เมนู

อรรถกถามหาสีหนาทสูตร


มหาสีหนาทสูตรว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯลฯ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าประทับอยู่ในเมืองอุรุญญา1. เป็นต้น. ในมหาสีหนาทสูตรนั้นมีการ
พรรณนาตามลำดับบท ดังต่อไปนี้
บทว่า อรุญฺญายํ ความว่าคำว่า อุรุญญา นี่แหละเป็นชื่อของแคว้น
บ้าง ของเมืองบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเมืองอุรุญญาประทับอยู่.
บทว่า ในสวนกวางชื่อกัณณกถละ คือ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์แห่งหนึ่ง ชื่อ
กัณณกถละมีอยู่ในที่ไม่ไกลแห่งเมืองนั้น. ภูมิภาคนั้น เรียกว่า สวนกวาง
เพราะพระราชทานอภัยแก่กวาง ในสวนกวางชื่อกัณณกถละนั้น.
บทว่า เปลือย คือ นักบวชเปลือย. บทว่า กัสสปะ เป็นชื่อของ
นักบวช นั้น. บทว่า ผู้มีตปะ คือ ผู้อาศัยตปะ. บทว่า ผู้มีการเลี้ยงชีพ
เศร้าหมอง
คือ การเลี้ยงชีพของนักบวชนั้นเศร้าหมองด้วยอำนาจแห่งความ
เปลือยและการมีความประพฤติเสียเป็นต้น เหตุนั้น จึงชื่อว่ามีการเลี้ยงชีพ
เศร้าหมอง. ผู้มีการเลี้ยงชีพเศร้าหมองนั้น. บทว่า ย่อมติเตียน คือ ย่อม
ตำหนิ. บทว่า ย่อมว่าร้าย คือ ย่อมเย้ยหยัน ย่อมเพิดเพ้ย. บทว่า และ
ย่อมพยากรณ์ธรรมตามสมควรแก่ธรรม
คือ ย่อมกล่าวเหตุสมควรแก่เหตุที่
พระโคตมะผู้เจริญตรัสแล้ว. บทว่า วาทะและอนุวาทะ เป็นไปกับด้วยธรรม
คือ วาทะและอนุวาทะของท่าน มีเหตุด้วยเหตุที่คนอื่นกล่าวแล้วคือเหตุอัน
1. บาลีเป็น อุชุญญา.

ผู้รู้พึงติเตียนว่า ใคร ๆ แม้ไม่ประมาท ก็ไม่มาหรือ. คำนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า
เหตุที่ควรติเตียนในเพราะวาทะของท่านไม่มีหรือ. คำว่า ไม่ต้องการกล่าวตู่
คือ ไม่ต้องการกล่าวด้วยคำไม่เป็นจริง.
ในคำว่า ผู้มีตปะ มีการเลี้ยงชีพเศร้าหมองบางคน เป็นต้น พึงทราบ
ดังนี้ คนในโลกบางคนมีตปะ เพราะอาศัยตปะมีการบวชเป็นอเจลกเป็นต้น
คิดว่า เราจักเลี้ยงชีวิตด้วยของเศร้าหมอง จึงยังตนให้ลำบากด้วยประการ
ต่าง ๆ มีกินหญ้าและขี้วัวเป็นต้น และไม่ได้การดำเนินชีวิตด้วยความสุข
เพราะมีบุญน้อย. เขาบำเพ็ญทุจริต 3 แล้วเกิดในนรก. อีกคนหนึ่ง อาศัย
ตปะเช่นนั้นเป็นผู้มีบุญ ย่อมได้ลาภสักการะ. เขาเข้าใจว่า บัดนี้ คนเช่นเรา
ไม่มีแล้ว ยกย่องตนไว้อยู่ในฐานะสูงคิดว่า จักยังลาภให้เกิดยิ่ง ๆ ขึ้น และ
บำเพ็ญทุจริต 3 ด้วยอำนาจแห่งอเนสนา แล้วจะเกิดในนรก นัยต้นกล่าว
หมายถึงบรรพชิตทั้งสองนี้.
อีกคนหนึ่ง เลี้ยงชีพเศร้าหมอง แม้อาศัยตปะ เป็นผู้มีบุญน้อย ย่อม
ไม่ได้การดำเนินชีวิตด้วยความสุข. เขาคิดว่า ความเป็นอยู่สบาย ย่อมไม่
เกิดขึ้นแก่เรา เพราะไม่ได้ทำบุญไว้ในก่อน เอาละ บัดนี้ เราจะทำบุญ
ดังนี้แล้วบำเพ็ญสุจริต 3 จะเกิดในสวรรค์.
อีกคนหนึ่ง เลี้ยงชีพเศร้าหมอง เป็นผู้มีบุญ ย่อมได้การดำเนินชีวิต
ด้วยความสุข เขาคิดว่า ความเป็นอยู่สบายย่อมเกิดแก่เรา เพราะเป็นผู้ทำ
บุญไว้ในก่อน ละอเนสนาแล้ว บำเพ็ญสุจริต 3 จะเกิดในสวรรค์. นัยที่ 2
กล่าวหมายถึงบรรพชิตทั้งสองนี้.
ส่วนผู้บำเพ็ญตปะคนหนึ่ง มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยความประพฤติ
ภายนอก เป็นดาบส หรือเป็นปริพาชกที่ปกปิด ย่อมไม่ได้ปัจจัยที่ชอบใจ
เพราะมีบุญน้อย. เขาบำเพ็ญทุจริต 3 ด้วยอำนาจแห่งอเนสนา ตั้งตนไว้

