เมนู

สัมผัสทางกลุ่มดาว และอุปมาดังมหาวิหาร อันมีบานประตูไพศาล ติดตั้ง
เป็นอย่างดี โชติช่วงด้วยรัศมีแห่งทองเงินแก้วมณีแก้วมุกดา และแก้ว
ประพาฬ เป็นต้น เพื่อเข้าได้โดยสะดวกสู่เรือนใหญ่ที่งามไปด้วยอิสริย-
สมบัติอันโอฬาร มีการกรีดกรายร่ายรำของเหล่าเคหชนผู้มีเสียงไพเราะ
เจรจาร่าเริงระคนกับเสียงกระทบกันแห่งอาภรณ์ มีทองกรและเครื่อง
ประดับเท้าเป็นต้นฉะนั้น.
จบวรรณนาความของคำเป็นนิทานแห่งพระสตรี

พรรณนาเหตุที่ตั้งพระสูตร


บัดนี้ ถึงลำดับโอกาสที่จะพรรณนาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกขึ้นแสดงโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าอื่นจะพึง
ติเราก็ดี ดังนี้ . ก็การพรรณนาพระสูตรนี้นั้น เมื่อได้พิจารณาเหตุที่ทรง
ตั้งพระสูตรแล้วจึงกล่าวย่อมแจ่มแจ้ง ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักวิจารณ์เหตุที่ทรง
ตั้งพระสูตรเสียก่อน.

ก็เหตุที่ทรงตั้งพระสูตรมี 4 ประการ คือ


1. อัตตัชฌาสยะ

เป็นไปตามพระอัธยาศัยของพระองค์
2. ปรัชฌาสยะ เป็นไปตามอัธยาศัยของผู้อื่น
3. ปุจฉาวสิกะ เป็นไปด้วยอำนาจการถาม
4. อัตถุปปัตติกะ เป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น
ในบรรดาเหตุ 4 ประการนั้น พระสูตรเหล่าใดที่คนเหล่าอื่นมิได้
ทูลอาราธนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาโดยพระอัธยาศัยของพระ

องค์แต่ลำพังอย่างเดียว มีอาทิอย่างนี้ คือ อากังเขยยสูตร วัตถสูตร
มหาสติปัฏฐานสูตร มหาสฬายตนวิภังคสูตร อริยวังสสูตร ส่วนแห่ง
สัมมัปปธานสูตร ส่วนแห่งอิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์
และ
มรรค พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงตั้งเป็นไปตามพระอัธยาศัยของ
พระองค์.
อนึ่ง พระสูตรเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสามารถแห่ง
อัธยาศัยของผู้อื่น เล็งดูอัธยาศัยความพอใจ ความชอบใจ อภินิหาร
และภาวะที่จะตรัสรู้ได้ ของชนเหล่าอื่นอย่างนี้ว่า ธรรมบ่มวิมุติของราหุล
แก่กล้าแล้ว ถ้ากระไรเราพึงแนะนำราหุลในอาสวักขยธรรมให้สูงขึ้น
ดังนี้แล้ว มีอาทิอย่างนี้ คือ จุลลราหุโลวาทสูตร มหาราหุโลวาทสูตร
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ธาตุวิภังคสูตร
พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุ
ทรงตั้งเป็นไปตามอัธยาศัยของผู้อื่น.
อนึ่ง พระสูตรเหล่าใดที่เหล่าสัตว์ทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือบริษัท 4
วรรณะ 4 นาค ครุฑ คนธรรพ์ อสูร ยักษ์ ท้าวมหาราชเทวดาชั้น
ดาวดึงส์ เป็นต้น และท้าวมหาพรหม พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วทูลถามปัญหาโดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าโพช-
ฌงค์ โพชฌงค์ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่านิวรณ์ นิวรณ์
ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ห้าเหล่านี้หนอแล ในโลกนี้
อะไรเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจที่ประเสริฐที่สุดของตน เมื่อถูกถามอย่างนี้
แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเทศนามีโพชฌงค์สังยุต เป็นต้น ก็หรือ
พระสูตรแม้อื่นเหล่าใด มีเทวตาสังยุต มารสังยุต พรหมสังยุต
สักกปัญหสูตร จุลลเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สามัญญผลสูตร

