เมนู

โปฏฐปาทสูตร
เรื่อง ของปริพาชกโปฏฐปาทะ


[275] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่พระเชตวัน อารามท่าน
อนาถปิณฑิกะ กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น โปฏฐปาทปริพาชก อาศัยอยู่ในสถานที่
สำหรับโต้ตอบลัทธิ แถวป่าไม้มะพลับ มีศาลาที่พักหลังเดียว เป็นอารามของ
พระนางมัลลิกา พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ประมาณ 3,000 ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกในเวลาเช้าทรงถือบาตรและจีวรเสด็จ
เข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ได้ทรงดำริว่า จะเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุง
สาวัตถี ยังเช้านัก ถ้ากระไรเราเข้าไปหาโปฏฐปาทปริพาชก ณ สถานที่
โต้ตอบลัทธิ แถวป่าไม้มะพลับ มีศาลาที่พักหลังเดียว เป็นอารามของ
พระนางมัลลิกา แล้วจึงเสด็จเข้าไป ณ ที่นั้น.
[276] สมัยนั้น โปฏฐปาทปริพาชก นั่งอยู่กับปริพาชกบริษัท
หมู่ใหญ่ กล่าวดิรัจฉานกถาต่าง ๆ ด้วยเสียงอันดังลั่น คือ พูดถึงพระเจ้า
แผ่นดิน พูดถึงโจร พูดถึงมหาอำมาตย์ พูดถึงกองทัพ พูดถึงภัย พูด
ถึงการรบ พูดถึงข้าว พูดถึงน้ำ พูดถึงผ้า พูดถึงที่นอน พูดถึงดอกไม้ พูด
ถึงของหอม พูดถึงญาติ พูดถึงยานพาหนะ พูดถึงบ้าน พูดถึงนิคม พูด
ถึงเมือง พูดถึงชนบท พูดถึงสตรี พูดถึงบุรุษ พูดถึงคนกล้าหาญ พูดถึง
ตรอก พูดถึงท่าน้ำ พูดถึงคนที่ตายแล้ว พูดถึงความเป็นต่าง ๆ พูดถึง
โลก พูดถึงทะเล พูดถึงความเจริญและความเสื่อมเพราะเหตุนี้. โปฏฐปาท-
ปริพาชก ได้เห็น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมาแต่ไกลจึงได้ห้ามบริษัท
ของตนว่า เสียงเบา ๆ หน่อย พวกท่านอย่าได้ทำเสียงดังนัก. พระสมณโคดม

กำลังเสด็จมา ท่านโปรยเสียงเบา กล่าวชมเสียงเบา ถ้าไฉนท่านทราบว่า
บริษัทมีเสียงเบา บางทีก็จะเสด็จเข้ามา. เมื่อโปฏฐปาทปริพาชกกล่าวอย่างนี้
แล้ว พวกปริพาชกเหล่านั้นได้พากันนิ่ง.
[277] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จเข้าไปหา
โปฏฐปาทปริพาชก แล้ว เขาได้ทูลเชื้อเชิญพระองค์ว่า เสด็จมาเถิด พระผู้
มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาดีแล้ว นานจริงหนอ พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงได้เสด็จมาถึงที่นี้ เชิญประทับนั่งเถิด พระเจ้าข้า นี่อาสนะได้
แต่งไว้แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งไว้แล้ว. ฝ่าย
โปฏฐปาทปริพาชกถือเอาอาสนะต่ำนั่งลงทางข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสถามเขาว่า โปฏฐปาทะ ในขณะที่เราจะมาถึงนี้ พวกท่านประชุมสนทนา
กันด้วยเรื่องอะไรหนอ ก็แลกถาอะไรที่พวกท่านสนทนากันค้างไว้ก่อนแต่
เรามาถึง.
[278] เมื่อพระองค์รับสั่งแล้วอย่างนี้ โปฏฐปาทปริพาชกได้ทูลว่า
กถาที่พวกข้าพระองค์นั่งสนทนากันในขณะที่พระองค์จะเสด็จมาถึงนี้งดเสียเถิด
กถานี้จะทรงสดับภายหลังก็ได้ไม่ยาก พระเจ้าข้า. วันก่อน ๆ สมณพราหมณ์
เดียรถีย์ต่าง ๆ นั่งประชุมกันในโกตุหลศาลา ได้พากันเจรจาในอภิสัญญา-
นิโรธว่า ท่านผู้เจริญ อภิสัญญานิโรธเป็นไฉน ดังนี้. ในชุมนุมนั้น บาง
พวกกล่าวอย่างนี้ว่า สัญญาของคนไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย เกิดเอง ดับเอง เกิด
ในสมัยใด สัตว์ก็มีสัญญาในสมัยนั้น ดังในสมัยใด สัตว์ก็ไม่มีสัญญาใน
สมัยนั้น พวกหนึ่งบัญญัติอภิสัญญานิโรธ ด้วยประการอย่างนี้. เจ้าลัทธิอื่น
กล่าวกะเขาว่า ท่านผู้เจริญ ข้อนี้จักเป็นเช่นนั้นก็หามิได้ เพราะว่าสัญญาเป็น
อัตตาของคน ก็แลอัตตานั้นมาสู่บ้างไปปราศบ้าง มาสู่ในสมัยใด สัตว์ก็มี
สัญญาในสมัยนั้น ไปปราศในสมัยใด สัตว์ก็ไม่มีสัญญาในสมัยนั้น พวก

หนึ่งบัญญัติอภิสัญญานิโรธ ด้วยประการอย่างนี้.
เจ้าลัทธิอื่นกล่าวกะเขาว่า ท่านผู้เจริญ ก็ข้อนี้จักเป็นเช่นนั้นหามิได้
เพราะว่าสมณพราหมณ์ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก มีอยู่ ท่านเหล่านั้น สวม
ใส่บ้าง พรากออกบ้าง ซึ่งสัญญาของคนนี้ สวมใส่ในสมัยใด สัตว์ก็มีสัญญา
ในสมัยนั้น พรากออกในสมัยใด สัตว์ก็ไม่มีสัญญาในสมัยนั้น พวกหนึ่ง
บัญญัติอภิสัญญานิโรธ ด้วยประการอย่างนี้. เจ้าลัทธิอื่นกล่าวกะเขาว่า ท่าน
ผู้เจริญ ก็ข้อนี้จักเป็นเช่นนั้นหามิได้ เพราะว่าทวยเทพที่มีฤทธิ์มาก มี
อานุภาพมาก มีอยู่ ทวยเทพเหล่านั้น สวมใส่บ้าง พรากออกบ้าง ซึ่งสัญญา
ของคนนี้ สวมใส่ในสมัยใด สัตว์ก็มีสัญญาในสมัยนั้น พรากออกในสมัยใด
สัตว์ไม่มีสัญญาในสมัยนั้น พวกหนึ่งบัญญัติอภิสัญญานิโรธ ด้วยประการ
อย่างนี้. สติของข้าพระองค์เกิดปรารภพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า น่าเลื่อมใสจริง
หนอ พระสุคต ที่ทรงฉลาดในธรรมเหล่านี้เป็นอย่างดี พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเป็นผู้ฉลาด ทรงรู้ช่ำชองซึ่งอภิสัญญานิโรธ ก็อภิสัญญานิโรธเป็นไฉน
พระเจ้าข้า.
[279] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โปฏฐปาทะ ในสมณพราหมณ์
เหล่านั้น พวกที่กล่าวว่า สัญญาของคน ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เกิดเองดับ
เอง ความเห็นของพวกนั้นผิดแต่ต้นทีเดียว. เพราะเหตุไร. เพราะว่าสัญญา
ของคน มีเหตุ มีปัจจัย ทั้งเกิด ทั้งดับ สัญญาบางอย่างเกิดขึ้นเพราะการ
ศึกษาก็มี บางอย่างดับไปก็มี ก็สิกขาเป็นอย่างไร. โปฏฐปาทะ พระตถาคต
อุบัติขึ้นในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ พ. โปฏฐปาทะ
ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล มีทวารอันรักษาแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ. เมื่อภิกษุนั้นละนิวรณ์ 5 เหล่า
นี้แล้ว ตามเห็นในตน ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์แล้ว ปิติย่อมเกิด