ในความสุข จะเกิดในนรก. อีกรูปหนึ่งมีบุญ เกิดมานะขึ้นว่า บัดนี้ คน
เช่นเราไม่มี หรือยังลาภสักการะให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจอเนสนา. คิดส่ง ๆ
เป็นต้น ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิว่า ความสัมผัสแห่งปริพาชิกาสาวรุ่น ผู้
มีขนอ่อนนุ่มนี้เป็นความสุข หรือถึงความดื่มด่ำในกาม บำเพ็ญทุจริต 3 จะ
ตกนรก. นัยที่ 3 กล่าวถึงบรรพชิตทั้งสอง.
ส่วนอีกรูปหนึ่ง มีทุกข์น้อย มีบุญน้อย. เขาคิดว่า เราไม่ได้ชีวิต
ด้วยความสุข เพราะไม่ได้ทำบุญไว้แม้ในก่อน ดังนี้แล้วบำเพ็ญสุจริต 3 จึง
เกิดในสวรรค์. อีกรูปหนึ่ง มีบุญ. เขาคิดว่า เราได้ความสุข เพราะทำบุญ
ไว้ในก่อน แม้บัดนี้ ก็จักทำบุญเหมือนกัน จึงบำเพ็ญสุจริต 3 จะเกิดใน
สวรรค์. นัยที่ 4 กล่าวถึงบรรพชิตสองรูปนี้. การกระทำนี้มาด้วยอำนาจ
แห่งเดียรถีย์ ไม่ได้แม้ในศาสนา.
นักบวชบางคน เป็นผู้มีความเป็นอยู่เศร้าหมองด้วยอำนาจแห่งการ
สมาทานธุดงค์ หรือเที่ยวไปทั่วบ้าน ก็ไม่ได้อาหารเต็มท้อง เพราะมีบุญ
น้อย. เขาคิดว่าจักยังปัจจัยให้เกิดขึ้น จึงทำอเนสนาด้วยอำนาจเวชกรรม
เป็นต้น โอ้อวดพระอรหัต หรือซ่องเสพเรื่องโกหก 3 ประการ ย่อมเกิด
ในนรก. อีกรูปหนึ่ง เป็นผู้มีบุญเช่นนั้นเหมือนกัน. เขายังมานะให้เกิด
ขึ้นเพราะบุญสมบัตินั้น ประสงค์จะทำลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้มั่นคง จึงบำเพ็ญ
ทุจริต 3 ด้วยอำนาจอเนสนา ย่อมเกิดในนรก.
อีกรูปหนึ่ง สมาทานธุดงค์ เป็นผู้มีบุญน้อย ย่อมไม่ได้การดำเนิน
ชีวิตโดยความสุข. เขาคิดว่า เราไม่ได้อะไร ๆ เพราะไม่ได้ทำบุญไว้ในก่อน
ถ้าบัดนี้ จักทำอเนสนาแล้ว แม้ต่อไป ก็จักได้ความสุขยาก ดังนี้แล้ว บำเพ็ญ
สุจริต 3 เมื่อไม่อาจบรรลุพระอรหัต ก็จะเกิดในสวรรค์. อีกรูปหนึ่ง เป็น
ผู้มีบุญ. เขาคิดว่า เดี๋ยวนี้ เรามีความสุข เพราะทำบุญไว้ในก่อน แม้บัดนี้

ก็จักทำบุญ ดังนี้แล้ว ละอเนสนา บำเพ็ญสุจริต 3 เมื่อไม่อาจบรรลุ
พระอรหัตก็จะเกิดในสวรรค์
คำว่า ซึ่งที่มาด้วย คือคนเหล่านี้มาจากที่โน้น ฉะนั้นจึงชื่อว่า ที่มา
อย่างนี้. บทว่า คติญฺจ ความว่า สถานที่จะพึงไปในบัดนี้. คำว่า ซึ่งที่
จุติด้วย
คือ เคลื่อนจากที่นั้นด้วย. คำว่า ซึ่งที่เกิดด้วย คือ ความเกิด
อีก ของผู้จุติจากที่นั้น คำว่า เราจักติเตียนตปะทั้งปวงทำไม คือ เราจัก
ติเตียนด้วยเหตุไร. ด้วยว่า เราย่อมติเตียนสิ่งที่ควรติเตียน สรรเสริญสิ่งที่
ควรสรรเสริญ. จริงอยู่ เขาก็เหมือนช่างย้อมผ้า กระทำการห่อผ้า ไม่แสดง
ว่า เราจักทำผ้าที่ซักแล้ว และยังไม่ได้ซักไว้ห่อเดียวกัน. บัดนี้ เมื่อพระองค์
จะประกาศความข้อนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนกัสสปะ สมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง มีอยู่.
คำว่า เขา (กล่าว) ถึงบางอย่าง คือ ศีล 5 . ก็ไม่มีใครในโลก
กล่าวศีล 5 นั้นว่า ไม่ดี. คำว่า เขา (กล่าว) ถึงบางสิ่ง อีก คือเวร 5 .
ไม่มีใคร ๆ กล่าวถึงเวรนั้นว่าดี. คำว่า เขา (กล่าว) ถึงบางสิ่ง อีก คือ
ความไม่สำรวมในทวาร 5. ได้ยินว่า เขากล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า จักษุไม่ถูกปิด
เสีย ก็จะพึงเห็นรูปอันน่าพอใจด้วยจักษุ. นัยนี้ ย่อมมีในทวารอื่น มีโสตะ
เป็นต้น. คำว่า เขา (กล่าว) ถึงบางสิ่ง คือความสำรวมในทวาร 5. เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเสมอและไม่เสมอแห่งวาทะของพระองค์กับ
วาทะของผู้อื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้จะทรงแสดงความเสมอและไม่เสมอแห่งวาทะ
ของผู้อื่น กับวาทะของพระองค์ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เรา....ใด.
แม้ในข้อนั้น ก็พึงทราบเนื้อความด้วยอำนาจศีล มีศีล 5 เป็นต้น. คำ
ว่า สมนุยุญฺชนฺตํ คือ จงซักไซ้. ก็แลในที่นี้ เมื่อถามถึงความเห็น ชื่อว่า
ย่อมสอบถาม. เมื่อถามถึงเหตุ ชื่อว่า ย่อมซักถาม เมื่อถามถึงทั้งสองอย่าง

ชื่อว่า ย่อมสอบสวน. คำว่า ซึ่งศาสดากับศาสดา คือเปรียบเทียบศาสดา
กับศาสดาว่า ศาสดาของท่านละธรรมเหล่านั้นโดยประการทั้งปวงอย่างไร หรือ
ว่า พระสมณโคดม. แม้ในบทที่ 2 ก็อย่างนี้เหมือนกัน. บัดนี้ เมื่อจะทรง
แสดงประกอบเนื้อความนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า คนใด....แห่งผู้เจริญ
เหล่านี้.
ในคำเหล่านั้น คำว่า ที่เป็นอกุศล ที่นับว่า เป็นอกุศล อธิบายว่า ที่
เป็นอกุศลด้วย ที่นับว่า ที่รู้ว่า เป็นอกุศลด้วย หรือว่า ที่ตั้งไว้เป็นส่วน.
นัยในบททั้งปวงก็อย่างนี้. อนึ่ง ในบทเหล่านี้ คำว่า มีโทษ คือเป็นไป
กับด้วยโทษ. คำว่า ไม่ประเสริฐ คือไม่อาจ ไม่สามารถ เพื่อเป็นธรรม
อันประเสริฐ โดยอรรถว่าไม่มีโทษ.
คำว่า ผู้รู้เมื่อสอบถามอันใด คือ เมื่อผู้รู้ถามเรา และผู้อื่น ด้วย
ข้อใด พึงกล่าวอย่างนี้ ฐานะนั้นมีอยู่ ความว่า มีเหตุนั้น. คำว่า ก็หรือ
ว่า คณาจารย์อื่น.....อันใด
คือ ก็ท่านคณาจารย์อื่นละเหตุอันมีประมาณ
น้อยนั้นตามมีตามได้เป็นไป.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ว่า พึงสรรเสริญเราโดยมากในข้อนั้น
ดังนี้ ทั้งในการสอบถามศาสดากับศาสดา ทั้งในการสอบถามสงฆ์กับสงฆ์
เพราะเหตุไร. เพราะแม้การสรรเสริญพระสงฆ์ ก็เป็นอันสรรเสริญศาสดา
เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้เมื่อผู้รู้เลื่อมใสก็ย่อมเลื่อมใสในสงฆ์ พร้อมด้วย
พระพุทธเจ้า และย่อมเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์.
จริงอย่างนั้น ผู้รู้เห็นความสำเร็จแห่งพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หรือฟังพระธรรมเทศนาแล้วกล่าวว่าดูก่อนผู้เจริญ เป็นลาภของพระสาวกผู้
ท่องเที่ยวอยู่ในสำนักของศาสดาเป็นปานนี้หนอ ชื่อว่าย่อมเลื่อมใสในพระ-
สงฆ์ พร้อมทั้งพระพุทธสมบัติอย่างนี้ ก็ผู้รู้ทั้งหลาย เห็นอาจาระโคจร

