เมนู

นี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์แม้เพราะเหตุนี้
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้เพราะเหตุนี้ พระธรรมอันพระองค์ตรัสดี
แล้วแม้เพราะเหตุนี้ เป็นพระธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเองแม้เพราะเหตุนี้
พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้วแม้เพราะเหตุนี้ ปฏิบัติตรงแม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้
แม้ถูกถามว่า ท่านมีศีลหรือ ? ถ้ามีศีลก็พึงยืนยันว่า เราเป็นผู้มีศีล ดังนี้
ทีเดียว แม้ถูกถามว่า ท่านเป็นผู้ได้ปฐมฌานหรือ ? ๆ ล ๆ ท่านเป็น
พระอรหันต์หรือ ? ดังนี้ พึงยืนยันเฉพาะแก่ภิกษุทั้งหลายที่เป็นสภาคกัน
เท่านั้น. ก็ด้วยการปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้ ย่อมเป็นอันละเว้นความเป็นผู้
ปรารถนาลามก และย่อมเป็นอันแสดงความที่พระศาสนาไม่เป็นโมฆะ
ดังนี้. คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

พรรณนาอนุสนธิเริ่มต้น


อนุสนธิเริ่มต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต
จะพึงกล่าวด้วยประการใด นั่นมีประมาณน้อยนัก ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีล
ดังนี้.
พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มด้วยบทสองบท คือ การ
สรรเสริญและการติเตียน. ในสองประการนั้น การติเตียนต้องยับยังไว้
เหมือนไฟ พอถึงน้ำก็ดับฉะนั้น อย่างในคำนี้ว่า นั่นไม่จริงเพราะเหตุนี้
นั่นไม่แท้แม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้ . ส่วนการสรรเสริญก็ควรยืนยันที่เป็นจริง
ว่า เป็นจริง คล้อยตามไปอย่างนี้ทีเดียวว่า นั่นเป็นจริงแม้เพราะเหตุนี้.
ก็คำสรรเสริญนั้นมีสองอย่าง คือ คำสรรเสริญที่พรหมทัตมาณพกล่าว
อย่างหนึ่ง คำสรรเสริญที่ภิกษุสงฆ์ปรารภโดยนัยมีอาทิว่า ท่านทั้งหลาย

น่าอัศจรรย์ ดังนี้ อย่างหนึ่ง. ในสองอย่างนั้น คำสรรเสริญที่ภิกษุสงฆ์
กล่าว พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงแสดงอนุสนธิในการประกาศความว่าง
เปล่าข้างหน้า แต่ในที่นี้มีพุทธประสงค์จะทรงแสดงอนุสนธิ คำสรร-
เสริญที่พรหมทัตมาณพกล่าว จึงทรงเริ่มเทศนาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต จะพึงกล่าวด้วยประการใด นั่นมีประมาณ
น้อยนัก ยิ่งต่ำนัก เป็นเพียงศีล ดังนี้.
ในคำเหล่านั้น คำว่า มีประมาณน้อย เป็นชื่อของสิ่งเล็กน้อย
คำว่า ยังต่ำนัก เป็นไวพจน์ของคำว่า มีประมาณน้อย. ขนาดเรียกว่า
ประมาณ. ชื่อว่า มีประมาณน้อย เพราะมีประมาณน้อย. ชื่อว่า ยังต่ำ
นัก เพราะมีประมาณ. ชื่อว่า เป็นเพียงศีล คือศีลนั่นเอง. มีอธิบายต่ำ
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต แม้กระทำอุตสาหะ
ว่าเราจะกล่าวชม จะพึงกล่าวชมด้วยประการใด นั่นมีประมาณน้อยนัก
เป็นเพียงศีล ดังนี้.
ในข้อนั้น หากจะพึงมีคำถามว่า ธรรมดาว่าศีลนี้ เป็นเครื่อง
ประดับอันเลิศของพระโยคี ดังที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า
ศีลเป็นอลังการของพระโยคี ศีลเป็นเครื่องประดับ
ของพระโยคี พระโยคีผู้ตกแต่งด้วยศีลทั้งหลาย
ถึงความเป็นผู้เลิศในการประดับ ดังนี้.

