เมนู

ในการสมมติสีมานั้น ความคาบเกี่ยวกันและความทับกันจะมีได้ด้วย
ลักษณะอย่างใด, ลักษณะทั้งปวงนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้วในอุโบสถ
ขันธกะ.
สีมาทั้ง 11 อย่างนี้ ไม่จัดเป็นสีมา เป็นเท่ากับคามเขตเท่านั้น. กรรม
ที่สงฆ์นั่งทำในสีมาเหล่านั้น ย่อมเสีย ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า กรรมย่อมวิบัติโดยสีมา ด้วยอาการ 11 เหล่านี้.

[กรรมวิบัติโดยปริสะ]


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในวิบัติแห่งกรรมโดยปริสะ ดังต่อไปนี้ :-
ไม่มีคำน้อยหนึ่งที่จัดว่าไม่ตื้น.
ลักษณะของภิกษุผู้เข้ากรรมและภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะ ในกรรมวิบัติ
โดยปริสะนั้น ที่ข้าพเจ้าควรกล่าวก็มีบ้าง แต่ท่านได้กล่าวไว้ข้างหน้าแล้วแล
โดยนัยเป็นต้นว่า จตฺตาโร ภิกฺขู ปกตตฺตา กมฺมปฺปตฺตา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ปกตตฺตา กมฺมปฺปตฺตา มีความว่า
ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุ 4 รูปผู้มีตนเป็นปกติ คือ ผู้อันสงฆ์มิได้
ยกวัตร อันสงฆ์มิได้ลงโทษ ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ภิกษุ 4 รูป ผู้เข้ากรรม คือ
ผู้ควร ผู้สมควร ได้แก่เป็นเจ้าของแห่งกรรม. กรรมนั้น เว้นพวกเธอเสีย
ย่อมทำไมได้. ฉันทะก็ดี ปาริสุทธิก็ดี ของพวกเธอยังไม่มา. ฝ่ายภิกษุที่เหลือ
ถ้าแม้มีประมาณพันรูป. ถ้าว่าเป็นสมานสังวาสก์ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ฉันทะ
ทั้งหมดทีเดียว. พวกเธอมอบฉันทะและปาริสุทธิแล้ว จะมาหรือไม่มาก็ตาม.
ส่วนกรรมคงตั้งอยู่.

แต่สงฆ์ทำกรรมมีปริวาสเป็นต้น แก่ภิกษุใด, ภิกษุนั้นมิใช่ผู้เข้ากรรม
ทั้งมิใช่ผู้ควรแก่ฉันทะ. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้นอันท่านเรียกว่า กัมมารหบุคคล
ก็เพราะเหตุที่สงฆ์จัดบุคคลนั้นให้เป็นวัตถุกระทำกรรม.
แม้ในกรรมที่เหลืด ก็นัยนี้แล.
ท่านกล่าวนัยเป็นต้นว่า จตตาริ กมฺมานิ ไว้อีก ก็เพื่อแสดข้อที่
อภัพบุคคลมีบัณเฑาะก์เป็นต้น ไม่จัดเป็นวัตถุ.
คำที่เหลือ ในนัยนี้ ตื้นทั้งนั้น.

[ว่าด้วยอปโลกนกรรม]


บัดนี้ เพื่อแสดงประเภทแห่งกรรมเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า
อปโลกนกมฺมํ กติ ฐานนิ คจฺฉติ เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทที่ว่า อปโลกนกรรม ย่อมถึงฐานะ 5
เหล่าไหน ? ฐาน ะ 5 เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา ภัณฑุกรรม
พรหมทัณฑ์ ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ 5 นี้ คำที่ว่า โอสารณา นิสสารณา
นั้น ท่านกล่าวแล้ว เพื่อเป็นบทที่ไพเราะ. แต่นิสสารณามีก่อน โอสารณา
มีภายหลัง.

[นิสสารณาและโอสารณา]


ใน 2 อย่างนั้น ทัณฑกรรมนาสนาที่สงฆ์ทำแก่กัณฏกสามเณร พึง
ทราบว่าเป็นนิสสารณา. เพราะเหตุนั้น ในบัดนี้ แม้ถ้าสามเณรกล่าวโทษ
พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์, แสดงสิ่งที่ไม่ควรว่าควร, เป็นผู้มีความ