และอิริยาบถ มีการก้าวไปถอยกลับเป็นต้นของภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้กล่าวว่า
ดูก่อนผู้เจริญ นี้เป็นอิริยาบถของพระสาวกผู้ท่องเที่ยวอยู่ในสำนัก ก็แลคุณ
คือความสงบนี้ของพระศาสดาจักมีเพียงไร ชื่อว่า ย่อมเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
พร้อมทั้งพระสงฆ์ ดังนั้น การสรรเสริญพระศาสดาก็เป็นอันสรรเสริญ
พระสงฆ์ แม้การสรรเสริญพระสงฆ์ ก็เท่ากับสรรเสริญพระศาสดาเหมือนกัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงสรรเสริญเราโดยมากในข้อนั้น ในนัยแม้ทั้ง
2. เพราะแม้การสรรเสริญพระสงฆ์ก็เป็นอันสรรเสริญพระศาสนาเหมือนกัน
พระสมณะโคดมทรงละธรรมเหล่านี้ทั้งหมดทั้งสิ้นเป็นไป. ก็นี้เป็นความ
ประสงค์ในข้อนี้ แม้ในคำเป็นต้นว่า ก็หรือว่า คณาจารย์ผู้เจริญอื่นใด.
ก็แล วิรัติมี 3 ด้วยอำนาจแห่งสัมปัตตวิรัติ สมาทานวิรัติ และเสตุ
ฆาตวิรัติ ในวิรัติเหล่านั้น เพียงแต่สัมปัตตวิรัติ และสมาทานวิรัติ ย่อมมี
แก่ผู้อื่น ส่วนเสตุฆาตวิรัติไม่มีเลย โดยประการทั้งปวง. ก็ในตทังคปหาน
วิขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน และนิสสรณปหาน 5 อย่าง
เพียงแต่ตทังคปหาน และวิขัมภนปหาน ย่อมมีแก่ผู้อื่น ด้วยอำนาจแห่ง
สมาบัติ 8 และด้วยอำนาจเพียงวิปัสสนา ปหาน 3 นอกจากนี้ไม่มีเลยโดย
ประการทั้งปวง. จริงอย่างนั้น สังวร 5 คือ ศีลสังวร ขันติสังวร ญาณ-
สังวร สติสังวร วิริยสังวร ในสังวรเหล่านั้น เพียงแต่ศีล 5 และเพียงแต่
อธิวาสนขันติ ย่อมมีแก่ผู้อื่น ที่เหลือย่อมไม่มีเลยโดยประการทั้งปวง. ก็
อุเทศแห่งอุโบสถนี้มี 5 อย่าง ในอุเทศแห่งอุโบสถเหล่านั้น เพียงแต่
ศีล 5 เหล่านั้น ย่อมมีแก่ผู้อื่น ปาฏิโมกขสังวรศีล ย่อมไม่เลยโดยประการ
ทั้งปวง. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงบันลือสีหนาทว่า ในวิรัติ 3
ในปหานะ 5 ในสังวร 5 ในอุเทศ 5 ในการละอกุศล และในการสมาทาน
กุศล เราเองด้วย สงฆ์สาวกของเราด้วย ย่อมปรากฏในโลก จริงอยู่ ชื่อว่า
ศาสดาเช่นเรา และชื่อว่าสงฆ์เช่นกับสงฆ์สาวกของเรา ย่อมไม่มี. ครั้นพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงบันลือสีนาทหอย่างนี้แล้ว จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อน
กัสสปะ มรรคย่อมมีเพื่อรู้ความไม่วิปริตแห่งสีหนาทนั้น.
บรรดาคำเหล่านั้นคำว่า มรรค คือโลกุตตรมรรค. คำว่า ปฏิปทา คือ
ข้อปฏิบัติเบื้องต้น. คำว่า พูดถูกกาล เป็นต้น พรรณนาไว้แล้วในพรหมชาล-
สูตร. บัดนี้ เมื่อจะแสดงมรรคและปฏิปทาทั้งสองเป็นอันเดียวกัน จึงตรัส
คำเป็นต้นว่า (มรรคประกอบด้วยองค์ 8) อันประเสริฐนี้.
ก็แลอเจละ ได้ฟังคำนี้แล้วจึงคิดว่า พระสมณโคดม สำคัญว่า
มรรคและปฏิปทามีอยู่แก่เราเท่านั้น ไม่มีแก่คนอื่น จึงสำคัญว่า เอาเถิด เรา
จักกล่าวมรรคของเราทั้งหลาย แก่พระสมณโคดมนั้น. ลำดับนั้น จึงกล่าว
ถึงปฏิปทาของอเจลกะ. เมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว อเจล-
กัสสปะ จึงกราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า แม้การบำเพ็ญตปะเหล่านี้แล
ฯลฯ ประกอบด้วยการขวนขวาย ในการลงอาบน้ำอยู่.
ในคำเหล่านั้น คำว่า "การบำเพ็ญตปะ" หมายความว่า ปรารภตปะ
ตปะ. คำว่า นับว่าความเป็นสมณะ คือนับว่า การงานของสมณะ. คำว่า
นับว่าความเป็นพราหมณ์ คือนับว่า การงานของพราหมณ์. คือ อเจลก
หมายความว่า ไม่มีผ้านุ่งห่ม อธิบายว่า เป็นคนเปลือย. คำว่า ไร้มรรยาท
คือทอดทิ้งมรรยาท. ในมรรยาททั้งหลายมีการถ่ายอุจจาระเป็นต้นเขาเว้นจาก
มรรยาทของกุลบุตรชาวโลก ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เคี้ยว และกิน.
คำว่า เลียมือ คือเมื่อก้อนข้าวในมือหมดแล้ว ก็เลียมือด้วยลิ้น. หรือถ่าย
อุจจาระก็เอามือเช็ดก้นแทนไม้. เขากล่าวว่า พระคุณเจ้า นิมนต์มารับภิกษา
ก็ไม่มา ฉะนั้น จึงชื่อว่าพระคุณเจ้าไม่มา. ก็แล แม้เขากล่าวว่า พระผู้เป็น
เจ้าจงหยุด ก็ไม่หยุด ฉะนั้นจึงชื่อว่าพระคุณเจ้าไม่หยุด. ได้ยินว่า เขาคิด
ว่า คำของผู้นี้ จักเป็นอันกระทำแล้ว จึงไม่ทำทั้ง 2 อย่าง.