อาฬวกสูตร สูจิโลมสูตร เป็นต้น พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรง
ตั้งเป็นไปด้วยอำนาจการถาม.
อนึ่ง พระสูตรเหล่านั้นใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเหตุ-
การณ์ที่เกิดขึ้นจึงตรัสเทศนา มีอาทิอย่างนี้ คือ ธรรมทายาทสูตร
จุลลสีหนาทสูตร จันทูปมสูตร ปุตตมังสูปมสูตร ทารุกขันธูปมสูตร
อัคคิกขันธูปมสูตร เผณปิณฑูปมสูตร ปาริฉัตตกูปมสูตร
พระสูตร
เหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงตั้งเป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น.
ในบรรดาเหตุที่ทรงตั้งพระสูตร 4 ประการ ดังพรรณนามานี้
พรหมชาลสูตรนี้มีเหตุที่ทรงตั้งเป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น.
ก็พรหมชาลสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งในเพราะเหตุที่เกิด
ขึ้น. ในเพราะเหตุที่เกิดขึ้นอย่างไร ? ในเพราะการสรรเสริญและการ
ติเตียน คืออาจารย์ติเตียนพระรัตนตรัย ศิษย์ชมพระรัตนตรัย. พระผู้มี
พระภาคเจ้า
ทรงเป็นเทศนาโกศล ทรงทำการสรรเสริญ และการติเตียน
นี้ให้เป็นเหตุที่เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้ แล้วทรงเริ่มเทศนาว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ชนเหล่าอื่นจะพึงกล่าวติเราก็ดี ดังนี้.
ประชุมบทเหล่านั้น บทว่า มมํ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ เนื้อความเท่ากับ
มม. วาศัพท์เป็นวิกัปปัตถะ. บทว่า ปเร ได้แก่เหล่าสัตว์ผู้เป็นข้าศึก.
บทว่า ตตฺร ความว่า ในคนพวกที่กล่าวติเตียนเหล่านั้น. ด้วยคำว่า
อาฆาโต
เป็นต้น ถึงแม้ว่าภิกษุเหล่านั้นไม่มีความอาฆาตเลยก็จริง ถึง
อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงป้องกันมิให้อกุศลเกิดขึ้นใน
ฐานะเช่นนี้ แก่กุลบุตรทั้งหลายในกาลอนาคต จึงได้ทรงตั้งไว้เป็น
ธรรมเนียม.

คำว่า ความอาฆาต ในพระบาลีนั้นมีวิเคราะห์ว่า เป็นที่มากระทบ
แห่งจิต. คำนี้เป็นชื่อของความโกรธ.
คำว่า ความไม่แช่มชื่น มีวิเคราะห์ว่าเป็นเหตุให้ไม่เบิกบานใจ
คือ ไม่ยินดี ไม่ดีใจ. คำนี้เป็นชื่อของโทมนัส.
คำว่า ความไม่อภิรมย์ใจ มีวิเคราะห์ว่า ไม่ยินดีประโยชน์เกื้อกูล
แก่ตน ไม่ยินดีประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนอื่น ๆ. คำนี้เป็นชื่อของความโกรธ.
บรรดาบททั้งสามนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสขันธ์สอง คือตรัส
สังขารขันธ์ด้วยบททั้งสอง (อาฆาต และ อนภิรทฺธิ ) ตรัสเวทนาขันธ์
ด้วยบทเดียว ( อปจฺจโย ) ด้วยประการฉะนี้.
ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ทั้งสองนั้น ได้ตรัสปฏิเสธการทำหน้าที่แห่ง
สัมปยุตตธรรมแม้ที่เหลือทีเดียว. ครั้นทรงห้ามความเจ็บใจโดยนัยแรก
อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงโทษในความเจ็บใจนั้น โดยนัยที่สอง
จึงตรัสว่า ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง หรือจักน้อยใจในคนเหล่านั้น
อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่ ดังนี้.
ประชุมบทเหล่านั้น หลายบทว่า ตตฺร เจ ตุมฺเห อสฺสถ ความว่า
หากว่าเธอทั้งหลายจะพึงขุ่นเคืองด้วยความโกรธ จะพึงน้อยใจด้วยความ
โทมนัส ในพวกที่กล่าวติเตียนเหล่านั้น หรือในคำติเตียนนั้น.
หลายบทว่า ตุมฺหญฺเญวสฺส เตน อนฺตราโย ความว่า อันตราย
จะพึงมีแก่คุณธรรมทั้งหลาย มีปฐมฌาน เป็นต้น ด้วยความโกรธนั้นและ
ด้วยความน้อยใจนั้น ของเธอทั้งหลายนั่นเอง.
ครั้นทรงแสดงโทษโดยนัยที่สองอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงว่า
ผู้ที่น้อยใจเป็นผู้ไม่สามารถแม้ในเหตุเพียงกำหนดเนื้อความของถ้อยคำ

