เมนู

พระสมณโคดม เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การผูกมัด การตีชิง
การปล้น และกรรโชกนี้ ด้วยประการฉะนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต ก็พึงกล่าวดังนี้แล.
จุลศีลเป็นอันจบแต่เพียงเท่านี้

วรรณนามัชฌิมศีล


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงเริ่มแสดงมัชฌิมศีล จึงตรัส
พระบาลีมีอาทิว่า ยถา วา ปเนเก โภนฺโต ดังนี้.
ในคำนั้น มีวรรณนาบทที่ยาก ๆ ดังต่อไปนี้
บทว่า สทฺธาเทยฺยานิ ความว่า ที่คนเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม
และโลกนี้โลกหน้าให้แล้ว. อธิบายว่า เขามิได้ให้ด้วยประสงค์อย่างนี้ว่า
ผู้นี้เป็นญาติของเรา หรือว่าเป็นมิตรของเรา หรือว่าเขาจักตอบแทนสิ่งนี้
หรือว่า สิ่งนี้เขาเคยทำ ดังนี้. ด้วยว่า โภชนะที่เขาให้อย่างนี้ ย่อมไม่
ชื่อว่าให้ด้วยศรัทธา
บทว่า โภชนานิ นี้เป็นเพียงหัวข้อเทศนา แต่โดยเนื้อความ ย่อม
เป็นอันกล่าวคำนี้ทั้งหมดทีเดียวว่า บริโภคโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา ห่ม
จีวร ใช้สอยเสนาสนะ บริโภคคิลานเภสัชที่เขาให้ด้วยศรัทธา ดังนี้ .
บทว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต มีเนื้อความเป็นไฉน มีเนื้อความว่า
พืชคามและภูตคามที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกประกอบการพรากอยู่.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพืชคามแสะภูตคาม
นั้น จึงตรัสว่า มูลพีชํ เป็นต้น ดังนี้.

ในพระบาลีนั้น ที่ชื่อว่า พืชเกิดแต่ราก ได้แก่พืชมีอาทิอย่างนี้
คือ ขมิ้น ขิง ว่านเปราะป่า ว่านเปราะบ้าน อุตพิด ข่า แฝก หญ้าคา
และหญ้าแห้วหมู.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดแต่ลำต้น ได้แก่พืชมีอาทิอย่างนี้ โพ ไทร มะสัง
มะเดื่อ มะเดื่อป่า มะขวิด.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดแต่ข้อ ได้แก่พืชมีอาทิอย่างนี้ คือ อ้อย อ้อ ไผ่.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดแต่ยอด ได้แก่พืชมีอาทิอย่างนี้ คือ แมงลัก คะไคร้
หอมแดง.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดแต่เมล็ด ได้แก่พืชมีอาทิอย่างนี้ คือ ปุพพัณณ-
ชาติ อปรัณณชาติ.
ก็พืชทั้งหมดนี้ ที่แยกออกจากด้นแล้ว ยังสามารถึงอกไค้ เรียกว่า
พืชคาม. ส่วนพืชที่ยังไม่ได้แยกจากต้น ไม่แห้ง เรียกว่า ภูตคาม. ใน
พืช 2 อย่างนั้น การพรากภูตคาม พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาจิตตีย์
การพรากพืชคาม เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
บทว่า สนฺนิธิการกปริโภคํ ความว่า บริโภคของที่สะสมไว้.
ในข้อนั้น มีคำที่ควรกล่าว 2 อย่าง คือ เกี่ยวกับพระวินัยอย่าง 1 เกี่ยว
กับการปฏิบัติเคร่งครัดอย่าง 1. ว่าถึงเกี่ยวกับพระวินัยก่อน ข้าวอย่างใด
อย่างหนึ่งที่รับประเคนวันนี้ เอาไว้วันหลัง เป็นการทำการสะสม เมื่อ
บริโภคข้าวนั้น เป็นปาจิตตีย์. แต่ให้ข้าวที่ตนได้แล้วแก่สามเณร ให้
สามเณรเหล่านั้นเก็บไว้ จะฉันในวันรุ่งขึ้นควรอยู่ แต่ไม่เป็นการปฏิบัติ
เคร่งครัด. แม้ในการสะสมน้ำปานะ ก็มีนัยนี้แหละ.
ในข้อนั้น ที่ชื่อว่า น้ำปานะ ได้แก่น้ำปานะ 8 อย่าง มีน้ำ

มะม่วงเป็นต้น และน้ำที่อนุโลมเข้าได้กับน้ำปานะ 8 อย่างนั้น. วินิจฉัย
น้ำปานะเหล่านั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระ
วินัย.

ในการสะสมผ้า มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้


ผ้าที่ยังไม่ได้อธิฐานและยังไม่ได้วิกัปไว้ ย่อมเป็นการสะสมและ
ทำให้เสียการปฏิบัติเคร่งครัด นี้เป็นการกล่าวโดยอ้อม ส่วนโดยตรง
ภิกษุควรจะเป็นผู้สันโดษในไตรจีวร ได้ผืนที่ 4 แล้ว ควรให้แก่รูปอื่น
ถ้าไม่อาจจะให้แก่รูปใดรูปหนึ่งได้ แต่ประสงค์จะให้แก่รูปใดรูปนั้นไป
เพื่อประโยชน์แก่อุเทศ หรือเพื่อประโยชน์แก่ปริปุจฉา พอเธอกลับมา
ควรให้เลย จะไม่ให้ไม่ควร แต่เมื่อจีวรไม่เพียงพอ ยิ่งมีความหวังที่จะ
ได้มา จะเก็บไว้ภายในเวลาที่ทรงอนุญาตก็ควร เมื่อยังไม่ได้เข็มด้ายและ
ตัวผู้ทำจีวร จะเก็บไว้เกินกว่านั้น ต้องทำวินัยกรรมจึงควร แต่เมื่อจีวร
ผืนนี้เก่า จะเก็บไว้รอว่า เราจักได้จีวรเช่นนี้จากไหนอีก ดังนี้ ไม่ควร
ย่อมชื่อว่าเป็นการสะสมและทำให้เสียการปฏิบัติเคร่งครัด.

การสะสมยาน มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้


ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ล้อเลื่อน รถ เกวียน รถมีเครื่องประดับ วอ
รถเข็น. นี้มิใช่ยานของบรรพชิต. บรรพชิตมียานอย่างเดียวคือ รองเท้า,
ก็ภิกษุรูปหนึ่ง ควรใช้รองเท้าได้ 2 คู่เป็นอย่างมาก คือ คู่หนึ่งสำหรับ
เดินป่า คู่หนึ่งสำหรับเท้าที่ล้างแล้ว . ได้คู่ที่ 3 ควรให้แก่รูปอื่น. แต่จะ
เก็บไว้ด้วยคิดว่า เมื่อคู่นี้เก่า เราจักได้คู่อื่นจากไหน ดังนี้ ไม่ควร.
ย่อมชื่อว่าเป็นการสะสมและทำให้เสียการปฏิบัติเคร่งครัด.