เมนู

อรรถกถาเตวิชชสูตร


เตวิชชสูตร

มีความเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ฯลฯ ใน
แคว้นโกศล.
ต่อไปนี้จะพรรณนาบทที่ยากในพระสูตรนั้น. บทว่า มนสากตะ เป็นชื่อ
ของบ้านนั้น. บทว่า โดยทางทิศเหนือของบ้านมนสากตะ คือ ข้างทิศเหนือ
ไม่ไกลจากบ้านมนสากตะ. บทว่า ในป่ามะม่วง คือ ในหมู่ต้นมะม่วงหนุ่ม ได้
ยินว่า ภูมิภาคนั้นน่ารื่นรมย์ ข้างล่าง ลาดทรายเช่นเดียวกับแผ่นดิน ข้างบน
เป็นป่ามะม่วงมีกิ่งและใบหนา เหมือนเพดานดาดด้วยแก้วมณี พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพวัน อันเป็นความสุขเกิดจากวิเวก สมควรแก่
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
บทว่า พราหมณ์มหาศาล ผู้ที่เขารู้จักกันแพร่หลาย คือ เป็นผู้ที่เขา
รู้กันทั่วไปในตำบลนั้น ๆ โดยถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติมีกุลจารีตเป็นต้น. บท
ว่า วังกี เป็นอาทิ เป็นชื่อของพราหมณ์มหาศาล เหล่านั้น. บรรดาพราหมณ์
มหาศาลเหล่านั้น วังกีอยู่บ้านโอปสาทะ ตารุกขะอยู่บ้านอิจฉานังคละ.
โปกขรสาติอยู่อุกกัฏฐนคร ชาณุโสนิอยู่สาวัตถี โตเทยยะอยู่ตุทิคาม. บทว่า
พราหมณ์มหาศาล เหล่าอื่นอีก ความว่า ก็บรรดาชนเป็นอันมากเหล่าอื่น
มาจากที่อยู่ของตน ๆ แล้วอาศัยอยู่ ณ มนสากตคามนั้น. ได้ยินว่า เพราะ
มนสากตคามเป็นที่น่ารื่นรมย์ พราหมณ์เหล่านั้นจึงพากันสร้างเรือนใกล้ฝั่ง
แม่น้ำในมนสากตคามนั้น ล้อมไว้โดยรอบ ห้ามคนพวกอื่นเข้าไป พากันไป
อยู่ ณ ที่นั้น ตามลำดับ.

บทว่า วาเสฏฐมาณพและภารัทวาชมาณพ ความว่า วาเสฏ-
ฐมาณพ เป็นศิษย์ของโปกขรสาติพราหมณ์ ภารัทวาชมาณพเป็นศิษย์ของ
ตารุกขพราหมณ์. ได้ยินว่า มาณพทั้งสองนั้นสมบูรณ์ด้วยชาติ ได้จบไตรเพท
แล้ว. บทว่า ชังฆวิหาร คือ เดินเที่ยวพักผ่อน เพื่อต้องการบรรเทาความ
เมื่อยขบ เพราะนั่งนานเกินไปเป็นเหตุ. ได้ยินว่ามาณพทั้งสองนั้นนั่งท่องมนต์
ตลอดกลางวัน ตอนเย็นจึงลุก ให้คนถือของหอมดอกไม้ น้ำมันและผ้าสะอาด
อันเป็นเครื่องใช้สำหรับอาบน้ำ แวดล้อมด้วยบริวารชนของตน ๆประสงค์
จะอาบน้ำ ไปฝั่งแม่น้ำเดินไปๆ มา ๆ ที่เนินทราย สีแผ่นเงิน. คนหนึ่งเดิน
อีกคนหนึ่งเดินตาม อีกคนหนึ่งก็เดินตามอีกคนหนึ่ง ต่อกันไป ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เดินเที่ยวเล่นตามกันไป.
