เมนู

สุปปิยปริพาชกพบพระผู้มีพระภาคเจ้า


ครั้งนั้น ปริพาชกครั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปด้วย
พุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้ และเห็นภิกษุทั้งหลายมีจักษุทอดลง มี
อินทรีย์สงบ มีใจสงบ กำลังถวายนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นดั่ง
ดวงจันทร์เพ็ญที่ลอยเด่นอยู่บนนภากาศ ฉะนั้น อย่างนี้แล้ว ได้เหลียวดู
บริษัทของตน. บริษัทของปริพาชกนั้น มากไปด้วยหาบบริขารมิใช่น้อย
มีตั่งเล็ก ๆ สามง่าม บาตรดินมีสีดังแววหางนกยูง กะทอและคนโทน้ำ
เป็นต้น ซึ่งห้อยอยู่ที่ไม้คานหาบมาพะรุงพะรัง ทั้งปากกล้า กล่าววาจา
หาประโยชน์มิได้ มีอาทิอย่างนี้ว่า มือของคนโน้นงาม เท้าของคนโน้น
งาม มีวาจาเพ้อเจ้อ ไม่น่าดู ไม่น่าเลื่อมใส. ครั้นเห็นดังนั้นเขาเกิด
วิปฏิสาร. ในกาลบัดนี้ ควรที่เขาจะกล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า.
แต่เพราะเหตุที่ปริพาชกนี้ริษยาพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้ตลอดกาลเป็น
นิจ เพราะความเสื่อมแห่งลาภสักการะ และความเสื่อมพรรคพวก ด้วย
ว่าลาภสักการะย่อมบังเกิดแก่อัญเดียรถีย์ทั้งหลาย ตลอดเวลาที่พระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายยังมิได้เสด็จอุบัติในโลก แต่จำเดิมแต่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ
ขึ้น อัญเดียรถีย์ทั้งหลายก็พากันเสื่อมลาภสักการะ ถึงความเป็นผู้ไร้สง่า
ราศี ดั่งหิ่งห้อยเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นฉะนั้น.
ก็ในเวลาที่อุปติสสะและโกลิตะบวชในสำนักของสัญชัยนั้น พวก
ปริพาชกได้มีบริษัทมาก แต่เมื่ออุปติสสะและไกลิตะหลีกไป บริษัท
ของพวกเขาแม้นั้นก็พากันแตกไป. ด้วยเหตุ 2 ประการดังกล่าวมานี้
พึงทราบว่าสุปปิยปริพาชกนี้เมื่อคายความริษยานั้นออกมา กล่าวติพระ
รัตนตรัยทีเดียว เพราะริษยาพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่เป็นนิจ

คำว่า อถโข ภควา อมฺพลฏฺฐิกายํ ราชาคารเก เอกรตฺติวาสํ
อุปคญฺฉิ สทฺธึ ภิกฺขุสงฺเฆน
ความว่า ในครั้งนั้นแลพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
เสด็จไปด้วยพุทธลีลานั้น ถึงประตูพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา
โดยลำดับ ทอดพระเนตรดูพระอาทิตย์ มีพระพุทธดำริว่า บัดนี้มิใช่กาล
ที่จะไป พระอาทิตย์ใกล้อัสดงคต จึงเสด็จเข้าประทับพักแรมราตรีหนึ่ง
พระตำหนักหลวง ในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา.
ในพระบาลีนั้น อุทยานของพระราชา ชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา. ได้ยิน
ว่า ณ ที่ใกล้ประตูแห่งอุทยานั้นมีต้นมะม่วงหนุ่มอยู่ ซึ่งคนทั้งหลายเรียก
ว่า อัมพลัฏฐิกา แม้อุทยานก็พลอย ชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา ด้วย เพราะอยู่
ใกล้มะม่วงหนุ่มต้นนั้น. อุทยานนั้นสมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ มีกำแพง
ล้อมรอบ มีประตูประกอบไว้อย่างดี คุ้นครองอย่างดี ปานดังหีบฉะนั้น.
ในอุทยานนั้นได้สร้างพระตำหนักอันวิจิตรด้วยประดิษฐกรรม เพื่อเป็นที่
เล่นทรงสำราญพระราชหฤทัย พระตำหนักนั้น จึงเรียกกันว่า พระตำหนัก
หลวง.

