เมนู

อรรถกถาชาลิสูตร


(เดิมไม่ได้แปลไว้)

ชาลิยสูตรว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯลฯ ในกรุงโกสัมพี
เป็นต้น
ในชาลิยสูตรนั้น มีการพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้. บทว่า
โฆสิตาราเม ความว่า ในอารามที่โฆษิตเศรษฐีสร้างถวาย.
ได้ยินว่าในกาลก่อน ได้มีนครแห่งหนึ่งชื่อทมิฬรัฐ. จากนครนั้น
บุรุษเข็ญใจชื่อโกตูหลิก พร้อมกับบุตรและภรรยาหนีไปสู่อวันตีรัฐ เพราะ
ฉาตกภัย เมื่อไม่อาจนำบุตรไปได้จึงทิ้งบุตรเสียแล้วเดินทางต่อไป. มารดา
กลับไปรับเอาบุตรนั้น. เขาจึงพากันไปยังบ้านนายโคบาลแห่งหนึ่ง. ก็ในกาล
นั้นนายโคบาลได้ตระเตรียมข้าวปายาสไว้มาก. เขาได้กินข้าวปายาสนั้น.
ลำดับนั้นแล บุรุษนั้นกินข้าวปายาสมาก ไม่อาจจะให้ย่อยได้ ตกกลางคืน
ได้ตายไป ถือปฏิสนธิในท้องแม่สุนัข เกิดเป็นลูกสุนัขน้อยในบ้านนายโคบาล
นั้นเทียว. ลูกสุนัขน้อยนั้นเป็นที่รักของนายโคบาล. และนายโคบาลบำรุง
อุปัฏฐาก พระปัจเจกพุทธเจ้า. ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ให้ก้อนข้าวก้อนหนึ่ง ๆ
แก่ลูกสุนัขน้อยในกาลเสร็จภัตกิจ. ลูกสุนัขน้อยนั้นเกิดความรักในพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า จึงไปยังบรรณศาลา พร้อมกับนายโคบาล. ครั้นนายโคบาล
ไม่ใช้ไปก็ไปเอง ในเวลาภัตเฝ้าอยู่ที่ประตูบรรณศาลา เพื่อรอเวลา และเฝ้าดู
สัตว์ร้ายในระหว่างทางให้สัตว์ร้ายหนีไป. สุนัขน้อยนั้นตายไปเกิดในเทวโลก
ด้วยจิตอ่อนน้อมในพระปัจเจกพุทธะ. ในเทวโลกนั้น เขาจึงมีชื่อว่า โฆสก-
เทวบุตร.
โฆสกเทวบุตรนั้น จุติจากเทวโลกแล้วไปเกิดในเรือนตระกูลหนึ่งใน
กรุงโกสัมพี. เศรษฐีไม่มีบุตรได้ให้ทรัพย์แก่บิดามารดาของทารกนั้น ได้

รับเขาเป็นบุตร. ต่อมาครั้นบุตรของตนเกิด เศรษฐีก็พยายามให้ฆ่าเขาถึงเจ็ด-
ครั้ง. เขาไม่ถึงความตายในที่เจ็ดแห่ง เพราะค่าที่ตนเป็นผู้มีบุญ ในที่สุดก็
ได้ชีวิตรอดมา เพราะความช่วยเหลือของธิดาเศรษฐีคนหนึ่ง. ในกาลต่อมา
เมื่อบิดาล่วงลับไป เขาจึงได้ตำแหน่งเศรษฐีชื่อว่า โฆษิตเศรษฐี.
ก็ในกรุงโกสัมพียังมีเศรษฐีอีกสองคน คือ กุกกุฏเศรษฐีและปาวาริก-
เศรษฐี รวมเป็น 3 คนกับโฆษิตเศรษฐีนี้. ก็โดยสมัยนั้น ดาบส 500
คนจากป่าหิมพานต์ พากันไปยังกรุงโกสัมพี เพื่อตากอากาศอบอุ่น. เศรษฐี
สามคนนั้น ได้สร้างบรรณกุฏิในอุทยานของตน ๆ ทำการบำรุงแก่ดาบสเหล่า
นั้น. อยู่มาวันหนึ่ง ดาบสเหล่านั้นมาจากป่าหิมพานต์ ได้รับหนาวจัด
ลำบากในทางกันดารมาก ถึงต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง พากันนั่งรอรับการ
สงเคราะห์จากสำนักของเทวดาที่สิงสถิตอยู่ในต้นไทรนั้น. เทวดาได้เหยียด
แขนซึ่งประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ให้วัตถุมีน้ำดื่มน้ำใช้เป็นต้นแก่
ดาบสเหล่านั้นบรรเทาความลำบาก.
ดาบสเหล่านั้นยิ้มแย้มด้วยอานุภาพแห่งเทวดา จึงถามว่า ข้าแต่เทพ
ท่านทำกรรมอะไรหนอแล จึงได้สมบัตินี้. เทวดากล่าวว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พระนามว่า พุทธ ได้เกิดแล้วในโลก บัดนี้ พระองค์ประทับ อยู่ ณ-
กรุงสาวัตถี ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีบำรุงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ในวันอุโบสถทั้งหลาย ท่านอนาถบิณฑิกะให้ภัตและค่าจ้างตามปกติแก่ลูกจ้าง
ของตน แล้วให้รักษาอุโบสถศีล อยู่มาวันหนึ่งในเวลาเที่ยงวัน ข้าพเจ้า
มาเพื่อประโยชน์แก่อาหารเช้า ได้เห็นท่านอนาถบิณฑิกะไม่ทำการงานเกี่ยวกับ
ลูกจ้างอะไรเลย จึงถามว่า ในวันนี้ มนุษย์ทั้งหลายไม่ทำการงานเพราะเหตุ
อะไร เขาเหล่านั้นได้บอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า ลำดับนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าว

