เมนู

500 องค์ ได้ทำไว้ และเรียกกันว่า เถริกา เพราะพระสงฆ์ชั้นพระเถระ
ทั้งนั้นได้ทำไว้ สังคายนานี้ชื่อปฐมมหาสังคายนา ด้วยประการฉะนี้.

อรรถกถาพรหมชาลสูตร


เมื่อปฐมมหาสังคายนานี้กำลังดำเนินไปอยู่ เวลาสังคายนาพระวินัย
จบลง ท่าน พระมหากัสสป เมื่อถามพรหมชาลสูตร ซึ่งเป็นสูตรแรก
แห่งนิกายแรกในสุตตันตปิฎก ได้กล่าวคำอย่างนี้ว่า ท่านอานนท์
พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสพรหมชาลสูตรที่ไหน ดังนี้เป็นต้นจบลง ท่าน
พระอานนท์ เมื่อจะประกาศสถานที่ทีพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพรหม-
ชาลสูตร และบุคคลที่พระองค์ตรัสปรารภให้เป็นเหตุนั้นให้ครบกระแส
ความจึงกล่าวคำว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า แม้พรหมชาลสูตร ก็มีคำเป็นนิทานว่า เอวมฺเม สุตํ ที่ท่านพระอานนท์
กล่าวในคราวปฐมมหาสังคายนา เป็นเบื้องต้น ดังนี้.
ในคำเป็นนิทานแห่งพระสูตรนั้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.

แก้อรรถบท เอวํ


บทว่า เอวํ เป็นบทนิบาต. บทว่า เม เป็นต้น เป็นบทนาม ใน
คำว่า ปฏิปนฺโน โหติ นี้ บทว่า ปฏิ เป็นบทอุปสรรค. บทว่า โหติ
เป็นบทอาขยาต. พึงทราบการจำแนกบทโดยนัยเท่านี้ก่อน.
แต่โดยอรรถ เอวํ ศัพท์ แจกเนื้อความได้หลายอย่าง เป็นต้นว่า
ความเปรียบเทียบ ความแนะนำ ความยกย่อง ความติเตียน ความรับคำ
อาการะ ความชี้แจง ความห้ามความอื่น.

จริงอย่างนั้น เอวํ ศัพท์นี้ ที่มาในความเปรียบเทียบ เช่น ในประ-
โยคมีอาทิว่า เอวํ ชาเตน มจฺเจน กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุํ สัตว์เกิด
มาแล้วควรบำเพ็ญกุศลให้มาก ฉันนั้น.
ที่มาในความแนะนำ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวํ เต อภิกฺกมิ-
ตพฺพํ เอวํ ปฏิกฺกมิตพฺพํ
เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้.
ที่มาในความยกย่อง เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวเมตํ ภควา
เอวเมตํ สุคต
ข้อนั้นเป็นอย่างนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นเป็นอย่างนี้
พระพระสุคต.
ที่มาในความติเตียน เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวเมวํ ปนายํ
วสลี ยสฺมึ วา ตสิมึ วา ตสฺส มุณฺฑกสฺส สมณกสฺส วณฺณํ ภาสติ

ก็หญิงถ่อยนี้ กล่าวสรรเสริญสมณะโล้นนั้น อย่างนี้อย่างนี้ ทุกหนทุกแห่ง.
ที่มาในความรับคำ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวํ ภนฺเตติ โข
เต ภิกขู ภคตโต ปจฺจสฺโสสุํ
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ที่มาในอาการะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวํ พฺยาโข อหํ ภนฺเต
ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่ว
ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนี้จริง.
ที่มาในความชี้แจง เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอหิ ตฺวํ มาณวภ
เยน สมโณ อานนฺโท เตนุปสงฺกม อุปสงฺกมิตฺวา มม วจเนน สมณํ
อานนฺทํ อปฺปาพาธํ อปฺปาตงฺกํ ลหุฏฺฐานํ พลํ ผาสุวิหารํ ปุจฺฉ
สุโภ มาณโว โตเทยฺยปุตฺโต ภวนฺตํ อานนฺทํ อปฺปาพาธํ อปฺปาตงฺกํ
ลหุฏฺฐานํ พลํ ผาสุวิหารํ ปุจฺฉตีติ เอวญฺจ วเทหิ สาธุ กิร ภวํ




