เมนู

พระดำริว่า ลักษณะชื่อนี้ เราจักแสดงเทียบเคียงกับสมณพราหมณ์ผู้เป็น
บัณฑิตเหล่าอื่น ดังนี้เลย. อนึ่ง เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรง
มีความลังเลความสับสน แม้ในธรรมสักข้อเดียว พระองค์ทรงตัดความ
สงสัยทั้งปวงได้ ณ โพธิมัณฑสถานนั่นแล ฉะนั้น แม้วิมุติเฉทนาปุจฉา
ก็ไม่มีแน่นอน. แต่ปุจฉา 2 ประการนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ย่อมมีแก่
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ในปุจฉา 2 ประการนั้น นี้ชื่อว่า กเถตุกัมยตา
ปุจฉา.


วรรณนาจุลศีล


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์จะทรงแก้เนื้อความ
ที่ได้ตรัสถามด้วยกเถตุกัมยตาปุจฉานั้น จึงตรัสพระบาลีอาทิว่า ปาณา-
ติปาตํ ปหาย
ดังนี้.
ในคำว่า ละปาณาติบาต. ปาณาติบาต แปลว่าทำสัตว์มีชีวิตให้
ตกล่วงไป อธิบายว่า ฆ่าสัตว์ ปลงชีพสัตว์. ก็ในคำว่า ปาณะ นี้ โดย
โวหาร ได้แก่สัตว์ โดยปรมัตถ์ ได้แก่ชีวิตินทรีย์. อนึ่ง เจตนาฆ่า อัน
เป็นเหตุยังความพยายามตัดรอนชีวิตินทรีย์ให้ตั้งขึ้น เป็นไปทางกายทวาร
และวจีทวาร ทางใดทางหนึ่ง ของผู้มีความสำคัญในชีวิตนั้นว่า เป็นสัตว์
มีชีวิต ชื่อว่าปาณาติบาต. ปาณาติบาตนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในสัตว์เล็ก
บรรดาสัตว์ที่เว้นจากคุณมีสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะ
สัตว์มีร่างกายใหญ่. เพราะเหตุไร ? เพราะต้องขวนขวายมาก. แม้เมื่อ
มีความพยายามเสมอกัน ก็มีโทษมาก เพราะมีวัตถุใหญ่. ในบรรดาสัตว์ที่มี
คุณมีมนุษย์เป็นต้น สัตว์มีคุณน้อยมีโทษน้อย สัตว์มีคุณมากมีโทษมาก.

แม้เมื่อมีสรีระและคุณเท่ากัน ก็พึงทราบว่า มีโทษน้อย เพราะกิเลสและ
ความพยายามอ่อน มีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า.

ปาณาติบาตนั้น มีองค์ 5 คือ


1. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
2. ปาณสญฺญิตา ตนรู้ว่าสัตว์มีชีวิต
3. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
4. อุปกฺกโม มีความพยายาม ( ลงมือทำ )
5. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น.

ปาณาติบาตนั้น มีประโยค 6 คือ


1. สาหัตถิกประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยมือตนเอง
2. อาณัตติกประโยค ประโยคที่สั่งให้คนอื่นฆ่า
3. นิสสัคคิยประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยอาวุธที่ชัดไป
4. ถาวรประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยอุปกรณ์ที่อยู่กับที่
5. วิชชามยประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยวิชา
6. อิทธิมยประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยฤทธิ์.
ก็เมื่อข้าพเจ้าจะพรรณนาเนื้อความนี้ให้พิสดาร ย่อมจะเนิ่นช้าเกิน
ไป ฉะนั้นจะไม่พรรณนาความนั้นและความอื่นที่มีรูปเช่นนั้นให้พิสดาร
ส่วนผู้ที่ต้องการพึงตรวจดูสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย ถือเอาความ
เถิด.
บทว่า ปหาย ความว่า ละโทษอันเป็นเหตุทุศีล นี้กล่าวคือ เจตนา
ทำปาณาติบาต. บทว่า ปฏิวิรโต ความว่างด คือเว้นจากโทษอันเป็นเหตุ