กายของผู้มีใจเปี่ยมด้วยปีติย่อมสงบ มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุข
ย่อมตั้งมั่น. เธอสงัดแล้วเทียวจากกามทั้งหลาย จากอกุศลธรรมทั้งหลาย
เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. สัญญาเกี่ยว
ด้วยกามมีในก่อนย่อมดับไป สัญญาในสัจจะอันละเอียดมีปีติและสุขอันเกิด
แต่วิเวกย่อมมีในสมัยนั้น. เธอเป็นผู้มีสัญญาในสัจจะอันละเอียด มีปีติและ
สุขอันเกิดแต่วิเวกในสมัยนั้น สัญญาบางอย่างในสิกขาย่อมเกิด บางอย่าง
ย่อมดับ แม้ด้วยประการฉะนี้ แม้นี้ก็เป็นสิกขาอย่างหนึ่ง (คือ ปฐมฌาน).
[280] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงทุติยฌาน อันยังจิตให้ผ่องใสภาย
ในตน ยังความเป็นธรรมเอกผุดขึ้นแห่งจิตให้เกิด (ยังสมาธิจิตให้เจริญขึ้น)
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบ มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ
อยู่. สัญญาในสัจจะอันละเอียดมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอันมีในก่อนของเธอ
ย่อมดับ. สัญญาในสัจจะอันละเอียด มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิย่อมมีใน
สมัยนั้น. เธอเป็นผู้มีสัญญาในสัจจะอันละเอียด มีปีติและสุขอันเกิดแต่
สมาธิในสมัยนั้น สัญญาบางอย่างในสิกขาย่อมเกิด บางอย่างย่อมดับ ด้วย
ประการฉะนี้ แม้นี้ก็เป็นสิกขาอย่างหนึ่ง (คือทุติยฌาน).
[281] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงตติยฌาน เพราะคลายปีติประกอบ
ด้วยอุเบกขาอยู่ มีสติสัมปชัญญะและเสวยสุขด้วยนามกาย ที่พระอริยเจ้าทั้ง
หลายสรรเสริญผู้ได้ฌานนั้นว่า เป็นผู้อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้แล้วแล
อยู่. สัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิมีในก่อน
ของเธอย่อมดับ. สัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยสุขอันเกิดแต่อุเบกขา
ย่อมมีในสมัยนั้น. เธอเป็นผู้มีสัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยสุขอัน
เกิดแต่อุเบกขา ในสมัยนั้น. สัญญาบางอย่างในสิกขาย่อมเกิด บางอย่างย่อม
ดับ ด้วยประการฉะนี้. แม้นี้ก็เป็นสิกขาอย่างหนึ่ง (คือตติยฌาน)

[282] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขและเพราะละทุกข์ เพราะดับโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนเสีย
มีความที่แห่งสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่. สัญญาใน
สัจจะอันละเอียดประกอบด้วยสุขอันเกิดแต่อุเบกขา มีในก่อนย่อมดับ. สัญญา
ในสัจจะอันละเอียดอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ย่อมมีในสมัยนั้น. เธอเป็นผู้มี
สัญญาในสัจจะอันละเอียด อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ในสมัยนั้น. สัญญาบาง
อย่างในสิกขาย่อมเกิด บางอย่างย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้. แม้นี้ก็เป็น
สิกขาอย่างหนึ่ง (คือจตุตถฌาน).
[283] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อากาสไม่มี
ที่สุดดังนี้ เพราะความก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับ
ปฏิฆสัญญา เพราะไม่ทำไว้ในใจซึ่งสัญญาโดยประการต่าง ๆ แล้วแลอยู่.
รูปสัญญามีในก่อนของเธอย่อมดับไป สัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบ
ด้วยอากาสานัญจายตนะ ย่อมมีในสมัยนั้น. เธอเป็นผู้มีสัญญาในสัจจะอัน
ละเอียดประกอบด้วยอากาสานัญจายตนะ ในสมัยนั้น. สัญญาบางอย่างในสิกขา
ย่อมเกิด บางอย่างย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้. แม้นี้ก็เป็นสิกขาอย่างหนึ่ง
(คืออากาสานัญจายตนะ).
[284] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่
มีที่สุดดังนี้ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงแล้วแลอยู่.
สัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยอากาสานัญจายตนะ มีในก่อนของเธอ
ย่อมดับไป. สัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อม
มีในสมัยนั้น. เธอเป็นผู้มีสัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยวิญญาณัญ
จายตนะในสมัยนั้น. สัญญาบางอย่างในสิกขาย่อมเกิด บางอย่างย่อมดับ ด้วย
ประการฉะนี้. แม้นี้ก็เป็นสิกขาอย่างหนึ่ง (คือวิญญาณัญจายตนะ).

[285] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่า อะไร ๆ น้อย
หนึ่งไม่มีดังนี้ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงแล้วแล
อยู่. สัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยวัญญาณัญจายตนะมีในก่อนของ
เธอย่อมดับไป. สัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยอากัญจัญญายตนะ
ย่อมมีในสมัยนั้น. เธอเป็นผู้มีสัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยอากิญ-
จัญญายตนะในสมัยนั้น. สัญญาบางอย่างในสิกขาย่อมเกิด บางอย่างย่อมดับ
ด้วยประการฉะนี้. แม้นี้ก็เป็นสิกขาอย่างหนึ่ง (คืออากิญจัญญายตนะ).
[286] โปฏฐปาทะ ภิกษุในพระศาสนานี้ มีสกสัญญา (มีความ
สำคัญด้วยสัญญาในฌานของตน) คือออกจากปฐมฌานนั้นแล้ว มีสัญญาใน
ทุติยฌานโน้น ออกจากทุติยฌานนั้นแล้ว มีสัญญาในตติยฌานโน้น โดย
ลำดับไปถึงยอดสัญญา (อากิญจัญญายตนะ1) เมื่อเธอตั้งอยู่ในยอดสัญญา มี
ความคำนึงอย่างนี้ว่า เมื่อเราจำนงอยู่ ไม่ดีเลย เมื่อไม่จำนงอยู่ ดีกว่า ถ้า
แลว่า เราพึงจำนง พึงมุ่งหวังอากิญจัญญายตนสัญญานี้ของเราพึงดับ และ
สัญญาหยาบอย่างอื่น (ภวังคสัญญา) พึงเกิดขึ้น มิฉะนั้น เราไม่ควรจำนง
ไม่ควรมุ่งหวัง. จึงไม่จำนงด้วย ทั้งไม่มุ่งหวังด้วย เมื่อไม่จำนง ไม่มุ่ง
หวังอยู่ อากิญจัญญายตนสัญญานั้นย่อมดับด้วย ทั้งสัญญาหยาบอย่างอื่นย่อม
ไม่เกิดขึ้นด้วย เธอย่อมถึงสัญญานิโรธ ฉันใด สัญญานิโรธสมาบัติของภิกษุ
ผู้มีสัมปชัญญะโดยลำดับ ย่อมมีฉันนั้นแล.
พ. ท่านสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน สัญญานิโรธสมาบัติของภิกษุ
ผู้มีสัมปชัญญะโดยลำดับเช่นนี้ ท่านเคยฟังมาแล้วในกาลก่อนแต่กาลนี้บ้างหรือ.
1. อากิญจัญญายตนะ ชื่อว่า ยอดสัญญา เพราะเป็นองค์ที่สุดแห่งสมาบัติที่มีหน้าทำกิจอัน
เป็นโลกีย์ พระโยคีตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว ย่อมเข้าถึงแนวสัญญานาสัญญายตน
สมาบัติบ้าง นิโรธสมาบัติบ้าง. อรรกถาทีฆนิกายสีลขันธวรรค หน้า 424.