คำว่า ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งเอาไว้ก่อน คือ (ไม่) รับภิกษา ที่เอา
ไว้เสียก่อนจึงนำมา. คำว่า ไม่รับภิกษาที่เขาทำอุทิศให้ คือ (ไม่รับ) ภิกษา
ที่เขายกมาถวายโดยกล่าวอย่างนี้ว่า (จงรับภิกษา) ที่พวกเราทำเฉพาะท่าน
ทั้งหลายนี้. คำว่า ไม่รับนิมนต์ คือ ไม่ยินดี ไม่ถือเอาภิกษาที่เขานิมนต์ว่า
ขอท่านทั้งหลาย พึงเข้าไปสู่ครอบครัว หรือถนน หรือหมู่บ้านโน้น.
คำว่า ไม่รับภิกษาจากปากหม้อ คือ ไม่รับเอาภิกษาที่เขาคดจาก
หม้อถวาย. คำว่า ไม่รับภิกษาจากปากหม้อข้าว คือ คำว่า "กโฬปิ" ได้แก่
หม้อข้าว หรือกระติบ ไม่รับ (ภิกษา) จากหม้อข้าวหรือกระติบนั้น. เพราะ
เหตุไร. หม้อ และหม้อข้าวอาศัยเรา จึงถูกประหารด้วยจวัก.
คำว่า ไม่ (รับ) ภิกษาที่เขายืนคร่อมประตูให้ คือ ไม่รับภิกษาที่
เขาทำธรณีประตูให้อยู่ในระหว่างมอบให้. เพราะเหตุไร. ผู้นี้อาศัยเราจึงได้
การกระทำในระหว่าง แม้ในท่อนไม้ และสาก ก็มีนัยอย่างเดียวกัน.
คำว่า ไม่ (รับภิกษา) ของคน 2 คน (ที่กำลังบริโภคอยู่) คือใน
เมื่อคน 2 คนกำลังบริโภคอยู่ เมื่อคนหนึ่งลุกขึ้นให้ก็ไม่รับ. เพราะเหตุไร.
เพราะอันตรายที่กลืนคำข้าวย่อมมีแก่คนหนึ่ง. ก็ในคำว่า ไม่ (รับภิกษา)
ของคนมีท้อง
เป็นต้น ความว่า เขาคิดว่า เด็กในท้องของหญิงมีท้องย่อม
ลำบาก เมื่อหญิงกำลังให้ลูกดื่มน้ำนม อันตรายในการดื่มน้ำนม ย่อมมีแก่
เด็ก อันตรายแห่งความยินดีย่อมมีแก่หญิงผู้อยู่ในระหว่างผู้ชาย. คำว่า ที่
เตรียมกันไว้
คือ ในภัตรที่เตรียมกันทำไว้. ได้ยินว่า ในคราวที่ข้าวยาก
หมากแพง สาวกของอเจลกรวบรวมข้าวสารเป็นต้นจากที่นั้น ๆ หุงข้าว
เพื่อประโยชน์แก่อเจลกทั้งหลาย. อเจลกผู้เคร่งครัดยังไม่รับแม้จากที่นั้น.
คำว่า ไม่ (รับภิกษา) ในที่มีสุนัข คือ ในที่ใดมีสุนัขที่เขาเลี้ยงไว้
มันคิดว่า เราจักได้ก้อนข้าว ย่อมไม่รับ (ภิกษา) ที่เขาไม่ให้มันในที่นั้น

นำมา. เพราะเหตุไร. เพราะอันตรายในก้อนข้าวย่อมมีแก่สุนัขนั้น. คำว่า
แมลงวันตอม คือ ตอมเป็นหมู่ ๆ ก็ถ้าฝูงคนเห็นอเจลกแล้วคิดว่า เรา
จักให้ภิกขาแก่อเจลกนั้น เข้าไปสู่โรงครัว ก็แลเมื่อพวกเขาเข้าไป แมลงวัน
ซ่อนอยู่ที่ปากหม้อข้าวเป็นต้นบินว่อนเป็นกลุ่ม ๆ ก็ไม่ถือเอาภิกษาที่นำมา
จากที่นั้น เพราะเหตุไร. เพราะเขาคิดว่าอันตรายแห่งการเที่ยวหากินของ
แมลงวันเกิดเพราะอาศัยเรา.
คำว่า กะแช่ คือ น้ำหมักที่ทำด้วยเปลือกข้าวทั้งปวง. ก็ในที่นี้
การดื่มเหล้าย่อมมีโทษ ส่วนผู้นี้สำคัญว่ามีโทษ แม้ในน้ำเมาทั้งปวง. คำว่า
รับภิกษาในเรือนเดียว คือ ได้ภิกษาในเรือนเดียวเท่านั้นก็กลับ. คำว่า
กินคำเดียว คือ ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยอาหารคำเดียว. แม้ในการรับภิกษา
ในเรือนสองห้อง ก็มีนัยเดียวกัน. คำว่า ในถาดเดียว คือในถาดใบเดียว.
ที่ชื่อว่า หตฺติ ได้แก่ถาดเล็กๆ ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ใส่ยอดภิกษาวางไว้. คำว่า
ค้างไว้วันหนึ่ง คือ อยู่ในระหว่างวันหนึ่ง. คำว่า ค้างกึ่งเดือน คือ อยู่ใน
ระหว่างกึ่งเดือน. คำว่า กินภัตรโดยปริยาย คือกินภัตรตามวาระ ได้แก่
กินภัตรอันมาตามวาระแห่งวันอย่างนี้ คือ ตามวาระวันเดียว ตามวาระ
2 วัน ตามวาระครึ่งเดือน.
คำว่า มีผักดองเป็นอาหาร คือ มีผักดองสด ๆ เป็นอาหาร. คำว่า
มีข้าวฟ่างเป็นอาหาร คือมีข้าวสารฟ่างเป็นอาหาร. ในลูกเดือย เป็นต้น
ข้าวเปลือกที่เกิดเองในป่า ชื่อว่า ลูกเดือย. คำว่า กากข้าว คือกากที่ช่าง
หนังขีดหนังทิ้งไว้. คำว่า หตํ หมายถึง ยางบ้าง สาหร่ายบ้าง. คำว่า กณํ
คือรำ. คำว่า ข้าวตัง คือ ข้าวไหม้ที่ติดอยู่ในหม้อข้าว. เขาถือเอาข้าวตัง
นั้นจากที่ที่คนเขาทิ้งไว้มากิน. เขาเรียกว่า ปลายข้าวสุกก็มี. คำว่า กำยาน
เป็นต้น ชัดเจนแล้ว. คำว่า กินผลไม้ที่เป็นไป คือ กินผลไม้หล่น.

