เมนู

ตามที่กล่าวไว้ในนิกายทั้ง 4 เหล่านั้น ข้าพเจ้าแต่งไว้
ด้วยความประสงค์อย่างนี้ เพราะฉะนั้น ขอท่านทั้ง-
หลายจงถือเอาคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นกับอรรถกถานี้
แล้วเข้าใจเนื้อความที่อาศัยทีฆนิกายเถิด.


นิทานกถา


ในคำว่า ทีฆาคมนิสฺสิตํ นั้น พึงทราบรายละเอียดดังนี้ คัมภีร์
ทีฆนิกาย กล่าวโดยวรรคมี 3 วรรค คือ สีลขันธวรรค มหาวรรค
ปาฏิกวรรค. กล่าวโดยสูตรมี 3 สูตร. ในวรรคทั้งหลายเหล่านั้น
สีลขันธวรรคเป็นวรรคต้น. บรรดาสูตรทั้งหลาย พรหมชาลสูตรเป็น
สูตรต้น. คำนิทานมีคำว่า เอวมฺเม สูตํ ดังนี้เป็นต้น ที่ท่านพระอานนท์
กล่าวในคราวทำปฐมมหาสังคายนา เป็นคำเริ่มต้นของพรหมชาลสูตร.

เรื่องสังคายนาใหญ่ครั้งแรก


ชื่อว่าปฐมมหาสังคายนานี้ แม้ได้จัดขึ้นพระบาลีไว้ในวินัยปิฎกแล้ว
ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ควรทราบปฐมมหาสังคายนาแม้ในอรรถกถานี้ เพื่อ
ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุที่เป็นมา ดังต่อไปนี้
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ทรงบำเพ็ญพุทธ-
กิจ เริ่มต้นแต่ทรงแสดงพระธรรมจักรจนถึงโปรดสุภัททปริพาชก แล้ว
เสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เวลาใกล้รุ่งวันวิสาขปูรณมี
ระหว่างต้นสาละคู่ในสาลวันอุทยานของมัลลกษัตริย์ ตรงที่เป็นทางโค้ง
ใกล้กรุงกุสินารา ท่านพระมหากัสสปะผู้เป็นสังฆเถระของภิกษุประมาณ
เจ็ดแสนรูปที่ประชุมกันในวันแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาค
เจ้า มาระลึกถึงคำที่หลวงตาสุภัททะกล่าวเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ปรินิพพานได้ 7 วันว่า พอกันทีอาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าเศร้า
โศกไปเลย อย่าร่ำไรไปเลย เราทั้งหลายพ้นดีแล้วจากพระมหาสมณะนั้น
ด้วยว่าพวกเราถูกท่านจู้จี้บังคับว่า สิ่งนี้ควรแก่เธอทั้งหลาย สิ่งนี้ไม่ควร
แก่เธอทั้งหลาย ดังนี้ แต่บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใด จักกระทำสิ่งนั้น
ไม่ปรารถนาสิ่งใด จักไม่กระทำสิ่งนั้น ดังนี้.
ท่านพิจารณาเห็นว่าการประชุมสงฆ์จำนวนมากเช่นนี้ ต่อไปจะหา
ได้ยาก จึงดำริต่อไปว่า พวกภิกษุชั่วจะเข้าใจว่า ปาพจน์มีศาสดาล่วงแล้ว
ได้พวกฝ่ายอลัชชี จะพากันย่ำยีพระสัทธรรมให้อันตรธานต่อกาลไม่นาน
เลย นั้นเป็นยานะที่จะมีได้แน่นอน จริงอยู่ พระธรรมวินัยยังดำรงอยู่
ตราบใด ปาพจน์ก็หาชื่อว่ามีศาสดาล่วงแล้วไม่อยู่ตราบนั้น สมจริงดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดอันเรา
แสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดา
ของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ดังนี้ อย่ากระนั้นเลย เราพึง
สังคายนาพระธรรมและพระวินัย โดยวิธีที่พระศาสนานี้จะมั่นคงดำรงอยู่
ชั่วกาลนาน.
อนึ่ง ตัวเราอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ เธอจัก
ห่มได้หรือไม่ซึ่งผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้เก่าแล้วของเรา ดังนี้ ทรงอนุเคราะห์
ด้วยสาธารณบริโภคในจีวร และด้วยการสถาปนาไว้เสมอกับพระองค์ใน
ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ต่างโดยอนุปุพพวิหาร 9 และอภิญญา 6 เป็นต้น
โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราต้องการสงัดจากกาม
ทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌานอยู่เพียงใด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้กัสสปะต้องการสงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศล-

ธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌานอยู่เพียงนั้น ดังนี้ ยิ่งกว่านั้นยังสรรเสริญ
ด้วยความเป็นผู้มีจิตไม่ติดอยู่ในตระกูล เหมือนสั่นมือในอากาศ และด้วย
ปฏิปทาเปรียบด้วยพระจันทร์ การทรงอนุเคราะห์และการทรงสรรเสริญ
เป็นประหนึ่งหนี้ของเรา กิจอื่นนอกจากการสังคายนาที่จะให้เราพ้นสภาพ
หนี้ จักมีอะไรบ้าง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบซึ่งเรามิใช่หรือว่า
กัสสปะนี้ จักเป็นผู้ประดิษฐานวงศ์พระสัทธรรมของเรา ดังนี้ แล้วทรง
อนุเคราะห์ด้วยความอนุเคราะห์อันไม่ทั่วไปนี้ และทรงสรรเสริญด้วยการ
สรรเสริญอันยอดเยี่ยมนี้ เหมือนพระราชาทรงทราบพระราชโอรส ผู้จะ
ประดิษฐานวงศ์ตระกูลของพระองค์ แล้วทรงอนุเคราะห์ด้วยการมอบ
เกราะและพระอิสริยยศของพระองค์ฉะนั้น ดังนี้ ยังความอุตสาหะให้เกิด
แก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัย. สมดังคำที่พระสังคีติกา-
จารย์กล่าวไว้ในสุภัททกัณฑ์ว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะแจ้งให้
ภิกษุทั้งหลายทราบว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราเดินทางไกล
จากเมืองปาวามาสู่เมืองกุสินารา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ
500 รูป ดังนี้ เป็นต้น. สุภัททกัณฑ์ทั้งหมด บัณฑิตควรทราบโดยพิสดาร.
แต่ข้าพเจ้าจักกล่าวเนื้อความของสุภัททกัณฑ์นั้น ในอาคตสถานตอนจบ
มหาปรินิพพานสูตรเท่านั้น.
ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปะกล่าวว่า เอาเถิดท่านผู้มีอายุทั้ง-
หลาย เราทั้งหลายจะสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ต่อไปเบื้องหน้า
อธรรมรุ่งเรื่อง ธรรมจะร่วงโรย ต่อไปเบื้องหน้า อวินัยรุ่งเรื่อง วินัย
จะร่วงโรย ต่อไปเบื้องหน้า อธรรมวาทีมีกำลัง ธรรมวาทีจะอ่อนกำลัง
ต่อไปเบื้องหน้า อวินัยวาทีมีกำลัง วินัยวาทีจะอ่อนกำลัง. ภิกษุเหล่านั้น

กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอพระเถระโปรดเลือกภิกษุ
ทั้งหลายเถิด. ฝ่ายพระเถระเว้น ภิกษุปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี
พระอนาคามี และพระอรหัน สุกชวิปัสสก ผู้ทรงพระปริยัติ คือ นวังค-
สัตถุศาสน์ทั้งสิ้น เป็นจำนวนหลายร้อยหลายพันรูป เลือกเอาเฉพาะภิกษุ
ผู้เป็นพระอรหันต์ประเภทเตวิชชา เป็นต้น ซึ่งทรงพระปริยัติ คือ พระ
ไตรปิฎกทั้งหมด บรรลุปฏิสัมภิทา มีอานุภาพยิ่งใหญ่ โดยมาก พระผู้มี
พระภาคเจ้า
ทรงยกย่องเป็นเอตทัคคะที่พระสังคีติกาจารย์หมายกล่าวคำนี้
ไว้ว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะเลือกพระอรหันต์ไว้ 500 หย่อน
หนึ่งองค์ ดังนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระมหากัสสปเถระจึงทำให้หย่อนไว้
องค์หนึ่ง. ตอบว่า เพื่อไว้โอกาสแก่ท่านพระอานนทเถระ เพราะทั้ง
ร่วมกับท่านพระอานนท์ ทั้งเว้นท่านพระอานนท์เสีย ไม่อาจทำการ
สังคายนาธรรมได้. ด้วยว่าท่านพระอานนท์นั้นเป็นพระเสขะยังมีกิจที่ต้อง
ทำอยู่ ฉะนั้น จึงไม่อาจร่วมได้. แต่เพราะนวังคสัตถุศาสน์มีสุตตะและ
เคยยะเป็นต้นข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งพระทศพลทรงแสดงแล้ว ที่ชื่อว่าไม่
ประจักษ์ชัดแก่พระอานนท์นั้น ไม่มี ดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ธรรมเหล่าใดเป็นไปแก่ข้าพเจ้า ธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้ารับมาจากพระ
พุทธเจ้าแปดหมื่นสองพัน รับมาจากภิกษุสองพัน รวมเป็นแปดหมื่น
สี่พันพระธรรมขันธ์ เพราะฉะนั้น ถ้าเว้นท่านพระอานนท์เสีย ก็ไม่อาจ
ทำได้.
ถามว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น แม้ท่านพระอานนท์จะยังเป็นพระเสขะ
อยู่ พระเถระก็ควรเลือก เพราะเป็นผู้มีอุปการะในการสังคายนาธรรนมาก

แต่เหตุไฉนจึงไม่เลือก.
ตอบว่า เพราะจะหลีกเลี่ยงคำติเตียนของผู้อื่น. ความจริงพระเถระ
เป็นผู้คุ้นเคยกับท่านพระอานนท์อย่างยิ่ง. จริงอย่างนั้น ถึงพระอานนท์จะ
ศีรษะหงอกแล้ว พระมหากัสสปะยังเรียกด้วยคำว่า เด็ก ในประโยคว่า
เด็กคนนี้ไม่รู้จักประมาณเลย ดังนี้. อนึ่ง ท่านพระอานนท์เกิดในตระกูล
ศากยะ เป็นพระอนุชาของพระตถาคต เป็นพระโอรสของพระเจ้าอา.
ในการคัดเลือกพระอานนท์นั้น ภิกษุบางพวกจะเข้าใจว่า ดูเหมือนจะ
ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน จะพากันติเตียนว่า พระมหากัสสปเถระมอง
ข้ามภิกษุผู้ได้บรรลุปฏิสัมภิทาชั้นอเสขะไปเป็นจำนวนมาก แล้วเลือกพระ
อานนท์
ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาชั้นเสขะ เมื่อจะหลีกเลี่ยงคำติเตียนนั้น พระ
มหากัสสปเถระ
จึงไม่เลือกพระอานนท์ ด้วยพิจารณาเห็นว่า เว้นท่าน
พระอานนท์เสีย ไม่อาจทำการสังคายนาธรรมได้ เราจักรับท่านพระ
อานนท์
นั้นโดยอนุมัติของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย
พากันขอร้องพระมหากัสสปเถระเพื่อเลือกพระอานนท์เสียเอง. สมดัง
คำที่พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระมหา
กัสสปะ
ดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระอานนท์นี้แม้จะยังเป็นพระเสขะ
อยู่ก็จริง แต่ก็ไม่ถึงอคติเพราะรัก เพราะชัง เพราะกลัว เพราะหลง
ด้วยว่าท่านพระอานนท์นี้ได้เล่าเรียนพระธรรมและพระวินัยในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมาก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระได้โปรด
เลือกท่านพระอานนท์ด้วยเถิด. ครั้นแล้วท่านพระมหากัสสปจึงได้เลือก
ท่านพระอานนท์ด้วย. โดยนัยดังกล่าวแล้วอย่างนี้ จึงเป็นพระเถระ 500
องค์ รวมทั้งท่านพระอานนท์ ที่พะมหากัสสปะเลือกโดยอนุมัติของ