ป. หามิได้พระเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงแสดงแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้แล.
พ. เพราะเหตุที่ภิกษุมีสกสัญญา คือออกจากปฐมฌานนั้นแล้ว มี
สัญญาในทุติยฌานโน้น ออกจากทุติยฌานนั้นแล้ว มีสัญญาในตติยฌานโน้น
โดยลำดับไปถึงยอดสัญญา เมื่อเธอตั้งอยู่ในยอดสัญญา มีความคำนึงอย่างนี้ว่า
เมื่อเราจำนงอยู่ ไม่ดีเลย เมื่อไม่จำนงอยู่ ดีกว่า ถ้าแลว่าเราพึงจำนง พึงมุ่ง-
หวัง อากิญจัญญายตนสัญญานี้ของเราพึงดับ และสัญญายาบอย่างอื่นพึงเกิด
ขึ้น มิฉะนั้นเราไม่ควรจำนง ไม่ควรมุ่งหวัง. จึงไม่จำนงด้วย. ทั้งไม่มุ่งหวัง
ด้วย เมื่อไม่จำนงอยู่ ไม่มุ่งหวังอยู่ อากิญจัญญายตนสัญญานั้น ย่อมดับด้วย
ทั้งสัญญาหยาบอย่างอื่นย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย เธอย่อมถึงสัญญานิโรธ. สัญญา-
นิโรธสมาบัติของภิกษุผู้มีสัมปชัญญะโดยลำดับ ย่อมมีอย่างนี้แล.
[287] พ. ท่านจงรับไว้ด้วยดีอย่างนี้เถิด.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติยอดสัญญาอย่างเดียวเท่านั้น หรือ
ว่าทรงบัญญัติยอดสัญญาเป็นอันมาก พระเจ้าข้า.
พ. เราบัญญัติยอดสัญญาอย่างเดียวก็มี มากก็มี.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติยอดสัญญาอย่างเดียวก็มีนั้นอย่างไร
ที่ว่ามากก็มีนั้นอย่างไร พระเจ้าข้า.
พ. ภิกษุถึงสัญญานิโรธฉันใด ๆ เราบัญญัติยอดสัญญาฉันนั้น ๆ เรา
บัญญัติยอดสัญญาอย่างเดียวก็มี มากก็มี อย่างนี้แล.
[288] ป. พระเจ้าข้า สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง หรือว่า ทั้ง
สัญญาทั้งญาณเกิดไม่ก่อนไม่หลังกัน.
พ. สัญญาแลเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง ก็เพราะสัญญาเกิดขึ้น ญาณ

จึงเกิดขึ้นได้ เขารู้อยู่นี้ว่า ญาณได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราเพราะสัญญานี้เป็น
ปัจจัย. ท่านพึงทราบความข้อนั้น โดยปริยายเช่นดั่งว่า สัญญาเกิดก่อน ญาณ
เกิดทีหลัง ก็เพราะสัญญาเกิดขึ้น ญาณจึงเกิดขึ้นได้.
[289] ป. สัญญาเป็นตนของบุรุษ หรือว่า สัญญาอย่างหนึ่ง ตน
อย่างหนึ่ง พระเจ้าข้า.
พ. ท่านปรารถนาตนอย่างไร.
ป. ข้าพระเจ้าปรารถนาตนที่หยาบ คือมีรูป เป็นที่ประชุมแห่งมหา-
ภูตรูป 4 มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา.
พ. ก็ตนของท่านหยาบ คือมีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตรูป 4 มีกว-
ฬิงการาหารเป็นภักษา จักมีแล้ว. เมื่อเป็นเช่นนี้สัญญาของท่านจักเป็นอย่าง
หนึ่ง ตนจักเป็นอย่างหนึ่ง. ท่านพึงทราบความข้อนั้น แม้โดยปริยายเช่นดั่ง
ว่า สัญญาจักเป็นอย่างหนึ่งต่างหาก ตนก็จักเป็นอย่างหนึ่ง. ตนนั้นหยาบ คือ
มีรูป เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป 4 มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา ย่อมตั้งอยู่
เที่ยว เมื่อเป็นเช่นนี้ สัญญาของบุรุษนี้ อย่างหนึ่งต่างหากเกิดขึ้น อย่างหนึ่ง
ต่างหากดับไป ท่านพึงทราบความข้อนั้น โดยปริยายเช่นดั่งว่า สัญญาจักเป็น
อย่างหนึ่งต่างหาก ตนก็จักเป็นอย่างหนึ่ง ดั่งนี้.
[290] ป. ข้าพระเจ้าปรารถนาตนอันสำเร็จด้วยใจ คือมีอวัยวะ
น้อยใหญ่ครบทุกอย่างมีอินทรีย์ไม่เสื่อมทราม.
พ. ตนของท่านก็สำเร็จด้วยใจ คือมีอวัยวะน้อยใหญ่ครบทุกอย่าง มี
อินทรีย์ไม่เสื่อมทราม จักมีแล้ว แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น สัญญาของท่านจักเป็น
อย่างหนึ่ง และตนของท่านก็จักเป็นอย่างหนึ่ง ท่านพึงทราบความข้อนั้น
แม้โดยปริยายเช่นดั่งว่า สัญญาจักเป็นอย่างหนึ่งต่างหาก ตนก็จักเป็นอย่าง
หนึ่ง. ตนสำเร็จด้วยใจ คือมีอวัยวะน้อยใหญ่ครบทุกอย่าง มีอินทรีย์ไม่