โดยนัยที่สาม จึงตรัสว่า เธอทั้งหลายจะพึงรู้คำที่เป็นสุภาษิต หรือคำที่
เป็นทุพภาษิตของคนเหล่าอื่นได้ละหรือ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปเรสํ ความว่า ก็คนมักโกรธ ย่อมไม่รู้
ทั่วถึงเนื้อความของคำที่เป็นสุภาษิต และคำที่เป็นทุพภาษิต ของคน
พวกใดพวกหนึ่ง คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวก
หรือมารดาบิดา หรือคนที่เป็นข้าศึกได้เลย. อย่างที่ตรัสไว้ว่า
คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ คนโกรธย่อมไม่เห็นธรรม
เมื่อนรชนถูกความโกรธครอบงำ ย่อมมืดตื้อทันที
ความโกรธก่อให้เกิดความพินาศ ความโกรธทำให้
จิตกำเริบ ชนไม่รู้จักความโกรธซึ่งเป็นภัยเกิดในจิต
ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงห้ามความเจ็บใจในเพราะการติเตียน
แม้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอาการที่ควร
ปฏิบัติ จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า ในคำที่เขากล่าวติเตียนนั้น คำที่ไม่จริง
เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริง ดังนี้.
ประชุมบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร ตุมฺเหหิ ความว่า ในคำที่เขา
กล่าวติเตียนนั้น เธอทั้งหลาย. บทว่า อภูตํ อภูตโต นิพเพเธตพฺพํ
ความว่า คำใดที่ไม่จริง คำนั้น เธอทั้งหลายพึงแยกโดยความไม่เป็นจริง
ทีเดียว. แก้อย่างไร ? พึงแก้โดยนัยมีอาทิว่า นั่นไม่จริง แม้เพราะ
เหตุนี้ ดังนี้.
ในข้อนั้น มีคำประกอบดังต่อไปนี้ เธอทั้งหลายได้ฟังเขาพูดว่า
ศาสดาของพวกท่านไม่ใช่พระสัพพัญญู พระธรรมอันศาสดาของพวก

