เมนู

โกกาลิกะเป็นต้น. ไม่เป็นอาบัติแก่บุคคล 4 คน ผู้เป็นธรรมวาที. ก็อาบัติ
และอนาบัติเหล่านี้ ของคนทั้งปวง มีวัตถุอันเดียวกัน คือ มีสังฆเภทเป็น
วัตถุเท่านั้น.

[กรรมเนื่องด้วยญัตติเป็นต้น]


วินิจฉัยในคาถาว่า นว อาฆาตวตฺถูนิ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า นวหิ มีความว่า สงฆ์ย่อมแตกกัน เพราะภิกษุ 9 รูป.
หลายบทว่า ญตฺติยา การณา นว มีความว่า กรรมที่สงฆ์พึงทำ
ด้วยญัตติ มี 9 อย่าง.
คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. . .
หลายบทว่า ทส ปุคฺคลา นาภิวาเทตพฺพา ได้แก่ ชน (ที่ไม่
ควรไหว้) 10 จำพวก ที่ตรัสไว้ ในเสนาสนขันธกะ.
สองบทว่า อญฺชลิสามิเจน จ มีความว่า อัญชลีกรรมพร้อมทั้ง
สามีจิกรรม อันภิกษุไม่พึงทำแก่ชน 10 จำพวกนั้น. อธิบายว่า วัตรในขันธกะ
มีถามถึงน้ำดื่มและฉวยพัดใบตาลเป็นต้น อันภิกษุไม่พึงแสดงแก่ชน 10 จำพวก
นั้น อัญชลีก็ไม่พึงประคอง.
สองบทว่า ทสนฺนํ ทุกฺกฏํ มีความว่า เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ทำ
อย่างนั้น แก่คน 10 จำพวกนั้นแล.
สองบทว่า ทส จีวรธารณา ความว่า อนุญาตให้ทรงอติเรกจีวร
ไว้ 10 วัน.
หลายบทว่า ปญฺจนฺนํ วสฺสํ วุตฺถามํ ทาตพฺพํ อิธ จีวรํ
ได้แก่ พึงให้ต่อหน้าสหธรรมิกทั้ง 5 ทีเดียว.

สองบทว่า สตฺตนฺนํ สนฺเต มีความว่า เมื่อมีผู้รับแทนที่สมควร
พึงให้ลับหลังก็ได้ แก่ชน 7 จำพวกนี้ คือ ภิกษุผู้หลีกไปต่างทิศ ภิกษุบ้า
ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ภิกษุผู้ถูกเวทนาครอบงำ และภิกษุสงฆ์ยกวัตร 3 พวก.
สองบทว่า โสฬสนฺนํ น ทาตพฺพํ มีความว่า ไม่ควรให้แก่ชน
ที่เหลือ 16 จำพวกมีบัณเฑาะก์เป็นต้น ที่ตรัสไว้ ในจีวรขันธกะ.
หลายบทว่า กติสตํ รตฺติสตํ อาปตฺตึ ฉาทยิตฺวาน มีความว่า
ภิกษุปิดอาบัติกี่ร้อย ไว้ร้อยราตรี.
หลายบทว่า ทสสตํ รตฺติสตํ อาปตฺตึ ฉาทยิตฺวาน มีความว่า
ภิกษุปิดอาบัติ 1 พัน ไว้ร้อยราตรี.
ก็ความสังเขปในคำนี้ ดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุใด ต้องอาบัติสังฆาทิเสสวันละร้อย ปิดไว้ร้อยละ 10 วัน. อาบัติ
1 พัน ย่อมเป็นอันภิกษุนั้นปิดไว้ร้อยราตรี. ภิกษุนั้น พึงขอปริวาสว่า อาบัติ
เหล่านั้นทั้งหมดเทียว ข้าพเจ้าปิดไว้ 10 วัน แล้วเป็นปาริวาสิกะ อยู่ปริวาส
10 ราตรี พึงพ้นได้.

[ว่าด้วยกรรมโทษเป็นอาทิ]


หลายบทว่า ทฺวาทส กมฺมโทสา วุตฺตา มีความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสกรรมโทษ 12 นับกรรมละ 3 ๆ ในกรรม 1 ๆ อย่างนี้คือ
อปโลกนกรรม เป็นวรรคโดยอธรรม พร้อมเพรียงโดยอธรรม เป็นวรรค
โดยธรรม; แม้ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม ก็เหมือนกัน.
สองบทว่า จตสฺโส กมฺมสมฺปตฺติโย มีความว่า กรรมสมบัติ
ที่ตรัสไว้ 4 ประการ อย่างนี้ คือ อปโลกนกรรม พร้อมเพรียงโดยธรรม
แม้กรรมที่เหลือ ก็เหมือนกัน.