เสื่อมทรามย่อมตั้งอยู่เทียว เมื่อเป็นเช่นนั้น สัญญาของบุรุษนี้ อย่างหนึ่งต่าง
หากเกิดขึ้น อย่างหนึ่งต่างหากดับไป. ท่านพึงทราบความข้อนั้นโดยปริยาย
เช่นดั่งว่า สัญญาจักเป็นอย่างหนึ่งต่างหาก ตนก็จักเป็นอย่างหนึ่ง ดั่งนี้.
[291] ป. ข้าพระเจ้าปรารถนาตนที่ไม่มีรูป คือที่สำเร็จด้วยสัญญา.
พ. ก็ตนของท่านที่ไม่มีรูป คือสำเร็จด้วยสัญญา จักมีแล้ว เมื่อเป็น
เช่นนั้น สัญญาของท่านจักเป็นอย่างหนึ่งต่างหาก ตนของท่านก็จักเป็นอย่าง
หนึ่ง ท่านพึงทราบความข้อนั้น แม้โดยปริยายเช่นดั่งว่า สัญญาจักเป็นอย่าง-
หนึ่งต่างหาก ตนก็จักเป็นอย่างหนึ่ง. ตนที่ไม่มีรูป คือที่สำเร็จด้วยสัญญานี้
ย่อมตั้งอยู่เทียว เมื่อเป็นเช่นนั้น สัญญาของบุรุษนี้ อย่างหนึ่งต่างหากเกิดขึ้น
อย่างหนึ่งต่างหากดับไป ท่านพึงทราบความข้อนั้น แม้โดยปริยายเช่นดั่งว่า
สัญญาจักเป็นอย่างหนึ่งต่างหาก ตนก็จักเป็นอย่างหนึ่ง ดั่งนี้.
[292] ป. ก็ข้าพระเจ้าอาจทราบได้หรือไม่ว่า สัญญาเป็นตนของ
บุรุษ หรือสัญญาก็อย่างหนึ่ง ตนก็อย่างหนึ่ง.
พ. ข้อว่าสัญญาเป็นตนของบุรุษ หรือสัญญาก็อย่างหนึ่ง ตนก็อย่าง
หนึ่ง ดั่งนี้นั้น อันท่านผู้มีทิฏฐิเป็นอย่างอื่น มีขันติเป็นอย่างอื่น มีความชอบ
ใจเป็นอย่างอื่น มีความพยายามในลัทธิอื่น มีอาจารย์ในลัทธิอื่น รู้ได้ยากนัก.
ป. ถ้าข้อที่ว่านั้น ข้าพระเจ้าผู้มีทิฏฐิเป็นอย่างอื่น มีขันติเป็นอย่าง
อื่น มีความขอบใจเป็นอย่างอื่น มีความพยายามในลัทธิอื่น มีอาจารย์ในลัทธิ-
อื่น รู้ได้ยากนักไซร้ ก็คำที่ว่า โลกเที่ยงนี้แลจริง คำอื่นเปล่า ดั่งนี้หรืออย่างไร
พระเจ้าข้า.
พ. คำที่ว่า โลกเที่ยงนี้แลจริง คำอื่นเปล่าดังนี้ เราไม่ได้พยากรณ์.

ป. ก็โลกไม่เที่ยงนี้แลจริง คำอื่นเปล่าดั่งนี้หรือ พระเจ้าข้า.
พ. แม้ข้อนั้นเราก็ไม่ได้พยากรณ์.
ป. ก็โลกมีที่สุด ฯลฯ โลกไม่มีที่สุด. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น.
ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น. ตถาคต เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมมี. ตถาคต
เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มี. ตถาคต เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ยังมีบ้าง
ไม่มีบ้าง. ตถาคต เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ นี้แลจริง
คำอื่นเปล่า ดังนี้หรือ พระเจ้าข้า.
พ. แม้ข้อนั้น ๆ เราก็ไม่ได้พยากรณ์.
ป. ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงพยากรณ์ พระเจ้าข้า.
พ. เพราะข้อนั้น ๆ ไม่ประกอบด้วยอรรถ ไม่ประกอบด้วยธรรม
ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไป
เพื่อความปล่อยวาง ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่
เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ฉะนั้น เราจึงไม่พยากรณ์.
[293] ป. ก็อะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ละ พระเจ้าข้า.
พ. ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
นี้แล เราพยากรณ์.
ป. ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงพยากรณ์อย่างนั้น
พระเจ้าข้า.
พ. เพราะข้อนั้น ๆ ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม เป็น
เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เป็นไปเพื่อความปล่อย
วาง เป็นไปเพื่อความดับ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ เป็นไปเพื่อนิพพาน ฉะนั้น เราจึงพยากรณ์.

ป. ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พระสุคต
ในบัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบกาลที่สมควรเถิด พระเจ้าข้า ดังนี้.
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป.
[294] ฝ่ายพวกปริพาชกเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีก
ไปแล้วไม่นาน ได้ทำการเสียดแทงโปฏฐปาทปริพาชก ด้วยปฏักคือถ้อยคำ
เสียดแทงโดยรอบว่า ก็ท่านโปฏฐปาทะนี้ อนุโมทนาตามคำที่พระสมณโคดม
กล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น
พระสุคต ดั่งนี้. ก็แต่ว่าพวกเรามิได้เข้าใจธรรมที่พระสมณโคดมทรงแสดง
แล้วโดยส่วนเดียว แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ว่าโลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ
ตถาคต เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ ดั่งนี้.
[295] เมื่อปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ โปฏฐปาทปริพาชก
ได้บอกกับเขาว่า พ่อคุณ แม้ฉันก็มิได้เข้าใจธรรมที่พระสมณโคดมแสดง
แล้วโดยส่วนเดียว แต่อย่างใดอย่างหนึ่งว่า โลกเที่ยงหรือ ฯลฯ ตถาคต
เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ ก็แต่ว่า พระสมณโคดมทรง
บัญญัติปฏิปทาที่จริง ที่แท้ ที่แน่นอน ที่มีปกติตั้งอยู่ในธรรม ที่ถูกต้อง
ตามทำนองคลองธรรม ไฉนบุรุษผู้เป็นบัณฑิตเช่นดั่งเรา จักไม่อนุโมทนา
สุภาษิตของพระสมณโคดม โดยความเป็นสุภาษิตเล่า.
[296] ต่อมาล่วงไปได้ 2-3 วัน จิตต์ผู้เป็นบุตรแห่งควาญช้าง และ
โปฏฐปาทปริพาชก พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจิตต์ผู้เป็น
บุตรแห่งควาญช้าง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.
ฝ่ายโปฏฐปาทปริพาชก กล่าวถ้อยคำปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า พอเป็นที่
ตั้งแห่งความปลาบปลื้มเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก แล้วนั่ง ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง

แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในคราวนั้น เมื่อพระองค์เสด็จหลีก
ไปไม่นาน พวกปริพาชกได้พากันรุมต่อว่าข้าพระองค์ด้วยถ้อยคำตัดพ้อต่าง ๆ
ว่า อย่างนี้ทีเดียวท่านโปฏฐปาทะ พระสมณโคดมตรัสคำใด ท่านพลอยอ-
นุโมทนาคำนั้นทุกคำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นต้องเป็นเช่นนี้
ข้าแต่พระสุคต ข้อนั้นต้องเป็นเช่นนี้ ฝ่ายพวกเรามิได้เข้าใจธรรมที่พระสมณ-
โคดมทรงแสดงแล้วโดยส่วนเดียว แต่สักน้อยหนึ่งว่าโลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง
โลกมีที่สุดหรือโลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือชีพอย่างหนึ่ง
สรีระอย่างหนึ่ง ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ หรือตถาคตเบื้องหน้าแต่
ตายไปไม่มีอยู่ ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตายไป มีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี หรือ
ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ เมื่อพวกปริพาชกกล่าว
อย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้บอกปริพาชกเหล่านั้นว่าท่านทั้งหลาย แม้ข้าพเจ้า
เองก็มิได้เข้าใจธรรมที่พระสมณโคดมทรงแสดงแล้ว โดยส่วนเดียว แต่สักน้อย
หนึ่งว่าโลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุดหรือโลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น
สรีระก็อันนั้น หรือชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตายไป
มีอยู่ก็มี หรือตถาคตเบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตายไป
มีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี หรือตถาคตเบื้องหน้าแต่ตายไป มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่
ก็มิใช่. แต่ว่าพระสมณโคดมบัญญัติปฏิปทาที่จริงแท้แน่นอนเป็นธรรมฐิติ
ธรรมนิยาม ก็เมื่อพระสมณโคดมบัญญัติปฏิปทาที่จริงแท้แน่นอน เป็นธรรม
ฐิติ ธรรมนิยาม ไฉนเล่าวิญญูชนเช่นเราไม่พึงอนุโมทนา สุภาษิตของพระ-
สมณโคดมโดยเป็นสุภาษิต.
[297] พ. โปฏฐปาทะ ปริพาชกเหล่านี้ทั้งหมดเป็นคนบอด หา
จักษุมิได้ ในชุมชนนั้น ท่านคนเดียวเป็นคนมีจักษุ. เพราะเราแสดงแล้ว

