เมนู

[อาบัติทางกายในราตรีเป็นต้น]


หลายบทว่า เทฺว กายิกา รตฺตึ มีความว่า ภิกษุณี ต้องอาบัติ
ทางกายทวารเป็นแดนเกิด 2 อย่าง ในราตรี คือ เมื่อสำเร็จการยืนนั่งและ
นอน ในหัตถบาสของบุรุษ ในเวลามืด ๆ ค่ำ ๆ ต้องปาจิตตีย์; เมื่อสำเร็จ
การยืนเป็นอาทิ ละหัตถบาส ต้องทุกกฏ.
หลายบทว่า เทฺว กายิกา ทิวา มีความว่า ภิกษุณี ต้องอาบัติ
2 กอง ในโอกาสที่กำบัง ในเวลากลางวัน โดยอุบายนั้นแล.
หลายบทว่า นิชฺฌนฺตสฺส เอกา อาปตฺติ มีความว่า อาบัติกอง
เดียวนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เพ่งดู [โดยบาลี] ว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็แลอันภิกษุผู้
กำหนัดแล้ว ไม่พึงเพ่งดูองค์กำเนิดแห่งมาตุคาม ภิกษุใดพึงเพ่งดู ภิกษุนั้น
ต้องทุกกฏ.
สองบทว่า เอกา ปิณฺฑปาติปจฺจยา ได้แก่ อาบัติทุกกฏที่ตรัส
ในบาลีนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็แลอันภิกษุไม่พึงแลดูหน้า ของทายิกาผู้ถวาย
ภิกษา. จริงอยู่ โดยที่สุด แลดูหน้าแม้ของสามเณรผู้ถวายข้าวต้มหรือกับข้าว
ก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน.
แต่ในกุรุนทีกล่าวว่า คำว่า อาบัติกองเดียว เพราะบิณฑบาตเป็น
ปัจจัย ได้แก่ เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุฉันบิณฑบาตซึ่งภิกษุณีแนะนำให้ถวาย.

[ภิกษุที่สงฆ์ยกวัตรเป็นต้น]


สองบทว่า อฏฺฐานิสํเส สมฺปสฺสํ ได้แก่ อานิสงส์ที่ตรัสไว้ใน
โกสัมพิกขันธกะ.

หลายบทว่า อุกฺขิตฺตกา ตโย วุตฺตา ได้แก่ (ภิกษุที่สงฆ์ยกวัตร
3 พวก เพราะเหตุ 3 ประการ คือ) เพราะไม่เห็นอาบัติ 1 เพราะไม่ทำ
คืน 1 เพราะไม่ยอมสละทิฏฐิลามก 1.
สองบทว่า เตจตฺตาฬิส สมฺมาวตฺตนา ได้แก่ ความประพฤติ
ชอบ ในวัตรทั้งหลาย มีประมาณเท่านั้น ของภิกษุที่ถูกสงฆ์ยกวัตรเหล่านั้น
นั้นแล.
สองบทว่า ปญฺจฏฺฐาเน มุสาวาโท มีความว่า มุสาวาท ย่อม
ถึงฐานะ 5 กล่าวคือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์และทุกกฏ.
หลายบทว่า จุทฺทส ปรมนฺติ วุจฺจติ ได้แก่ สิกขาบทที่กล่าว
แล้วในหนหลัง โดยนัยมี 10 วันอย่างยิ่ง เป็นอาทิ.
สองบทว่า ทฺวาทส ปาฏิเทสนียา ได้แก่ ปาฏิเทสนียะของภิกษุ
4 ของภิกษุณี 8.
สองบทว่า จตุนฺนํ เทสนาย จ ความว่า การแสดงโทษล่วงเกิน
ของบุคคล 4 จำพวก. ถามว่า ก็การแสดงโทษล่วงเกิน 4 อย่างนั้น คือ
ข้อไหนบ้าง ? คือ ชื่อว่า การแสดงโทษล่วงเกินของบุคคล 4 จำพวกนี้ คือ
การแสดงโทษล่วงเกินของนายขมังธนูผู้มุ่งไปฆ่า ซึ่งพระเทวทัตจัดส่งไป
การแสดงโทษล่วงเกิน แห่งอุปัฏฐายิกาของพระอนุรุทธเถระ การแสดงโทษ
ล่วงเกินของวัฑฒลิจฉวี การแสดงโทษล่วงเกินของภิกษุทั้งหลาย ผู้กระทำ
อุกเขปนียกรรมแก่พระวาสภคามิยัตเถระแล้วกลับมา.

[มุสาวาทมีองค์ 8 เป็นต้น]


สองบทว่า อฏฐงฺคิโก มุสาวาโท มีความว่า มุสาวาทที่ประกอบ
ด้วยองค์ 8 ตั้งต้นแต่องค์ที่ว่า ก่อนแต่พูด ผู้นั้น มีความคิดว่า เราจักพูด
ปด ดังนี้ มีองค์ว่า ยันความจำ เป็นที่สุดจัดว่ามุสาวาท ประกอบด้วยองค์ 8.
แม้องค์อุโบสถ 8 ก็ได้กล่าวแล้ว โดยนัยมีคำว่า ไม่พึงฆ่าสัตว์
เป็นอาทิ.
สองบทว่า อฏฺฐ ทูเตยฺยงฺคานิ ได้แก่ (องค์เกื้อกูลแก่ความเป็น
ทูต 8 ประการ) อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสังฆเภทกขันธกะ โดยนัย
มีคำว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ฟังเอง และให้ผู้อื่นฟัง
เป็นอาทิ.
ติตถิยวัตร 8 ได้กล่าวแล้วในมหาขันธกะ
คำว่า อุปสัมปทา มีวาจา 8 ท่านกล่าวหมายถึงอุปสมบทของภิกษุณี
ทั้งหลาย.
สองบทว่า อฏฺฐนฺนํ ปจฺจุฏฐาพฺพํ มีความว่า ภิกษุณีทั้งหลาย
นอกนี้ พึงลุกขึ้นให้อาสนะแก่ภิกษุณี 8 รูป ในหอฉัน.
สองบทว่า ภิกฺขุโนวาทโก อฏฺฐหิ มีความว่า ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ 8 อันสงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี.
วินิจฉัยในคาถาว่า เอกสฺส เฉชฺชํ พึงทราบดังนี้ :-
ในชน 9 ภิกษุใด ให้จับสลากทำลายสงฆ์ ความขาด ย่อมมีแก่ภิกษุ
นั้นแล คือ ย่อมต้องปาราชิกเหมือนอย่างพระเทวทัตต์. เป็นถุลลัจจัย แก่
บุคคล 4 คน ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ เหมือนภิกษุทั้งหลายมีพระ-