บทว่า ในทางและมิใช่ทาง คือในเรื่องทางและมิใช่ทาง. อธิบายว่า
มาณพทั้งสองสนทนากันปรารภถึงเรื่องทางและมิใช่ทางอย่างนี้ว่า เราจะบำเพ็ญ
ปฏิปทาอย่างไรหนอ แล้วจึงจะสามารถไปสู่พรหมโลกอันเป็นสุขได้ โดยทาง
ไหน. บทว่าเส้นทางเดินเป็นไวพจน์ของทางตรง หรือทางตรงนั่นแหละ. คน
ย่อมเดินคือย่อมมาโดยทางนั้น เพราะฉะนั้น ทางนั้นจึงชื่อว่า เส้นทางเดิน.
บทว่าเป็นทางนำออก ย่อมนำออก คือ เมื่อนำออก ย่อมนำออกไปได้. อธิบาย
ว่า เมื่อจะไปก็ไปได้ ถามว่า ไปไหน. ตอบว่า เพื่อให้ผู้ปฏิบัติตามนั้นอยู่ร่วม
กับพรหม อธิบายว่า ผู้ที่ไปเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม เพื่อความปรากฏ ในที่
เดียวกัน ย่อมดำเนินตามทางนั้น. บทว่า ยฺวายํ ตัดบทเป็น โย อยํ. บทว่า
ตารุกขพราหมณ์ บอกไว้ คือ กล่าวไว้ ได้แก่ แสดงไว้. บทว่า โปกขรสาติ-
พราหมณ์
คือ วาเสฏฐมาณพอ้างถึงอาจารย์ของตน. วาเสฏฐมาณพเที่ยวชม
เชยยกย่อง วาทะของอาจารย์ของตนฝ่ายเดียว แม้ภารัทวาชะก็เที่ยวชมเชย

....ฝ่ายเดียวเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า วาเสฏฐมาณพไม่อาจให้
ภารัทวาชมาณพยินยอมได้เป็นต้น.
ลำดับนั้น วาเสฏฐมาณพ คิดว่า ถ้อยคำของเราแม้ทั้งสองไม่เป็นทาง
นำออกได้แน่นอน ขึ้นชื่อว่าผู้ฉลาดในทาง ในโลกนี้ เช่นกับพระโคดมผู้เจริญ
ไม่มี พระโคดมผู้เจริญประทับอยู่ไม่ไกล พระองค์จักขจัดความสงสัยของเราได้
เหมือนพ่อค้านั่งถือตราชั่ง ฉะนั้น แล้วจึงบอกความนั้นแก่ภารัทวาชมาณพ
ทั้งสองก็พากันไปกราบทูลถ้อยคำแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล วาเสฏฐมาณพ ฯลฯ ทางที่ท่านตารุกขพราหมณ์
บอกไว้นี้เป็นทางตรง
ดังนี้.
บทว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมในข้อนี้ คือ ในเรื่องทางและมิใช่ทางนี้.
ในบทว่า การถือผิด การกล่าวผิด เป็นต้น ความว่า ถือผิด เกิดขึ้นก่อน
กล่าวผิดเกิดขึ้นภายหลัง. แม้ทั้งสองก็เป็นวาทะต่างจากวาทะของบรรดาอาจารย์
ต่าง ๆ. ในบทว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเธอจะถือผิด กล่าวผิดกันในข้อ
ไหน
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า แม้เธอก็ยกย่องวาทะอาจารย์
ของตนเท่านั้นยืนยันอยู่ว่า นี้เท่านั้นเป็นทาง แม้ภารัทวาชมาณพก็ยกย่อง
วาทะอาจารย์ของตนเหมือนกัน ความสงสัยของคนหนึ่งย่อมไม่มีในคนหนึ่ง
เมื่อเป็นอย่างนั้น พวกเธอถือต่างกันในเรื่องอะไร. บทว่า ข้าแต่พระโคดม-
ผู้เจริญ ในทางและมิใช่ทาง
ความว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในทาง
และมิใช่ทาง อธิบายว่าในทางตรง และมิใช่ทางตรง.