บัญญัติแล้ว ซึ่งธรรมเป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยส่วนเดียวบ้าง ซึ่งธรรมที่
ไม่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยส่วนเดียวบ้าง. ก็ธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความ
สิ้นทุกข์โดยส่วนเดียว ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว เป็นไฉน. คือ โลกเที่ยง
โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่น
สรีระก็เป็นอื่น ตถาคต เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมมี ตถาคต เบื้องหน้า
แต่ตายแล้ว ย่อมไม่มี ตถาคต เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ยังมีบ้าง ไม่มีบ้าง
ตถาคต เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ ดั่งนี้แล้ว เป็นธรรม
ที่ไม่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยส่วนเดียว เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว.
เพราะเหตุไร เราจึงแสดงบัญญัติว่า เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์
โดยส่วนเดียว. เพราะธรรมเหล่านี้ ไม่ประกอบด้วยอรรถ ไม่ประกอบด้วย
ธรรม ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่
เป็นไปเพื่อความปล่อยวาง ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ
ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
เพราะฉะนั้น เราจึงได้แสดงบัญญัติว่า ไม่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยส่วน
เดียว.
[298] ก็ธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยส่วนเดียว เราแสดงแล้ว
บัญญัติแล้ว เป็นไฉน. คือ นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์
นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ ดั่งนี้แล เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์
โดยส่วนเดียว เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว ก็เพราะเหตุไร เราจึงแสดงแล้ว
บัญญัติแล้วว่า เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยส่วนเดียว. เพราะ
ธรรมเหล่านี้ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม เป็นเบื้องต้นแห่ง
พรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เป็นไปเพื่อความปล่อยวาง เป็นไป
เพื่อความดับ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เป็นไปเพื่อความ

ตรัสรู้ เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงได้แสดงบัญญัติว่า เป็นไป
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยส่วนเดียว.
[299] โปฏฐปาทะ สมณพราหมณ์พวกนั้น มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ตนเบื้องหน้าแต่ตายไป มีสุขโดยส่วนเดียว หาโรคมิได้ เราเข้าไป
หาสมณพราหมณ์พวกนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่าท่านมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ตนเบื้องหน้าแต่ตายไป มีสุขโดยส่วนเดียว หาโรคมิได้ ดังนี้
จริงหรือ. ถ้าว่าพวกเขาที่ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ปฏิญญารับคำไซร้ เราก็จะ
กล่าวกะพวกเขาอย่างนี้ว่า เออ ที่ท่านรู้เห็นโลก มีสุขโดยส่วนเดียวอยู่หรือ.
เขาถูกถามดั่งนี้ ก็จะตอบว่า หามิได้ เราจะกล่าวกะเขาว่า เออ ก็ท่านรู้สึก
ตนเป็นสุขโดยส่วนเดียว ชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่ง หรือครึ่งคืนครึ่งวัน เขาก็จะ
ตอบว่า หามิได้ เราจะกล่าวกะเขาว่า เออ ก็ท่านรู้ว่า นี้มรรคา นี้ปฏิปทา
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลก ที่มีสุขโดยส่วนเดียวหรือ. เขาก็จะตอบว่า หามิได้.
เราก็จะกล่าวกะเขาว่า ท่านจงฟังเสียงของเหล่าเทวดา ผู้เข้าถึงโลกที่มีสุขโดย
ส่วนเดียว ผู้กล่าวอยู่ว่า จงปฏิบัติดีเถิด จงปฏิบัติตรงเถิด ท่านผู้นิรทุกข์
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลก ที่มีสุขโดยส่วนเดียว เพราะว่า แม้พวกเราปฏิบัติอย่าง
นี้แล้ว จึงเข้าถึงโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว. เขาก็จะตอบว่า หามิได้.
พ. โปฏฐปาทะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้
ภิกษิตของสมณพราหมณ์พวกนั้นจะถึงความไม่น่าอัศจรรย์ (ไร้ผล) มิใช่หรือ.
ป. แน่นอน พระเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตของสมณพราหมณ์
พวกนั้น ก็ย่อมถึงความไม่น่าอัศจรรย์ (ไร้ผล).
[300] พ. โปฏฐปาทะ เช่นเดียวกับบุรุษ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
ปรารถนารักใคร่ซึ่งนางงามประจำชนบทนี้ ชนทั้งหลายจะพึงกล่าวกะเขาว่า
แน่ะพ่อหนุ่ม นางงามประจำชนบทที่ท่านปรารถนารักใคร่นั้น ท่านรู้หรือว่า

เป็นนางกษัตริย์ หรือนางพราหมณ์ เป็นนางแพศย์ หรือนางศูทร เมื่อเขา
ถูกถามดั่งนี้ ก็จะตอบว่า ไม่รู้. ชนทั้งหลายก็จะพึงกล่าวกะเขาว่า แน่ะพ่อ
หนุ่ม นางงามประจำชนบทที่ท่านปรารถนารักใคร่นั้น ท่านรู้หรือว่า มีชื่อ
อย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ สูงหรือต่ำ หรือพอสันทัด ดำหรือขาว หรือสี
แมลงทับ อยู่ในบ้าน ในนิคม หรือในเมืองโน้น. เขาก็จะตอบว่าไม่รู้ชน
ทั้งหลายก็จะกล่าวกะเขาว่า แน่ะพ่อหนุ่ม ท่านปรารถนารักใคร่นางงามที่ยัง
ไม่รู้ ไม่เห็นกัน ดังนั้นหรือ. เขาก็จะพึงกล่าวว่า อย่างนั้น. โปฏฐปาทะ
ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น คำพูดของบุรุษนั้น จะ
ถึงความไม่น่าอัศจรรย์ (ไร้ผล) มิใช่หรือ.
ป. แน่นอนทีเดียว พระเจ้าข้า คำพูดของบุรุษนั้น จะถึงความไม่
น่าอัศจรรย์.
พ. โปฏฐปาทะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ตนเบื้องหน้าแต่ตายไป มีสุขโดยส่วนเดียว หาโรคมิได้ เรา
เข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่าท่านมีวาทะอย่างนี้ มี
ทิฏฐิอย่างนี้ว่า ตนเบื้องหน้าแต่ตายไป มีสุขโดยส่วนเดียว หาโรคมิได้ ดั่งนี้
จริงหรือ ถ้าพวกเขาที่ถูกเราถามแล้วปฏิญญารับไซร้ เราก็จะกล่าวกะพวกเขา
ว่า เออ ก็ท่านรู้เห็นโลก มีสุขโดยส่วนเดียวอยู่หรือ. เขาก็จะตอบว่า หามิได้
เราจะกล่าวกะเขาว่า เออ ก็ท่านรู้สึกตนเป็นสุขโดยส่วนเดียว ชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่ง
หรือครึ่งคืน ครึ่งวัน. เขาก็จะตอบว่า หามิได้. เราจะกล่าวกะเขาว่า เออ ก็ท่าน
รู้ว่า นี้มรรคา นี้ปฏิปทา เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกมีสุขโดยส่วนเดียวหรือ. เขาก็จะ
ตอบว่า หามิได้. เราก็จะกล่าวกะเขาว่า ท่านจะฟังเสียงของเหล่าเทวดา ผู้เข้า
ถึงโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว ผู้กล่าวอยู่ว่า จงปฏิบัติดี จงปฏิบัติตรงเถิดท่านผู้
นิรทุกข์ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว เพราะว่า แม้พวกเราปฏิบัติ
อย่างนี้แล้ว จึงเข้าถึงโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว. เขาก็จะตอบว่า หามิได้.