ท่านกล่าวแล้วชั่ว พระสงฆ์ปฏิบัติชั่ว ดังนี้เป็นต้น ไม่ควรนิ่งเสีย แต่
ควรกล่าวแก้เขาอย่างนี้ว่า นั่นไม่จริง แม้เพราะเหตุนี้ คือ คำที่พวกท่าน
กล่าวนั้น ไม่จริงแม้เพราะเหตุนี้ ไม่แท้แม้เพราะเหตุนี้ ข้อนี้ไม่มีใน
พวกเรา และก็หาไม่ได้ในพวกเรา พระศาสดาของพวกเราเป็นพระสัพ-
พัญญูจริง พระธรรมพระองค์ตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว ในข้อ
นั้นมีเหตุดังนี้ ๆ.
ในบทเหล่านี้ บทที่สอง พึงทราบว่าเป็นไวพจน์ของบทที่หนึ่ง บท
ที่สี่พึงทราบว่าเป็นไวพจน์ของบทที่สาม. และควรทำการแก้ในการติเตียน
เท่านั้นดังนี้ ไม่ต้องแก้ทั่วไป. แต่ถ้าเมื่อถูกเขากล่าวว่า ท่านเป็นคน
ทุศีล อาจารย์ของท่านเป็นคนทุศีล สิ่งนี้ ๆ ท่านได้กระทำแล้ว อาจารย์
ของท่านได้กระทำแล้ว ดังนี้ ก็ทนนิ่งอยู่ได้ ย่อมเป็นที่หวาดเกรงแก่ผู้
กล่าวฉะนั้น ไม่ต้องทำความขุ่นใจ แก้ไขการติเตียน ส่วนบุคคลที่ด่าด้วย
อักโกสวัตถุ 10 โดยนัยว่า อ้ายอูฐ อ้ายวัว เป็นต้น ควรวางเฉยเสีย
ใช้อธิวาสนขันติอย่างเดียวในบุคคลนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงลักษณะของผู้คงที่ในฐานะแห่ง
การติเตียนอย่างนี้แล้ว บัดนี้ มีพระพุทธประสงค์จะทรงแสดงลักษณะ
ของผู้คงที่ในฐานะแห่งการสรรเสริญ จึงตรัสพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย คนเหล่าอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ดังนี้เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น คำว่า คนเหล่าอื่น ได้แก่ เทวดาและมนุษย์ทั้ง-
หลายผู้เลื่อมใสเหล่าใดเหล่าหนึ่ง. เพลิดเพลิน มีวิเคราะห์ว่า เป็นเหตุมา
ยินดีแห่งใจ. คำนี้เป็นชื่อของปีติ.
ภาวะแห่งใจดี ชื่อว่า โสมนัส. คำว่า โสมนัสนี้เป็นชื่อของความ

สุขทางจิต.
ภาวะแห่งบุคคลผู้เบิกบาน ชื่อว่า ความเบิกบาน ถามว่า ความ
เบิกบานของอะไร ? ตอบว่า ของใจ. คำว่า ความเบิกบานนี้เป็นชื่อของ
ปีติอันทำให้เบิกบาน นำมาซึ่งความฟุ้งซ่าน.
แม้ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสสังขารขันธ์ด้วยบททั้งสอง
ตรัสเวทนาขันธ์ด้วยบทเดียว ด้วยประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงห้ามความเบิกบานโดยนัยที่หนึ่ง
อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงโทษในความเบิกบานนั้น โดยนัยที่สอง
จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า ถ้าเธอทั้งหลายจักเพลิดเพลิน จักดีใจ จักเบิกบาน
ใจในคำชมนั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่
ดังนี้.
แม้ในที่นี้ ก็พึงทราบเนื้อความว่า บทว่า ตุมฺหญฺเญวสฺส เตน
อนฺตราโย
ความว่า อันตรายจะพึงมีแก่คุณธรรมทั้งหลาย มีปฐมฌาน
เป็นต้น ของเธอทั้งหลายนั้นเอง เพราะความเบิกบานนั้น.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไรจึงตรัสดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรร-
เสริญปีติ และโสมนัสในพระรัตนตรัยนั่นเทียว โดยพระสูตรหลายร้อย
สูตร มีอาทิอย่างนี้ว่า ผู้ที่ประกาศว่า พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เกิดปีติไป
ทั่วกาย ก็ปีตินั้นประเสริฐกว่าชมพูทวีปเสียอีก และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในวัตถุอัน
เลิศ ดังนี้มิใช่หรือ ?
ตอบว่า ตรัสสรรเสริญไว้จริง แต่ปีติและโสมนัสนั้นเกี่ยวกับเนก-
ขัมมะ ในที่นี้ ทรงประสงค์ปีติและโสมนัสที่เนื่องด้วยการครองเรือน