ได้ยินว่า มาณพนั้น ไม่กล่าวถึงทาง แม้ของพราหมณ์คนหนึ่งว่า
ไม่ใช่ทาง ก็ทางอาจารย์ของตนเป็นทางตรงฉันใด เขาไม่รับรู้ของผู้อื่นฉัน
นั้น เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดงความนั้น เขาจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระ-

โคดมผู้เจริญ ....แม้โดยแท้ เป็นอาทิ. บทว่า สพฺพานิ ตานิ ท่านกล่าวไว้
ด้วยลิงควิปัลลาส (ผิดลิงค์). อธิบายว่า สพฺเพ เต ดังนี้. บทว่า ทางต่าง ๆ
มาก
คือ 8 สาย หรือ 10 สาย. บทว่า ทางต่าง ๆ คือ ทางที่มาจากบ้าน
แม่น้ำ สระ และนาเป็นต้นใกล้เคียงกันหลายสาย ทั้งใหญ่และไม่ใหญ่ โดย
เป็นทางเท้าและทางเกวียน เป็นต้น แล้วเข้าบ้าน. บทว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ
เธอกล่าวว่า ทางเหล่านั้นย่อมนำออกหรือ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ให้วาเสฏฐมาณพ เปล่งวาจา 3 ครั้ง แล้วให้ทำปฏิญญาณ. เพราะเหตุไร.
เพราะพวกเดียรถีย์ปฏิญญาณแล้ว ภายหลังเมื่อถูกข่มขี่จะดูหมิ่น วาเสฏฐมาณพ
จักไม่อาจทำอย่างนั้นได้.
บทว่า เตว เตวิชฺชา ได้แก่ พวกพราหมณ์จบไตรเพท. วอักษร
เป็นเพียงอาคมสนธิ.
บทว่า อนฺธเวณี แปลว่า แถวคนตาบอด. อธิบายว่า คนตาบอดหนึ่ง
จับปลายไม้เท้าที่คนตาดีถือ คนอื่น ๆ ก็จับคนตาบอดกันต่อ ๆ ไป ด้วยประการ
ฉะนี้ คนตาบอด 50-60 คน จักต่อกันไป โดยลำดับ เรียกว่า แถวคน
ตาบอด. บทว่า เกาะกันและกัน คือ เกาะหลังกันและกัน. อธิบายว่า ถูกคน
ตาดีถือไม้เท้าหนีไป. มีเรื่องว่า นักเลงคนหนึ่ง เห็นหมู่คนตาบอด จึงให้
พวกคนตาบอดเกิดความอุตสาหะ โดยพูดว่า ที่บ้านโน้น ของเคี้ยวของกิน
หาได้ง่าย เมื่อหมู่คนตาบอดพูดว่า นายจ๋า ถ้ากระนั้นขอท่านจงนำพวกเราไปที่
บ้านนั้น พวกเราจะให้สิ่งนี้แก่ท่าน นักเลงรับสินจ้างแล้วจึงเลี่ยงลงจากทาง
ในระหว่างทาง เดินวนรอบกอไม้ใหญ่ จึงให้พวกคนตาบอดจับผ้าเคียนพุงกัน
ไว้ ตามลำดับก่อนหลัง แล้วบอกว่า มีธุระ พวกท่านจงไปก่อน แล้วหนีไป.
พวกคนตาบอดแม้ไปตลอดวัน ก็ไม่พบทาง ต่างคร่ำครวญว่า คนตาดีไปไหน

หนทางอยู่ทางไหน เมื่อไม่พบหนทางต่างก็ตายกันในที่นั้นเอง. ท่านกล่าวว่า
เกาะหลังกันและกัน หมายถึงพวกขอทานเหล่านั้น.