ภิกษุทั้งหลาย.
ลำดับนั้นแล พวกภิกษุชั้นพระเถระได้ดำริกันว่า เราควรสังคายนา
พระธรรมและพระวินัยกันที่ไหน. ลำดับนั้น พวกภิกษุชั้นพระเถระได้
ดำริกันว่า กรุงราชคฤห์ มีอาหารบิณฑบาตมาก มีเสนาสนะเพียงพอ
อย่ากระนั้นเลย เราพึงอยู่จำพรรษาสังคายนาพระธรรมและพระวินัยใน
กรุงราชคฤห์เถิด ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงเข้าจำพรรษาในกรุงราชคฤห์. ก็
เพราะเหตุไร พระเถระเหล่านั้นจึงมีความดำริดังนี้ ? เพราะพระเถระ
เหล่านั้นมีความดำริตรงกันว่า การสังคายนาพระธรรมวินัยนี้เป็นถาวร-
กรรมของเรา บุคคลฝ่ายตรงข้ามบางคนจะพึงเข้าไปยังท่ามกลางสงฆ์แล้ว
รื้อฟื้นขึ้นได้.
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-
ทุติยกรรมวาจาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุ 500 รูปเหล่านี้ เป็นผู้
อยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุ
อื่น ๆ ไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้ นี้เป็นญัตติ ดูก่อนท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุ 500 รูปเหล่านี้ว่า
ภิกษุ 500 รูปเหล่านี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนา
พระธรรมและพระวินัย ภิกษุอื่น ๆ ไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้
การสมมติภิกษุ 500 รูปเหล่านี้ว่า ภิกษุ 500 รูปเหล่านี้ เป็นผู้อยู่
จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุ
อื่น ๆ ไม่พึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ขอท่าน
ผู้นั้นพึงนิ่งอยู่ ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ขอท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุ 500 รูป

เหล่านี้สงฆ์สมมติแล้วว่าเป็นผู้อยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนา
พระธรรมและพระวินัย ภิกษุอื่น ๆ ไม่พึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์
ดังนี้ การสมมตินี้สมควรแก่สงฆ์ ฉะนั้นสงฆ์จึงนิ่งอยู่ ข้าพเจ้าทรงความ
ไว้ด้วยอย่างนี้.
กรรมวาจานี้ พระมหากัสสปะกระทำในวันที่ 21 หลังจากพระ
ตถาคตปรินิพพาน. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเวลาใกล้รุ่ง
วันวิสาขปูรณมี.
ครั้งนั้น พุทธบริษัทได้บูชาพระพุทธสรีระซึ่งมีสีเหมือนทอง ด้วย
ของหอมและดอกไม้เป็นต้นตลอด 7 วัน . วันสาธุกีฬาได้มีเป็นเวลา 7 วัน
เหมือนกัน. ต่อจากนั้นไฟที่จิตกาธารยังไม่ดับตลอด 7 วัน. พวกมัลล-
กษัตริย์ได้ทำลูกกรงหอกแล้วบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ในสันถาคารศาลา
ตลอด 7 วัน ดังนั้นจึงรวมวันได้ 21 วัน. พุทธบริษัทซึ่งมีโทณพราหมณ์
เป็นเจ้าหน้าที่ ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลาย ในวันขึ้น 5 ค่ำ
เดือน 7 นั่งเอง. พระมหากัสสปะเลือกภิกษุทั้งหลาย เสร็จแล้วจึงสวด
กรรมวาจานี้ โดยนัยที่ท่านแจ้งความประพฤติอันไม่สมควรที่หลวงตา
สุภัททะทำแล้วแก่ภิกษุสงฆ์จำนวนมาก ซึ่งมาประชุมกันในวันแบ่งพระ
บรมสารีริกธาตุนั้น.
ก็และครั้นสวดกรรมวาจานี้แล้ว พระเถระจึงเดือนภิกษุทั้งหลายให้
ทราบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บัดนี้ข้าพเจ้าให้เวลาแก่ท่านทั้งหลาย
เป็นเวลา 40 วัน ต่อจากนั้นไป ท่านจะกล่าวว่า ข้าพเจ้ายังมีกังวลเช่นนี้
อยู่ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ภายใน 40 วันนี้ ท่านผู้ใดมีกังวลเกี่ยวกับโรค
ภัยไข้เจ็บก็ดี มีกังวลเกี่ยวกับอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ก็ดี มีกังวลเกี่ยวกับ

