เมนู

เหตุนั้น ชัดและรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย
และเมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด
ความดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออก
ไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้
เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่น
ให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็น
จริงโดยชอบ.

จบทิฏฐิ 62

ฐานะของผู้ถือทิฏฐิ


(51) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง
ด้วยวัตถุ 4 ข้อนั้นเป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น
ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(52) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ย่อมบัญญัติและโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยงด้วยวัตถุ 4
แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่
เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.

(53) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ย่อมบัญญัติว่า
โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ 4 แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของ
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความ
ดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(54) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้น ๆ
ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ 4 แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจ
ของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็น
ความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(55) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ย่อม
บัญญัติอัตตาและโลก ว่าเกิดขึ้นลอย ๆ ด้วยวัตถุ 2 แม้ข้อนั้นก็เป็น
ความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความ
แส่หา เป็นความดิ้นรนของตนมีตัณหาเท่านั้น.
(56) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วน
อดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ 18
แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่
เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของตนมีตัณหาเท่านั้น.
(57) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา

ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ด้วยวัตถุ 16
แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น
เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(58) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าเบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ 4
แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น
เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของตนมีตัณหาเท่านั้น.
(59) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา
ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตา
มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยวัตถุ 8 แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจ
ของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็น
ความดิ้นรนของตนมีตัณหาเท่านั้น.
(60) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญความ
พินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ 7 แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจ
ของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็น
ความดิ้นรนของตนมีตัณหาเท่านั้น.
(61) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่านิพพานปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่า นิพพาน
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยวัตถุ 5 แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของ

สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความ
ดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(62) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วน
อนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ
44 แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้
ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของตนมีตัณหาเท่านั้น.
(63) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี
กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วน
อดีตทั่งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั่งส่วนอนาคต กล่าว
คำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ 62 แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของ
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความ
ดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(64) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง
ด้วยวัตถุ 4 ข้อนั้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(65) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา
และโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยวัตถุ 4 แม้ข้อนั้นก็
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(66) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-

พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าโลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด
และไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ 4 แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(67) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่อง
นั้น ๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ 4 แม้ข้อนั้นก็เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย.
(68) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีความเห็นว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ด้วยวัตถุ
2 แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(69) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต
ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงวาทะหลายอย่างด้วยวัตถุ 18 แม้ข้อ
นั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(70) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ย่อม
บัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ด้วยวัตถุ 16 แม้ข้อ
นั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(71) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ 4
แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(72) ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแค่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่

ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา
ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยวัตถุ 8 แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(73) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ
ความไม่มีของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ 7 แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(74) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า นิพพานปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่า นิพพาน
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ 5 แม้ข้อนั้นก็เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย.
(75) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วน
อนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วย
วัตถุ 44 แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(76) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี
กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วน
อดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั่งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำ
แสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ 62 แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(77) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง
ด้วยวัตถุ 4 สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่
ฐานะที่จะมีได้.

(78) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติ
อัตตาและโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยวัตถุ 4 สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(79) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ย่อมบัญญัติว่า โลก
มีที่สุดและไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ 4 สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว
จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(80) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่อง
นั้น ๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ 4 สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(81) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีความเห็นว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ย่อมบัญญัติ
อัตตาและโลก ว่าเกิดขึ้นลอย ๆ ด้วยวัตถุ 2 สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(82) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต
ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ 18 สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(83) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ย่อม

บัญญัติว่าเบื้องหน้าแต่ความตายอัตตามีสัญญา ด้วยวัตถุ 16 สมณพราหมณ์
เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(84) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ 8
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(85) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่
ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา
ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยวัตถุ 8 สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะ
แล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(86) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า ขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความ
พินาศ ความไม่มี ของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ 7 สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(87) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า นิพพานปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่านิพพาน
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ 5 สมณพราหมณ์
เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(88) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วน
อนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วย

วัตถุ 44 สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่
ฐานะที่จะมีได้.
(89) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี
กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วน
อดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตส่วนอนาคต กล่าวคำแสดง
วาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ 62 สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว
จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(90) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง
ด้วยวัตถุ 4 สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด . . .
สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะดิ้นได้ไม่ตายตัว . . . สมณพราหมณ์เหล่าใด
มีวาทะว่าโลกเกิดขึ้นลอย ๆ . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วน
อดีต . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตา
มีสัญญา. . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตา
ไม่มีสัญญา . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย
อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า
ขาดสูญ . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า นิพพานปัจจุบัน . . . สมณ-
พราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต. . . สมณพราหมณ์เหล่าใด
กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วน
อดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต

ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด
ด้วยวัตถุ 62 สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดถูกต้องแล้วถูกต้องเล่า
ด้วยผัสสายตนะทั้ง 6 ย่อมเสวยเวทนา เพราะเวทนาของสมณพราหมณ์
เหล่านั้นเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะ
ชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาส.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่ง
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ แห่งผัสสายตนะทั้ง 6 กับทั้ง
อุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น เมื่อนั้นภิกษุนี้ย่อม
รู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งกำหนด
ขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีต
ทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
ปรารภขันธ์ทั่งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ 62 อย่างเหล่านั้นแหละเป็น
ดุจข่ายคลุมไว้ อาศัยอยู่ในข่ายนี้แหละ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่
ในข่ายนี้ ถูกข่ายคลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ เปรียบเหมือนชาว
ประมงหรือลูกมือชาวประมงผู้ฉลาด ใช้แหตาถี่ทอดลงยังหนองน้ำเล็ก ๆ
เขาคิดอย่างนี้ว่า บรรดาสัตว์ใหญ่ ๆ ในหนองนี้ทั้งหมด ถูกแห
คลุมไว้ ติดอยู่ในแห เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ติดอยู่ในแหนี้ ถูกแห
คลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะ

หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้น กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั่งส่วนอดีตทั่งส่วนอนาคตก็ดี
มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั่งส่วนอดีต
ทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ 62 อย่างเหล่านี้ แหละเป็นดุจข่ายคลุมไว้ อาศัย
อยู่ในข่ายนี้แหละ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายคลุมไว้
เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ
ขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมเห็นตถาคต
ชั่วเวลาที่กายของตถาคตดำรงอยู่ ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้ว เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวง
มะม่วงเมื่อขาดจากขั้วแล้ว ผลใดผลหนึ่งที่ติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพชาติแล้ว
ก็เหมือนฉันนั้น ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมเห็นตถาคต
ชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้ว เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมี
พระเจ้าข้า ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า อานนท์ เพราะฉะนั้นแหละ เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า
อรรถชาละก็ได้ ว่าธรรมชาละก็ได้ ว่าพรหมชาละก็ได้ ว่าทิฏฐิชาละ
ก็ได้ ว่าพิชัยสงครามอย่างยอดเยี่ยมก็ได้.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านั้นต่างมีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของพรพะผู้มีพระภาคเจ้า ก็และ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่. หมื่นโลกธาตุได้ไหว
แล้วแล.
จบพรหมชาลสูตร ที่ 1

สุมังคลวิลาสินี


อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค


แปล

ข้าพเจ้าขอนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระสุคต
ผู้พ้นคติ (5 คือ นิรยคติ เปตคติ ติรัจฉานคติ
มนุสสคติ เทวคติ) มีพระทัยเยือกเย็นด้วยพระ
กรุณา มีมืดคือโมหะอันดวงประทีปคือปัญญาขจัดแล้ว
ทรงเป็นครูของโลกพร้อมทั้งมนุษย์และเทวดา.
ก็พระพุทธเจ้าทรงอบรม และทรงทำให้แจ้ง ซึ่ง
ความเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบรรลุพระธรรมใดที่
ปราศจากมลทิน ข้าพเจ้าขอนมัสการด้วยเศียรเกล้า
ซึ่งพระธรรมนั้นอันยอดเยี่ยม.
ข้าพเจ้าขอนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระอริย-
สงฆ์หมู่โอรสของพระสุคตเจ้า ผู้ย่ำยีกองทัพมาร.
บุญอันใดซึ่งสำเร็จด้วยการไหว้พระรัตนตรัย มี
อยู่แก่ข้าพเจ้าผู้มีใจเลื่อมใส ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้มี
อันตราย อันอานุภาพแห่งบุญนั้น จัดราบคาบแล้ว
ด้วยประการดังนี้.
อรรถกถาใดอันพระอรหันต์ 500 องค์ สังคายนา
แล้วแต่ต้น และสังคายนาต่อมา เพื่อประกาศเนื้อ