บทว่า แม้คนต้น ก็ไม่เห็น คือ บรรดาพราหมณ์ 10 คน แม้คน
หนึ่งก็ไม่เห็น. บทว่า แม้คนกลาง ก็ไม่เห็น หมายความว่า บรรดาอาจารย์
และปาจารย์ในท่ามกลาง แม้คนหนึ่งก็ไม่เห็น. บทว่า แม้คนหลัง ก็ไม่เห็น
หมายความว่าบรรดาพราหมณ์ผู้จบไตรเพทในบัดนี้ แม้คนหนึ่งก็ไม่เห็น. บทว่า
หสฺสกํเยว แปลว่า น่าหัวเราะเยาะโดยแท้. บทว่า ลามกํเยว แปลว่า ต่ำทราม
โดยแท้. ภาษิตนี้นั้น เป็นคำว่าง เพราะไม่มีประโยชน์ เป็นคำเปล่า ก็เพราะ
เป็นคำเหลวไหล.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงว่า พรหมผู้ที่พราหมณ์ผู้จบ
ไตรเพทไม่เคยเห็น ยกไว้ก่อน พราหมณ์ผู้จบไตรเพทย่อมมองเห็นพระจันทร์
และพระอาทิตย์ใดได้ แต่ไม่สามารถจะแสดงทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพระ-
จันทร์พระอาทิตย์แม้นั้นได้ จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า วาเสฏฐะ เธอจะสำคัญข้อ
นั้นเป็นไฉน. บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า พระจันทร์พระอาทิตย์ขึ้นเมื่อใด
คือขึ้นในกาลใด. บทว่า และตกเมื่อใด คือถึงความดับไปในกาลใด. อธิบายว่า
ชนทั้งหลายย่อมเห็นในเวลาขึ้นและในเวลาตก. บทว่า พราหมณ์ทั้งหลาย
ย่อมอ้อนวอน
คือ อ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอพระจันทร์ผู้เจริญจงขึ้น ขอ
พระอาทิตย์ผู้เจริญจงขึ้น. บทว่า ย่อมชื่นชม อธิบายว่า ชนทั้งหลายย่อม
กล่าวสรรเสริญว่าพระจันทร์สุภาพ พระจันทร์เรียบร้อย พระจันทร์มีรัศมี
เป็นอาทิ. บทว่า ประนมมือ คือ ประคองมือ.
บทว่า นอบน้อม คือ กล่าวว่า นโม นโม ดังนี้. คำว่า ยํ ในบท
ว่า ยํ ปสฺสนฺติ เป็นเพียงนิบาต. ในบทว่า ก็จะกล่าวกันทำไม พึงเห็น

ความอย่างนี้ว่า ในที่นี้ควรพูดเรื่องอะไรกัน ได้ยินว่า พราหมณ์ผู้ได้
ไตรเพท มิได้เห็นพรหมเป็นพยาน.
บทว่า เสมอฝั่ง ได้แก่ เต็มฝั่ง
บทว่า กาดื่มได้ อธิบายว่า กายืนอยู่บนฝั่งข้างใดข้างหนึ่ง ก็สามารถ
ดื่มกินได้. บทว่า ประสงค์จะข้ามฝั่ง คือ ประสงค์จะข้ามแม่น้ำไปถึงฝั่ง-
โน้น บทว่า อวฺเหยฺย แปลว่า เรียก. แน่ะฝั่งโน้นท่านจงมาฝั่งนี้ อธิบายว่า
เขาร้องเรียกว่า ดูก่อนฝั่งโน้น ท่านจงมาฝั่งนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านจักพา
เราข้ามไปได้โดยไว เรามีกิจที่จะต้องทำด่วน. ในบทว่า ธรรมเหล่าใดที่ทำ
ให้เป็นพราหมณ์นี้
พึงทราบว่า ธรรมที่ทำให้เป็นพราหมณ์ ได้แก่ ศีล 5
ศีล 10 กุศลกรรมบถ 10. ธรรมที่ผิดไปจากนั้น ไม่ใช่ธรรมที่ทำให้เป็น
พราหมณ์.
บทว่า อินฺทมวฺหยาม ตัดบทเป็น อินฺทํ อวฺหยาม แปลว่า เราเรียก
หาพระอินทร์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงความที่คำร้องเรียกของพราหมณ์
ไม่มีประโยชน์ ผู้ทรงรุ่งเรืองอยู่ ดุจพระอาทิตย์ในท้องมหาสมุทร ทรงแวด
ล้อมด้วยพระภิกษุ 500 รูป ประทับนั่งเหนือฝั่งแม่น้ำอจิรวดี เมื่อจะทรง
นำแม่น้ำอื่น ๆ มาเปรียบเทียบอีก จึงตรัสว่า เปรียบเหมือนว่า เป็นอาทิ.