มารดาบิดาก็ดี หรือต้องสุมบาตรต้องทำจีวรก็ดี ขอท่านผู้นั้นจงตัดกังวล
นั้น ทำกิจที่ควรทำนั้นเสีย. ก็แลกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระแวดล้อมไป
ด้วยบริษัทของตนประมาณ 500 รูป ไปยังกรุงราชคฤห์. แม้พระเถระ
ผู้ใหญ่องค์อื่น ๆ ก็พาบริวารของตน ๆ ไป ต่างก็ประสงค์จะปลอบโยน
มหาชนผู้เปี่ยมไปด้วยเศร้าโศก จึงไปยังทิศทางนั้น ๆ. ฝ่ายพระปุณณเถระ
มีภิกษุเป็นบริวารประมาณ 700 รูป ได้อยู่ในเมืองกุสินารานั่งเอง ด้วย
ประสงค์ว่าจะปลอบโยนมหาชนที่พากันมายังที่ปรินิพพานของพระตถาคต.
ฝ่ายท่านพระอานนท์เอง ท่านก็ถือบาตรและจีวรของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
แม้เสด็จปรินิพพานแล้ว เหมือนเมื่อยังไม่เสด็จปรินิพพาน เดิน
ทางไปยังกรุงสาวัตถีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ 500 รูป. แลเมื่อท่านพระ
อานนท์
นั้นกำลังเดินทาง ก็มีภิกษุผู้เป็นบริวารมากขึ้น ๆ จนนับไม่ได้.
ในสถานที่ที่พระอานนท์เดินทางไป ได้มีเสียงร่ำไห้กันอึงมี่. เมื่อพระเถระ
ถึงกรุงสาวัตถีแล้ว ผู้คนชาวกรุงสาวัตถีได้ทราบว่า พระอานนท์มาแล้ว
ก็พากันถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นไปต้อนรับ แล้วร้องไห้รำพันว่า
ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ เมื่อก่อนท่านมากับพระผู้มีพระภาคเจ้า วันนี้
ท่านทิ้งพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้เสียที่ไหน จึงมาแต่ผู้เดียว ดังนี้เป็นต้น.
ได้มีการร้องไห้อย่างมากเหมือนในวันเสด็จปรินิพพานของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
ฉะนั้น.
ได้ยินว่า ณ กรุงสาวัตถีนั้น ท่านพระอานนท์สั่งสอนมหาชนให้
เข้าใจด้วยธรรมีกถาประกอบด้วยความไม่เที่ยง เป็นต้น แล้วเข้าสู่พระ
วิหารเชต
วัน ไหว้พระคันธกุฎีที่พระทศพลประทับ เปิดประตูนำเตียงตั่ง
ออกปัด กวาดพระคันธกุฎี ทิ้งขยะดอกไม้แห้ง แล้วนำเตียงตั่งเข้าไปตั่ง