พ. โปฏฐปาทะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น
ภาษิตของสมณพราหมณ์พวกนั้น จะถึงความไม่น่าอัศจรรย์ (ไร้ผล ) มิใช่หรือ.
ป. แน่นอน พระเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตของสมณพราหมณ์
พวกนั้น ก็ย่อมถึงความไม่น่าอัศจรรย์ (ไร้ผล)
[301] พ. โปฏฐปาทะ เช่นเดียวกับบุรุษ พึงทำบันไดที่หนทางใหญ่
4 แพร่ง เพื่อขึ้นสู่ปราสาท ชนทั้งหลายจะพึงถามเขาว่า แน่ะพ่อคุณ ปราสาท
ที่ท่านทำบันไดเพื่อจะขึ้น ท่านรู้จักหรือว่า ปราสาทนั้นอยู่ทางทิศตะวันออก
หรือทิศใต้ ทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ และสูงหรือต่ำ หรือพอปานกลาง.
เขาก็จะตอบว่า ยังไม่รู้ ชนทั้งหลาย ก็จะกล่าวกะเขาว่า แน่ะพ่อคุณ ปราสาทที่
ท่านไม่รู้ไม่เห็น ท่านจะทำบันไดเพื่อขึ้นได้หรือ. เมื่อถูกถามอย่างนี้ เขาก็พึง .
กล่าวรับคำ.
พ. โปฏฐปาทะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น
คำพูดของบุรุษนั้น จะถึงความไม่น่าอัศจรรย์ มิใช่หรือ.
ป. แน่นอน พระเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนั้น คำพูดของบุรุษนั้นถึงความ
เป็นของไม่น่าอัศจรรย์.
พ. โปฏฐปาทะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เบื้องหน้าแต่ตายไป อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หาโรคมิได้ มี
อยู่ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้นแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่าท่านมี
วาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เบื้องหน้าแต่ตายไป อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว
หาโรคมิได้ มีอยู่จริงหรือ. ถ้าสมณพราหมณ์พวกนั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว
ปฏิญญาว่าจริง เราจะกล่าวกะเขาว่า เออก็ท่านยังรู้เห็นว่า โลกมีสุขโดยส่วน
เดียวบ้างหรือ. เมื่อเขาถูกถามอย่างนี้แล้ว เขาจะตอบว่า หามิได้ เราจะกล่าว
กะเขาว่า เออก็ท่านรู้ว่าอัตตามีสุขโดยส่วนเดียว ชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่ง หรือกึ่งวัน
กึ่งคืน เมื่อเขาถูกถามอย่างนี้แล้ว เขาจะตอบว่า หามิได้ เราจะกล่าวกะเขาว่า
เออก็ท่านยังรู้ว่า นี้มรรคา นี้ข้อปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกมีความสุขโดย

ส่วนเดียวบ้างหรือ. เมื่อเขาถูกถามอย่างนี้แล้ว เขาจะตอบว่า หามิได้ เราจะ
กล่าวกะเขาว่า เออก็ท่านยังได้ยินเสียงพวกเทวดาผู้เข้าถึงโลกมีสุขโดยส่วน
เดียว ผู้กำลังพูดกันว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติตรงแล้ว เพื่อ
ทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว เพราะว่า แม้พวกเราปฏิบัติอย่างนี้จึง
เข้าถึงโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว. เขาก็จะปฏิเสธ.
พ. โปฏฐปาทะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น
ภาษิตของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็จะถึงความไม่น่าอัศจรรย์มิใช่หรือ.
ป. แน่นอน พระเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตของสมณพราหมณ์
เหล่านั้น ก็จะถึงความเป็นของไม่น่าอัศจรรย์.
[302] พ. โปฏฐปาทะ การได้อัตตภาพ 3 นี้ คือที่หยาบ ที่สำเร็จ
ด้วยใจ ที่หารูปมิได้. ก็การได้อัตตภาพที่หยาบเป็นไฉน. กายที่มีรูปเป็นที่
ประชุมแห่งมหาภูต 4 มีคำข้าวเป็นภักษา นี้คือการได้อัตตภาพที่หยาบ. การ
ได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจเป็นไฉน. กายที่มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อย
ใหญ่ครบทุกอย่าง มีอินทรีย์ไม่เสื่อมทราม นี้คือการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ.
การได้อัตตภาพอันหารูปมิได้เป็นไฉน. กายอันหารูปมิได้สำเร็จด้วยสัญญา นี้
คือ การได้อัตตภาพอันหารูปมิได้.
[303] พ. โปฏฐปาทะ เราจะแสดงธรรมเพื่อการละความได้อัตตภาพ
ที่หยาบว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร จักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานธรรม* จัก
เจริญยิ่ง และท่านทั้งหลายจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ไพบูลย์แห่งปัญญา
ด้วยความรู้ยิ่งเฉพาะตัวในปัจจุบันแล้วแลอยู่.
พ. โปฏฐปาทะ ก็ท่านจะพึงมีความเห็นอย่างนี้ว่า สังกิเลสธรรมจักเป็น
อันละได้ โวทานธรรมจักเจริญยิ่ง จักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ไพบูลย์แห่ง
ปัญญา ด้วยความรู้ยิ่งเฉพาะตัวในปัจจุบันแล้วแลอยู่ แต่เป็นการอยู่ลำบาก.
1. ธรรมอันผ่องแผ้ว

พ. โปฏฐปาทะ ก็ท่านไม่ควรเห็นอย่างนั้น แท้จริง สังกิเลสธรรม
จักเป็นอันละได้ โวทานธรรมจักเจริญยิ่ง และจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์
ไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยความรู้ยิ่งเฉพาะตัวในปัจจุบัน แล้วแลอยู่ ปราโมทย์
ปีติ ปัสสัทธิ และสติสัมปชัญญะ จักเกิดมี มีการอยู่อย่างสบาย.
[304] พ. โปฏฐปาทะ เราจะแสดงธรรม เพื่อการละความได้
อัตตภาพ แม้ที่สำเร็จด้วยใจว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร จึงจักละสังกิเลส
ธรรมได้ โวทานธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น พวกท่านจักทำความบริบูรณ์และความ
ไพบูลย์แห่งปัญญาให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
ดูก่อนโปฏฐปาทะ บางคราวท่านจะพึงมีความเห็นอย่างนี้ว่า สังกิเลส
ธรรมเราจะละได้ โวทานธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น ผู้มีความเพียรจักทำให้แจ้งซึ่ง
ความบริบูรณ์และความไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองใน
ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ แต่ความอยู่ไม่สบาย.
ดูก่อนโปฏฐปาทะ แต่เรื่องนี้ท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น ที่แท้สังกิเลสธรรม
พวกท่านจักละได้ โวทานธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น ผู้มีความเพียรจักทำให้แจ้งซึ่ง
ความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองใน
ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ได้ ความปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สติสัมปชัญญะ จักเกิดมี
เป็นการอยู่อย่างสบาย.
[305] พ. โปฏฐปาทะ เราจะแสดงธรรม เพื่อการละความได้อัตตภาพ
แม้ที่ไม่มีรูปว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานธรรม
จักเจริญยิ่งขึ้น พวกท่านจักทำความบริบูรณ์และความไพบูลย์แห่งปัญญาให้
แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
ดูก่อนโปฏฐปาทะ บางคราวท่านจะพึงมีความเห็นอย่างนี้ว่า สังกิเลส
ธรรมเราจักละได้ โวทานธรรมจักเจริญขึ้น ผู้มีความเพียรจักทำให้แจ้งซึ่ง