คำว่า สุปฺปิโยปิ โข ความว่า แม้สุปปิยปริพาชกแลดูพระอาทิตย์
ณ ที่ตรงนั้นแล้ว ดำริว่า บัดนี้มิใช่กาลที่จะไป ปริพาชกทั้งผู้น้อยและ
ผู้ใหญ่มีอยู่มาก และทางนี้ก็มีอันตรายอยู่มาก ด้วยโจรบ้าง ด้วยยักษ์ร้าย
บ้าง ด้วยสัตว์ร้ายบ้าง ก็พระสมณโคดมนี้เสด็จเข้าไปยังอุทยาน ในสถาน
ที่ประทับของพระสมณโคดม เทวดาย่อมพากันอารักขา อย่ากระนั้นเลย
แม้เราก็จักเข้าไปพักแรมราตรีหนึ่งในอุทยานนี้แล พรุ่งนี้จึงค่อยไป ครั้น
ดำริดังนี้แล้วจึงเข้าไปสู่อุทยานนั้นแล.
ลำดับนั้น ภิกษุสงฆ์แสดงวัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กำหนด
สถานที่พักของตน ๆ. แม้สุปปิยปริพาชกก็ให้วางบริขารของปริพาชก

ที่ด้านหนึ่งของอุทยาน แล้วเข้าพักแรมกับบริษัทของตน. แต่ในพระ
บาลีท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจคำที่ยกขึ้นเป็นประธานอย่างเดียวว่า กับด้วย
พรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์ของตน. ก็ปริพาชกนั้นเข้าพักแรมอยู่อย่างนี้
ได้แลดูพระทศพลในตอนกลางคืน. และในสมัยนั้นก็ตามประทีปไว้สว่าง
ดุจดาราเดียรดาษโดยรอบ. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ตรงกลาง
และภิกษุสงฆ์ก็พากันนั่งล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้ภิกษุสักรูปหนึ่งใน
ที่ประชุมนั้น ก็มิได้มีการคะนองมือ คะนองเท้า หรือเสียงไอ เสียงจาม
เลย. ด้วยว่าบริษัทนั้นนั่งประชุมกันสงบเงียบราวกะเปลวประทีปในที่อับ
ลม ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ ด้วยการเป็นผู้ศึกษาอบรมแล้ว และด้วย
ความเคารพในพระศาสดา. ปริพาชกเห็นคุณสมบัติดังนั้น จึงแลดูบริษัท
ของตน. ในที่ประชุมปริพาชกนั้น บางพวกก็นอนยกมือ บางพวกก็นอน
ยกเท้า บางพวกก็นอนละเมอ บางพวกก็นอนแลบลิ้น น้ำลายไหล กัด
ฟัน กรนเสียงดังครอก ๆ. แม้เมื่อควรจะกล่าวสรรเสริญ พระรัตนตรัย
สุปปิยปริพาชกนั้นก็กล่าวติเตียนอยู่นั่นเองอีก ด้วยอำนาจความริษยา
ส่วนพรหมทัตมาณพกล่าวสรรเสริญตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล. ด้วยเหตุ
นั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า ได้ยินว่า แม้ในพระราชอุทยาน
อัมพลัฏฐิกานั้น สุปปิยปริพาชก ดังนี้ ควรกล่าวคำทั้งหมด. ในพระบาลี
นั้น บทว่า ตตฺรปิ ความว่า ในอุทยานชื่ออัมพลัฏฐิกาแม้นั้น.

อธิบายคำว่าภิกษุหลายรูปและคำว่าสงฆ์


บทว่า สมฺพหุลานํ ความว่า มากรูปด้วยกัน. ในข้อนั้นตามบรร-
ยายในพระวินัย ภิกษุ 3 รูป เรียกว่าหลายรูป เกินกว่านั้น ไป เรียกว่า