เมนู

ขอแม่จงปลดเปลื้องฉันจากสิ่งโสโครกนี้ ฉันเกิดมาเพื่อประโยชน์แก่แม่.
อัมพัฏฐะ มนุษย์สมัยนี้ เรียกปิศาจว่า ปิศาจ ฉันใด มนุษย์สมัยนั้นก็
ฉันนั้น เรียกปิศาจว่า คนดำ. มนุษย์เหล่านั้นจึงกล่าวกันเช่นนี้ว่า ทารกนี้
พอเกิดมาก็พูดได้ คนดำเกิดแล้ว ปีศาจเกิดแล้ว. อัมพัฏฐะ. ก็พวกที่ชื่อ
ว่า กัณหายนะ ปรากฏตั้งแต่กาลนั้นเป็นต้นมา. และกัณหะนั้น เป็น
บรรพบุรุษของพวกกัณหายนะ. อัมพัฏฐะ เมื่อเธอระลึกถึงโคตรอันเก่า
แก่ อันเป็นของมารดาบิดาดู (ก็จะรู้ได้) พวกศากยะเป็นลูกเจ้า เธอเป็น
ลูกทาสีของพวกศากยะ ด้วยประการฉะนี้แล.

วงศ์ของอัมพัฏฐมาณพ


(150) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพเหล่านั้น
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ อย่าทรง
เหยียดหยามอัมพัฏฐมาณพด้วยพระวาทะว่า เป็นลูกทาสีให้หนักนักเลย
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏฐมาณพมีชาติดี เป็นบุตรผู้มีสกุล เป็น
พหูสูต เจรจาไพเราะ เป็นบัณฑิต และเธอสามารถจะโต้ตอบในคำนี้กับ
พระโคดมผู้เจริญได้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะมาณพเหล่านั้นว่า ถ้าพวก
เธอคิดเช่นนี้ว่า อัมพัฏฐมาณพมีชาติทราม มิใช่บุตรผู้มีสกุล มีสุตะน้อย
เจรจาไม่ไพเราะ มีปัญญาทราม และไม่สามารถจะโต้ตอบในคำนี้กับ
พระสมณโคดมได้ อัมพัฏฐมาณพจงหยุดเสียเถิด พวกเธอจงโต้ตอบกับ
เราในคำนี้ ก็ถ้าพวกเธอคิดเช่นนี้ว่า อัมพักฐมาณพมีชาติดี เป็นบุตร
ผู้มีสกุล เป็นพหูสูต เจรจาไพเราะ เป็นบัณฑิต และสามารถจะโต้ตอบ

ในคำนี้กับพระสมณโคดมได้ พวกเธอจงหยุดเสียเถิด อัมพัฏฐมาณพ
จงโต้ตอบกับเราในคำนี้.
มาณพเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏฐมาณพ
มีชาติดี เป็นบุตรผู้มีสกุล เป็นพหูสูต เจรจาไพเราะ เป็นบัณฑิต และ
สามารถจะโต้ตอบในคำนี้กับพระโคดมได้ พวกข้าพระองค์จักนิ่งละ
อัมพัฏฐมาณพจงโต้ตอบกับ พระโคดมในคำนี้เถิด.
(151) ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะอันพัฏฐมาณพว่า
อัมพัฏฐะ ปัญหาประกอบด้วยเหตุนี้แล มาถึงเธอเข้าแล้ว ถึงแม้จะไม่
ปรารถนา เธอก็ต้องแก้ ถ้าเธอจักไม่แก้ก็ดี จักเอาคำอื่นมากลบเกลื่อน
เสียก็ดี จักนิ่งเสียก็ดี หรือจักหลีกไปเสียก็ดี ศีรษะของเธอจักแตกเป็น
7 เสี่ยง ณ ที่นี้แล. อัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอได้
ยินพวกพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์ และเป็นปาจารย์เล่ากันมาว่าอย่าง
ไร พวกกัณหายนะเกิดมาจากใครก่อน และใครเป็นบรรพบุรุษของพวก
กัณหายนะ. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว อัมพัฏฐมาณพ
ได้นิ่งเสีย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะอัมพัฏฐมาณพแม้เป็นครั้งที่
2 ว่า อัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอได้ยินพวก
พราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์ และเป็นปาจารย์เล่ากันมาว่าอย่างไร
พวกกัณหายนะเกิดมาจากใครก่อน และใครเป็นบรรพบุรุษของพวก
กัณหายนะ. แม้ครั้งที่ 2 อัมพัฏฐมาณพก็ได้นิ่งเสีย.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะอัมพัฏฐมาณพว่า อัมพัฏฐะ
เธอจงแก้เดี๋ยวนี้ บัดนี้ไม่ใช่เวลาของเธอจะนิ่ง อัมพัฏฐะ เพราะผู้ใด
ถูกตถาคตถามปัญหาอันประกอบด้วยเหตุถึง 3 ครั้งแล้ว ไม่แก้ ศีรษะ