บทว่า กามคุณทั้งหลาย อธิบายว่า ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า พึงใคร่.
ชื่อว่า คุณ เพราะอรรถว่า ผูกมัด. คุณศัพท์มีความว่า ชั้น ในพุทธพจน์
นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆาฏิสองชั้นแห่งผ้าใหม่.

คุณศัพท์ มีความว่า ลำดับ ในบทคาถานี้ว่า
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านพ้นไป
ลำดับแห่งวัย ย่อมละลำดับไป.

คุณศัพท์ มีความว่า อานิสงส์ ในบทว่า ทักษิณาพึงหวังได้อานิสงส์
ตั้งร้อย. คุณ ศัพท์มีความว่า ผูกร้อย ในบทนี้ว่า ไส้ใหญ่ ไส้น้อย ควร
ทำการร้อยพวงมาลัยให้มาก. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาศัพท์นี้ เพราะฉะนั้นจึง
กล่าวว่า คุณ ศัพท์ด้วยอรรถว่า ร้อยรัด. บทว่า พึงรู้ด้วยจักษุ คือพึง
เห็นด้วยจักษุวิญญาณ. พึงทราบความแม้ในบทว่า เสียงที่พึงรู้ด้วยหู เป็นต้น
โดยอุบายนั้น.
บทว่า น่าปรารถนา ความว่า กามคุณ 5 จะเป็นสิ่งที่น่าแสวงหา
หรือไม่ก็ตาม. อธิบายว่าย่อมเป็นอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา บทว่า กนฺตา
ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่. บทว่า มนาปา ได้แก่ เป็นที่เจริญใจ. บท
ว่า ปิยรูปา ได้แก่ มีความรักเป็นปกติ. บทว่า เกี่ยวด้วยกาม ได้แก่
เข้าไปเกี่ยวด้วยกาม ทำให้เป็นอารมณ์ แล้วเกิดขึ้น. บทว่า น่ากำหนัด คือ
ย้อมใจ อธิบายว่าเป็นเหตุเกิดแห่งราคะ. บทว่า กำหนัด คือถูกความกำหนัด
ครอบงำ. บทว่า สยบ คือ ถูกตัณหามีประมาณยิ่ง ที่ถึงอาการสยบครอบงำ
บทว่า หมกมุ่น คือ จมลง หยั่งลง คือ เป็นผู้มีความตกลงใจว่า นี้เป็น
สาระ ดังนี้. บทว่า อนาทีนวทสฺสาวิโน ได้แก่ ไม่แลเห็นโทษ. บทว่า
นิสฺสรณํ ในคำว่า อนิสฺสรณปญฺญานี้ได้แก่ ปัญญาที่เว้นจากปัญญาเครื่องกำหนด
รู้ อธิบายว่า ปัญญาเว้นจากการบริโภคด้วยการพิจารณา. ในคำว่า อาวร-
ณา
เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ บทว่า กามคุณ ชื่อว่า อาวรณา
เพราะเป็นเครื่องหน่วงเหนี่ยว. ชื่อ นีวารณา เพราะเป็นเครื่องกางกั้น. ชื่อ

โอนาหนา เพราะเป็นเครื่องรัดรึง. ชื่อ ปริโยหนา เพราะเป็นเครื่อง ตรึง-
ตรา. ความพิสดาร ของนิวรณ์ มีกามฉันทะเป็นต้น พึงค้นหาจากวิสุทธิ-
มรรค. บทว่า ปกคลุม หุ้มห่อ รัดรึง ตรึงตรา ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจ
แห่งกามคุณมีเครื่องหน่วงเหนี่ยว เป็นต้น. บทว่า สปริคคหะ ท่านกล่าว
ถึงความเกาะเกี่ยวกับสตรี. แม้ในบทเป็นอาทิว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
พราหมณ์ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยวกับสตรี
ดังนี้ท่านกล่าวความไม่เกาะเกี่ยวกับ
สตรีเพราะไม่มีกามฉันทะ ชื่อว่าไม่มีเวรด้วยจิตคิดจองเวรกับใคร ๆ เพราะ
ไม่มีพยาบาท. ชื่อว่าไม่มีพยาบาท ด้วยการพยาบาท กล่าวคือ ความเป็น
ไข้ทางใจ เพราะไม่มีถิ่นมิทธะ ชื่อว่ามีจิตไม่เศร้าหมอง ด้วยเครื่องเศร้า
หมอง มีอุทธัจจะกุกกุจจะ เป็นต้น เพราะไม่มีอุทธัจจะกุกกุจจะ ชื่อว่าผู้
มีจิตบริสุทธิ์ด้วยดี. ชื่อวสวัตตี เพราะทำจิตให้อยู่ในอำนาจ เหตุไม่มีวิจิกิจ
ฉา และไม่เป็นเช่นพราหมณ์ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งจิต คือเป็นไปในอำนาจ
แห่งจิต.
