เมนู

อรรถกถาอัมพัฏฐสูตร


เอวมฺเม สุตํ ฯ เป ฯ โกสเลสุ อมฺพฏฺฐสุตฺตํ

ในอัมพัฏฐสูตรนั้น มีการพรรณนาตามลำดับบท ดังต่อไปนี้
บทว่า ในโกศลชนบท คือ ชนบทอันเป็นนิวาสสถานของพระราช
กุมารชาวชนบททั้งหลาย ผู้มีนามว่าโกศล แม้จะเป็นชนบทเดียวท่านก็
เรียกว่า โกสลา ( เป็นพหูพจน์) เพราะศัพท์เสริมเข้ามา ในชนบทชื่อ
โกศลนั้น.
ก็พระโบราณาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า ในกาลก่อนพระราชาทรงสดับ
ว่า พระราชกุมารนามว่า มหาปนาทะ ผู้ได้ดูการละเล่นมีละครต่าง ๆ
เป็นต้น ก็ไม่ทำอาการแม้สักว่ายิ้มแย้มเลย จึงได้ทรงมีรับสั่งว่า ผู้ใดทำ
ให้บุตรของเราหัวเราะได้ เราจะประดับประดาเขาผู้นั้นด้วยเครื่องอลังการ
ทั้งปวง. ตั้งแต่นั้นมา เมื่อเหล่ามหาชนต่างทอดทิ้งแม้คันไถมาร่วม
ประชุมกัน พวกมนุษย์ทั้งหลายถึงจะแสดงการละเล่นต่าง ๆ กันสิ้นเวลา
นานกว่า 7 ปี ก็มิสามารถจะให้พระราชกุมารนั้นทรงพระสรวลได้. ทีนั้น
ท้าวสักกเทวราช จึงทรงส่งพวกละครมาแสดงบ้าง. พระองค์ทรงแสดง
ละครอันเป็นทิพย์ จึงทรงทำให้พระราชกุมารทรงพระสรวลได้. ต่อมาพวก
มนุษย์เหล่านั้นต่างก็แยกย้ายกันกลับ บ่ายหน้าไปยังบ้านที่อาศัยของตน ๆ.
พวกเขาเจอมิตรและสหายเป็นต้นสวนทางมา เมื่อจะทำปฏิสันถาร (ทักทาย
ปราศรัย ) กัน ต่างก็พูดกัน ว่า กิญฺจิ โภ กุสลํ กิญฺจิโภ กุสลํ (ท่าน