อนึ่ง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสศีล ทรงกระทำให้ยิ่งใหญ่
ทีเดียวในพระสูตรหลายร้อยสูตร อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หาก
ภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็น
ที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ดังนี้ ก็พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์

ในศีลทั้งหลายทีเดียว ดังนี้ และว่า
นกต้อยตีวิดรักษาฟองไข่ฉันใด จามรีรักษาขนหาง
ฉันใด คนมีบุตรคนเดียวรักษาบุตรผู้เป็นที่รักฉันใด
คนมีนัยน์ตาข้างเดียว รักษานัยน์ตาที่ยังเหลืออีกข้าง
ฉันใด ท่านทั้งหลายจงตามรักษาศีลเหมือนฉันนั้น
ทีเดียว จงเป็นผู้มีศีลเป็นที่รักด้วยดี มีความเคารพ
ทุกเมื่อเถิด ดังนี้ และว่า กลิ่นดอกไม้ไม่ฟุ้งทวนลม
จันทน์หรือกฤษณา และมะลิซ้อน ก็ไม่ฟุ้งทวนลม
แต่กลิ่นสัตบุรุษย่อมฟุ้งทวนลม สัตบุรุษย่อมฟุ้งไป
ได้ทุกทิศ
จันทน์ก็ดี กฤษณาก็ดี อุบลก็ดี มะลิก็ดี กลิ่นคือศีล
ยอดเยี่ยมกว่าบรรดาคันธชาตเหล่านั้น กลิ่นกฤษณา
และจันทน์นี้มีประมาณน้อย ส่วนกลิ่นของผู้มีศีล
เป็นกลิ่นสูงสุด ฟุ้งไปในทวยเทพทั้งหลาย
มารย่อมไม่พบทางของท่านเหล่านั้น ผู้มีศีลสมบูรณ์
มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้นแล้ว เพราะ
รู้ชอบ
ภิกษุเป็นพระผู้มีปัญญา ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ยังจิตและ
ปัญญาให้เจริญอยู่ ผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตน
นั้น พึงสางชัฏนี้ได้ ดังนี้ และว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พีชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ พีชคามและภูตคามเหล่านั้นทั้งหมด อาศัย

แผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้อย่างนี้ มี
อุปมาแม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล เจริญ
โพชฌงค์ 7 กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 ย่อมถึงความเป็นใหญ่หรือ
ความไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ก็อุปไมยฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้ พระสูตร
แม้อื่น ๆ อีกไม่น้อย ก็พึงเห็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสศีล
ทรงกระทำให้ยิ่งใหญ่ทีเดียวในพระสูตร หลายร้อยสูตรอย่างนี้มิใช่หรือ
เหตุไฉน ในที่นี้จึงตรัสศีลนั้นว่ามีประมาณน้อยเล่า ?
ตอบว่า เพราะทรงเทียบเคียงคุณชั้นสูง. ด้วยว่า ศีลยังไม่ถึงสมาธิ
สมาธิยังไม่ถึงปัญญา ฉะนั้น ทรงเทียบเคียงคุณสูง ๆ ชั้นไป ศีลอยู่เบื้อง
ล่าง จึงชื่อว่า ยังต่ำนัก.

ศีลยังไม่ถึงสมาธิ เป็นอย่างไร ?


คือว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ในปีที่ 7 นับแต่ตรัสรู้ ได้ประทับ
นั่งบนรัตนบัลลังก์ประมาณโยชน์หนึ่ง ในรัตนมณฑปประมาณ 12 โยชน์
ณ ควงต้นคัณฑามพฤกษ์ ใกล้ประตูนครสาวัตถี เมื่อเทพยดากางกั้น
ทิพยเศวตฉัตรประมาณ 3 โยชน์ ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ย่ำยีเดียรถีย์
ซึ่งแสดงการทรงถือเอาเป็นส่วนพระองค์ ในบริษัทประมาณ 12 โยชน์
คือ ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ อันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ท่อไฟพวยพุ่ง
ออกจากพระวรกายส่วนบน สายน้ำไหลออกจากพระวรกายส่วนล่าง ฯลฯ
ท่อไฟพวยพุ่งออกจากชุมพระโลมาแต่ละขุม ๆ สายน้ำไหลออกจากขุม
พระโลมาแต่ละชุม มีวรรณะ 6 ประการ ดังนี้ . พระรัศมีมีวรรณะดุจ