เมนู

สองบทว่า ฉ กมฺมานิ มีความว่า กรรม 6 อย่าง ที่ตรัสไว้อย่างนี้
คือ กรรมไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค กรรมพร้อมเพรียง กรรมเป็นวรรค
โดยอาการเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงโดยอาการเทียมธรรม กรรมพร้อม-
เพรียง โดยธรรม.
หลายบทว่า เอเกตฺถ ธมฺมิกา กตา มีความว่า ในกรรม 6
อย่างนี้ กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรมอย่างเดียวเท่านั้น ตรัสเป็นกรรมที่ชอบ
ธรรม.
แม้ในคำตอบในคาถาที่ 2 กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมนั่นแล ก็
เป็นกรรมชอบธรรม (เหมือนกัน).

[ว่าด้วยอาบัติระงับและไม่ระงับ]


สองบทว่า ยํ เทสิตํ มีความว่า กองอาบัติเหล่าใด อันพระอนัน-
ตชินเจ้าทรงแสดงแล้วตรัสแล้ว คือประกาศแล้ว.
วินิจฉัยในคำว่า อนนฺตชิเนน เป็นต้น พึงทราบดังนี้ :-
นิพพานเรียกว่า อนันตะ เพราะเว้นจากความเป็นธรรมมีที่สุดรอบที่
บัณฑิตจะกำหนดได้. นิพพานนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปราบปรามกอง
กิเลส ชำนะแล้ว ชำนะเด็ดขาดแล้ว คือ บรรลุแล้ว ถึงพร้อมแล้ว เปรียบ
เหมือนราชสมบัติอันพระราชาทรงปราบปรามหมู่ข้าศึกได้แล้วฉะนั้น. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า อนันตชินะ.
พระอนันตชินะนั้นแล ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะเป็นผู้ไม่มีวิการ ในเพราะ
อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์. พระองค์ทรงเห็นวิเวก 4 กล่าวคือ ตทังควิเวก
วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก และนิสสรณวิเวก เพราะ