เมนู

1 ปริวาส 1 อาบัติเดิม 1 มานัต 1 อัพภาน
1 โอสารณา 1 นิสสารณา 1 อุปสมบท 1
อปโลกนกรรม 1 ญัตติกรรม 1 ญัตติทุติย-
กรรม 1 ญัตติจตุตถกรรม 1 ยังมิได้ทรง
บัญญัติ 1 ทรงบัญญัติซ้ำ 1 สัมมุขาวินัย 1
สติวินัย 1 อมูฬหวินัย 1 ปฏิญญาตกรณะ 1
เยภุยยสิกา 1 ตัสสปาปิยสิกา 1 ติณวัตถา-
รกะ 1 วัตถุ 1 วิบัติ 1 อาบัติ 1 นิทาน 1
บุคคล 1 ขันธ์ 1 สมุฏฐาน 1 อธิกรณ์ 1
สมถะ 1 สังคหะ 1 ชื่อ 1 และอาบัติ 1
ดังนี้แล.

คัมภีร์ปริวาร จบ

คาถาส่งท้าย


[1,366] ก็พระวินัยธร ผู้เรืองนาม
มีปัญญามาก ทรงสุตะ มีวิจารณญาณ สอบ
สวนแนวทางของท่านบุรพาจารย์ในที่นั้น ๆ
แล้วคิดเขียนข้อพิสดาร และสังเขปนี้ในสาย
กลาง ตามแนวทางที่วางไว้ ซึ่งจะนำความ
สะดวกมาให้แก่เหล่าศิษย์ คัมภีร์นี้เรียกว่า
ปริวาร มีทุกเรื่องพร้อมทั้งลักษณะ มีอรรถ

โดยอรรถในสัทธรรม มีธรรมโดยธรรมใน
บัญญัติ ห้อมล้อมพระศาสนาดุจสาครล้อม
รอบชมพูทวีป ฉะนั้น
พระวินัยธรเมื่อไม่รู้คัมภีร์ปริวาร
ไฉนจะวินิจฉัยโดยธรรมได้ ความเคลือบ-
แคลงของพระวินัยธรใดที่เกิดในวิบัติ วัตถุ
บัญญัติ อนุบัญญัติ บุคคล เอกโตบัญญัติ
อุภโตบัญญัติ โลกวัชชะ และปัณณัตติวัชชะ
ย่อมขาดสิ้นไปด้วยคัมภีร์ปริวาส พระเจ้า
จักรพรรดิ สง่างามในกองทัพใหญ่ฉันใด
ไกรสรสง่างามในท่ามกลางฝูงมฤคฉันใด
พระอาทิตย์แผ่ซ่านด้วยรัศมี ย่อมสง่างาม
ฉันใด พระจันทร์สง่างามในหมู่ดาราฉันใด
พระพรหมสง่างามในหมู่พรหมฉันใด ท่านผู้
นำสง่างามในท่ามกลางหมู่ชนฉันใด พระ-
สัทธรรมวินัยย่อมงามสง่าด้วยคัมภีร์ปริวาร
ฉันนั้นแล.

พระวินัยปิฎก จบบริบูรณ์

ปัญจวัคควัณณนา


วินิจฉัยในกัมมวรรค

พึงทราบดังนี้ :-
ความแตกต่างกันแห่งกรรม 4 อย่าง ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในสมถขันธ-
กะแล. แม้ได้กล่าวแล้วก็จริง ถึงกระนั้น กรรมวินิจฉัยนี้ เมื่อได้กล่าวมา
ตั้งแต่ต้น ย่อมเป็นวินิจฉัยที่ชัดเจน, เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวข้อที่ควร
กล่าว ในกัมมวรรคนี้ จำเดิมแต่ต้นทีเดียว.
คำว่า จตฺตาริ นี้ เป็นคำบอกกำหนดจำนวนแห่งกรรมทั้งหลาย.
คำว่า กมฺมานิ เป็นคำชี้กรรมที่กำหนดไว้แล้ว.

[ความต่างแห่งกรรม 4]


กรรมที่ต้องยังสงฆ์ผู้ตั้งอยู่ในสีมาให้หมดจด นำฉันทะของภิกษุผู้ควร
ฉันทะมา สวดประกาศ 3 ครั้ง ทำตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ชื่อว่า
อปโลกนกรรม.
กรรมที่ต้องทำด้วยญัตติอย่างเดียว ตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง
ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่าญัตติกรรม.
กรรมที่ต้องทำด้วยอนุสาวนา มีญัตติเป็นที่ 2 อย่างนี้ คือ ญัตติ 1
อนุสาวนา 1 ตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล
ชื่อว่าญัตติทุติยกรรม.