คำนี้ว่า บัดนี้ได้ล่วงไปครึ่งวันแล้ว ข้าพเจ้าอาจเพื่อรักษาอุโบสถครึ่งหนึ่ง
หรือหนอแล แต่นั้นท่านเศรษฐีให้ดีใจแล้วพูดว่าอาจรักษาได้ ข้าพเจ้านั้นจึง
ได้สมาทานอุโบสถครึ่ง ในครึ่งวัน ได้ทำกาลกิริยาในวันนั้นเทียวจึงได้รับ
สมบัตินี้.
ลำดับนั้น ดาบสเหล่านั้นเกิดปิติปราโมทย์ว่า ได้ยินว่า พระพุทธเจ้า
เกิดขึ้นแล้ว ประสงค์จะไปสู่กรุงสาวัตถี จากนั้นพากันไปสู่กรุงโกสัมพีด้วย
คิดว่า เศรษฐีผู้บำรุงมีอุปการะมากแก่พวกเรา พวกเราจักบอกเนื้อความนี้แก่
เศรษฐีแม้เหล่านั้น ผู้อันเศรษฐีทั้งหลายกระทำสักการะมากมาย จึงกล่าวว่า
พวกเราจะไปในเวลานั้นเทียว. ผู้อันเศรษฐีทั้งหลายกล่าวว่า ท่านรีบร้อน
อะไรหนอ ในกาลก่อนพวกท่านจะอยู่ตลอดสี่เดือนจึงไป ได้บอกประวัตินั้น.
และครั้นเศรษฐีทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน ถ้าอย่างนั้นพวกเราจะไปพร้อม
กัน จึงกล่าวว่าพวกเราจะไป ขอให้พวกท่านคอยตามมา แล้วไปสู่กรุงสาวัตถี
บวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้บรรลุพระอรหัต. ฝ่ายเศรษฐี
เหล่านั้นมีเกวียนคนละ 500 เล่มเป็นบริวารไปสู่กรุงสาวัตถี ได้ทำกิจมีทาน
เป็นต้น ทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์เสด็จมาสู่กรุงโกสัมพี
กลับมาสร้างวัดสามแห่ง. ในเศรษฐีเหล่านั้น กุกุกุฏเศรษฐีสร้างวัดชื่อว่า
กุกกุฏาราม ปาวาริกเศรษฐีสร้างวัด ชื่อ ปาวาริกัมพวัน ท่านโฆษิตเศรษฐี
สร้างวัดชื่อโฆษิตาราม. ท่านหมายถึงโฆษิตารามนั้น จึงกล่าวว่า โกสุมฺ-
พิยํ วิหรติ โฆสิตาราเม
ดังนี้.
บทว่า มณฺฑิโย นี้เป็นชื่อของบรรพชิตนั้น. บทว่า ชาลิโย แม้นี้
เป็นชื่อของบรรพชิตอีกรูปหนึ่งเหมือนกัน. ก็เพราะพระอุปัชฌาย์ของชาลิยะ
นั้น เที่ยวบิณฑบาตด้วยบาตรทำด้วยไม้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า