คำว่า ผ้าป่าน คือผ้าปอป่าน. คำว่า ผ้าแกม คือผ้าปนกัน. คำ ว่า
ผ้าห่อศพ คือผ้าที่เขาทิ้งไว้จากร่างคนตาย หรือผ้านุ่งที่เขากรองต้นตะไคร้น้ำ
และหญ้าเป็นต้นทำไว้ คำว่า ผ้าบังสุกุล คือผ้าเปื้อนที่เขาทิ้งไว้บนดิน.
คำว่า เปลือกไม้ คือผ้าเปลือกไม้. คำว่า หนังเสือ คือผ้าหนังเสือ. คำว่า
อชินกฺขิปํ คือหนังเสือนั้นเอง ถูกผ่ากลาง. คำว่า คากรอง คือผ้าที่เขา
กรองหญ้าคาทำไว้. แม้ใยปอและใยป่าน ก็นัยนี้แหละ คำว่า ผ้ากัมพลที่ทำ
ด้วยผม
คือผ้ากัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์. คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามุ่งหมาย
ตรัสไว้ว่า แม้ฉันใดก็ดี ภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่ทอแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง
บรรดาผ้าเหล่านั้น ผ้ากัมพลที่ทอด้วยผมนับว่าเลวที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ผ้ากัมพลที่ทอด้วยผม เย็นในเวลาเย็น และร้อนในเวลาร้อน มีค่าน้อย
มีสีทราม มีกลิ่นเหม็นคลุ้ง และระคาย. คำว่า ผ้ากัมพลทำด้วยหางสัตว์
คือผ้ากัมพลที่ทำด้วยหางม้า. คำว่า ผ้าที่ทำด้วยปีกนกเค้า คือ ผ้านุ่งที่
ผูกปีกนกเค้าทำไว้.
คำว่า ประกอบความเพียรเขย่ง คือ ประกอบความเพียรเขย่ง แม้
เดินไปก็เขย่งเดินโหย่ง ๆ. คำว่า นอนบนหนาม คือ ทิ่มหนามเหล็กหรือ
หนามธรรมดาไว้บนพื้นดิน ลาดหนังไว้ในที่นั้นแล้วทำเป็นที่ยืนและที่จงกรม
เป็นต้น. คำว่า นอน คือแม้เมื่อนอนก็นอนในที่นั้นเอง คำว่า ที่นอน
แผ่นกระดาน
คือที่นอนทำด้วยแผ่นไม้. คำว่า ที่นอนสูง คือที่นอนในพื้นที่
สูง ๆ. คำว่า นอนตะแคงข้างเดียว คือนอนโดยข้างเดียวเท่านั้น. คำว่า
หมกฝุ่น คือทาร่างกายด้วยน้ำมันแล้วยืนในที่ฝุ่นฟุ้ง ลำดับนั้น ฝุ่นจะติด
ที่ร่างกายของเขา ให้ฝุ่นนั้นเกาะอยู่. คำว่า นั่งบนอาสนะตามที่ปูลาดไว้ คือ
ไม่ยังอาสนะให้กำเริบ ได้อาสนะอย่างใดก็นั่งในอาสนะอย่างนั้นเป็นปรกติ.
คำว่า กินขี้ คือกินขี้เป็นปรกติ. คูถ เขาเรียกว่าขี้. คำว่า ไม่ดื่มน้ำเย็น

คือห้ามดื่มน้ำเย็น. คำว่า อาบน้ำวันละ 3 ครั้ง ในเวลาเย็น คือ เวลาเย็น
เป็นครั้งที่ 3 อเจลกคิดว่า เราจักลอยบาปวันละ 3 ครั้ง คือ เช้า เที่ยง
เย็น จึงประกอบการขวนขวายลงอาบน้ำ.
ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงความที่การพยายาม
บำเพ็ญตปะนั้น เว้นจากสีลสัมปทา เป็นต้น เป็นการกระทำที่ไร้ประโยชน์
จึงตรัสขึ้นต้นว่า ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าอเจลก ดังนี้.
ในคำเหล่านั้น คำว่าไกล คือ ในที่ไกล.คำว่า ไม่มีเวร คือเว้นจาก
เวรที่ให้เกิดโทษ. คำว่า ไม่เบียดเบียน คือเว้นจากความเบียดเบียนที่ให้
เกิดโทมนัส. คำว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ (ความเป็นสมณะและความ
เป็นพราหมณ์) ทำยาก นี้ ท่านกัสสปะกล่าวแสดงว่า เมื่อก่อน พวก
ข้าพระองค์เข้าใจว่า ความเป็นสมณะ และความเป็นพราหมณ์ เพียงเท่านี้
แต่พระองค์ตรัสความเป็นสมณะและความเป็นพรหมณ์เป็นอย่างอื่น.
คำว่า คำนี้เป็นปรกติแล คือคำนี้เป็นปรกติ. คำว่า ดูก่อนกัสสปะ
ถ้า (ความเป็นสมณะหรือความพราหมณ์ทำยาก) ด้วยประมาณนี้
คือว่า
ดูก่อนกัสสปะ ผิว่าความเป็นสมณะหรือความเป็นพราหมณ์ ด้วยประมาณนี้
ได้แก่ด้วยข้อปฏิบัติเล็กน้อยอย่างนี้ จักชื่อว่าทำได้โดยยาก ได้แก่ทำได้ยาก
ยิ่งแล้ว แต่นั้น ข้อนี้จักไม่ควรกล่าวว่า ความเป็นสมณะทำได้ยาก ความ
เป็นพราหมณ์ทำได้ยากดังนี้ นี้เป็นอรรถาธิบายกับด้วยการเชื่อมบทในข้อนี้.
การเชื่อมบทในที่ทั้งปวง พึงทราบโดยนัยนี้.
คำว่า รู้ยาก นี้ อเจลกัสสปะนั้น กล่าวหมายเอาคำนี้ว่า เมื่อก่อน
พวกข้าพระองค์เข้าใจเอาว่า เป็นสมณะหรือเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุเท่านี้ แต่
พระองค์ตรัสโดยประการอื่น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธคำโต้แย้งนั้น ของท่าน

กัสสปะนั้นแล้ว ทรงเปิดเผยความเป็นผู้รู้ยากตามสภาพแล้วตรัสคำขึ้นต้นว่า
"เป็นปรกติแล" อีก. พึงเชื่อมบทแล้วทราบเนื้อความโดยนัยที่กล่าวแล้วแม้
ในข้อนั้น. เพราะเหตุไร อเจลกัสสปะจึงถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ก็สีลสัมปทาเป็นไฉนเป็นต้น. ได้ยินว่า อเจลกัสสปะนี้เป็นคนฉลาด เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ จึงศึกษาถ้อยคำ ภายหลังรู้การปฏิบัติของตน
ว่า ไม่เป็นประโยชน์ จึงคิดว่า พระสมณโคดมตรัสคำเป็นต้นว่า ก็สีลสัมปทา
จิตตสัมปทาปัญญาสัมปทานี้ อันเขาไม่ได้อบรมแล้ว ไม่ได้ทำให้แจ้งแล้ว
เขาห่างจากความเป็นสมณะ โดยแท้แล ดังนี้ เอาเถิด บัดนี้เราจะถามถึง
สมบัติเหล่านั้นต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลถามเพื่อรู้แจ้งสีลสัมปทาเป็นต้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงการเกิดขึ้นของพระ-
พุทธเจ้า เมื่อจะตรัสถึงแบบแผน เพื่อแสดงถึงความถึงพร้อมเหล่านั้น จึง
ตรัสคำขึ้นต้นว่า ดูก่อนกัสสปะ (ตถาคตเกิดขึ้นในโลก) นี้. คำว่า ดูก่อน
กัสสปะ ก็ (สีลสัมปทาอื่นอันยิ่งกว่า ประณีตกว่า) สีลสัมปทาน (ไม่มี)
ตรัสหมายถึงพระอรหัตตผล. จริงอยู่ ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระ
อรหัตตผลเป็นที่สุด เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ความถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นต้นอื่นอันยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า ความถึงพร้อมด้วยศีลจิต และปัญญา
อันประกอบด้วยพระอรหัตผลไม่มี ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ
ทรงบันลือสีหนาทอันยิ่ง จึงตรัสคำขึ้นต้นว่า ดูก่อนกัสสปะ มีสมณพราหมณ์
อยู่พวกหนึ่ง.
ในคำเหล่านั้น คำว่า ประเสริฐ คือ ปราศจากอุปกิเลส บริสุทธิ์
อย่างยิ่ง. คำว่า อย่างยิ่ง คือสูงสุด. ก็ศีลนับแต่ศีลห้าเป็นต้นตลอดถึง
ปาฏิโมกขสังวรศีล ชื่อว่า ศีลเหมือนกัน ส่วนศีลที่ประกอบด้วยโลกุตตระ-
มรรค และผล ชื่อบรมศีล. คำว่า เรา (ไม่เห็น) ในศีลนั้น มีอรรถว่า