ไว้ในที่เดิมอีก ได้ทำหน้าที่ทุกอย่างซึ่งเป็นวัตรที่ต้องปฏิบัติในเวลาที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าดำรงพระชนม์อยู่ และเมื่อทำหน้าที่ก็ไหว้พระคันธ-
กุฎี
ในเวลาทำกิจมีกวาดห้องน้ำและตั้งน้ำ เป็นต้น ได้ทำหน้าที่ไปพลาง
รำพันไปพลาง โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เวลานี้
เป็นเวลาสรงน้ำของพระองค์ มิใช่หรือ ? เวลานี้เป็นเวลาแสดงธรรม
เวลานี้เป็นเวลาประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาสำเร็จ
สีหไสยา เวลานี้เป็นเวลาชำระพระพักตร์ มิใช่หรือ ? เหตุทั้งนี้เพราะ
พระอานนท์นั้นเป็นผู้มีความรักตั้งมั่นในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะความ
เป็นผู้รู้อมตรสซึ่งเป็นที่รวมพระพุทธคุณ และยังมิได้เป็นพระอรหันต์
ทั่งเป็นผู้มีจิตอ่อนโยนที่เกิดด้วยเคยอุปการะกันและกันมาหลายแสนชาติ.
เทวดาองค์หนึ่ง ได้ทำให้พระอานนท์นั้นสลดใจด้วยคำพูดว่า ข้าแต่
พระอานนท์ผู้เจริญ ท่านมัวมารำพันอยู่อย่างนี้ จักปลอบโยนคนอื่น ๆ
ได้อย่างไร. พระอานนท์สลดใจด้วยคำพูดของเทวดานั้น แข็งใจดื่มยา
ถ่ายเจือน้ำนมในวันที่ 2 เพื่อทำกายซึ่งมีธาตุหนักให้เบา เพราะตั้งแต่
พระตถาคตเสด็จปรินิพพาน ท่านต้องยืนมากและนั่งมาก จึงนั่งอยู่แต่ใน
พระวิหารเชตวันเท่านั้น พระอานนท์ดื่มยาถ่ายเจือน้ำนมชนิดใด ท่าน
หมายเอายาถ่ายเจือน้ำนมชนิดนั้น ได้กล่าวกะเด็กหนุ่มที่สุภมาณพใช้ไปว่า
ดูก่อนพ่อหนุ่ม วันนี้ยังไม่เหมาะ เพราะวันนี้เราดื่มยาถ่าย ต่อพรุ่งนี้เรา
จึงจะเข้าไป ดังนี้. ในวันที่ 2 พระอานนท์มีพระเจตกเถระติดตามไปถูก
สุภมาณพถามปัญหา ได้กล่าวสูตรที่ 10 ชื่อสุภสูตร ในคัมภีร์ทีฆนิกายนี้.
พระอานนทเถระขอให้ทำการปฏิสังขรณ์สิ่งที่ชำรุดทรุดโทรมใน
พระเชตวันมหาวิหาร เมื่อใกล้วันเข้าพรรษา ท่านอำลาภิกษุสงฆ์ไป

กรุงราชคฤห์. แม้ภิกษุผู้ทำสังคายนาเหล่าอื่นก็ไปเหมือนกัน ความจริง
ท่านหมายเอาภิกษุเหล่านั้นที่ไปกรุงราชคฤห์อย่างนี้ กล่าวคำนี้ไว้ว่า ครั้ง
นั้นแล ภิกษุชั้นพระเถระได้ไปกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรม
และพระวินัย. พระเถระ.เหล่านั้น ทำอุโบสถในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
ประชุมเข้าพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ.

ปฐมสังคายนาเริ่มวันแรม 5 ค่ำ เดือน 9


ก็โดยสมัยนั้นแล มีวัดใหญ่ 18 วัด ล้อมรอบกรุงราชคฤห์. วัด
เหล่านั้นมีหยากเยื่อถูกทิ้งเรี่ยราดไปทั้งนั้น เพราะในเวลาเสด็จปรินิพพาน
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุทั้งหมดต่างก็ถือบาตรจีวรของตน ๆ ทิ้ง
วัดและบริเวณไป. ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลาย เมื่อจะทำข้อตกลงเกี่ยวกับ
การปฏิสังขรณ์วัดเหล่านั้น ได้คิดกันว่า พวกเราต้องทำการปฏิสังขรณ์สิ่ง
ชำรุดทรุดโทรมตลอดเดือนต้นของพรรษา เพื่อบูชาคำสอนของพระผู้มี
พระภาคเจ้า
และเพื่อเปลื้องคำติเตียนของเดียรถีย์. เพราะพวกเดียรถีย์
จะพึงกล่าวติอย่างนี้ว่า สาวกของพระสมณโคดมบำรุงวัดวาอารามแต่เมื่อ
พระศาสดายังมีพระชนม์อยู่เท่านั้น เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ก็พากัน
ทอดทิ้งเสีย การบริจาคทรัพย์เป็นจำนวนมากของตระกูลทั้งหลายย่อมเสีย
หายไปโดยทำนองนี้. มีคำอธิบายว่า ที่พระเถระทั้งหลายคิดกันก็เพื่อจะ
เปลื้องคำติเตียนของเดียรถีย์เหล่านั้น. ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงได้ทำข้อ
ตกลงกัน ซึ่งท่านหมายเอาข้อตกลงนั้น กล่าวว่า ครั้งนั้นแล ภิกษุชั้น
พระเถระทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงสรรเสริญการปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม
บัดนี้ เราทั้งหลายจงทำการปฏิสังขรณ์สิ่งที่ชำรุดทรุดโทรมตลอดเดือนต้น