เมนู

อรรถกถาโสณทัณฑสูตร


เอวมฺเม สุตํ ฯ เป ฯ องฺเคสูติ โสณทณฺฑสุติตํ

.
ในโสณทัณฑสูตรนั้น มีการพรรณนาตามลำดับบท ดังต่อไปนี้
บทว่า ในอังคชนบท มีความว่า ราชกุมารทั้งหลาย นามว่า อังคะ
เป็นชาวชนบทที่มักเรียกกันอย่างนี้ ก็เพราะเป็นผู้มีรูปร่างน่าเลื่อมใส ชนบท
แม้เดียวซึ่งเป็นที่อาศัยอยู่ของราชกุมารเหล่านั้น ท่านก็เรียกว่า อังคชนบท
เพราะศัพท์เพิ่มเข้ามา. ในชนบทชื่ออังคะนั้น. บทว่า จาริก แม้ในชนบท
นี้ ท่านมุ่งหมายเอาการเสด็จจาริกไม่รีบร้อน และการเสด็จจาริกประจำ
ได้ยินว่า ในกาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล็งดูโลกธาตุทั้งหมื่นหนึ่ง
อยู่ โสณทัณฑพราหมณ์เข้าไปปรากฏในข่าย คือ พระญาณแล้ว.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาอยู่ว่า พราหมณ์นี้ปรากฏในข่าย
คือญาณของเรา พราหมณ์นี้มีอุปนิสัยหรือไม่หนอ ก็ได้ทอดพระเนตรเห็น
ว่า เมื่อเราไป ณ ที่นั้น พวกลูกศิษย์ของเขาจะพากันกล่าวสรรเสริญ
พราหมณ์ด้วยอาการ 12 แล้วจะไม่ยอมให้เขามายังสำนักของเรา แต่
พราหมณ์นั้นจะทำลายวาทะของพวกลูกศิษย์เหล่านั้นเสียแล้ว กล่าวสรร-
เสริญเราด้วยอาการ 29 แล้วเข้ามาหาเราแล้วจักถามปัญหา ในที่สุดการ
เฉลยปัญหา เขาก็จักถึงสรณะ ดังนี้แล้ว พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ 500 รูปเป็น
บริวาร เสด็จไปสู่ชนบทนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในอังคชนบท เสด็จถึงเมืองจัมปา ดังนี้.