อย่างที่เกิดขึ้นแก่ท่านพระฉันนะ โดยนัยว่า พระพุทธเจ้าของเรา พระ
ธรรมของเรา ดังนี้เป็นต้น. ด้วยว่า ปีติและโสมนัสที่เนื่องด้วยการครอง
เรือนนี้ ย่อมกระทำอันตรายแก่การบรรลุฌาน เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น
แหละ แม้ท่านพระฉันนะจึงไม่สามารถที่จะทำคุณวิเศษให้บังเกิดได้ตลอด
เวลาที่พระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จปรินิพพาน. แต่ท่านได้ถูกคุกคามด้วย
พรหมทัณฑ์ที่ทรงบัญญัติไว้ในปรินิพพานสมัย ละปีติและโสมนัสนั้นได้
แล้ว จึงยิ่งคุณวิเศษให้บังเกิดได้. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ปีติ และ
โสมนัสที่ตรัสแล้วนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายปีติและโสมนัสที่ทำ
อันตรายเท่านั้น. ก็ปีตินี้ที่เกิดพร้อมกับความโลภ และความโลภก็เช่น
กับความโกรธนั่นเอง. อย่างที่ตรัสไว้ว่า
คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม
เมื่อนรชนถูกความโลภครอบงำ ย่อมมืดตื้อทันที
ความโลภก่อให้เกิดความพินาศ ความโลภทำให้จิต
อยากได้ ชนไม่รู้จักความโลภนั้นซึ่งเป็นภัยเกิดใน
ภายใน ดังนี้.

ก็วาระที่สามแม้ไม่ได้มาในที่นี้ ก็พึงทราบว่า มาแล้วโดยอรรถะ
เหมือนกัน. แม้คนโลภก็ไม่รู้อรรถเหมือนอย่างคนโกรธ.
ในวาระแห่งการแสดงอาการที่จะพึงปฏิบัติ มีคำประกอบดังต่อไปนี้
เธอทั้งหลายได้ฟังเขาพูดว่า พระศาสดาของท่านทั้งหลายเป็นพระสัพพัญญู
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระองค์ตรัสดีแล้ว พระ
สงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้เป็นต้น ไม่ควรนิ่งเสีย แต่ควรยืนยันอย่างนี้ว่า
คำที่พวกท่านพูดนั้น เป็นคำจริงแม้เพราะเหตุนี้ เป็นคำแท้แม้เพราะเหตุ

นี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์แม้เพราะเหตุนี้
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้เพราะเหตุนี้ พระธรรมอันพระองค์ตรัสดี
แล้วแม้เพราะเหตุนี้ เป็นพระธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเองแม้เพราะเหตุนี้
พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้วแม้เพราะเหตุนี้ ปฏิบัติตรงแม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้
แม้ถูกถามว่า ท่านมีศีลหรือ ? ถ้ามีศีลก็พึงยืนยันว่า เราเป็นผู้มีศีล ดังนี้
ทีเดียว แม้ถูกถามว่า ท่านเป็นผู้ได้ปฐมฌานหรือ ? ๆ ล ๆ ท่านเป็น
พระอรหันต์หรือ ? ดังนี้ พึงยืนยันเฉพาะแก่ภิกษุทั้งหลายที่เป็นสภาคกัน
เท่านั้น. ก็ด้วยการปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้ ย่อมเป็นอันละเว้นความเป็นผู้
ปรารถนาลามก และย่อมเป็นอันแสดงความที่พระศาสนาไม่เป็นโมฆะ
ดังนี้. คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

พรรณนาอนุสนธิเริ่มต้น


อนุสนธิเริ่มต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต
จะพึงกล่าวด้วยประการใด นั่นมีประมาณน้อยนัก ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีล
ดังนี้.
พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มด้วยบทสองบท คือ การ
สรรเสริญและการติเตียน. ในสองประการนั้น การติเตียนต้องยับยังไว้
เหมือนไฟ พอถึงน้ำก็ดับฉะนั้น อย่างในคำนี้ว่า นั่นไม่จริงเพราะเหตุนี้
นั่นไม่แท้แม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้ . ส่วนการสรรเสริญก็ควรยืนยันที่เป็นจริง
ว่า เป็นจริง คล้อยตามไปอย่างนี้ทีเดียวว่า นั่นเป็นจริงแม้เพราะเหตุนี้.
ก็คำสรรเสริญนั้นมีสองอย่าง คือ คำสรรเสริญที่พรหมทัตมาณพกล่าว
อย่างหนึ่ง คำสรรเสริญที่ภิกษุสงฆ์ปรารภโดยนัยมีอาทิว่า ท่านทั้งหลาย