ของผู้นั้นจะแตกเป็น 7 เสี่ยง ณ ที่นี้แล.
(152) สมัยนั้น ยักษ์วชิรปาณี ถือค้อนเหล็กใหญ่ อันไฟติด
แล้วลุกโพลงโชติช่วง ยืนอยู่ในอากาศเบื้องบนของอัมพัฏฐมาณพ คิดว่า
ถ้าอัมพัฏฐมาณพนี้ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาที่ประกอบด้วย
เหตุถึง 3 ครั้งแล้ว แต่ไม่แก้ เราจักต่อยศีรษะของเขาให้แตกเป็น
7 เสี่ยง ณ ที่นี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้า และอัมพัฏฐมาณพเท่านั้น
เห็นยักษ์วชิรปาณีนั้น.
ครั้งนั้น อัมพัฏฐมาณพตกใจกลัวขนพองสยองเกล้า ทูลขอให้พระ
ผู้มีพระภาคเจ้านั่งเองเป็นที่ต้านทาน ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้านั่น
เองเป็นที่เร้น ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเองเป็นที่พึ่ง กระเถิบ
เข้าไปนั่งใกล้ ๆ แล้วกราบทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ได้ตรัสคำอะไรนั่น
ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดตรัสอีกครั้งเถิด.
อัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอได้ยินพวกพราหมณ์
ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์ และเป็นปาจารย์เล่ากันมาอย่างไร พวกกัณหายนะ
เกิดมาจากใครก่อน และใครเป็นบรรพบุรุษของพวกกัณหายนะ. ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาเหมือนอย่างที่พระโคดมผู้เจริญ
ตรัสนั่นแหละ พวกกัณหายนะเกิดมาจากกัณหะนั้นก่อน และก็กัณหะ
นั้นเป็นบรรพบุรุษของพวกกัณหายนะ.
(153) เมื่ออัมพัฏฐมาณพกล่าวเช่นนั้นแล้ว มาณพเหล่านั้น
ส่งเสียงอื้ออึงเกรียวกราวโวยวายกันใหญ่ว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า อัมพัฏฐ-
มาณพ
มีชาติทราม มิใช่บุตรผู้มีสกุล เป็นลูกทาสีของพวกศากยะ ท่านผู้
เจริญ ได้ยินว่า พวกศากยะเป็นโอรสของเจ้านายของอัมพัฏฐมาณพพวกเรา