ความบริบูรณ์และความไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองใน
ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ แต่ความอยู่ไม่สบาย.
ดูก่อนโปฏฐปาทะ แต่เรื่องนี้ ท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น ที่แท้สังกิเลส
ธรรม พวกท่านจักละได้ โวทานธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น ผู้มีความเพียรจะทำให้
แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย
ตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ได้ความปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สติสัมปชัญญะ
เป็นการอยู่อย่างสบาย.
[306] โปฏฐปาทะ ถ้าเจ้าลัทธิพวกอื่น จะพึงถามพวกเราว่า แน่ะ
ท่าน การได้อัตตภาพที่หยาบ ซึ่งท่านแสดงธรรม เพื่อให้ละเสียว่าพวกท่าน
ปฏิบัติอย่างไร จักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานธรรมจักเจริญยิ่ง และท่านทั้ง
หลายจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยความรู้ยิ่งเฉพาะ
ตัว ในปัจจุบันแล้วแลอยู่ เป็นไฉน. พวกเราถูกถามแล้วอย่างนี้ พึงพยากรณ์
แก่เขาว่า การได้อัตตภาพอันหยาบที่เราแสดงธรรมเพื่อละเสียว่า พวกท่าน
ปฏิบัติอย่างไรจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานธรรมจักเจริญยิ่ง และท่านทั้ง
หลายจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยความรู้ยิ่งเฉพาะ
ตัว ในปัจจุบันแล้วแลอยู่ อันนี้แล.
[307] โปฏฐปาทะ ถ้าเจ้าลัทธิพวกอื่น จะพึงถามพวกเราว่า แน่ะ
ท่าน ก็การได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจฯลฯ การได้อัตตภาพที่หารูปมิได้ซึ่งท่าน
แสดงธรรมเพื่อให้ละเสียว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร ฯลฯ แล้วแลอยู่ ดั่งนี้
เป็นไฉน.
โปฏฐปาทะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น
ภาษิตก็ถึงความน่าอัศจรรย์ มิใช่หรือ.
ป. แน่นอน พระเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตก็ถึงความน่าอัศจรรย์.
[308] พ. โปฏฐปาทะ เช่นเดียวกับบุรุษพึงทำบันได เพื่อขึ้นสู่

ปราสาท. ที่ใต้ปราสาทนั้น ชนทั้งหลายจะพึงกล่าวกะเขาว่า แน่ะพ่อคุณ
ปราสาทที่ท่านทำบันไดเพื่อจะขึ้น ท่านรู้หรือว่า อยู่ทิศตะวันออกหรือทิศใต้
ทิศตะวันตกหรือทิศเหนือ สูงหรือต่ำ หรือพอปานกลาง. ถ้าบุรุษนั้นจะพึง
ตอบอย่างนี้ว่า ปราสาทที่เราทำบันไดเพื่อจะขึ้นอยู่ที่ใต้ปราสาทนั้น นี้แล.
โปฏฐปาทะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น คำพูด
ของบุรุษนั้นก็ถึงความน่าอัศจรรย์ มิใช่หรือ.
ป. แน่นอน พระเจ้าข้า คำพูดของบุรุษนั้น ก็ถึงความน่าอัศจรรย์.
พ. โปฏฐปาทะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าเจ้าลัทธิอื่น พึงถามพวกเรา
ว่า การได้อัตตภาพที่หยาบ....ที่สำเร็จด้วยใจ....ที่หารูปมิได้.... ซึ่งท่านแสดง
ธรรมเพื่อให้ละเสียว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร ฯลฯ แล้วแลอยู่ ดังนี้.
โปฏฐปาทะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น
ภาษิตจะถึงความน่าอัศจรรย์ มิใช่หรือ.
ป. แน่นอน พระเจ้าข้า.
[309] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว จิตต์บุตรควาญช้าง
ได้ทูลว่า พระเจ้าข้า สมัยใด ได้อัตตภาพอันหยาบ สมัยนั้น การได้
อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจเป็นโมฆะ การได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป ก็เป็นโมฆะ
ในสมัยนั้น พึงมีแต่การได้อัตตภาพอันหยาบ เป็นสัจจะ กระนั้นหรือ ?
และสมัยใด ได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ สมัยนั้น การได้อัตตภาพอันหยาบ
เป็นโมฆะ การได้อัตตภาพอันไม่มีรูป ก็เป็นโมฆะ ในสมัยนั้น การได้
อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ เป็นสัจจะ กระนั้นหรือ ? และสมัยใด ได้อัตตภาพ
อันไม่รูป สมัยนั้น การได้อัตตภาพอันหยาบเป็นโมฆะ การได้อัตตภาพ

ที่สำเร็จด้วยใจ ก็เป็นโมฆะ ในสมัยนั้น การได้อัตตภาพอันไม่มีรูป เป็น
สัจจะ กระนั้นหรือ ?
พ. สมัยใด ได้อัตตภาพที่หยาบ สมัยนั้น มิได้ถึงซึ่งอันนับว่า
ได้อัตตภาพอันสำเร็จด้วยใจ ทั้งไม่ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอันไม่มีรูป
ในสมัยนั้นถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอันหยาบอย่างเดียว. สมัยใด ได้
อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ สมัยนั้น มิได้ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพที่หยาบ
ทั้งไม่ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอันไม่มีรูป ในสมัยนั้น ถึงซึ่งอันนับว่า
ได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจอย่างเดียว. สมัยใด ได้อัตตภาพอันไม่มีรูป
สมัยนั้น มิได้ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพที่หยาบ ทั้งมิได้ถึงซึ่งอันนับว่า
ได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ ในสมัยนั้น ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอัน
ไม่มีรูปอย่างเดียว.
[310] พ. จิตต์ ถ้าเขาจะพึงถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านได้มีแล้วในอดีต
มิใช่ว่า ไม่ได้มีแล้ว ท่านจักมีในอนาคต มิใช่ว่าจักไม่มี ท่านมีอยู่ในบัดนี้
มิใช่ว่าไม่มี กระนั้นหรือ. ท่านถูกถามอย่างนี้ จะพึงพยากรณ์อย่างไร.
จ. ถ้าข้าพระองค์ถูกถามอย่างนั้น พึงพยากรณ์ว่า ข้าพเจ้า ได้มีแล้ว
ในอดีต มิใช่ว่าไม่ได้มีแล้ว ข้าพเจ้า จักมีในอนาคต มิใช่ว่าจักไม่มี ข้าพเจ้า
มีอยู่ในบัดนี้ มิใช่ว่าไม่มี เมื่อถูกถามอย่างนี้จะพึงพยากรณ์อย่างนี้ พระเจ้าข้า.
[311] พ. จิตต์ ถ้าเขาจะพึงถามท่านอย่างนี้ว่า การได้อัตตภาพใด
ที่เป็นอดีตได้มีแล้วแก่ท่าน การได้อัตตภาพนั้นแล ได้เป็นสัจจะ การได้
อัตตภาพที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน เป็นโมฆะ การได้อัตตภาพที่เป็น
อนาคตใด จักมีแก่ท่าน การได้อัตตภาพนั้นแล จักเป็นสัจจะ การได้
อัตตภาพที่เป็นอดีต ที่เป็นปัจจุบัน เป็นโมฆะ การได้อัตตภาพเป็นปัจจุบัน

