เมนู

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการ คือ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการ คือ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม 1 เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย 1
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการนี้.
ปัญญัติวรรค ที่ 4 จบ

นวสังคหวรรค ที่ 5


สังคหะ 9 อย่าง


[1,362] สังคหะมี 9 อย่าง คือ วัตถุสังคหะ 1 วิบัติสังคหะ 1
อาบัติสังคหะ 1 นิทานสังคหะ 1 บุคคลสังคหะ 1 ขันธสังคหะ 1 สมุฏฐาน-
สังคหะ 1 อธิกรณสังคหะ 1 สมถสังคหะ 1.

ให้บอกเรื่อง


[1,363] เมื่ออธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ถ้าคู่ความทั้งสองมาถึง สงฆ์พึง
ให้ทั้งสองบอกเรื่อง ครั้นแล้วพึงฟังปฏิญญาทั้งสอง แล้วพึงพูดกะคู่ความทั้ง
สองว่า เมื่อพวกเราระงับอธิกรณ์นี้แล้ว ท่านทั้งสองจักยินดี หรือ ถ้าทั้งสอง

รับว่า ข้าพเจ้าทั้งสองจักยินดี สงฆ์พึงรับอธิกรณ์นั้นไว้ ถ้าบริษัทมีอลัชชีมาก
สงฆ์พึงระงับด้วยอุพพาหิกา ถ้าบริษัทมีคนพาลมาก สงฆ์พึงแสวงหาพระวินัย-
ธร อธิกรณ์นั้นจะระงับ โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ใด สงฆ์พึง
ระงับอธิกรณ์นั้น โดยอย่างนั้น.

พึงรู้วัตถุเป็นต้น


[1,364] พึงรู้วัตถุ พึงรู้โคตร พึงรู้ชื่อ พึงรู้อาบัติ
คำว่า เมถุนธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า อทินนาทาน เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า มนุสสวิคคหะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า อุตริมนุสธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า สุกกวิสัฏฐิ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า กายสังสัคคะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ทุฏฐุลลวาจา เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