เราไม่เห็นบุคคลผู้เสมอ ๆ ของตน ได้แก่บุคคลผู้เสมอกับเราด้วยศีล อัน
เสมอด้วยศีลของเรา แม้ในศีล แม้ในบรมศีลนั้น. คำว่า เราเอง ยิ่งใน
ศีลนั้น
คือ เราเท่านั้นเป็นผู้สูงสุดในศีลนั้น. ถามว่า ตรัสไว้ในไหน.
ตอบว่า ในอธิศีล.
คำว่า อธิศีล อธิบายว่า อธิศีลนี้ เป็นอุดมศีล. พระผู้มีพระภาค
เจ้า ทรงบันลือสีหนาทนี้เป็นครั้งแรก ดังนี้.
คำว่า เป็นผู้กล่าวเกลียดชังด้วยตปะ คือ บุคคลที่ติเตียนตบะ.
ในคำนั้นความเพียรใด ย่อมเผา (กิเลส) ฉะนั้น ความเพียรนั้น ชื่อว่า
"ตปะ" นั้นเป็นชื่อของความเพียรที่เผากิเลส. ตปะนั้น ย่อมเกลียดกิเลส
เหล่านั้น เหตุนั้น ตปะนั้นชื่อความเกลียดชัง.
ในบทว่า อริยะ อย่างยิ่ง นี้ ความว่า ชื่อว่า อริยะ เพราะ
ปราศจากโทษ ความเกลียดชังด้วยตปะ กล่าวคือ ความเพียรด้วยวิปัสสนา
เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวัตถุมีอารมณ์ 8 ประการ ชื่อความเกลียดชังด้วยตปะ
นั้นเอง. ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล ชื่อว่า ยอดเยี่ยม. ความ
เกลียดชังในบทนี้ว่า อธิเชคุจฺฉํ เป็นความเกลียดชัง ความเกลียดชังอย่าง
อุดม ชื่อว่า อธิเชคุจฺฉํ เพราะฉะนั้นพึงเห็นอรรถในบทนั้นอย่างนี้ว่า คือ
อธิเชคุจฉะ เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในอธิเชคุจฉะ นั้น.
มีอธิบายแม้ในปัญญาธิการ. กัมมัสสกตาปัญญา และวิปัสสนาปัญญา
ชื่อว่า ปัญญา. ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล ชื่อว่า ปรมปัญญา. ใน
คำว่า อธิปญฺญํ นี้พึงทราบว่าเป็นลิงควิปัลลาส อรรถในบทนั้นมีอย่างนี้คือ
ชื่อว่า อธิปัญญานี้ใด เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในอธิปัญญานั้น.
ในวิมุตตาธิการมีอรรถดังนี้. ตทังควิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ
ชื่อว่า วิมุตติ. ส่วนสมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ

พึงทราบว่า เป็นปรมวิมุตติ. ก็ในบทนี้ว่า ยทิทํ อธิวิมุตฺติ มีอรรถว่า
อธิวิมุตตินี้ใด เราผู้เดียว เป็นผู้ยิ่งในอธิวิมุตตินั้น.
บทว่า สุญญฺาคาเร อธิบายว่า นั่งคนเดียวในเรือนว่างเปล่า. บทว่า
ปริสาสุ จ ความว่า ในบริษัท 8. สมจริงดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสว่า ดูก่อน
สารีบุตร เวสารัชชญาณสี่นี้ที่ตถาคตถึงพร้อมแล้ว จึงปฏิญาณอาสภสถาน
บันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ดังนี้. พระสูตรพึงให้พิสดาร. บทว่า
ปญฺหญฺจ นํ ปุจฺฉนฺติ ความว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิต
รวบรวมปัญหาแล้ว ย่อมทูลถาม. บทว่า พฺยากโรติ ความว่า ทรงแก้ใน
ขณะนั้นทันที. บทว่า จิตฺตํ อาราเธติ ความว่า ทรงยังจิตของมหาชนให้เอิบ
อิ่มด้วยการแก้ปัญหา. บทว่า โน จ โข โสตพฺพํ มญฺนฺติ ความว่า
แม้เมื่อพระองค์ตรัสทำจิตให้ยินดี คนเหล่าอื่นก็ไม่สนใจที่จะฟัง อธิบายว่า
พึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า โสตพฺพญฺจสฺส มญฺนฺติ ความว่า เทวดาก็ดี
มนุษย์ก็ดี ย่อมสนใจฟังด้วยความอุตสาหะใหญ่ บทว่า ปสีทนฺติ ความว่า
เป็นผู้เลื่อมใสดีแล้ว มีจิตควร มีจิตอ่อน. บทว่า ปสนฺนาการํ กโรนฺติ
ความว่า ไม่เป็นผู้เลื่อมใสงมงาย เมื่อบริจาควัตถุมีจีวรเป็นต้นอันประณีต
และมหาวิหารมีเวฬุวันวิหารเป็นต้น ชื่อว่า กระทำอาการแห่งผู้เลื่อมใส. บท
ว่า ตถตฺตาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงธรรมใด ย่อมปฏิบัติ
เพื่อความมีแห่งธรรมโดยประการนั้น คือ เพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม. บทว่า ตถตฺตาย จ ปฏิปชฺชนฺติ ความว่า ย่อมปฏิบัติ
เพื่อความมีอย่างนั้น. จริงอยู่ เทวดาและมนุษย์ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาค-
เจ้าพระองค์นั้นแล้ว บางพวกตั้งอยู่ในสรณะ บางพวกตั้งอยู่ในศีลห้า พวก
อื่นออกบวช. บทว่า ปฏิปนฺนา จ อาราเธนฺติ ความว่า ก็ผู้ปฏิบัติปฏิปทา