บทว่า ก็ในโลกนี้แล คือ ในทางแห่งพรหมโลกนี้. บทว่า จมลง
แล้ว
คือ เข้าไปหาสิ่งไม่ใช่ทางเลยว่าเป็นทาง. บทว่า กำลังจมอยู่ คือ จม
เข้าไป เหมือนคนเหยียบเปือกตม ด้วยสำคัญว่า เป็นพื้นราบ. บทว่า
ครั้นจมแล้ว ย่อมถึงความย่อยยับ อธิบายว่า ครั้นจมเหมือนจมในเปือก
ตมอย่างนี้แล้ว ย่อมถึงความย่อยยับ คือ ความแตกหักแห่งอวัยวะน้อยใหญ่
บทว่า สำคัญว่า ข้ามได้ง่าย อธิบายว่า ชนทั้งหลายคิดว่า เราจักข้าม
โดยสำคัญว่า แม่น้ำมีน้ำเต็มเสมอฝั่ง กาดื่มได้ จึงพยายามทั้งมือทั้งเท้า
สำคัญว่าข้ามได้ง่าย เพราะลวงตาด้วยพยับแดด. เพราะฉะนั้น เขาทั้งหลาย
ย่อมถึงความย่อยยับความแตกหักในอบาย เหมือนอย่างมือและเท้าเป็นต้นถึง

ความย่อยยับแตกหักฉะนั้น คือ ไม่ได้ความสุข หรือความสำราญในโลกนี้
เลย. บทว่า ตสฺมา อิทนฺเตวิชฺชานํ พฺราหฺมณานํ ความว่า เพราะฉะนั้น
นี้เป็นปาพจน์ คือ ไตรเพทที่แสดงถึงทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมของ
พราหมณ์ทั้งหลายผู้จบไตรเพท บทว่า เตวิชฺชาอีริณํ ได้แก่ ป่าคือไตรเพท
ก็ป่าใหญ่ที่ไม่มีบ้านท่านกล่าวว่าทุ่ง. บทว่า เตวิชฺชาวิวนํ ได้แก่ป่าที่ไม่มีน้ำ
ปกคลุมด้วยต้นไม้ที่มีดอกผลใช้บริโภคไม่ได้. ท่านกล่าว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เขาเรียกกันว่าป่าใหญ่คือไตรเพท ดังนี้ ก็มี ทรงหมายถึงป่าที่ใคร ๆ
ไม่สามารถที่จะแวะลงแล้วเปลี่ยนทางได้. บทว่า ความพินาศแห่งไตรเพท
คำนี้ เช่นเดียวกับความพินาศ 5 อย่างของไตรเพท. ท่านแสดงว่า ผู้จบ
ไตรเพท ย่อมไม่มีความสุข เพราะอาศัย คำสอนหลักอันได้แก่ไตรเพท
เหมือนอย่างผู้ที่ถึงความพินาศ แห่งญาติ โรค โภคะ ทิฏฐิ และ ศีล ย่อม
หาความสุขมิได้ ฉะนั้น.