ไพล่ไปสำคัญเสียว่า พระสมณโคดมผู้ธรรมวาที พระองค์เดียว
ควรจะถูกรุกรานได้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริเช่นนี้
ว่า มาณพเหล่านี้ พากันเหยียดหยามอัมพัฏฐมาณพด้วยวาทะว่า เป็น
ลูกทาสี หนักนัก ถ้ากระไรเราพึงช่วยปลดเปลื้องให้. ลำดับนั้น พระผู้
มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กะนาณพเหล่านั้นว่า ดูก่อนมาณพ
พวกเธออย่าเหยียดหยามอัมพัฏฐมาณพด้วยวาทะว่า เป็นลูกทาสีให้หนัก
นัก เพราะกัณหะนี้ได้เป็นฤาษีคนสำคัญ เธอไปยังทักษิณาชนบทเรียน
พรหมมนต์แล้วเข้าไปเฝ้าพระเจ้าอุกกากราชทูลขอพระราชธิดาพระนามว่า
มัททรูปี. พระเจ้าอุกกากราชทรงพระพิโรธ ขัดพระทัยแก่พระฤาษีนั้นว่า
บังอาจอย่างนี้เจียวหนอ ฤาษีเป็นลูกทาสีของเราแท้ ๆ ยังมาขอธิดาชื่อ
มัททรูปี แล้วทรงขึ้นพระแสงศร ท้าวเธอไม่อาจจะทรงแผลง และไม่
อาจจะทรงลดลงซึ่งพระแสงศรนั้น .
(154) ดูก่อนมาณพ ครั้งนั้นหมู่อำมาตย์ราชบริษัทพากันเข้าไป
หากัณหฤาษี แล้วได้กล่าวคำนี้กะกัณหฤาษีว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขอความสวัสดีจงมีแด่พระราชา ขอความสวัสดีจงมีแด่พระราชา. ฤาษีตอบ
ว่า ความสวัสดีจักมีแด่พระราชา แต่ถ้าท้าวเธอจักทรงแผลงพระศรลง
ไปเบื้องต่ำ แผ่นดินจักทรุดตลอดพระราชอาณาเขต. อำมาตย์กล่าวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอความสวัสดีจงมีแด่พระราชา ขอความสวัสดีจงมี
แก่ชนบท. ฤาษีตอบว่า ความสวัสดีจักมีแด่พระราชา ความสวัสดีจักมี
แก่ชนบท แต่ถ้าท้าวเธอจักทรงแผลงพระแสงศรขึ้นไปเบื้องบน ฝนจักไม่
ตกทั่วพระราชอาณาเขตถึง 7 ปี. อำมาตย์กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขอความสวัสดีจงมีแด่พระราชา ขอความสวัสดีจงมีแก่ชนบท ขอฝนจงตก

เถิด. ฤาษีตอบว่า ความสวัสดีจักมีแด่พระราชา ความสวัสดีจักมีแก่ชนบท
ฝนจักตก แต่พระราชาต้องทรงวางพระแสงศรไว้ที่พระราชกุมารพระองค์
ใหญ่ด้วยทรงดำริว่า พระราชกุมารจักเป็นผู้มีความสวัสดี หายสยดสยอง
ดังนี้. ดูก่อนมาณพ ลำดับนั้น พระเจ้าอุกกากราชได้ทรงวางพระแสงศร
ไว้ที่พระราชกุมารพระองค์ใหญ่ด้วยทรงดำริว่า พระราชกุมารจักเป็น
ผู้มีความสวัสดี หายสยดสยอง ดังนี้. ครั้นท้าวเธอทรงวางพระแสงศรไว้
ที่พระราชกุมารองค์ใหญ่แล้ว. พระราชกุมารก็เป็นผู้มีความสวัสดี หาย
สยดสยอง. พระเจ้าอุกกากราชทรงกลัวถูกขู่ด้วยพรหมทัณฑ์ จึงได้พระ
ราชทานพระนางมัททรูปีราชธิดาแก่ฤาษีนั้น. ดูก่อนมาณพ พวกเธออย่า
เหยียดหยามอัมพัฏฐมาณพด้วยวาทะว่าเป็นลูกทาสีให้หนักนักเลย กัณหะ
นั้นได้เป็นฤาษีสำคัญแล้ว.
(155) ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะอัมพัฏฐมาณพ
ว่า ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ขัตติยกุมารในโลก
นี้พึงสำเร็จการอยู่ร่วมกับนางพราหมณกัญญา เพราะอาศัยการอยู่ร่วมกัน
ของคนทั้ง 2 นั้น พึงเกิดบุตรขึ้น บุตรผู้เกิดแต่นางพราหมณกัญญากับ
ขัตติยกุมารนั้น จะควรได้ที่นั่งหรือน้ำในหมู่พราหมณ์บ้างหรือไม่. ควรได้
พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์จะควรเชิญให้เขาบริโภคในการเลี้ยง
เพื่อผู้ตาย ในการเลี้ยงเพื่อการมงคล ในการเลี้ยงเพื่อยัญพิธี หรือในการ
เลี้ยงเพื่อแขกบ้างหรือไม่. ควรเชิญเขาให้บริโภคได้ พระโคดมผู้เจริญ.
พวกพราหมณ์จะควรบอกมนต์ให้เขาได้หรือไม่. ควรบอกให้ได้ พระโคดม
ผู้เจริญ. เขาควรจะถูกห้ามในหญิงทั้งหลายหรือไม่. ไม่ควรถูกห้ามเลย
พระโคดมผู้เจริญ เขาควรจะได้รับอภิเษกเป็นกษัตริย์ได้บ้างหรือไม่.

