เมนู

ที่ด้านหนึ่งของอุทยาน แล้วเข้าพักแรมกับบริษัทของตน. แต่ในพระ
บาลีท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจคำที่ยกขึ้นเป็นประธานอย่างเดียวว่า กับด้วย
พรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์ของตน. ก็ปริพาชกนั้นเข้าพักแรมอยู่อย่างนี้
ได้แลดูพระทศพลในตอนกลางคืน. และในสมัยนั้นก็ตามประทีปไว้สว่าง
ดุจดาราเดียรดาษโดยรอบ. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ตรงกลาง
และภิกษุสงฆ์ก็พากันนั่งล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้ภิกษุสักรูปหนึ่งใน
ที่ประชุมนั้น ก็มิได้มีการคะนองมือ คะนองเท้า หรือเสียงไอ เสียงจาม
เลย. ด้วยว่าบริษัทนั้นนั่งประชุมกันสงบเงียบราวกะเปลวประทีปในที่อับ
ลม ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ ด้วยการเป็นผู้ศึกษาอบรมแล้ว และด้วย
ความเคารพในพระศาสดา. ปริพาชกเห็นคุณสมบัติดังนั้น จึงแลดูบริษัท
ของตน. ในที่ประชุมปริพาชกนั้น บางพวกก็นอนยกมือ บางพวกก็นอน
ยกเท้า บางพวกก็นอนละเมอ บางพวกก็นอนแลบลิ้น น้ำลายไหล กัด
ฟัน กรนเสียงดังครอก ๆ. แม้เมื่อควรจะกล่าวสรรเสริญ พระรัตนตรัย
สุปปิยปริพาชกนั้นก็กล่าวติเตียนอยู่นั่นเองอีก ด้วยอำนาจความริษยา
ส่วนพรหมทัตมาณพกล่าวสรรเสริญตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล. ด้วยเหตุ
นั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า ได้ยินว่า แม้ในพระราชอุทยาน
อัมพลัฏฐิกานั้น สุปปิยปริพาชก ดังนี้ ควรกล่าวคำทั้งหมด. ในพระบาลี
นั้น บทว่า ตตฺรปิ ความว่า ในอุทยานชื่ออัมพลัฏฐิกาแม้นั้น.

อธิบายคำว่าภิกษุหลายรูปและคำว่าสงฆ์


บทว่า สมฺพหุลานํ ความว่า มากรูปด้วยกัน. ในข้อนั้นตามบรร-
ยายในพระวินัย ภิกษุ 3 รูป เรียกว่าหลายรูป เกินกว่านั้น ไป เรียกว่า

สงฆ์ แต่ตามบรรยายในพระสูตร ภิกษุ 3 รูป เรียกว่า 3 รูปนั่นเอง
มากกว่านั้น เรียกว่าหลายรูป. ในที่นี้พึงทราบว่าหลายรูป ตามบรรยาย
ในพระสูตร.
บทว่า มณฺฑลมาเล ความว่า บางแห่งกูฎาคารศาลาที่เขาติดช่อฟ้า
สร้างไว้ด้วยการมุงแบบหงส์ เรียกว่า มัณฑลมาลก็มี บางแห่งอุปัฏฐาน-
ศาลาที่เขาติดช่อฟ้าไว้ตัวเดียว สร้างเสาระเบียงไว้รอบ เรียกว่ามัณฑล-
มาล
ก็มี. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า หอนั่ง เรียกว่ามัณฑลมาล.
บทว่า สนฺสิสินฺนานํ นั่งประชุม ท่านกล่าวเนื่องด้วยการนั่ง.
บทว่า สนฺนิปติตานํ ประชุม ท่านกล่าวเนื่องด้วยการรวมกัน.
ถ้อยคำ อธิบายว่า กถาธรรม เรียกว่า การสนทนา ในบทว่า อยํ
สงฺขิยธมฺโม.
บทว่า อุทปาทิ แปลว่า เกิดขึ้นแล้ว.
ก็ข้อสนทนานั้น เป็นอย่างไร ?
คือ คุยกันอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ดังนี้เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น ที่ว่าน่าอัศจรรย์ เพราะไม่มีอยู่เป็นนิจ เช่นคน
ตาบอดขึ้นเขา. นัยแห่งศัพท์ก็เท่านี้. ส่วนนัยแห่งอรรถกถา มีดังต่อไปนี้
ข้อว่า น่าอัศจรรย์ เพราะควรดีดนิ้วมือ อธิบายว่า ควรแก่การดีด
นิ้ว.
ข้อว่า ไม่เคยมี เพราะไม่เคยมีมามีขึ้น.
ทั้ง 2 บทนี้เป็นชื่อแห่งความประหลาดใจนั่นเอง.
บทว่า ยาวญฺจิทํ ตัดเป็น ยาว จ อิทํ. ด้วยบทนั้น ท่านแสดงความ
ที่คำนั้นหาประมาณมิได้. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดีแล้ว.