บทว่า เกิดแล้ว เติบโตแล้ว ได้แก่ เกิดและเติบโต. อธิบายว่า
เพราะหนทางไปบ้านใกล้เคียงของผู้ที่เกิดในที่หนึ่ง แล้วไปเติบโตในที่อื่น
ไม่ประจักษ์ด้วยประการทั้งปวง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เกิด
แล้วเติบโตแล้วดังนี้. ผู้ที่แม้เกิด เติบโตแล้ว แต่จากไปเสียนาน ย่อมไม่
ประจักษ์ด้วยประการทั้งปวง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ออกไป
แล้ว ในทันทีทันใดแน่นอน. อธิบายว่า ออกไปในขณะนั้นเทียว. บทว่า
ความเป็นผู้ชักช้า คือ ชักช้าโดยสงสัยว่า ทางนี้ หรือไม่ใช่หนอ. บทว่า
ความเป็นผู้อ้ำอึ้ง ได้แก่ การถึงความเป็นกระด้างเหมือนอย่างเมื่อใคร ๆ
ถูกถามฉับพลันถึงเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เขาถึงความเป็นผู้มีสรีระกระ-
ด้างฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงความที่พระสัพพัญญุตญาณ ไม่

ถูกขัดขวาง ด้วยบทว่า ไม่ชักช้า ไม่อ้ำอึ้ง ดังนี้. ท่านอธิบายว่า การขัด
ขวางญาณของบุรุษนั้นพึงมีได้ ด้วยอำนาจถูกมารดลใจเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น
บุรุษนั้นพึงชักช้าหรืออ้ำอึ้ง แต่พระสัพพัญญุตญาณไม่ถูกขัดขวาง ใคร ๆ ไม่
สามารถทำอันตรายแด่พระสัพพัญญุตญาณนั้นได้.
บทว่า อุลฺลุมฺปตุ ภวํ โคตโม ได้แก่ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรด
ยกขึ้น.
บทว่า พฺราหฺมณึ ปชํ หมายถึง เด็กของพราหมณ์. อธิบายว่า ขอ
พระโคดมผู้เจริญโปรดยกพราหมณ์และบุตรของพราหมณ์ขึ้นจากทางอบาย
แล้วให้ดำรงอยู่ในทางพรหมโลกเถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระ-
ประสงค์จะแสดงถึงการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า แล้วทรงแสดงทางไปพรหม
โลกมีเมตตาวิหารธรรม เป็นต้น พร้อมด้วยข้อปฏิบัติเบื้องต้นแก่เขา จึงตรัส
คำเป็นอาทิว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ ถ้ากระนั้น เธอจงฟัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พระตถาคต ทรงอุบัติในโลกนี้ เป็นอาทิ
ในสูตรนั้น ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้ว ในสามัญญผลสูตร. ข้อที่ควรกล่าว
ทั้งหมด ในบทว่า มีใจประกอบด้วยเมตตา เป็นต้น ท่านกล่าวไว้แล้ว ใน
พรหมวิหารกัมมัฏฐานกถา ในวิสุทธิมรรค.
คำว่า เสยฺยถาปิ พลวา สงฺขธโม เป็นอาทิ ไม่เคยมีในที่นี้. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า พลวา แปลว่า สมบูรณ์ด้วยกำลัง. บทว่า สงฺขธโม
แปลว่า คนเป่าสังข์.