นั้นย่อมอาจเพื่อให้บริบูรณ์ แต่ให้บริบูรณ์โดยอาการทั้งปวง พึงกล่าวว่า
ย่อมยังจิตของพระโคดมผู้เจริญนั้นให้ยินดีด้วยการบำเพ็ญการปฏิบัติ. ก็
บัณฑิตดำรงอยู่ในโอกาสนี้ แล้วพึงประมวลสีหนาททั้งหลาย.
ก็สีหนาทหนึ่งของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เราเห็นผู้บำเพ็ญตบะบาง
คนเกิดในนรก. สีหนาทหนึ่งว่า เราเห็นคนอื่นเกิดในสวรรค์. สีหนาทหนึ่ง
ว่า เราผู้เดียว เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในการละอกุศลธรรม. สีหนาทหนึ่งว่า
เราผู้เดียวเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแม้ในการสมาทานกุศลธรรม. สีหนาทหนึ่งว่า
สงฆ์สาวกของเราเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในการละอกุศลธรรม. สีหนาท
หนึ่งว่า สงฆ์สาวกเราเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐที่สุดแม้ในการสมาทาน
กุศลธรรม. สีหนาทหนึ่งว่า ไม่มีผู้ใดเช่นเราด้วยศีล. สีหนาทหนึ่งว่า ไม่มี
ผู้ใดเช่นเรา ด้วยวิริยะ. สีหนาทหนึ่งว่า ไม่มีผู้ใดเช่นเราด้วยปัญญา.
สีหนาทหนึ่งว่า ไม่มีผู้ใดเช่นเราด้วยวิมุตติ.
สีหนาทหนึ่งว่า เราบันลือสีหนาท ก็นั่งในท่ามกลางบริษัทบันลือ.
สีหนาทหนึ่งว่า เราเป็นผู้องอาจบันลือ. สีหนาทหนึ่งว่า เทวดาและมนุษย์
ย่อมถามปัญญากะเรา. สีหนาทหนึ่งว่าเราจะแก้ปัญหา. สีหนาทหนึ่งว่า เรา
จะยังจิตของคนอื่นให้ยินดีด้วยการแก้. สีหนาทหนึ่งว่า ฟังแล้ว ย่อมสนใจ
ที่จะฟัง. สีหนาทหนึ่งว่า ฟังแล้ว ย่อมเลื่อมใสเรา. สีหนาทหนึ่งว่า เลื่อม
ใสแล้ว ย่อมทำอาการของผู้เลื่อมใส. สีหนาทหนึ่งว่า เราแสดงการปฏิบัติ
ใด เทวดาและมนุษย์ย่อมปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น. สีหนาทหนึ่งว่า
และย่อมให้เรายินดีด้วยการปฏิบัติ.
สีหนาททั้งหลายเป็นต้นว่า บันลือในบริษัททั้งหลายแห่งบริษัทก่อน
อย่างละสิบเป็นต้น รวมเป็นบริวารอย่างละสิบด้วยประการฉะนี้. สีหนาทมี
หนึ่งร้อยสิบคือ สีหนาทสิบเหล่านั้นรวมเป็นหนึ่งร้อยด้วยอำนาจแห่งบริวาร

ของสีหนาทสิบก่อนและสีหนาทสิบก่อน. ก็ในพระสูตรอื่นจากพระสูตรนี้
สีหนาทมีประมาณเพียงนี้ หาได้ยาก เพราะเหตุนั้น สูตรนี้จึงเรียกว่า มหา
สีหนาทสูตร
.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปฏิเสธวาทะและอนุวาทะอย่างนี้ว่า พระ-
สมณโคดมย่อมบันลือสีหนาทแล แต่บันลือในเรือนว่างเปล่า บัดนี้เมื่อ
จะทรงแสดงสีหนาท ซึ่งเคยบันลือแล้วในบริษัทอีกจึงตรัสเป็นอาทิว่า
เอกมิทาหํ ด้วยประการฉะนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร มํ อญฺญตโร เต
สพฺรหฺมจารี
ความว่า เพื่อนพรหมจารีของท่านคนหนึ่ง ชื่อนิโครธปริพาชก
(ได้ถามปัญหา) กะเราผู้อยู่ที่เขาคิชกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์นั้น. บทว่า
อธิชิคุจฺเฉ ความว่าถามปัญหาในเรื่องการเกลียดชังบาปด้วยวิริยะ. พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับนั่งในมหาวิหารข้างเขาคิชฌกูฏ ทรงสดับถ้อย
คำสนทนาของนิโครธปริพาชก และสันธานอุบาสก ผู้นั่งในอุทยานของ
พระนางอุทุมพริกาเทวี ด้วยทิพยโสตธาตุ เสด็จเหาะมาประทับนั่งบนอาสนะ
ที่ปูแล้วในสำนักของท่านทั้งสองนั้นแล้ว ทรงแก้ปัญหาที่นิโครธปริพาชกทูล
ถามในเรื่องเกลียดชังอย่างยิ่งนี้ใด ท่านกล่าวหมายถึงปัญหานั้น. บทว่า ปรํ
วิย มตฺตาย
ความว่า โดยประมาณอย่างยิ่ง คือ โดยประมาณใหญ่มาก.
บทว่า โก หิ ภนฺเต ความว่า คนอื่นที่เป็นชาติบัณฑิตเว้นอันธพาล
ผู้มีทิฏฐิใคร่เล่าที่ฟังพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกล่าวว่า ไม่พึง
ดีใจ. เขาคิดว่า เราประกอบตนในส่วนที่ไม่นำออกจากทุกข์ได้รับความ
ลำบากเป็นเวลานานหนอ เราอาบน้ำในฝั่งแม่น้ำแห้งขอด เราเหมือนกลิ้ง
กลับไปกลับมาเหมือนโปรยแกลบ ก็ไม่ยังประโยชน์อะไรให้สำเร็จได้ เอาเถอะ
เราจักประกอบตนไว้ในความเพียร จึงทูลว่า ข้าพระองค์พึงได้ ดังนี้.
อนึ่ง เดียรถีย์ปริวารใดที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ในขันธกะ ซึ่งผู้เคย