ในคำว่า เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา ฯ เป ฯ สุปฏิวิทิตา
นี้ มีความย่อดังต่อไปนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นใด ได้ทรงบำเพ็ญบารมี 30 ทัศ
แล้ว ทรงทำลายกิเลสทั้งปวง ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ทรงทราบอาสยะ และอนุสยะ ของเหล่าสัตว์
นั้น ๆ ทรงเห็นไญยธรรมทั้งปวง ดุจมะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่าพระหัตถ์
อนึ่ง ทรงทราบด้วยพระญาณ มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นต้น ทรง
เห็นด้วยทิพยจักษุ ก็หรือทรงทราบด้วยวิชชา 3 บ้าง ด้วยอภิญญา 6 บ้าง
ทรงเห็นด้วยพระสมันตจักษุที่ไม่มีอะไรขัดข้องในธรรมทั้งปวง หรือทรง
ทราบด้วยพระปัญญาอันสามารถรู้ธรรมทั้งปวง ทรงเห็นรูปอันพ้นวิสัย
จักษุแห่งสัตว์ทั้งปวง หรือแม้รูปที่อยู่นอกฝา เป็นต้น ด้วยพระมังสจักษุ
อันบริสุทธิ์ยิ่ง หรือทรงทราบด้วยพระปัญญาเครื่องแทงตลอด อันมีพระ
สมาธิเป็นปทัฏฐานให้สำเร็จประโยชน์เกื้อกูลแก่พระองค์ ทรงเห็นด้วย
พระปัญญาเป็นเครื่องแสดง อันมีพระกรุณาเป็นปทัฏฐานให้สำเร็จประ-
โยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ทรงเป็นพระอรหันต์ เพราะทรงกำจัดข้าศึกคือ
กิเลส และเพราะทรงเป็นผู้ควรแก่สักการะมีปัจจัย เป็นต้น ทรงเป็นพระ
สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง
หรือทรงทราบธรรมที่ทำอันตราย ทรงเห็นธรรมที่นำออกจากทุกข์ ทรง
เป็นพระอรหันต์ เพราะทรงกำจัดข้าศึกคือกิเลส และเพราะทรงเป็นผู้
ควรแก่สักการะมีปัจจัยเป็นต้น ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้
ธรรมทั้งปวงโดยชอบ และด้วยพระองค์เอง ทรงได้รับสดุดี โดยอาการ
ทั้ง 4 ด้วยอำนาจแห่งเวสารัชญาณ 4 ดังพรรณนามาฉะนี้ ทรงทราบดี

ถึงความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอธิมุติต่าง ๆ กัน และมีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน
และทรงทราบตลอดด้วยดีเพียงใด.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรง
ทราบดีแล้ว ท่านจึงกล่าวคำว่า ก็สุปปิยปริพาชกนี้ ดังนี้เป็นต้น. มีคำ
อธิบายว่า ก็ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติต่างกัน มีอัธยาศัยต่างกัน มี
ทิฏฐิต่างกัน มีความพอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน นี้ใด อันพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบด้วยพระสัพพัญญุตญาณอันเป็นเครื่องรู้ความที่
สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติต่างกัน ดุจทรงตวงด้วยทะนาน และดุจทรงชั่งด้วย
ตาชั่ง โดยพระบาลีอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้ง-
หลายย่อมเทียบเคียงกันเข้าได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็เทียบเคียงเข้ากันได้
กับพวกที่มีอธิมุติเลว พวกที่มีอธิมุติดีก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มี
อธิมิติดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อดีตกาล ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายก็
เทียบเคียงเข้ากันได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มี
อธิมุติเลว พวกที่มีอธิมุติดีก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้อนาคตกาล ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายจักเทียบเคียงเข้า
กันได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็จักเทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติเลว
พวกที่มีอธิมุติดีก็จักเทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้ปัจจุบันกาลเดี๋ยวนี้ ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายย่อมเทียบเคียง
เข้ากันได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติเลว
พวกที่มีอธิมุติดีก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี ดังนี้ ความที่
สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติต่างกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดีแล้ว
เพียงใด ขึ้นชื่อว่าสัตว์ถึงสองคนมีอัธยาศัยอย่างเดียวกัน หาได้ยากในโลก