ข้อนี้ไม่ควรเลย พระโคดมผู้เจริญ. เพราะเหตุไร. เพราะเขาไม่บริสุทธิ์
ข้างฝ่ายมารดา.
(156) ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
พราหมณกุมารในโลกนี้ พึงสำเร็จการอยู่ร่วมกับนางขัตติยกัญญา เพราะ
อาศัยการอยู่ร่วมของคนทั้ง 2 นั้น พึงเกิดบุตรขึ้น บุตรที่เกิดแต่นางขัตติย-
กัญญากับพราหมณกุมาร จะควรได้ที่นั่งหรือน้ำ ในหมู่พราหมณ์
บ้างหรือไม่. ควรได้ พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์จะควรเชิญเขา
ให้บริโภคในการเลี้ยงเพื่อผู้ตาย ในการเลี้ยงเพื่อการมงคล ในการเลี้ยง
เพื่อยัญพิธี หรือในการเลี้ยงเพื่อแขกได้บ้างหรือไม่. ควรเชิญให้เขา
บริโภคได้ พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์ควรบอกมนต์ให้เขาได้หรือ
ไม่. ควรบอกให้ได้ พระโคดมผู้เจริญ. เขาควรถูกห้ามในหญิงทั้งหลาย
หรือไม่. เขาไม่ควรถูกห้ามเลย พระโคดมผู้เจริญ. เขาควรจะได้รับ
อภิเษกเป็นกษัตริย์ได้บ้างหรือไม่. ข้อนี้ไม่ควรเลย พระโคดมผู้เจริญ.
เพราะเหตุไร. เพราะเขาไม่บริสุทธิ์ข้างฝ่ายบิดา.
(157 ) ดูก่อนอัมพัฏฐะ เมื่อเทียบหญิงกับหญิงก็ดี เมื่อเทียบ
ชายกับชายก็ดี กษัตริย์พวกเดียวประเสริฐ พวกพราหมณ์เลว. ดูก่อน
อัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกพราหมณ์ทั้งหลาย
ในโลกนี้ พึงโกนศีรษะพราหมณ์คนหนึ่ง มอมด้วยเถ้าแล้วเนรเทศเสียจาก
แว่นแคว้นหรือจากเมืองเพราะโทษบางอย่าง เขาจะควรได้ที่นั่งหรือน้ำใน
หมู่พราหมณ์บ้างหรือไม่. ไม่ควรได้เลย พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์
ควรเชิญเขาให้บริโภคในการเลี้ยงเพื่อผู้ตาย ในการเลี้ยงเพื่อการมงคล
ในการเลี้ยงเพื่อยัญพิธี หรือในการเลี้ยงเพื่อแขกได้บ้างหรือไม่. ไม่ควร