ทารุปตฺติกนฺเตวาสี. บทว่า เอตทโวจุํ ความว่าบรรพชิตทั้งสองประสงค์
จะทูลบอกวาทะโดยประสงค์จะโต้ตอบ จึงทูลเนื้อความนั่น. ได้ยินว่าบรรพชิต
สองรูปนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าพระสมณโคดมตรัสว่า ชีวะอันนั้น สรีระ
อันนั้น ลำดับนั้น พวกเราก็จักยกวาทะนั่นของพระสมณโคดมนั้นว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ตามลัทธิของท่าน สัตว์ในโลกนี้เทียว จะดับสูญ ด้วยเหตุ
นั้นวาทะของพระองค์ท่าน ย่อมเป็นอุจเฉทวาทะ แต่ถ้าตรัสว่า ชีวะอันอื่น
สรีระอันอื่น ลำดับนั้น พวกเราจักยกวาทะของพระสมณโคดมนั้นว่า ในวาทะ
ของท่านรูปย่อมดับสูญ สัตว์ย่อมไม่ดับสูญ เพราะเหตุนั้น วาทะของพระองค์
ท่าน สัตว์ก็จะเที่ยง ดังนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า บรรพชิตเหล่านี้ ย่อม
ถามปัญหาเพื่อประโยชน์แก่การยกวาทะ แต่บรรพชิตเหล่านี้ไม่อ้างอิงที่สุด
สองอย่างในศาสนาของเรา จึงไม่รู้ว่ามัชฌิมาปฏิปทามีอยู่ เอาละ เราจะไม่แก้
ปัญหาของบรรพชิตเหล่านั้น จะแสดงธรรมเพื่อความแจ่มแจ้งแห่งปฏิปทา
เห็นปานนี้แม้นั้น จึงตรัสว่า เตนหาวุโส ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กลฺลํ นุโข ตสฺเสตํ วจนาย ความว่า บรรพชิต
ผู้บวชด้วยศรัทธาบำเพ็ญศีล 3 อย่างบรรลุปฐมฌานนั้น สมควรกล่าวคำนั้น
หรือหนอ อธิบายว่า คำนั้นควรเพื่อกล่าวด้วยคำพูด. ปริพาชกทั้งหลายได้
ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว สำคัญอยู่ว่า ธรรมดาปุถุชนย่อมไม่สิ้นความสงสัย
เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนั้นในบางคราว จึงกล่าวว่า กลฺลํ ตสฺเสตํ วจนาย
ดังนี้. บทว่า อถ จ ปนาหํ น วทามิ ความว่า เราตั้งสัญญาว่า ความข้อ
นั้นเรารู้อย่างนี้ จึงไม่กล่าวอย่างนั้น ถ้าและเมื่อภิกษุกระทำกสิณบริกรรม
เจริญอยู่ มหัคคตจิตนั้นก็เกิดขึ้นด้วยกำลังปัญญา. บทว่า น กลฺลํ ตสฺเสตํ

ความว่า ปริพาชกเหล่านั้นสำคัญความข้อนี้กล่าวว่า พระขีณาสพปราศจาก
ความงมงาย ปราศจากความสงสัย เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น พระขีณาสพ
นั้นจึงไม่ควรกล่าวความข้อนั้น. บทที่เหลือในชาลิยสูตรนั้นมีเนื้อความง่าย
ทั้งนั้น.
อรรถกถาชาลิยสูตร ในอรรถกถาทีฆนิการ ชื่อสุมังคลวิลาสินี จบ
เพียงเท่านี้.

จบอรรถกถาชาลิสูตรที่ 7

8. มหาสีหนาทสูตร
เรื่องของอเจลกัสสป


[260] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กัณณกถลมิคทายวัน
ใกล้อุชุญญานคร. ครั้งนั้น อเจล ชื่อกัสสป เข้าไปเฝ้าพระมีพระภาคเจ้าถึง
ที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้
ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนสุดข้างหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า พระสมณโคดมทรงติตบะทุกอย่าง
ทรงคัดค้าน กล่าวโทษบุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมอง
โดยส่วนเดียว สมณพราหมณ์เหล่านั้น มักกล่าวตามคำที่พระโคดมผู้เจริญตรัส
ไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระโคดมผู้เจริญคำไม่จริง และชื่อว่าพยากรณ์ธรรม
ตามสมควรแก่ธรรม อนึ่ง การกล่าวและการกล่าวตามที่ชอบธรรม แม้น้อย
หนึ่ง จะไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียนแลหรือ ความจริงข้าพเจ้ามิได้มีความ
ประสงค์ที่จะกล่าวตู่พระโคดมผู้เจริญ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป
สมณพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทรงติตบะทุกอย่าง ทรงคัด
ค้าน กล่าวโทษบุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมองโดยส่วน
เดียว ไม่เป็นอันกล่าวตามเรา และไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่มีจริง ไม่
เป็นจริง. ดูก่อนกัสสป เราเห็นบุคคลผู้ประพฤติตบะมีอาชีพเศร้าหมองบาง
คนในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ก็มี เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ก็มี อยู่เป็นทุกข์เพราะบุญน้อย เข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรกก็มี อยู่เป็นทุกข์เพราะบุญน้อยเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ก็มี ด้วย