เมนู

ประกอบด้วยองค์ 10 ภิกษุพึงให้นาสนะเสีย, ท่านทั้งหลาย จงให้นาสนะ-
กัณกฏสามเณรเสีย.
สองบทว่า ติณฺณนฺนํ เอกวาจิกา มีความว่า อนุสาวนาอันเดียว
ควรแก่ชน 3 มีอุปัชฌาย์เดียวกัน ต่างอาจารย์กัน โดยพระบาลีว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อทำบุคคล 2 -3 คน ในอนุสาวนาเดียวกัน.

[อาบัติเพราะอทินนาทานเป็นต้น]


สองบทว่า อทินฺนาทาเน ติสฺโส มีความว่า ในเพราะ (อทินนาทาน)
บาทหนึ่ง หรือเกินกว่าบาท เป็นปาราชิก, เกินกว่า 1 มาสก ต่ำกว่า 5 มาสก
เป็นถุลลัจจัย, 1 มาสก หรือหย่อนมาสก, เป็นทุกกฏ.
สองบทว่า จตสฺโส เมถุนปจฺจยา มีความว่า ภิกษุเสพเมถุนใน
ทวารที่สัตว์ยังไม่กัด ต้องปาราชิก. ในทวารที่สัตว์กัดแล้วโดยมาก ต้อง
ถุลลัจจัย, สอดองคชาตเข้าไปในปากที่อ้ามิให้กระทบ ต้องทุกกฏ, ภิกษุณีต้อง
ปาจิตตีย์ เพราะขุนเพ็ดทำด้วยยาง.
สองบทว่า ฉินฺทนฺตสฺส ติสฺโส มีความว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้
(ลัก) ตัดต้นไม้ใหญ่, เป็นปาจิตตีย์ แก่ผู้ตัดภูตคาม, เป็นถุลลัจจัย แก่ผู้ตัด
องคชาต.
สองบทว่า ปญฺจ ฉฑฺฑิตปจฺจยา มีความว่า ภิกษุทั้งยาพิษ ไม่
เจาะจง ถ้ามนุษย์ตายเพราะยาพิษนั้น ต้องปาราชิก, เมื่อยักษ์และเปรตตาย
ต้องถุลลัจจัย, เมื่อสัตว์ดิรัจฉานตาย ต้องปาจิตตีย์ เพราะทิ้ง คือ ปล่อยสุกกะ
เป็นสังฆาทิเสส, เพราะถ่ายอุจจาระและปัสสาวะในของเขียว ต้องทุกกฏ ใน
เสขิยวัตร, อาบัติ 5 กองนี้ย่อมมี เพราะวัตถุที่ทิ้งเป็นปัจจัย.

[ปรับอาบัติควบกันเป็นต้น]


หลายบทว่า ปาจิตฺติเยน ทุกฺกฏา กตา มีความว่า ท่านปรับ
ทุกกฏควบกับปาจิตตีย์ด้วย ในสิกขาบททั้ง 10 ในภิกขุโนวาทกวัคค์.
หลายบทว่า จตุเรตฺถ นวกา วุตฺตา มีความว่า ในสิกขาบทที่ 1
นั่นแล ท่านกล่าวหมวด 9 ไว้ 4 หมวดอย่างนี้ คือ ในกรรมไม่เป็นธรรม
2 หมวด ในกรรมเป็นธรรม 2 หมวด.
สองบทว่า ทฺวินฺนํปิ จีวเรน จ มีความว่า เพราะจีวรเป็นต้นเหตุ
ย่อมเป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ให้จีวร แก่ภิกษุณี 2 พวก อย่างนี้ คือ เป็นปาจิตตีย์
แก่ภิกษุผู้ให้จีวรแก่ภิกษุณี ผู้อุปสมบทในสำนักภิกษุทั้งหลาย, เป็นทุกกฏ
แก่ภิกษุผู้ให้จีวรแก่ภิกษุณี ผู้อุปสมบทในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย.
ปาฏิเทสนียะ 8 มาแล้วในบาลีแล.
หลายบทว่า ภุญฺชนฺตามกธญฺเญน ปาจิตฺติเยน ทุกฺกฏา กตา
มีความว่า ท่านปรับทุกกฏควบกับปาจิตตีย์ด้วย แก่ภิกษุณีผู้ออกปากขอข้าว
เปลือกฉัน.

[อาบัติเพราะเดินเป็นต้น]


สองบทว่า คจฺฉนฺตสฺส จตสฺโส มีความว่า เป็นอาบัติ 4 กองนี้
แก่ผู้ไป คือ เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ชวนกันเดินทาง กับภิกษุณี หรือมาตุคาม,
เป็นปาจิตตีย์ เมื่อเข้าอุปจารบ้าน, ภิกษุณีใด ไปสู่ละแวกบ้านรูปเดียว เมื่อ
ภิกษุณีนั้น เข้าอุปจารบ้าน เป็นถุลลัจจัย ในย่างเท้าที่ 1, เป็นสังฆาทิเสส
ในย่างเท้าที่ 2.