เมนู

เป็น พึงสวดกรรมวาจา ชำระภาษาตามควรแก่บาลี หลีกโทษ ที่กล่าว
แล้ว แห่งภาษาคือพยัญชนะทั้ง 10 อย่างเสีย. จริงอยู่ เมื่อว่าโดยประการนอกนี้
แล้ว ชื่อว่าทิ้งสาวนาเสีย.
สองบทว่า อกาเล วา สาเวติ มีความว่า งดญัตติไว้ ทำอนุ-
สาวนากรรมเสียก่อน ในสมัยมิใช่กาล คือ มิใช่โอกาสแห่งสาวนาแล้ว ตั้ง
ญัตติต่อภายหลัง
กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนา ด้วยอาการ 5 นี้ ด้วยประการฉะนี้.

[กรรมวิบัติโดยสีมา]


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในวิบัติโดยสีมา ดังต่อไปนี้ :-
สีมาใด ไม่จุภิกษุได้ 21 รูป สีมานั้น จัดว่าสีมาเล็กเกินไป.
แต่ในกุรุนทีว่า ภิกษุ 21 รูป ไม่อาจเพื่อนั่งในสีมาใด สีมานั้น
จัดว่าเล็กเกินไป. เพราะเหตุนั้น สีมาเห็นปานนี้อันสงฆ์สมมติแล้วก็ตาม เป็น
อันไม่ได้สมมติ ย่อมต้องเป็นเช่นกับคามเขต. กรรมที่ทำในสีมานั้น ย่อมเสีย.
แม้ในสีมาที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้.
ก็นัยสีมาเหล่านี้ สีมาใด เป็นแดนอันสงฆ์สมมติเกิด 3 โยชน์แม้
เพียงปลายเส้นผมเดียว สีมานั้น จัดว่าใหญ่เกินไป.
สีมามีนิมิตไม่ต่อกัน เรียกว่า สีมามีนิมิตขาด.
ภิกษุทักนิมิตในทิศตะวันออกแล้ว ทักในทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศเหนือ
วนไปโดยลำดับกัน แล้วทักซ้ำนิมิตที่เคยทักแล้ว ในทิศตะวันออกอีก แล้ว
จึงหยุด จึงจะควร. สีมาย่อมเป็นแดนมีนิมิตไม่ขาดอย่างนี้. ก็ถ้าว่า ทักมา

ตามลำดับแล้ว ทักนิมิตในทิศเหนือแล้ว หยุดเสียแค่ทิศเหมือนนั่นเอง, สีมา
ย่อมมีนิมิตขาด.
สีมาใด ที่สงฆ์สมมติ จัดเอาต้นไม้มีเปลือกแข็งก็ดี ตอไม้ก็ดี กองดิน
กองทรายอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ซึ่งไม่ควรเป็นนิมิต ให้เป็นนิมิตอันหนึ่งใน
ระหว่าง สีมานั้นจัดเป็นสีมามีนิมิตขาดอีกชนิดหนึ่ง.
สีมาใดที่สงฆ์สมมติ กะเอาเงาภูเขาเป็นต้นเงาอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้
เป็นนิมิต สีมานั้น ชื่อว่ามีฉายาเป็นนิมิต.
สีมาใด ที่สงฆ์สมมติ ไม่ทักนิมิตโดยประการทั้งปวง, สีมานั้น ชื่อว่า
หานิมิตมิได้.
ภิกษุทักนิมิตแล้ว ยืนอยู่ภายนอกนิมิตสมมติสีมา ชื่อว่ายืนอยู่นอกสีมา
สมมติสีมา.
ภิกษุสมมติสีมาในน่านน้ำมีแม่น้าเป็นต้นเหล่านี้ ชื่อว่าสมมติสีมาใ น
แม่น้ำ ในทะเล ในสระเกิดเอง. สีมานั้น แม้สงฆ์สมมติแล้วอย่างนั้น ย่อม
ไม่เป็นอันสมมติเลย เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำทั้งปวง ไม่ใช่สีมา
ทะเลทั้งปวง ไม่ใช่สีมา, สระเกิดเองทั้งปวง ไม่ใช่สีมา.
หลายบทว่า สีมาย สีมํ สมฺภินฺทติ มีความว่า คาบเกี่ยวสีมา
ของผู้อื่นด้วยสีมาของตน.
บทว่า อชฺโฌตฺถรติ ได้แก่ สมมติทับสีมาของผู้อื่น ด้วยสีมา
ของตน.

ในการสมมติสีมานั้น ความคาบเกี่ยวกันและความทับกันจะมีได้ด้วย
ลักษณะอย่างใด, ลักษณะทั้งปวงนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้วในอุโบสถ
ขันธกะ.
สีมาทั้ง 11 อย่างนี้ ไม่จัดเป็นสีมา เป็นเท่ากับคามเขตเท่านั้น. กรรม
ที่สงฆ์นั่งทำในสีมาเหล่านั้น ย่อมเสีย ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า กรรมย่อมวิบัติโดยสีมา ด้วยอาการ 11 เหล่านี้.

[กรรมวิบัติโดยปริสะ]


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในวิบัติแห่งกรรมโดยปริสะ ดังต่อไปนี้ :-
ไม่มีคำน้อยหนึ่งที่จัดว่าไม่ตื้น.
ลักษณะของภิกษุผู้เข้ากรรมและภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะ ในกรรมวิบัติ
โดยปริสะนั้น ที่ข้าพเจ้าควรกล่าวก็มีบ้าง แต่ท่านได้กล่าวไว้ข้างหน้าแล้วแล
โดยนัยเป็นต้นว่า จตฺตาโร ภิกฺขู ปกตตฺตา กมฺมปฺปตฺตา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ปกตตฺตา กมฺมปฺปตฺตา มีความว่า
ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุ 4 รูปผู้มีตนเป็นปกติ คือ ผู้อันสงฆ์มิได้
ยกวัตร อันสงฆ์มิได้ลงโทษ ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ภิกษุ 4 รูป ผู้เข้ากรรม คือ
ผู้ควร ผู้สมควร ได้แก่เป็นเจ้าของแห่งกรรม. กรรมนั้น เว้นพวกเธอเสีย
ย่อมทำไมได้. ฉันทะก็ดี ปาริสุทธิก็ดี ของพวกเธอยังไม่มา. ฝ่ายภิกษุที่เหลือ
ถ้าแม้มีประมาณพันรูป. ถ้าว่าเป็นสมานสังวาสก์ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ฉันทะ
ทั้งหมดทีเดียว. พวกเธอมอบฉันทะและปาริสุทธิแล้ว จะมาหรือไม่มาก็ตาม.
ส่วนกรรมคงตั้งอยู่.