เมื่อคนหนึ่งต้องการจะเดิน คนหนึ่งต้องการจะยืน เมื่อคนหนึ่งต้องการ
จะดื่ม คนหนึ่งต้องการจะบริโภค และแม้ในอาจารย์และศิษย์สองคนนี้
สุปปิยปริพาชกนี้ กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดย
อเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์ของสุปปิยปริพาชก คง
กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย
อาจารย์และศิษย์ทั้งสองนั้นมีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันและกันโดยตรงฉะนี้
เดินตามพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลัง ๆ ด้วยประการฉะนี้.
ในพระบาลีนั้น บทว่า อิติหเม ตัดบทเป็น อิติห อิเม มีความว่า
เหล่านี้... ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือก็นัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ในคำว่า อถโข ภควา เตสํ ภิกฺขูนํ อิมํ สงฺขิยธมฺมํ วิทิตฺวา
นี้ บทว่า วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบด้วยพระสัพพัญญุตญาณ.
จริงอยู่ ในบาลีประเทศบางแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระ
เนตรเห็นด้วยมังสจักษุ จึงทรงทราบ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ได้ทอดพระเนตรเห็นไม้ท่อนใหญ่ถูกกระแสน้ำในแม่น้ำคงคา
พัดไป. ในบาลีประเทศบางแห่งทรงเห็นด้วยทิพยจักษุ จึงทรงทราบ
เช่นในประโยคมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นเทวดาเหล่านั้น
นับเป็นพัน ๆ กำลังหวงแหนพื้นที่ทั้งหลายในปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุ
อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์. ในบาลีประเทศบางแห่งทรงสดับด้วยพระโสต
ธรรมดาจึงทรงทราบ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ทรงสดับท่านพระอานนท์สนทนาปราศรัยกับสุภัททปริพาชก. ในบาลี
ประเทศบางแห่ง ทรงฟังด้วยทิพยโสตแล้วทรงทราบ เช่นในประโยคมี
อาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับสันธานคหบดี สนทนาปราศรัย

กับนิโครธปริพาชกด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตมนุษย์. ก็ใน
พระบาลีนี้ทรงเห็นด้วยพระสัพพัญญุตญาณ จึงได้ทรงทราบ. ทรงทำอะไร
จึงได้ทรงทราบ ? ทรงทำกิจในปัจฉิมยาม.

พรรณนาพุทธกิจ 5 ประการ


ขึ้นชื่อว่ากิจนี้มี 2 อย่าง คือ กิจที่มีประโยชน์และกิจที่ไม่มีประ-
โยชน์. บรรดากิจ 2 อย่างนั้น กิจที่ไม่มีประโยชน์ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเพิกถอนแล้วด้วยอรหัตตมรรค ณ โพธิบัลลังก์. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงมีกิจแต่ที่มีประโยชน์เท่านั้น. กิจที่มีประโยชน์ของพระผู้มีพระภาค-
เจ้า
นั้นมี 5 อย่าง คือ
1. กิจในปุเรภัต
2. กิจในปัจฉาภัต
3. กิจในปุริมยาม
4. กิจในมัชฌิมยาม
5. กิจในปัจฉิมยาม

ในบรรดากิจ 5 อย่างนั้น กิจในปุเรภัตมีดังนี้ ก็พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
เสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ทรงปฏิบัติพระสรีระ มีบ้วนพระโอฐ
เป็นต้น เพื่อทรงอนุเคราะห์อุปฐากและเพื่อความสำราญแห่งพระสรีระ
เสร็จแล้วทรงประทับยับยั้งอยู่บนพุทธอาสน์ที่เงียบสงัด จนถึงเวลาภิกษา-
จาร ครั้นถึงเวลาภิกษาจาร ทรงนุ่งสบง ทรงคาดประคดเอว ทรง
ครองจีวร ทรงถือบาตร บางครั้งเสด็จพระองค์เดียว บางครั้งแวดล้อม