ำเย็น ขอลมที่
เย็นจงพัดถูกสัตว์เหล่านั้นเถิด.

กูฏทันตพราหมณ์บรรลุโสดาปัตติผล


[237] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอนุปุพพิกถาแก่
กูฏทันตพราหมณ์ คือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของ
กามที่ต่ำช้า เศร้าหมอง และอานิสงส์การออกจากกาม เมื่อทรงทราบว่า
กูฏทันตพราหมณ์ มีจิตควร มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตร่า เริง
มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โปรด
กูฏทันตพราหมณ์ เปรียบเหมือนผ้าที่สะอาด ปราศจากสีดำ ควรรับน้ำ
ย้อมได้เป็นอย่างดี ฉันใด กูฏทันตพราหมณ์ฉันนั้น ได้ดวงตาเห็นธรรม
อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั้นนั่นเอง. ลำดับนั้น กูฏ-
ทันตพราหมณ์เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแล้ว หยั่งทราบถึงธรรม

ทั่วถึงแล้ว ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้ว-
กล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลกะพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า ขอพระโคดมผู้เจริญกับพระภิกษุสงฆ์จงทรงรับภัตตาหารของ
ข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ.
เมื่อกูฏทันตพราหมณ์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุก
จากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณหลีกไป.
[238] ครั้งนั้น พอถึงเวลารุ่งเช้า กูฏทันตพราหมณ์ได้สั่งให้
คนแต่งของเคี้ยวและของฉันอย่างประณีตในสถานที่บูชายัญของตน แล้ว
ให้คนไปกราบทูลเวลาเสด็จแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ถึงเวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว. ลำดับนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร และจีวร พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เสด็จไปสู่
สถานที่บูชายัญ ของกูฏทันตพราหมณ์ ครั้นเสด็จไปถึงแล้วประทับนั่งบน
อาสนะที่เขาปูไว้แล้ว. ลำดับนั้นแลกูฏทันตพราหมณ์ ได้อังคาสพระภิกษุ-
สงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้อิ่มหนำเพียงพอ ด้วยของขบเคี้ยวและ
ของฉันอันประณีต ด้วยมือของตนเอง. เมื่อทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสวยเสร็จแล้ว ทรงลดพระหัตถ์ลงจากบาตรแล้ว จึงได้ถือเอาอาสนะที่ต่ำ
แห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังกูฏ-
ทันตพราหมณ์ ผู้นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งนั้นแล ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป.
จบกูฏทันตสูตรที่ 5

อรรถกถากูฏทันตสูตร


กูฏทันตสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ฯ เป ฯ มคเธสูติ กูฏ-
ทนฺตสุตฺตํ.
ในกูฏทันตสูตรนั้นมีการพรรณนาตามลำดับบท ดังต่อไปนี้.
บทว่า ในมคธชนบท ความว่า ราชกุมารทั้งหลาย ผู้มีปกติอยู่ใน
ชนบท มีชื่อว่า มคธะ ชนบทแม้ชนบทเดียวอันเป็นที่อยู่ของราชกุมารเหล่า
นั้น ท่านเรียกว่า มคธา ด้วยศัพท์ที่เพิ่มเข้ามา. ในชนบท ในแคว้น
มคธนั้น. เบื้องหน้าแต่นี้ไป มีนัยดังกล่าวแล้ว ในสูตรทั้งสองเบื้องต้น
นั้นแหละ. สวนอัมพลัฏฐิกา ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในพรหมชาลสูตร.
คำว่า กูฏทันตะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น.
บทว่า เตรียมการ คือ จัดแจง. บทว่า วจฺฉตรสตานิ คือ ลูกโคผู้หลายร้อย.
แพะตัวเล็ก ๆ ท่านเรียกว่า อุรัพภะ. สัตว์เท่านั้น มีมาในพระบาลีเพียง
แค่นี้เท่านั้น. แต่เนื้อและนกเป็นอันมากอย่างละ 700 แม้มิได้มีมา
ในพระบาลี ก็พึงทราบว่า ท่านประมวลเข้ามาด้วยเหมือนกัน. ได้ทราบว่า
กูฏทันตพราหมณ์ นั้นมีประสงค์จะบูชายัญอย่างละ 700 ทุกอย่าง. บทว่า
ถูกเขานำไปผูกไว้ที่หลัก คือ ถูกเขานำเข้าไปสู่หลัก กล่าวคือ หลักยัญ
เพื่อต้องการจะผูกวางไว้. บทว่า พักอยู่ คือ พวกพราหมณ์ทั้งหลายพักอยู่
เพื่อต้องการบริโภคของที่เขาให้เป็นทาน. บทว่า สามอย่าง ความว่า การ
ตั้งไว้ คือ การแต่งตั้ง ท่านเรียกว่า วิธ ในคำนี้. บทว่า มีบริขาร 16
คือ มีบริวาร 16