ใด มีอยู่แก่ท่าน การได้อัตตภาพนั้นแล เป็นสัจจะ การได้อัตตภาพที่เป็น
อดีต ที่เป็นอนาคต เป็นโมฆะ กระนั้นหรือ. ท่านถูกถามอย่างนี้ จะพึง
พยากรณ์อย่างไร.
จ. ถ้าข้าพระองค์ถูกถามอย่างนั้น พึงพยากรณ์ว่า การได้อัตตภาพ
ที่เป็นอดีตใดได้มีแล้วแก่ข้าพเจ้า ในสมัยนั้น การได้อัตตภาพนั้นแล ได้เป็น
สัจจะ การได้อัตตภาพที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน เป็นโมฆะ การได้
อัตตภาพที่เป็นอนาคตใด จักมีแก่ข้าพเจ้า สมัยนั้น การได้อัตตภาพนั้นแล
จักเป็นสัจจะ การได้อัตตภาพที่เป็นอดีต ที่เป็นปัจจุบัน เป็นโมฆะ การได้
อัตตภาพที่เป็นปัจจุบันใด มีอยู่แก่ข้าพเจ้านั้น การได้อัตตภาพนั้นแล เป็น
สัจจะ การได้อัตตภาพที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต เป็นโมฆะ เมื่อถูกถาม
อย่างนี้ จะพึงพยากรณ์อย่างนี้แล พระเจ้าข้า.
[312] พ. จิตต์ สมัยใด ได้อัตตภาพที่หยาบ สมัยนั้น มิได้ถึงซึ่ง
อันนับว่า ได้อัตตภาพอันสำเร็จด้วยใจ ทั้งไม่ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพ
อันนับว่า ได้อัตตภาพอันไม่มีรูป ในสมัยนั้น ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพ
อันหยาบอย่างเดียว สมัยใด ได้อัตตภาพอันสำเร็จด้วยใจ สมัยนั้น มิได้
ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพที่หยาบ ทั้งไม่ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอัน
ไม่มีรูป ในสมัยนั้น ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอันสำเร็จด้วยใจอย่างเดียว
สมัยใด ได้อัตตภาพอันไม่มีรูป สมัยนั้น มิได้ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพ
ที่หยาบ ทั้งไม่ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอันสำเร็จด้วยใจ ในสมัยนั้น
ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอันไม่มีรูปอย่างเดียว. เช่นเดียวกับนมสดมีจาก
แม่โค นมส้มมีจากนมสด เนยข้นมีจากนมส้ม เนยใสมีจากเนยข้น ฟอง-
เนยใสมีจากเนยใส สมัยใด ยังเป็นนมสดอยู่ สมัยนั้น ก็ไม่ถึงซึ่งอันนับว่า

เป็นนมส้ม เป็นเนยข้น เป็นเนยใส เป็นฟองเนยใส สมัยนั้น ถึงซึ่งอัน
นับว่า เป็นนมสดอย่างเดียว. สมัยใด เป็นนมส้ม. เป็นเนยข้น. เป็นเนยใส.
เป็นฟองเนยใส สมัยนั้น ก็ไม่ถึงซึ่งอันนับว่า เป็นนมสด....นมส้ม....เนยใส
.....ฟองเนยใสอย่างเดียว.
จิตต์ ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด การได้อัตตภาพอันหยาบย่อมมี
สมัยนั้น ไม่ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอันไม่สำเร็จด้วยใจ..... อันหารูป
มิได้.... สมัยนั้น ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพที่หย่าบอย่างเดียว. จิตต์
เหล่านี้แล เป็นโลกสมัญญา (ชื่อตามโลก) โลกนิรุตติ (ภาษาชาวโลก)
โลกโวหาร (โวหารของชาวโลก) โลกบัญญัติ ที่ตถาคตกล่าวมิได้เกี่ยวข้อง
(เป็นแต่ยืมมาพูด ถ้าว่าทางปรมัตถ์ ไม่มีเกี่ยว).
[313] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โปฏฐปาทปริพาชก
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ไพเราะจริง พระเจ้าข้า ไพเราะจริง พระ-
เจ้าข้า บุคคลจะพึงหงายของที่คว่ำขึ้นก็ดี จะพึงเปิดของที่มีวัตถุอื่นปิดอยู่ก็ดี
จะพึงบอกทางแก่บุคคลผู้หลงทางแล้วก็ดี จะพึงส่องประทีปในที่มืด ด้วย
หวังว่าชนทั้งปวงผู้มีจักษุได้เห็นรูปทั้งหลายดั่งนี้ก็ดี มีอุปมาฉันใด พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงภาษิตธรรมก็มีอุปไมยฉันนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ-
องค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอ
พระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณคมน์ตลอดชีพ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
ฝ่ายจิตต์ ผู้บุตรนายควาญช้าง ได้ทูลว่า ไพเราะจริง พระเจ้าข้า
ฯลฯ ข้าพเจ้าพึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ดั่งนี้.
จิตต์ บุตรนายควาญช้าง ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วแล. ท่านจิตต์ บุตรนายควาญช้าง ได้อุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออก
ไปแต่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านักทำให้แจ้งซึ่ง
ที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่ผู้บวช ไม่มีเรือน จากเรือนโดยชอบ
ต้องการ ด้วยความรู้ยิ่งเฉพาะตัว ในปัจจุบันแล้วอยู่ รู้ประจักษ์ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.
ท่านจิตต์ บุตรนายควาญช้าง ได้เป็นพระอรหันต์องค์ 1 ดั่งนี้แล..
จบโปฏฐปาทสูตรที่ 9

อรรถกถาโปฏฐปาทสูตร


เอวมฺเม สุตํ ฯเปฯ สาวตฺถิตยฺติ โปฏฺฐปาทสุตฺตํ

ในโปฏฐปาทสูตรนั้น มีคำพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้. บทว่า
สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ความว่า ประทับอยู่ ณ
พระเชตวันอารามที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. ให้สร้างในสวนของกุมารพระ-
นามว่า เชต ใกล้กรุงสาวัตถี.
บทว่า โปฏฺฐปาโท ปริพฺพาชโก ความว่า ฉันนปริพาชก ชื่อ
โปฏฐปาทะ. ได้ยินว่าในกาลเป็นคฤหัสก์เขาเป็นพราหมณ์มหาศาล เห็นโทษ
ในกามทั้งหลายแล้ว ละกองโภคทรัพย์จำนวนสี่สิบโกฏิ บวชเป็นคณาจารย์
ของเดียรถีย์ทั้งหลาย.
พราหมณ์และบรรพชิตทั้งหลายย่อมโต้ตอบลัทธิในสถานที่นั่น เพราะ
ฉะนั้น สถานที่นั้นจึงชื่อว่า สมยปฺปวาทกํ สถานที่สำหรับโต้ตอบลัทธิ นัยว่า
พราหมณ์ทั้งหลายมีจังกีพราหมณ์ตารุกขพราหมณ์ และโปกขรสาติพราหมณ์
เป็นต้น และบรรพชิตทั้งหลายมีนิคัณฐปริพาชก และ อเจลกปริพาชกเป็น
ต้น ประชุมกันในสถานที่นั้นแล้ว โต้ตอบ กล่าวแสดงลัทธิของตนๆ ในสถาน
ที่นั้น เพราะฉะนั้น อารามนั้น จึงเรียกว่า สมยปฺปวาทโก. อารามนั้นเทียว
ชื่อว่า แถวป่าไม้มะพลับ เพราะเป็นอารามที่แนวต้นมะพลับคือแถวต้น
มะพลับล้อมรอบ. ก็เพราะในอารามนั้นในชั้นแรก มีศาลาเพียงหลังเดียวเท่า
นั้น ภายหลังชนทั้งหลายอาศัยปริพาชกผู้มีบุญมากสร้างศาลาหลายหลัง เพราะ
ฉะนั้นอารามนั้น จึงเรียกว่า เอกสาลโก ด้วยอำนาจแห่งชื่อที่ได้มา เพราะ
อาศัยศาลาหลังเดียวนั้นเอง. ก็อารามนั้นสมบูรณ์ด้วยดอกและผล เป็นสวน