เชิญเขาให้บริโภคเลย พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์ควรบอกมนต์
ให้เขาได้หรือไม่. ไม่ควรบอกเลย พระโคดมผู้เจริญ. เขาควรถูกห้าม
ในหญิงทั้งหลายหรือไม่. เขาควรถูกห้ามทีเดียว พระโคดมผู้เจริญ
(158) อัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กษัตริย์
ทั้งหลายในโลกนี้ พึงปลงพระเกสากษัตริย์พระองค์หนึ่ง มอมด้วยเถ้า
แล้วเนรเทศเสียจากแว่นแคว้นหรือจากเมืองเพราะโทษบางอย่าง เขาควร
จะได้ที่นั่งหรือน้ำในหมู่พราหมณ์บ้างหรือไม่. ควรได้ พระโคดมผู้เจริญ.
พวกพราหมณ์ควรเชิญเขาให้บริโภคในการเลี้ยงเพื่อผู้ตาย ในการเลี้ยง
เพื่อการมงคล ในการเลี้ยงเพื่อยัญพิธี ในการเลี้ยงเพื่อแขกได้บ้างหรือไม่.
ควรเชิญเขาให้บริโภคได้ พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์ควรบอกมนต์
ให้เขาหรือไม่. ควรบอกให้ พระโคดมผู้เจริญ. เขาควรถูกห้ามในหญิง
ทั้งหลายหรือไม่. เขาไม่ควรถูกห้ามเลย พระโคดมผู้เจริญ. ดูก่อนอัมพัฏฐะ
กษัตริย์ย่อมถึงความเป็นผู้เลวอย่างยิ่ง เพราะเหตุที่ถูกกษัตริย์ด้วยกัน
ปลงพระเกสามอมด้วยเถ้า แล้วเนรเทศเสียจากแว่นแคว้นหรือจากเมือง
ดูก่อนอัมพัฏฐะ แม้ในเมื่อกษัตริย์ถึงความเป็นคนเลวอย่างยิ่งเช่นนี้ พวก
กษัตริย์ก็ยังประเสริฐ พวกพราหมณ์เลว ด้วยประการฉะนี้.
สมจริงดังคาถาที่สนังกุมารพรหมได้กล่าวไว้ดังนี้ ว่า
(159) กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้
รังเกียจด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวาดาและมนุษย์.

(160) ดูก่อนอัมพัฏฐะ ก็คาถานี้นั้น สนังกุมารพรหมขับถูก
ไม่ผิด กล่าวไว้ถูกไม่ผิด ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ เราเห็นด้วย ดูก่อนอัมพัฏฐะ ถึงเราก็กล่าวเช่นนี้ว่า
(161) กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้
รังเกียจด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์.

จบ ภาณวาร ที่ 1

วิชชาจรณสัมปทา


(162) อัมพัฏฐมาณพทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็
จรณะนั้นเป็นไฉน วิชชานั้นเป็นไฉน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ก่อนอัมพัฏฐะ ในวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม
เขาไม่พูดอ้างชาติ อ้างโคตร หรืออ้างมานะว่า ท่านควรแก่เรา หรือท่าน
ไม่ควรแก่เรา อาวาหมงคลหรือวิวาหมงคล หรืออาวาหะและวิวาหมงคล
มีในที่ใด ในที่นั้นเขาจึงจะพูดอ้างชาติบ้าง อ้างโคตรบ้าง หรืออ้างมานะ
บ้างว่า ท่านควรแก่เรา หรือท่านไม่ควรแก่เรา ชนเหล่าใด ยังเกี่ยว
ข้องด้วยการอ้างชาติ ยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างโคตร ยังเกี่ยวข้องด้วยการ
อ้างมานะ หรือยังเกี่ยวข้องด้วยอาวาหะและวิวาหมงคล ชนเหล่านั้นชื่อว่า
ยังห่างไกลจากวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม การทำให้
แจ้งซึ่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม ย่อมมีได้ เพราะ
ละความเกี่ยวข้องด้วยการอ้างชาติ ความเกี่ยวข้องด้วยการอ้างโคตร ความ
เกี่ยวข้องด้วยการอ้างมานะ และความเกี่ยวข้องด้วยอาวาหะและวิวาหมงคล.
(163) ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ จรณะนั้นเป็นไฉน วิชชานั้น