อานนฺโท เยน สุภสฺ มาณวสฺส โตเทยฺยปุตฺตสฺส นิเวสนํ เตนุป-
สงฺกมตุ อนุกมฺปํ อุปาทาย
มานี่แนะ พ่อหนุ่มน้อย เธอจงเข้าไปหา
พระอานนท์ แล้วเรียนถามพระอานนท์ ถึงความมีอาพาธน้อย ความมี
โรคน้อย ความคล่องแคล่ว ความมีกำลัง ความอยู่สำราญ และจงพูด
อย่างนี้ว่า สุภมาณพโตเทยยบุตร เรียนถามพระอานนท์ผู้เจริญ ถึงความ
มีอาพาธน้อย ความมีโรคน้อย ความคล่องแคล่ว ความมีกำลัง ความ
อยู่สำราญ และจงกล่าวอย่างนี้ว่า ขอประทานโอกาส ได้ยินว่า ขอพระ
อานนท
์ผู้เจริญ โปรดอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของสุภมาณพโตเทยย-
บุตรเถิด.

ที่มาในอวธารณะ ห้ามความอื่น เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตํ กึ มญฺญถ
กาลามา อิเม ธมฺมา ฯ เป ฯ เอวํ โน เอตฺถ โหติ
ดูก่อนชาวกาลามะทั้ง
หลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
หรือกุศล. พวกชนชาวกาลามะต่างกราบทูลว่า เป็นอกุศล พระเจ้าข้า. มี
โทษ หรือไม่มีโทษ ? มีโทษพระเจ้าข้า. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรร-
เสริญ ? ท่านผู้รู้ติเตียนพระเจ้าข้า. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไป
เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ หรือหาไม่ หรือท่านทั้งหลายมีความเห็น
อย่างไรในข้อนี้ ? ธรรมเหล่านี้ ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่ง
ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ ในข้อนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้
พระเจ้าข้า. เอวํ ศัพท์นี้นั้น ในพระบาลีนี้ พึงเห็นใช้ในอรรถ คือ
อาการะ ความชี้แจง ความห้ามความอื่น.
บรรดาอรรถ 3 อย่างนั้น ด้วย เอวํ ศัพท์ ซึ่งมีอาการะ เป็นอรรถ
ท่านพระอานนท์แสดงเนื้อความนี้ว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า

นั้น ละเอียดโดยนัยต่าง ๆ ตั้งขึ้นด้วยอัธยาศัยมิใช่น้อย สมบูรณ์ด้วยอรรถ
และพยัญชนะ มีปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ลึกซึ้งโดยธรรม อรรถ เทศนา และ
ปฏิเวธ มาสู่คลองโสตสมควรแก่ภาษาของตน ๆ ของสัตว์โลกทั้งปวง ใคร
เล่าที่สามารถเข้าใจได้โดยประการทั้งปวง แต่ข้าพเจ้าแม้ใช้เรี่ยวแรง
ทั้งหมดให้เกิดความประสงค์ที่จะสดับ ก็ได้สดับมาอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้า
ก็ได้สดับมาโดยอาการอย่างหนึ่ง.
ด้วย เอวํ ศัพท์ ซึ่งมีนิทัสสนะเป็นอรรถ ท่านพระอานนท์ เมื่อ
จะเปลื้องตนว่า ข้าพเจ้ามิใช่พระสยัมภู พระสูตรนี้ข้าพเจ้ามิได้กระทำให้
แจ้ง จึงแสดงพระสูตรทั้งสิ้นที่ควรกล่าวในบัดนี้ว่า เอวมฺเม สุตํ คือ
ข้าพเจ้าเองได้ยินมาอย่างนี้.
ด้วย เอวํ ศัพท์ ซึ่งมีอวธารณะเป็นอรรถ ท่านพระอานนท์เมื่อ
จะแสดงพลังด้านความทรงจำของตนอันควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้า
ทรงสรรเสริญไว้ อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์นี้ เป็นเลิศ
กว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ซึ่งเป็นพหูสูต มีคติ มีสติ มีธิติ
(ความทรงจำ) เป็นอุปฐาก ดังนี้ และที่ท่านธรรมเสนาบดีพระสารีบุตร
เถระ
สรรเสริญไว้ อย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ เป็นผู้ฉลาดในอรรถ
ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ ฉลาดในคำเบื้องต้น
และคำเบื้องปลาย ดังนี้ ย่อมให้เกิดความประสงค์ที่จะสดับแก่สัตว์โลกทั้ง
หลาย โดยกล่าวว่าข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ และที่สดับนั้นก็ไม่ขาดไม่เกิน
ทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ คืออย่างนี้เท่านั้น ไม่พึงเห็นเป็นอย่างอื่น.

แก้อรรถบท เม


เม

ศัพท์ เห็นใช้ในเนื้อความ 3 อย่าง. จริงอย่างนั้น เม ศัพท์นี้