เมนู

[ปรับอาบัติควบกันเป็นต้น]


หลายบทว่า ปาจิตฺติเยน ทุกฺกฏา กตา มีความว่า ท่านปรับ
ทุกกฏควบกับปาจิตตีย์ด้วย ในสิกขาบททั้ง 10 ในภิกขุโนวาทกวัคค์.
หลายบทว่า จตุเรตฺถ นวกา วุตฺตา มีความว่า ในสิกขาบทที่ 1
นั่นแล ท่านกล่าวหมวด 9 ไว้ 4 หมวดอย่างนี้ คือ ในกรรมไม่เป็นธรรม
2 หมวด ในกรรมเป็นธรรม 2 หมวด.
สองบทว่า ทฺวินฺนํปิ จีวเรน จ มีความว่า เพราะจีวรเป็นต้นเหตุ
ย่อมเป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ให้จีวร แก่ภิกษุณี 2 พวก อย่างนี้ คือ เป็นปาจิตตีย์
แก่ภิกษุผู้ให้จีวรแก่ภิกษุณี ผู้อุปสมบทในสำนักภิกษุทั้งหลาย, เป็นทุกกฏ
แก่ภิกษุผู้ให้จีวรแก่ภิกษุณี ผู้อุปสมบทในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย.
ปาฏิเทสนียะ 8 มาแล้วในบาลีแล.
หลายบทว่า ภุญฺชนฺตามกธญฺเญน ปาจิตฺติเยน ทุกฺกฏา กตา
มีความว่า ท่านปรับทุกกฏควบกับปาจิตตีย์ด้วย แก่ภิกษุณีผู้ออกปากขอข้าว
เปลือกฉัน.

[อาบัติเพราะเดินเป็นต้น]


สองบทว่า คจฺฉนฺตสฺส จตสฺโส มีความว่า เป็นอาบัติ 4 กองนี้
แก่ผู้ไป คือ เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ชวนกันเดินทาง กับภิกษุณี หรือมาตุคาม,
เป็นปาจิตตีย์ เมื่อเข้าอุปจารบ้าน, ภิกษุณีใด ไปสู่ละแวกบ้านรูปเดียว เมื่อ
ภิกษุณีนั้น เข้าอุปจารบ้าน เป็นถุลลัจจัย ในย่างเท้าที่ 1, เป็นสังฆาทิเสส
ในย่างเท้าที่ 2.

สองบทว่า ฐิตสฺส วาปิ ตตฺตกา มีความว่า อาบัติ 4 กองนั่นแล
ย่อมมีแม้แก่ผู้ยืนอยู่, อย่างไร ? อย่างนี้ คือ ภิกษุณี ยืนในหัตถบาสของ
บุรุษด้วยอำนาจมิตตสันถวะ ในที่มืด หรือในโอกาสกำบัง ต้องปาจิตตีย์,
ยืนเว้นหัตถบาส ต้องทุกกฏ. ในเวลาอรุณขึ้น ยืนเว้นหัตถบาสของภิกษุณี
ซึ่งเป็นเพื่อน ต้องถุลลัจจัย, เว้นหัตถบาสยืน ต้องสังฆาทิเสส.
หลายบทว่า นิสินฺนสฺส จตสฺโส อาปตฺติโย นิปนฺนสิสาปิ
ตตฺตกา
มีความว่า ก็แม้ถ้าว่า ภิกษุณีนั้น นั่งก็ตาม นอนก็ตาม เธอย่อม
ต้องอาบัติ 4 กองนั้นนั่นแล.

[อาบัติมากต้องในเขตเดียวกัน]


สองบทว่า ปญฺจ ปาจิตฺติยานิ มีความว่า เภสัช 5 ที่ภิกษุรับ
ประเคนแล้วไม่ปนกัน ใส่ไว้ในภาชนะต่างกันก็ตาม ในภาชนะเดียวกันก็ตาม.
เพราะล่วง 7 วัน ภิกษุนั้น ย่อมต้องปาจิตตีย์หมดทั้ง 5 ตัว ต่างวัตถุกัน
ในขณะเดียวกัน. ไม่พึงกล่าวว่า ต้องอาบัตินี้ก่อน อาบัตินี้ภายหลัง.
สองบทว่า นว ปาจิตฺติยานิ มีความว่า ภิกษุใด ออกปากขอ
โภชนะประณีต 9 อย่าง เคล้าคำข้าวคำหนึ่ง รวมกันกับโภชนะประณีตเหล่านั่น
เทียว เปิบเข้าปาก ให้ล่วงลำคอเข้าไป, ภิกษุนี้ ย่อมต้องปาจิตตีย์ หมดทั้ง
9 ตัว ต่างวัตถุกัน ในขณะเดียวกัน. ไม่พึงกล่าวว่า ต้องอาบัตินี้ก่อน อาบัตินี้
ภายหลัง.

[วิธีแสดงอาบัติ]


สองบทว่า เอกวาจาย เทเสยฺย มีความว่า ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจา
อันเดียว อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ารับประเคนเภสัช 5 ให้ล่วง 7 วันไป