เป็นอัญญเดียรถีย์ดำรงอยู่ในสามเณรภูมิ จะต้องสมาทานอยู่ปริวาสโดยนัย
เป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ชื่อนี้ หวัง
อุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้านั้นขอสงฆ์อยู่ปริวาสตลอดสี่เดือน ดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงเดียรถีย์ปริวาสนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ
ผู้ใดแลเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชฺชํ ท่านกล่าวด้วยอำนาจความสละสลวย
แห่งวจนะเท่านั้น. เพราะไม่อยู่ปริวาสเลย ย่อมได้บรรพชา. แต่ผู้ต้องการ
อุปสมบทพึงอยู่ปริวาสบำเพ็ญวัตรแปดประการเป็นต้นว่า การเข้าบ้านตาม
กาลพิเศษ. บทว่า อารทฺธจิตฺตา ความว่า มีจิตยินดีด้วยการบำเพ็ญวัตร
แปด. ความสังเขปในบทนั้นดังนี้. ส่วนเดียรถีย์ปริวาสนั้นพึงกล่าวโดย
พิสดาร ด้วยนัยที่กล่าวไว้ในปัพพัชชาขันธกวัณณนา ในวินัยอรรถกถา ชื่อ
สมันตปาสาทิกา นั้นเทียว.
บทว่า อปิ เมตฺถ ความว่า แต่ว่าเรารู้ (ความต่างแห่งบุคคล) ใน
ข้อนี้. บทว่า ปุคฺคลเวมตฺตตา วิทิตา ความว่า เรารู้ความแตกต่างแห่ง
บุคคล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ว่าบุคคลนี้ ควรอยู่ปริวาส นี้ไม่ควรอยู่
ปริวาส จึงทรงแสดงว่า ข้อนี้ปรากฏแก่เรา. ลำดับนั้น กัสสปะคิดว่า โอหนอ
พระพุทธศาสนาเป็นของอัศจรรย์ที่บุคคลทั้งหลาย ประกาศแล้วกระพือแล้ว
อย่างนี้ ย่อมถือเอาสิ่งที่ควรเท่านั้น ละทิ้งสิ่งที่ไม่ควร มีความอุตสาหะเกิด
ขึ้นพร้อมในบรรพชาดียิ่งกว่านั้น จึงทูลว่า สเจ ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความที่กัสสปะนั้นเป็นผู้มีฉันทะ
แรงกล้าว่า กัสสปะไม่ควรอยู่ปริวาส จึงตรัสเรียกภิกษุรูปอื่นมาว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอจงไป พากัสสปะนั้นอาบน้ำแล้วให้บรรพชานำมา. ภิกษุนั้นได้กระทำตาม
พระดำรัสอย่างนั้นแล้วให้กัสสปะบวชแล้ว พากันไปสู่สำนักของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้กัสสปะนั้นนั่งในท่ามกลางคณะแล้วทรงให้
อุปสมบท. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อเจลกัสสปะได้บรรพชา ได้อุปสมบท
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า อจิรูปสมฺปนฺโน ความว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วไม่นาน. บท
ว่า วูปกฏฺโฐ ความว่าเป็นผู้มีกายและจิตสงบจากวัตถุกาม และกิเลสกาม
ทั้งหลาย. บทว่า อปฺปมตฺโต ความว่าไม่ละสติในกรรมฐาน. บทว่า อาตาปี
ความว่า มีความเพียรด้วยวิริยะ กล่าวคือ ความเพียรทางกายและทางใจ.
บทว่า ปหิตตฺโต ความว่า มีจิตส่งแล้ว คือมีอัตตภาพสละแล้วเพราะความ
เป็นผู้ไม่มีความเยื่อใยในกายและชีวิต. บทว่า ยสฺสตฺถาย ความว่า เพื่อ
ผลอันใด. บทว่า กุลปุตฺตา ได้แก่ กุลบุตรผู้มีมรรยาท. บทว่า
สมฺมเทว ความว่าด้วยเหตุเทียว ด้วยการณ์เทียว. บทว่า ตทนุตฺตรํ ความ
ว่า ประโยชน์อันยอดเยี่ยมนั้น. บทว่า พฺพหฺมจริยปริโยสานํ ความว่า
พระอรหัตตผลอันเป็นที่สุดรอบแห่งมรรคพรหมจรรย์. ก็กุลบุตรทั้งหลาย
ย่อมบวชเพื่อผลอันนั้น. บทว่า ทิฏฺเฐว ธมฺเม ความว่า ในอัตตภาพนี้เทียว.
บทว่า สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ความว่า กระทำให้ประจักษ์ด้วยปัญญาด้วย
ตนเอง คือรู้โดยไม่มีคนอื่นเป็นปัจจัย. บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหรติ ความ
ว่า บรรลุแล้ว ให้ถึงพร้อมแล้วอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงภูมิ
แห่งปัจจเวกขณะของกัสสปะนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุเมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้
แจ้งว่า ชาติสิ้นแล้ว ฯลฯ ยังเทศนาให้จบลงด้วยยอดธรรม คือ พระอรหัต
จึงตรัสว่า ก็ท่านกัสสปะเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย
ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า อญฺญตโร ความว่า รูปหนึ่ง. บทว่า อรหตํ
ความว่า แห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย. ในบทนั้นมีอธิบายอย่างนี้ว่า เป็นพระ
อรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันตสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็บท

ใด ๆ ไม่ได้กล่าวไว้ตามลำดับ บทนั้น ๆ ปรากฏแล้วเทียวเพราะได้กล่าว
แล้วในที่นั้น ๆ ดังนี้แล.
มหาสีหนาทสูตรวัญณนา ในทีฆนิกายอรรถกถา ชื่อสุมังคลวิลาสินี
จบด้วยประการฉะนี้.
จบมหาสีหนาทสูตรที่ 8

โปฏฐปาทสูตร
เรื่อง ของปริพาชกโปฏฐปาทะ


[275] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่พระเชตวัน อารามท่าน
อนาถปิณฑิกะ กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น โปฏฐปาทปริพาชก อาศัยอยู่ในสถานที่
สำหรับโต้ตอบลัทธิ แถวป่าไม้มะพลับ มีศาลาที่พักหลังเดียว เป็นอารามของ
พระนางมัลลิกา พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ประมาณ 3,000 ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกในเวลาเช้าทรงถือบาตรและจีวรเสด็จ
เข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ได้ทรงดำริว่า จะเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุง
สาวัตถี ยังเช้านัก ถ้ากระไรเราเข้าไปหาโปฏฐปาทปริพาชก ณ สถานที่
โต้ตอบลัทธิ แถวป่าไม้มะพลับ มีศาลาที่พักหลังเดียว เป็นอารามของ
พระนางมัลลิกา แล้วจึงเสด็จเข้าไป ณ ที่นั้น.
[276] สมัยนั้น โปฏฐปาทปริพาชก นั่งอยู่กับปริพาชกบริษัท
หมู่ใหญ่ กล่าวดิรัจฉานกถาต่าง ๆ ด้วยเสียงอันดังลั่น คือ พูดถึงพระเจ้า
แผ่นดิน พูดถึงโจร พูดถึงมหาอำมาตย์ พูดถึงกองทัพ พูดถึงภัย พูด
ถึงการรบ พูดถึงข้าว พูดถึงน้ำ พูดถึงผ้า พูดถึงที่นอน พูดถึงดอกไม้ พูด
ถึงของหอม พูดถึงญาติ พูดถึงยานพาหนะ พูดถึงบ้าน พูดถึงนิคม พูด
ถึงเมือง พูดถึงชนบท พูดถึงสตรี พูดถึงบุรุษ พูดถึงคนกล้าหาญ พูดถึง
ตรอก พูดถึงท่าน้ำ พูดถึงคนที่ตายแล้ว พูดถึงความเป็นต่าง ๆ พูดถึง
โลก พูดถึงทะเล พูดถึงความเจริญและความเสื่อมเพราะเหตุนี้. โปฏฐปาท-
ปริพาชก ได้เห็น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมาแต่ไกลจึงได้ห้ามบริษัท
ของตนว่า เสียงเบา ๆ หน่อย พวกท่านอย่าได้ทำเสียงดังนัก. พระสมณโคดม