บทว่า กสิเรน ได้แก่ ไม่ยาก คือ ไม่ลำบาก. อธิบายว่า จริงอยู่
คนเป่าสังข์ทุพลภาพ แม้เป่าสังข์ ก็ไม่อาจให้ได้ยินเสียงตลอด 4 ทิศ เสียง
สังข์ของเขาไม่แพร่ไปทั่วถึง แต่สำหรับผู้มีกำลังจะแพร่ไป. เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุรุษผู้มีกำลัง เป็นอาทิ. เมื่อตรัสว่า เมตฺตา
ในบทว่า เมตฺตาย เจโตวิมุตฺติยา นี้ ควรทั้งอุปจาร ทั้งอัปปนา. แต่เมื่อ
ตรัสว่า เจโตวิมุตฺติ ควรแก่อัปปนาอย่างเดียว. บทว่ากรรมที่ทำพอประมาณ
อันใด
หมายความว่า ขึ้นชื่อว่ากรรมที่พอประมาณท่านกล่าวว่า เป็นกามา-
วจรกรรม. กรรมที่ทำไว้หาประมาณมิได้ ท่านกล่าวว่า เป็นรูปาวจรกรรม
และอรูปาวจรกรรม ท่านกล่าวว่า กรรมที่ทำหาประมาณมิได้ เพราะล่วง
ประมาณแล้วทำให้เจริญด้วยอำนาจการแพร่ไปในทิศที่เจาะจงและไม่เจาะจง.
บทว่า กรรมนั้น ไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ ในรูปาวจรกรรมและอรูปาวจรกรรม
นั้น
อธิบายว่า กรรมที่เป็นกามาวจรนั้น ไม่หยุด ไม่ตั้งอยู่ ในกรรม
อันเป็นรูปาวจรและอรูปาวจรนั้น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. อธิบายว่า กรรม
เป็นกามาวจรนั้น ไม่สามารถเพื่อจะข้อง หรือเพื่อตั้งอยู่ในระหว่างกรรม
อันเป็นรูปาวจรและอรูปาวจรนั้นได้ หรือเพื่อจะแพร่กรรมอันเป็นรูปาวจร
และอรูปาวจรแล้วควบคุม ถือโอกาสของตนตั้งอยู่ได้ โดยที่แท้ กรรมอันเป็น
รูปาวจรและอรูปาวจรนั้นแหละจะแพร่ไป แล้วควบคุมไว้ซึ่งกามาวจรกรรม
ถือโอกาสของตนตั้งอยู่ เหมือนห้วงน้ำใหญ่ ท่วมท้นน้ำนิดหน่อยออกไป
ตั้งอยู่ ฉะนั้น ย่อมห้ามวิบากของกรรมอันเป็นกามาวจรนั้น นำเข้าสู่ความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมด้วยตนเอง ดังนี้. บทว่า ภิกษุมีธรรมเป็นเครื่องอยู่
อย่างนี้
คือ มีธรรมเครื่องอยู่ มีเมตตาเป็นต้น อย่างนี้.
บทว่า ข้าพระองค์ทั้งสอง ขอถึงพระโคดมผู้เจริญเป็นสรณะ นี้
เป็นการถึงสรณะครั้งที่สองของมาณพทั้งสองนั้น. ก็มาณพทั้งสองนั้น ฟัง
วาเสฏฐสูตร ในมัชณิมปัณณาสก์แล้ว ถึงสรณะเป็นครั้งแรก ฟัง เตวิชชสูตร
นี้แล้ว ถึงสรณะเป็นครั้งที่สอง ล่วงไป 2-3 วัน ได้บรรพชาแล้วได้

อุปสมบท และบรรลุพระอรหัต ในอัคคัญญสูตร คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง
มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นฉะนี้แล.
อรรถกถาเตวิชชสูตร แห่งอรรถกถาทีฆนิกายชื่อสุมังคลวิลาสินีจบลง
ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาเตวิชชสูตรที่ 13
การพรรณนาเนื้อความแห่งสีลขันธวรรคที่ประดับประดาด้วยพระสูตร
13 พระสูตรก็จบลงแล้วด้วย.
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ
พรหมชาลสูตร 1 สามัญญผลสูตร 1 อัมพัฏฐสูตร 1 โสนทัณฑ-
สูตร 1 กูฏทันตสูตร 1 มหาลิสูตร 1 ชาลินีสูตร 1 มหาสีหนาทสูตร 1
โปฏฐปาทสูตร 1 สุภสูตร 1 เกวัฏฏสูตร 1 โลหิจจสูตร 1 เตวิชชสูตร 1
รวมเป็น 13 พระสูตร.
สีลขันธวรรค จบ.